ปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา (2)


ถึงลูกศิษย์ปริญญาเอกที่รักทุกท่านและชาว Blog ...
มีต่อ

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 13 Human Capital (15-Sep-07)

Workforce Alignment In an Organization.

Aj.Potchanart  Seebungkerd

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

            วันนี้ Aj.Potchanart  ให้ Case Study ที่ชัดเจนมา โดยพวกเราแบ่งกลุ่มกันมาต่อ        จิ๊กซอ ทำให้ได้เห็นและเรียนรู้หลายอย่างจาก Case Study นี้  หันมามององค์กรของเราเองวิธีการบริหารจัดการของเราเอง ผมได้นำแนวคิดที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ดังนี้

            หลายครั้งที่เรามอบหมายงานให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเราทำ เราไม่ได้ให้กรอบในการทำงานแก่ลูกน้อง  งานที่ได้มักจะออกมาไม่ตรงแนวทางที่เราต้องและล่าช้ามากทั้งๆที่เราคิดว่ามันง่ายมาก ก็เพราะเราไม่ให้กรอบในการทำงานแก่พวกเขา.  เราในฐาน Top Management ต้อง Challenge ลูกน้อง และต้องสร้างให้ลูกน้องกล้าที่จะ Challenge CEO ด้วย.

            นอกจากกรอบในการทำงานอย่างเดียวยังไม่พอ เราต้องให้ Resource ให้เพียงพอต่อการทำงานของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยต้องให้อย่างทันกาล ทันท่วงที. หลายครั้งพบว่าพนักงานของเราที่มีประสบการณ์มาจากที่อื่น เมื่อเราไม่ให้ กรอบในการทำงาน Resource อย่างเพียงพอและทันกาล พวกเขาต้องช่วยตัวเองโดยใช้ประสบการณ์ในการทำงานจากที่อื่นมาใช้ บ้างก็เอาระบบที่อื่นมาใช้   ยิ่งถ้าต่างคนต่างที่มา ประสบการณ์ที่มีก็มักจะขัดแย้งกันในการทำงาน ทำให้มีปัญหาด้าน Alignment กันอยู่

 

ตัวอย่างเรื่อง Alignment ที่ Boots เคยประสบ.

            เดิมที่ Boots มีนโยบายรับพนักงานที่มีปรสบกาณ์ในการทำงานจากที่อื่นมาทำงาน เนื่องจากพนักงานเหล่านี้ ผู้บริหารของ Boots มองเห็นว่าสามารถทำงานได้ทันที ไม่ต้อง Training อะไรมาก  และ ทั้งยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ Training   แต่ผลเสียที่ Boots ได้รับช่างไม่คุ้มเอาซะเลย เนื่องจากพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาจากที่อื่นมักจะเอาระบบที่อื่นมาใช้ในการทำงานที่ Boots ยิ่งต่างคนต่างที่มาประสบการณ์ก็ต่างกันไป ใครประสบการณ์คล้ายกันก็ร่วมงานกันได้  ใครไม่เหมือนกันก็ร่วมงานกันกับคนอื่นได้ยาก  ทำให้ระบบการทำงานของ Boots เสียไป สุดท้าย Boots ต้องนับเด็กใหม่มาฝึกหัดระบบของ Boots เอง.   จากตัวอย่างเรื่อง Alignment ของ Boots ทำให้เห็นถึง Personal Agenda ของตัวแต่ละบุคคล   ที่เราในฐานะผู้บริหารองค์กรต้องแก้ไขให้มองไปในทิศทางเดียวกัน มองเห็นกรอบการทำงานร่วมกัน.

 

            ถ้าพูดถึงเรื่องกรอบในการทำงาน ที่ให้แก่พนักงานตั้งแต่ตอนที่รับเข้าทำงาน ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะไม่นิยมเขียน Job Description (JD) เนื่องจากพนักงานมักจะทำตาม JD ที่ได้รับมาเท่านั้น    แต่เราจะเขียน Role and Responsibility (R&R) ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบไว้กว้างๆ แทน ไม่ให้บทบาทนิ่ง

            ผมได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์เป็นแนวทางในการพิจารณา Bonus แก่พนักงาน มิใช่ให้ทุกคน  แต่ต้องพิจารณาจาก พนักงานคนใดสามารถทำตาม Job Requirement ได้เขาควรได้รับ Bonus ไม่เกี่ยงเรื่องวุฒิการศึกษา, เพศ, อายุ   แต่การให้ Bonus

 

การเชิญกรรมการอิสระจากข้างนอก

            จากเดิมที่เรามีแนวคิดว่าต้องการให้มีการบริหารงานแบบ Transparency(โปร่งใส ตรวจสอบได้)  จึงมักจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ มาเป็นกรรมการอิสระ จากข้างนอกเข้ามาเพื่อตรวจสอบภายใน  แต่หลายครั้งกรรมการอิสระเหล่านี้มีประสบการณ์และความเข้าใจในธุรกิจของเรามากน้อยต่างกันไป  เมื่อมีการให้คำแนะนำ, ชี้แนะต่างๆ โดยขาดความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจของเรา มีผลทำให้ธุรกิจของเราเปลี่ยนทิศได้   เพราะฉะนั้นถึงแม้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิก็ต้องมีการ Orientation  ก่อนเข้ารับหน้าที่เป็นกรรมการอิสระ

 

            สิ่งที่ผมมองเห็นอีกอย่างคือ  ปัจจุบัน Trust หรือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ  สำคัญกว่า Competency  พิสูจน์ได้จากผลสำรวจนี้

            เคยมีการสำรวจชาว American หาก รถยนต์ Brand Sony กับ Brand GM คุณจะเลือกซื้อรถยนต์ Brand ใด.  คนส่วนใหญ่ตอบว่าเลือก Sony เนื่อง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ารถยนต์สมัยนี้ต้อง Innovate  คนส่วนใหญ่เชื่อใจ Sony มากกว่า GM ทั้งๆที่ Sony ไม่เคยมีแนวคิดที่จะผลิตรถยนต์.

            ด้วยเหตุนี้เองที่ ปัจจุบัน Trust หรือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ  สำคัญกว่า Competency ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft, Sony, Toshiba, JVC, ใช้ Branding เป็นกลยุทธ์สำคัญ.

Strategy แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

1.Corporate Strategy

2.Business Strategy

3.Functional Strategy

สำหรับ Corporate Strategy   จะครอบคลุมทุกๆ SBU (Strategic Business Unit)

 

สรุป Leadership  หรือ สิ่งที่ผู้นำต้องทำมีดังนี้

1.Good Culture

2.Motivate ให้ลูกน้องสามารถทำงานได้.

ต้องใช้ระบบคุณธรรม และ คุณ นะ ทำ ในการบริหารงาน

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่  13 เรียนวันเสาร์ที่  22  กันยายน  2550 

กับท่าน อาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ นักศึกษาชื่อนางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา เรื่อง     ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน....

ในวันนี้นักศึกษาปริญญาเอกได้มีโอกาสพบกับท่านอาจารยจีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านกล่าวถึงเรื่องทุนมนุษย์ในภาพรวมและค่อนข้างจะครอบคลุมไปในหลากหลายมุมมองเพื่อให้เห็นภาพของ Macro ไปสู่ Micro ได้ชัดเจนนับว่าวันนี้เป็นวันที่มีคุณค่ามาก เพราะนักศึกษาได้รับความรู้จากท่านอาจารย์อย่างเต็มที่ ท่านกล่าวด้วยว่า ทุนนั้นกว่าจะได้มา ต้องมีการเสียสละออกไปก่อน นั่นคือการ Investment แต่เราจะมีการลงทุนเพื่อที่จะให้ได้มาแบบไหนมากกว่า ..การเรียนรู้สิ่งใดไม่สำคัญที่ปริมาณแต่อยู่ที่การรู้สิ่งนั้นอย่างจริงจัง ดังเช่นกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสว่า รู้ รัก สามัคคี.. มนุษย์เกิดมามีทุนเท่าเทียมกันแต่ใครจะมีความสามารถในการลงทุน เสียสละให้ได้มาซึ่งทุนในด้านอื่นๆได้มากกว่ากันเท่านั้น การเรียนรู้จึงสำคัญที่วิธีการเรียนรู้ มิใช่ ปริมาณที่ได้จากการเรียน ยกตัวอย่างที่วิทยาลัยการอาชีวะศึกษาในวันนี้ต้องปรับวิธีคิดให้คิดเป็นและร่วมสร้างพลังสมองมากกว่าที่จะเป็น Intensive Labor  เพื่อเป็นกรรมกรที่ขายแรงงานอีกต่อไปทุนใดในโลกนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบด้วยทุนทางด้านอื่นๆเช่น เรื่องของ Balance Scorecard ทุนทางด้านความรู้เกี่ยวกับ Finance Marketing Production Productivity อย่างไรก็ตามยังมีทฤษฎีที่กล่าวถึงทุนมนุษย์อีกหนึ่งทฤษฎีนั่นคือ ทฤษฏี : HRDS ที่กล่าวไว้ดังนี้Happiness  RespectDignitySustainableเรื่อง  ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน....เป็นเรื่องที่กำลังมีความสำคัญเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ ในระยะหลัง จะมีการพูดถึง เรื่อง “ ผู้นำ ” หรือ Leadership มากขึ้น องค์กรในยุคใหม่ต้องการผู้นำทุกระดับ ไม่ใช่แค่เจ้าของหรือ CEO ยิ่งมีการปลูกฝังผู้นำให้มากขึ้นในองค์กรเหล่านั้น จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือแก้ปัญหาได้ ยิ่งในยุคการแข่งขันจาก  โลกาภิวัตน์ หรือความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัจจัยในประเทศ บทบาทผู้นำจะมีมากขึ้น          การจัดการธุรกิจในสภาพปัจจุบันมีการใช้หรือนำแนวคิดธุรกิจและเครื่องมือ การจัดการธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาดำเนินการ แต่สิ่งที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามสิ่งใหม่ๆนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้นำองค์การ ที่จะใช้ภาวะผู้นำได้ดีมากน้อยเพียงใด ต้องปรับระบบคิดใหม่ในเรื่องภาวะผู้นำนี้ โดยอ้างอิงถึงแนวคิดของนักทฤษฎีด้านภาวะผู้นำชั้นนำ 5 ท่านคือ ดรักเกอร์  เบนนิส  เซนเก้  โควีย์และคอลลินส์ เรื่องภาวะผู้นำจากตัวอย่างของโมเดลภาวะผู้นำแบบ 4E’s ของ แจ็ค เวลซ์          Energy         Energize         Edge         Execution และหลักการภาวะผู้นำของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์  บทสรุปคิดใหม่ต้นแบบผู้นำแห่งโลกตะวันออก โดยต้องการท้าทายให้มีการศึกษาและพัฒนาต้นแบบภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับบริบทและวัฒนธรรมการบริหารแบบไทย ซึ่งท่านอาจารย์จีระกล่าวว่าผู้นำมีหลายประเภ

- ผู้นำทางวิชาการ

            - ผู้นำทางการเมือง            - ผู้นำทางศาสนา            - ผู้นำทางธุรกิจ ( ใหญ่ )           - ผู้นำทางธุรกิจ ( SMEs )      - ผู้นำธุรกิจในฐานะมืออาชีพ            - ผู้นำในฐานะเจ้าของ            - ผู้นำทางด้านกีฬา            - ผู้นำทางการทหาร
การบริหารงานในปัจจุบันนี้ผู้บริหารทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาวะการเป็นผู้นำเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะจะสามารถได้ใช้หรือพยายามชี้ความสามารถของผู้ใต้บังคับบัญชา หรือพนักงานออกมาในการปฏิบัติงานให้มากที่สุด พึงระลึกไว้เสมอว่าพนักงานทุกคนมีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงาน เป็นผู้ที่ผลักดันให้งานทุกอย่างของกิจการนั้นสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น การบริหารงานที่ดีจะต้องมีผู้บริหารที่มีภาวะ ความเป็นผู้นำและเก่งงาน เก่งคน เก่งคิด เก่งการดำเนินชีวิตไปพร้อม ๆ กันความสำคัญของผู้นำในวันนี้ เส้นกราฟที่แสดงระหว่าง ความเป็น Leader กับ MANAGER ในภาวะของผู้นำ มีข้อสมมติว่าผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วย คือต้องพยายามให้ช่องว่างระหว่างกราฟทั้งสองเส้นเป็นไปในทิศทางและเส้นเดียวกันคือต้องมีทั้งสองด้านชนิดของผู้นำก็ยังประกอบด้วย     - Trust / Authority       - Charisma      - Situational

      - Quiet Leader

 

จากการวิจัยของ Center for creative leadership พบว่า การจะ develop ผู้นำ มี 5 วิธี เรียกว่า ทฤษฎี 5 E’s

 1. Example 2. Experience 3. Education 4. Environment 5. Evaluation วิสัยทัศน์แห่งผู้นำของผู้บริหาร....
ดรักเกอร์ ได้เขียนตำราเกี่ยวกับการบริหารและภาวะผู้นำของผู้บริหาร โดยเฉพาะที่อ้างถึงใน Practice of Management ซึ่งหลักการของผู้นำในองค์กรนั้น ดรักเกอร์เรียกว่า ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Executive) Maciariello (2006; Peter F.Drucker on Executive Leadership and Effectiveness ใน The Leader of the Future 2) ได้สร้างระบบง่ายๆ ที่จะเข้าใจในมุมมองเกี่ยวกับภาวะผู้นำและการจัดการของดรักเกอร์ที่สามารถนำไปเป็นกรอบให้ผู้นำได้นำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร
ภาวะผู้นำของผู้บริหารและความมีประสิทธิผลภาวะผู้นำของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ให้ความสนใจต่อการสร้างองค์กรให้สูงด้วยจิตวิญญาณในผลงาน และเพื่อให้เกิดสิ่งนี้ได้ผู้นำจะต้อง
-แสดงให้เห็นถึงระดับที่สูงของความซื่อสัตย์ทั้งคน จิตใจและด้วยข้อกำหนดด้านจริยธรรม
-การมุ่งที่ผลลัพธ์
-สร้างจุดแกร่ง-ทั้งตนเองและต่อผู้อื่น
-นำสู่ระดับที่เหนือขอบเขตเพื่อบรรลุถึงความต้องการอย่างน้อยที่ขั้นต่ำของหุ้นส่วนธุรกิจ รวมทั้งลูกค้า ผู้ถือหุ้นและสาธารณะโดยเฉพาะการสนับสนุนต่อการเป็นคนดีของชุมชน
องค์กรที่มีจิตวิญญาณในผลงานระดับที่สุด เกิดจากการที่ผู้บริหารได้นำให้เกิด การทำในสิ่งที่ถูกต้องและทำให้สิ่งที่ถูกต้องเกิดขึ้น
ผู้บริหารต้องมีลักษณะของความซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์สำหรับจุดหมายขององค์กร มุ่งที่โอกาส เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และดำเนินงานที่สำคัญ รวมถึงความรับผิดชอบและฝึกฝนในด้านการบริหารทักษะของผู้บริหาร การฝึกปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของผู้บริหารและงานของผู้บริหาร เกิดมาจากความรู้และประสบการณ์ แม้ว่าท่านจะเกิดมาเป็นผู้นำก็ตาม หลักการของภาวะผู้นำและการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้
หลักการของภาวะผู้นำจะมีในเรื่องต่อไปนี้
1)การกำหนดจุดประสงค์หรือสิ่งที่ดรักเกอร์เรียกว่า ทฤษฎีของธุรกิจ และ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของงาน (สำหรับผลลัพธ์ขององค์กร)
หลักการนี้มุ่งที่ทรัพยากรองค์กรทั้งด้านนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้ แสวงหา และบูรณาการเข้าไปยังกิจกรรมขององค์กร
นวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้มุ่งไปข้างหน้า โดยที่ไม่ได้ไปเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม นวัตกรรม จะมุ่งไปยังข้างนอกเช่น โอกาส ลูกค้า เทคโนโลยี คู่แข่งขัน และอื่นๆ ขณะเดียวกันผลลัพธ์ที่ได้ เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า รายได้และกำไรมักจะเป็นสิ่งที่เกิดจากภายนอก
2)องค์ประกอบในรูปวิสัยทัศน์ผู้นำแบบดรักเกอร์ในแต่ละส่วนไม่ใช่สิ่งที่อิสระจากกัน แต่ยังเป็นสิ่งช่วยดึงและดันพร้อมสนับสนุนกันอย่างยิ่ง
- จุดเริ่มแรกในภาวะผู้นำของผู้บริหาร จะเป็นการกำหนดและการนำไปปฏิบัติในทฤษฎีของธุรกิจต่อองค์กร ซึ่งต้องการผู้บริหารที่มีการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพที่ว่านี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อ งานของผู้บริหารหากผู้บริหารต้องการการปฏิบัติและงานให้บรรลุตามที่ต้องการ จำเป็นต้องเรียนรู้และใช้ทักษะการบริหาร
3)การนำไปปฏิบัติในทฤษฎีของธุรกิจสำหรับองค์กร ผู้บริหารต้องพิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้นและผลที่ตามมาใน ผลกระทบทางสังคมเช่น การจ้างงานและการจัดซื้อ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างอุปสงค์ต่อการบริการสาธารณะ  ดังนั้นองค์กรต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ทำและสิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมจึงจำเป็นต้องสนับสนุนต่อการปฏิบัติตนเป็นคนดีของชุมชน Good Citizen
สำหรับคนที่อยากเป็นผู้นำ...

ขอเสนอแนวความคิดวิธีการหล่อหลอมความเป็นผู้นำให้เกิดขึ้นดังนี้ค่ะ...
เพิ่มเติมจากแนวคิดของ The Klann Leadership ของ Center for creative Leadership 
1. เรียนรู้ตนเอง  Self control
ต้องฝีกฝนความอดทน อดกลั้น สร้างนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน พัฒนามนุษยสัมพันธ์ของตนเองให้ดีสามารถเข้าได้กับคนทุกระดับชั้น ปรับปรุงลักษณะนิสัยของตนเองอยู่เสมอให้เข้ากับคนอื่นๆให้ได้ สิ่งเหล่านี้ ต้องใช้ความสังเกตในพฤติกรรมของตนเอง และ ความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น ถ้าตัวเองยังไม่ศึกษาตัวเองว่าเป็นคนอย่างไร ก็เป็นอันว่าจบ ไม่ต้องไปทำเรื่องอื่นเลยค่ะ

         2. เรียนรู้คนรอบข้างทุกๆคน เข้าใจธรรมชาติของคน Courage

คนรอบข้างของเรา เป็นฐานความรู้เพื่อทำให้เราเข้าใจคนอื่นๆได้มากขึ้น คนส่วนใหญ่มุ่งมองผลประโยชน์เพื่อตนเอง จนลืมไปว่า จริงๆแล้วการใช้ชีวิตในโลกนี้ เราต้องใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น ต้องมีการติดต่อสื่อสาร คนที่เข้าใจธรรมชาติของคนอื่นๆ ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว หรือ คนรวย คนจน ขอทาน ก็ตาม การที่เข้าใจความคิดของคนอื่น เข้าใจพฤติกรรมของคนอื่นจะเป็นคนที่สามารถมองเห็นความเป็นจริงของคนอื่นว่า เขาเป็นเช่นใด เมื่อฝึกทักษะการมองนิสัยของคนรอบข้างจนสามารถคุย 2-3 คำถาม หรือ ใช้เวลาอยู่กับเขาสัก 10-20 นาที แล้วสามารถบอกได้ว่า คนๆนั้นมีลักษณะนิสัยคร่าวๆเป็นอย่างไรได้ นั่นแหละ จะเข้าใจธรรมชาติของคนอื่นๆได้ดี เมื่อเข้าใจคนอื่นๆได้ดี เราจะเอาความสามารถเหล่านี้ มาประยุกต์ใช้กับการเข้ากับเพื่อนร่วมงาน เข้ากับเจ้านาย หรือแม้นแต่เข้ากับศัตรูได้ดีเช่นกัน การที่เรารู้จักเขาได้เร็วทำให้เราได้เปรียบ และสามารถนำคนอื่นๆได้ง่าย

3. จริงใจและหวังดีกับทุกคน  Caring

ความจริงใจเป็นสิ่งที่สื่อสารทางจิตใจ จากความรู้สึกที่ผ่านจากการแสดงออก น้อยคนนักที่อยากจะให้คนอื่นได้ดี และ ยิ่งมีน้อยคนที่มีความจริงใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะให้คนอื่นประสบความสำเร็จ การสร้างให้ตนเองมีความจริงใจ แสดงความจริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำว่า นี่เป็นคำแนะนำจากใจจริง แต่แฝงไว้ซึ่งผลประโยชน์ คนกลุ่มนี้สามารถสัมผัสได้จากความรู้สึกถึงการให้ว่าเขาให้จากใจจริงหรือไม่ ส่วนคนจริงใจ ก็จะสามารถรับรู้ได้ว่า เขาหวังดีกับเราได้มากแค่ไหน คนทุกคนต้องการความจริงใจจากคนอื่น ดังนั้น ผู้นำหากมีความจริงใจเป็นที่ตั้ง คนอื่นๆก็จะมองเห็น และ จะเชื่อใจในการตัดสินใจของผู้นำ

4. สื่อสารได้อย่างดี  Communication

ไม่ว่าเรื่องยากแค่ไหนก็ต้องสามารถสื่อสารให้ทั้งคนฉลาด และ ไม่ฉลาดเข้าใจได้ครบถ้วน ต้องฝึกทักษะทั้งการพูด เขียน รวมถึงการตีความหมายของคำที่ผู้อื่นสื่อสารมาให้ได้ตรงประเด็น คนโง่ฟังคำอธิบายแล้วเข้าใจ คนฉลาดพูดนิดหน่อยถึงเข้าใจ ต้องรู้จักว่าคนที่เราสื่อสารด้วยนั้น มีความสามารถเช่นใด จะสื่อสารอย่างไรเพื่อให้คนหมู่มากเข้าใจได้อย่างพร้อมกัน และ ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ทักษะการสื่อสารเป็นหัวใจของผู้นำ เพราะ ผู้ตามจะทำตามได้อย่างถูกต้องตามความต้องการหรือไม่นั้น ขึ้นกับการสื่อสารของผู้นำเป็นสำคัญ
5. สร้างจุดยืนของตนเอง
โดยปกติผู้นำจะมีจุดยืนของตนเอง แต่ไม่ใช่หัวแข็งจนไม่รับฟัง   จุดยืนเปลี่ยนแปลงได้ถ้าหากจุดที่กำลังยืนอยู่นั้นมันจะทำให้เกิดอันตราย  ผู้นำต้องเก่งในเรื่องความคิด และ ความมุ่งมั่นในตนเอง และ เก่งในการรวบรวมความคิดที่เป็นประโยชน์ แล้วกลั่นกรองความคิดต่างๆของคนอื่น รวบรวมความคิดเหล่านั้นที่เป็นข้อดี จุดดี มารวมไว้ที่ตัวตนของตนเอง เป็นการพัฒนาจากความคิดของคนอื่น เลี่ยงจุดตาย สร้างจุดเป็น อยู่เสมอ ไม่ใช่หัวแข็ง ไม่เปลี่ยนแปลง
6. พัฒนาความคิดให้เป็นระบบ ระเบียบ จนสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้ในทันที
ความคิดของคนเราโดยปกติ จะคิดโน่นคิดนี่ คิดไปทั่วไม่เป็นระเบียบ การฝึกให้คิดให้เป็นระบบ ระเบียบนั้น จะทำให้เรามองเห็นความเป็นจริงได้เร็วขึ้น เข้าใจในสิ่งต่างๆได้เร็วขึ้น เมื่อเข้าใจ และ รู้ว่าสิ่งต่างๆเป็นไปเช่นใด จะทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆได้รวดเร็วขึ้นเป็นลำดับ การฝึกคิด ฝึกเรียบเรียงความคิด จึงเป็นสิ่งที่จะสนับสนุนให้ผู้นำ ได้เห็นมุมมองต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ
7. เสนอความคิดเห็นที่คิดว่าดี บ่อยๆกับกลุ่ม หรือ ที่ประชุม
ผู้นำมักเริ่มจากการเสนอความคิดเห็น ที่ถูกวิเคราะห์ในสมองแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดี ถึงออกความคิดเห็น การฝึกออกความคิดเห็นจะเป็นตัวกระตุ้นให้สมองเกิดการวิเคราะห์และแจกแจงสิ่งต่างๆได้รวดเร็วมากขึ้น ผู้นำส่วนใหญ่จึงชอบสอน ชอบแนะ ชอบให้ความคิดเห็นของตนกับคนอืนๆเสมอๆ ทั้งในที่ประชุม การคุยกัน หรือแม้แต่การพักผ่อน พวกเขาจะอยู่สนุกอยู่กับการคิด และ ประยุกต์สิ่งต่างๆให้สามารถเป็นจริงขึ้นมา
8. สร้างแนวความคิดที่แตกต่าง แต่เป็นความจริง และสามารถใช้ได้จริง และ สื่อสารให้คนอื่นได้รับรู้
ผู้นำมักมีแนวความคิดที่แตกต่างจากความคิดของคนสามัญ แต่สามารถทำให้ได้ผลจริงขึ้น แนวความคิดเหล่านี้มักเกิดจากประสบการณ์ และ ความเก่งกาจในการแยกแยะ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆอยู่เป็นประจำ เมื่อแยกแยะได้ก็จะต้องสามารถกระจายความคิดที่รวบยอดออกมาเป็นความคิดโดยละเอียดได้ และ ความคิดจะเป็นรูปเป็นร่างได้ก็ต่อเมื่อ ต้องสื่อสารความคิดเหล่านั้นให้กับคนรอบข้างได้รับรู้อย่างดี ซึ่งต้องพี่งการสื่อสารนั่นเอง
9. ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และ ความรู้กับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานให้มากที่สุด
ผู้นำมักมีวิสัยทัศน์ และมุมมองใหม่ๆมาประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานอยู่เสมอ นิสัยหนึ่งที่ทำให้เกิดลักษณะนี้ได้ คือนิสัยที่ชอบเรียนรู้และทดลอง สามารถเอาสิ่งที่รู้ที่เห็นมาประยุกต์ใช้กับงาน การเข้าใจและจดจำสิ่งต่างๆจึงมีผลกับความคิด โดยเฉพาะ ความรู้ใหม่ๆ สิ่งของใหม่ๆ ทฤษฎีใหม่ๆ จะเป็นอาหารสมองอันโอชะของผู้นำเกือบทุกคน
10. หัดนำทีมงาน ตั้งแต่เล็กๆ ไปจนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
การเริ่มเป็นผู้นำมันเริ่มจากความมั่นใจเล็กๆ ที่สามารถนำเพื่อนให้พ้นภัย แก้ปัญหาให้กับเพื่อนๆ เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยความบาดหมางของเพื่อนๆ เป็นหัวหน้าทีมเล็กๆ ไปจนถึงหัวหน้าชั้น หัวหน้าชั้นปี เจ้าของกิจการ ผู้นำประเทศ ผู้นำจะไต่เต้าหาสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เพื่อจะลองใช้ความสามารถนำพาให้ไปถึงจุดมุ่งหมาย และจะโหยหาการนำที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นี่เป็นธรรมชาติของผู้พิชิต ดังนั้น การจะเริ่มเป็นผู้นำ ก็ต้องหัดนำพาคนตั้งแต่กลุ่มเล็กๆ ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจขั้นพื้นฐาน ก่อนจะไปนำกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นๆ เรื่อยๆ

11. สะสมประสบการณ์ และ หาข้อดีและข้อเสียของการนำทีม แล้วเอามาปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น  Optimism

คนที่ทำงาน ย่อมมีผิดพลาด การเป็นผู้นำก็เช่นกัน บางครั้งก็ต้องผิดพลาด หากมัวแต่กังวลกับข้อผิดพลาดเก่าๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ก็จะเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจตนเอง แต่หากมองในมุมว่า หากเกิดเหตุการณ์อย่างนี้อีก เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ดีขึ้น ต้องสรุป และ หาข้อดีข้อเสียของการทำงานในแต่ละขั้นอย่างเป็นกลางมากที่สุดแล้วปรับปรุงตนเองให้มีนิสัยเหล่านี้ ก็จะทำให้ภาวะผู้นำในตนเกิดความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น...

นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”


 


















 

 

 

Dear Prof. Chira,

The class on Saturday 22 September was one of the most fruitful and one of the most value time you spent with us.

Leadership in the changing world has made different to several aspects. The "leader" to any countries, organization or come down to the family size are the one who makes and set the direction among their particular community.

There are several type of leadership including academic, politic, religious and business aspect. Some people are "born" to be a good leader but however, there are some "train" to be a leader.

There are several theory on the "Leadership Roles" for example, Jack Welch, Michael Hammer, Posner & Kouzes and including Prof. Chira Hongladarom.

There are differentiation of leaders in the East and the West side of the world. There are factors in making different, which can be including of the culture, the living style, the religious etc.

It should not matter of where or which part of the world but the basic requirements to become a good leaders should be an alignment.

In the country aspect, Thailand can be one of the classic example in having the "change" and strong critical situation for the past years. The situation of the country in social, politic and economic had turned around and the country has been facing difficulty at times. All these critical happened because of the poor leader.

The previous leader of Thailand was not "born" to be a leader, obviously neither "trained" to be a leader. He was "bought" to be a leader. He spent his money to his way to the top. He immediate destroyed the ethical at the first step of his beginning in the new business as a politician.

The previuos leader of the country did not has any categories to fits as a leader of the country. The man turned all the situation in social, politic and economic to his own benifit.

There were no ethical standard whatsoever, the friendly society has turned in to a war in the middle of the capital, politic has became way under international standard, and economic wise was collasp. The leader was the key person of the whole situation.

The importance of having a good leader to do the "right things" and the team will be on the alignment in doing "things right" can only be happened under the right leader. The major effects happen under the dishonest man. All the wrong behavior happen in the society which impact the country.

Good leader make be a role model and full of value. The management of the country, organization and among the small communities will be put in the drive under good balance and fullfill of the human, intellectual, ethical, happiness social, sustainability, digital and talented capital.

The 8 capital can happend under the drive of the good leader and the positive result will falls in naturally.

The study and research on leadership always an interesting issue to work on. Seems to be a never ending story on "leadership".

Thank you very much.

Best regards,

Sarah (NaPombhejara) Allapach

[email protected] 

  

การบ้านครั้งที่  13

เรียนวันเสาร์ที่  22  กันยายน  2550  กับท่านศาสตราจารย์  จีระ  หงส์ลดารมภ์เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี                      ยามฝูงโคข้ามฟาก    นที             โคโจกนำตรงดี                 ไป่เลี้ยว             ปวงโคอื่นตามรี่               รุดข้าม              ทั้งหมดบ่คดเคี้ยว           ไต่เต้าตามกัน                   อันสุภาษิตนี้               เตือนใจ            แห่งผู้ที่เป็นใหญ่               ยิ่งผู้            มีหน้าที่นำใคร                   ใครนั่น            จำจะต้องรอบรู้                 จักแท้ทางตรง                    จะบงการแม้แต่         ครอบครัว            ก็จักต้องประกอบ              กิจไซร้            ให้เป็นเยี่ยงอย่างชอบ     สุจริต ธรรมแฮ            จึงจะอาจรักษ์ไว้               พวกพ้องพงศา                    ถ้าคิดพานิชตั้ง           ค้าขาย             ควบคุมคนทั้งหลาย         ลูกจ้าง             ให้สุจริตกาย                      วจนะ             สินจึ่งจะไม่ร้าง                 เริดไร้ ไกรงาม                    ยามรับราชกิจไท้        ทรงรัฐ              บังคับจะถนัด                    แน่ได้              ก็โดยที่เคร่งครัด          ในระเบียบ การแฮ             ประพฤติสุจริตไว้         มั่นแล้ว  ไป่เข็ญ                   แม้นท่านผู้ปกป้อง   ครองประชา              สถิตสุธรรมา                  เที่ยงแท้              พศกก็ย่อมพา                 กันรัก  ธรรมแล              ประดุจฝูงโคแล้             ไต่เต้าตามขุน ฯ        (ดุสิตสมิต  พระราชนิพนธ์ในล้นเกล้า  ร. 6) ในเวลา  9.00 น.  อาจารย์เริ่มให้ความรู้ด้วยการใช้  Cultural Capital คือสร้างวัฒนธรรมในการใฝ่รู้ให้กับพวกเรา  ท่านได้กล่าวถึงคนว่าองค์ประกอบนั้นมาจากการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว (สุภาษิตแต้จิ๋วว่า  ฉ่วง  แก  เจ๊ก  ไก่  ซิม  อึ่ง  โท่ว  เปี้ยง  เส่ง  กิม  เจ๊ก  แก  จับ  ไก่  ซิม  กิม  งึ้ง  ฮ่วย  ฮวย  ติ๊ง  ครอบครัวเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ดินเหลืองก็กลายเป็นทองคำได้  ครอบครัวแตกความสามัคคี  เงินทองก็กลายเป็นผงธุลี)   ผ่านระบบการเรียนและวิธีการเรียน (นั้ง  ปุ๊ก  ขึ่ง  ปุ๊ก  เสียง  เจ็ง  ปุ๊ก  เคียว  ปุ๊ก  เม้ง  คนไม่ถูกตักเตือนไม่มีทางได้ดี  ระฆังไม่ถูกเคาะไม่มีวันดัง)  ผ่านสื่อสารมวลชน  และสิ่งแวดล้อมทั้งปวง  จึงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  Michael Hammer  กล่าวว่า  “The world is changing very fast and unpredictable”  ผู้นำจึงต้องมีระบบการเรียนรู้ที่ต่างไปจากเดิม  การ Invest ในตัวคนโดยเฉพาะด้านการศึกษาต้องมี Harvest  หรือ Rate of Return  ที่คุ้มค่า  ทฤษฎีเบ็ดตกปลา  จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่เหมาะกับยุคสมัย  แต่ต้องพร้อมไปกับทฤษฎี HRDS  ( Happiness , Respect , Dignity , Sustainability) ที่ให้ความสำคัญกับคน  อันเนื่องจากคนมิใช่สัตว์เศรษฐกิจนั่นเองคำว่า  ศักยภาพของมนุษย์ไม่มีขีดจำกัด เป็นได้ทั้งคุณและโทษ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีข้อมูลว่า คนปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปีละ 5,000 ล้านตัน  เผาป่าและไฟไหม้ป่าเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกปีละ 1,500 ล้านตัน เป็นตัวอย่างด้านโทษที่น่ากลัวมาก  ผลการคิดค้นของ อัลเบิร์ต  ไอน์สไตน์  ก็มีทั้งประโยชน์อนันต์และโทษมหันต์  ฉะนั้นผู้นำในทุก ๆ ระดับ  ทุก ๆ สาขาจึงต้องมีการพัฒนาความรู้และความคิดอย่างต่อเนื่อง  และนำไปต่อยอดให้ได้  คือทฤษฎี Value Added  แต่น่าเสียดายที่ประเทศไทยไม่ค่อยมีวัฒนธรรมในการใฝ่รู้  การทำวิจัยยังมีน้อย  ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วจึงถูกเปรียบเสมือนทฤษฎี Ladder Theoryผมได้แสดงความเห็นต่อท่านอาจารย์ไปว่า ผู้นำของไทยที่มองการณ์ไกลมากในอดีต  คือสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  รัชกาลที่ 5  ที่มีกุศโลบายนำประเทศให้รอดจากการเป็นอาณานิคม  ด้วยการสร้างความเจริญมากมายทั้งด้าน  Infrastructure  และด้านทุนมนุษย์  นั่นคือการเลิกทาส  สร้างโรงเรียน  ส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิทยาการตะวันตกหลากหลายด้าน  หลายประเทศ  และทรงเสด็จไปยังประเทศมหาอำนาจทุกประเทศเพื่อมีสัมพันธไมตรี  ขณะที่เสด็จประพาสต้นหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อรับรู้สภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริง  เข้าถึงความยั่งยืนของวัฒนธรรมท้องถิ่น  เราจึงจำคำพูดที่ว่า  คล้ายนัก ๆ ขอรับ    ของชาวบ้านที่ได้เข้าเฝ้าท่านได้ดี  เพียงแต่สมัยนั้นยังไม่มี Digital Capital  เท่านั้น  แต่สมัยปัจจุบัน  รัชกาลที่ 9 ท่านเป็นผู้นำที่ดำเนินแนวทางเดียวกัน  ทุกคนคงทราบข่าวเวลาน้ำท่วมช่วงปี 2526  ในหลวงทรงออกตรวจพื้นที่โดยไม่มีผู้ติดตาม  นั่นคือความกล้าหาญและเสียสละของท่านต่อประชาชน  เป็นตัวอย่างที่สอนเราด้านการจัดการทุนมนุษย์ได้อย่างดีมาก ประเด็นต่อมาที่อธิบายความแตกต่างของของผู้นำกับผู้บริหาร  ก็คือผู้นำต้องเป็นยิ่งกว่านักบริหาร  ซึ่งผู้นำมีหลายแบบ  เช่น  Trust / Authority  ,  Charisma  ,  Situation  ,  Quiet  Leader  หลายคนมีหลายแบบอยู่ในตัวเอง  ทั้งที่ติดตัวมา  และผ่านการฝึกฝนเรียนรู้  อย่างไรก็ตามผู้นำต้องปรับตัว  เรียนรู้การเปลี่ยนแปลง  และยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้  Center for creative leadership  ทำการวิจัยแล้วพบว่าการพัฒนาผู้นำทำได้ด้วยทฤษฎี 5 E’s  ประกอบด้วย  Example , Experience , Education , Environment   และ Evaluation  น่าจะมี  Ethics ด้วย  ขณะที่การศึกษาภาวะผู้นำของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน  พบว่าผู้นำมี 4 แนวคือ 1.Character (ที่ใฝ่รู้  คิดดี ทำดี) 2.มี Leadership skill (มีความสามารถในการตัดสินใจ  การต่อรอง  ทำงานร่วมกัน  และทำงานบรรลุผลสำเร็จ)  3.Leadership Process  (know where are you going ?, how to go? , how to get there ?)  4. มี Trust ที่ได้รับการยอมรับในตอนสุดท้าย ท่านอาจารย์จีระ  ได้รวบรวมแนวทางจาก GURU 6 ท่านในการศึกษาผู้นำให้แก่พวกเรา  ได้แก่

ศ.ดร.จีระ

JackWelch Stephen Covey Klann
1.Crisis Management 1. Energy 1.Path Finding 1.Courage
2.Anticipate Change 2.Energize 2.Aligning 2.Caring
3.Motivate others to exellent 3.Edge 3.Empowering 3.Optimism
5.Explore Opportunity 4.Execution 4.Role Model 4.Self Control
6.Rhythm & Speed - - 5.Communication
7.Edge - - -
8.Teamwork - - -
9.Unpredictable  Management - - -
  

Michael Hammer

Posner & Kouzes
1.Vision 1.Role Model
2.Communication 2.Share Vision
3.Commitment 3.Challenge
- 4.Collaboration
- 5.Care & Sympathy
 ไม่ว่าจะใช้แนวทางของใครก็ตาม  หรือจะใช้แนวทางของของหลายท่านมาผนวกกันก็ตาม  คำเตือนของ ศ.ดร.จีระ ก็คือองค์กรจะต้องแยกแยะระหว่างผู้นำที่ดีและไม่ดีให้ได้ขอกราบขอบพระคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ที่กรุณาสละเวลาอันมีค่ายิ่ง กว่า 3  เดือน เพื่อ ปลูกคนตลอดชีวิต ให้ความรู้ด้านการจัดการทุนมนุษย์แก่พวกเรา ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่โป๊ะเชะจากพันธุ์แท้ด้าน HR อย่างเต็มเปี่ยม  พวกเรารักและเคารพอาจารย์มากครับ  สุดท้ายจึงอยากเสนอทฤษฎี  WHY  DO  WE  LOVE  YOU  SO เพื่อเป็นการขอบคุณอีกครั้งหนึ่งครับ
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล

ขอส่งงานซ้ำของวันที่ 4 สิงหาคม 2550 เนื่องจากระบบ Blog มีปัญหา ทั้งนี้ได้ให้ File ไว้กับคุณเอราวัณ ไว้แล้ว

เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  การบ้าน PHD 8020 การจัดการทุนมนุษย์ (นพมาศ ช่วยนุกูล)    “Leadership in a changing world : อาจารย์ Peter Bjork   / 4 สิงหาคม 2550  1. ความเป็นผู้นำ  คือ การใช้อิทธิพลต่อผู้อื่นเพื่อให้เกิดความพยายามดำเนินงานให้บรรลุถึงเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กร2. ประเด็นสำคัญของภาวะผู้นำ  ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร,  การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร,  การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์กร,  การเปลี่ยนแปลงความต้องการ, ทัศนคติของคนให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน,  การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ,  และการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร 3. ประเภทของผู้นำ  การนำปัจจัย 3 ประการได้แก่  เรื่องความสัมพันธ์ (Relation)  เรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change)  และเรื่องโครงสร้าง (Structure)  เข้ามาจำแนกทำให้เกิดผู้นำประเภทต่าง ๆ รวม 8 ประเภท คือ  Laissez, Idea squirt, Nice guy,  Bureaucrat,  Gardener,  Transactional,  Entrepreneur,  Visible    อย่างไรก็ตาม เรายังอาจพบว่าการแบ่งหรือการจัดกลุ่มประเภทผู้นำนี้ บางตำราก็ใช้ปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ คน และงาน มาเป็นตัวจำแนก ซึ่งทำให้ได้ผู้นำ 5 ประเภทคือ 1) ผู้นำแบบไม่เอาไหน คืออ่อนทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน  2) ผู้นำแบบงานลูกเดียว คืออ่อนเรื่องคนแต่เน้นเรื่องงาน  3) ผู้นำแบบบันเทิงสโมสร คือเก่งเรื่องคนและอ่อนเรื่องงาน  4) ผู้นำแบบทีม คือเก่งทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน  5) ผู้นำแบบครึ่งทาง คือให้ความสำคัญทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน 4. การ workshop-instruction โดยการให้ยกตัวอย่างผู้นำคนต่าง ๆ ที่เรารู้จักเพื่อวิเคราะห์ว่าผู้นำแต่ละคนที่กล่าวถึงมีจุดแข็งและจุดอ่อน อย่างไร ใน 3 ประเด็นคือเรื่องความสัมพันธ์ (Relation)  เรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change)  และเรื่องโครงสร้าง (Structure)  ซึ่งได้มีการยกตัวอย่าง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นผู้นำที่เป็นคนดี และมีจุดแข็งทั้ง 3 ประการ   ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี(คุณทักษิณ ชินวัตร) มีจุดอ่อนในเรื่องความสัมพันธ์ เป็นต้น 5. คุณสมบัติของผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1)การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Partnership) 2)ความอดทน (Endurability)    3)การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)  4)การปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน (Acting as driving force)  5)การคลี่คลายข้อโต้แย้ง (Conflict solving)   อย่างไรก็ตาม  บางครั้งเราจะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของผู้นำมีมากมาย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้บางครั้งก็มีความสำคัญบางครั้งก็ไม่ค่อยสำคัญ  กล่าวคือเราสามารถแบ่งคุณสมบัติของผู้นำตามระดับความสำคัญได้เป็น 1) คุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี หรือคุณสมบัติที่สำคัญที่จะต้องมี  2) คุณสมบัติที่ควรต้องมี หรือคุณสมบัติที่พึงปรารถนา  3) คุณสมบัติที่สามารถมีได้ หรือคุณสมบัติที่ช่วยสนับสนุนให้ดีขึ้นแต่ไม่สำคัญมากนัก     6. หลักการสร้างภาวะผู้นำในงานและในชีวิต สามารถนำหลักพรหมวิหาร 4 มาใช้ได้ กล่าวคือ 1) เมตตา คือการอยากให้คนมีความสุขความสำเร็จ  2) กรุณา คือการช่วยให้คนสำเร็จในงาน 3) มุทิตา คือการยินดีเมื่อเขามีความสำเร็จ และ4) อุเบกขา คือกรวางเฉยหรือการตักเตือนเมื่อเขาทำออกนำกรอบงาน เป็นต้น 7. องค์กรที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำจะต้องมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำอาจมีจำนวนน้อย ดังนั้นการพัฒนาหัวหน้างาน หรือระดับอื่น ๆ ให้เป็นผู้นำจึงมีความจำเป็น  อย่างไรก็ตามหัวหน้างานอาจจะมีอำนาจที่เกิดจากตำแหน่ง (Authority)  เพื่อให้สามารถบริหารงานได้ แต่  Authority  อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการผลักดันงานให้บรรลุผล จึงจะต้องสร้างอำนาจ (Power) จากการเป็นผู้นำด้วย โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ อำนาจจากการให้รางวัล,  อำนาจจากการบังคับ,  อำนาจโดยทางกฎหาย,  อำนาจการอ้างอิง, และอำนาจจากความเชี่ยวชาญ เป็นต้น  

 

นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล

ขอส่งงานซ้ำของวันที่ 4 สิงหาคม 2550 เนื่องจากระบบ Blog มีปัญหา ทั้งนี้ได้ให้ File ไว้กับคุณเอราวัณ ไว้แล้ว

เรียน ศ. ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ส่งการบ้าน PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์   /นพมาศ ช่วยนุกูล/ รภ สวนสุนันทา(อ.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ / Competency-Based Management/ 11 สค.2550)1.  Competency หมายถึง ความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง โดยที่ ความรู้ ทักษะ ความสามารถและพฤติกรรม จะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแผนยุทธศาสตร์/ เป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน   ในขณะที่  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนได้ให้ความหมายของ Competency (สมรรถนะ) ว่าคือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พฤติกรรมในการทำงานเป็นผลรวมที่เกิดมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้คนทำงานได้โดดเด่น  2.   Competency แบ่งเป็น Core Competency (ความสามารถหลัก : ความสามารถที่จำเป็นต้องมี)  และ Functional Competency (ความสามารถเฉพาะด้าน : ความสามารถในการปฏิบัติงานเฉพาะด้าน, อาชีพ )   ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าคือ มาตรฐานบังคับ  และ มาตรฐานวิชาชีพ  น่าจะสื่อถึงความหมายของ Core Competency และ Functional Competency ได้ชัดในระดับหนึ่ง 3. ความสำคัญและประโยชน์ของ Competency ต่อการบริหาร   การวิเคราะห์ทักษะ ความรู้ ความสามารถ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน และเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กร ซึ่งการประเมิน Competency โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อาทิ Potential Matrix จะช่วยให้องค์กรพัฒนาคนได้อย่างถูกทิศทางและนำไปสู่การทำ Succession Planning ขององค์กร          สำหรับกรณีการใช้   Competency (สมรรถนะ) ในระบบราชการก็เพื่อให้ข้าราชการมีพฤติกรรมในการทำงานที่องค์กรต้องการ  โดยองค์กรต้องพิจารณาค่าตอบแทนให้สัมพันธ์ และจูงใจ หรือเสริมแรง ให้มีพฤติกรรมตามที่องค์กรต้องการ         ที่กล่าวข้างต้นว่าสมรรถนะ ประกอบด้วยความรู้ ทักษะ ความสามารถ และพฤติกรรม  ส่วนการวัดความรู้ ความสามารถ ทักษะนั้น ภาครัฐอาจวัดกันตั้งแต่การคัดเลือกบุคคลเข้าสู่องค์กร ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้อาจพิจารณาจากการศึกษา ประสบการณ์ของบุคคล ซึ่งจะเป็นการทำนายว่าความรู้ ความสามารถ ทักษะเหล่านั้นจะทำให้คนมีผลการปฏิบัติงานที่ดีตามที่องค์กรคาดหวัง  และในส่วนของพฤติกรรมเราอาจวัดโดยใช้แบบฟอร์มการประเมินสมรรถนะที่มีประเด็นต่าง ๆ ที่จะประเมิน และแบ่งเป็นระดับ  อาทิ การประเมิน Core Competency (สมรรถนะหลัก) อาจมีเรื่องการมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การสั่งสมประสบการณ์ในงานอาชีพ จริยธรรม และการร่วมแรงร่วมใจ เป็นต้น   นอกจากการประเมินสมรรถนะ เพื่อประเมินพฤติกรรมแล้วในราชการยังมีการประเมินผลงานอีกประการหนึ่ง ซึ่งการประเมินทั้ง 2 อย่างนี้ ก็เพื่อนำผลการประเมินที่วัดได้ไปสร้างความสัมพันธ์กับค่าตอบแทน เพื่อจูงใจให้คนทำงานให้ดีขึ้นแล้วยังนำไปใช้เป็นแนวทาง/แผน ในการพัฒนาคน เพื่อให้คนมีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพฤติกรรมในทิศทางที่องค์กรต้องการ และคนเหล่านั้นก็จะปฏิบัติงานและนำพาองค์กรให้บรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด       ในทางปฏิบัติการออกแบบ Competency เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย และเมื่อถึงขั้นการประเมินด้วยแล้วมักเกิดปัญหาความไม่ชัดเจนทั้งในผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน ซึ่งมักไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์และบทบาทของตนเองอย่างถ่องแท้ ทำให้ 2 ฝ่ายเกิดอคติกัน ส่งผลให้การพัฒนาคนไม่บรรลุเป้าหมายในเวลาอันควร และเป็นอุปสรรคเชื่อมโยงสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้   ดังนั้น องค์กรที่ดำเนินการในเรื่อง Competency จำเป็นจะต้องให้ความรู้ สร้างเข้าใจ ความชัดเจนให้กับบุคคลในทุกระดับ และผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญ ร่วมมือปฏิบัติ และเป็นแบบอย่างที่ดี  และที่สำคัญเครื่องมือจะต้องดีและเหมาะสมกับองค์กรด้วย  เพื่อให้การลงทุน ลงแรง   และเวลาที่ใช้ไปในการทำเรื่อง Competency เกิดประโยชน์ เกิดการพัฒนาคน และองค์กรประสบความสำเร็จ   

 

นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล

ขอส่งงานซ้ำของวันที่ 15 กันยายน 2550 เนื่องจากระบบ Blog มีปัญหา

เรียน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ (Ref : อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  : Workforce Alignment In an Organization / 15 กันยายน 2550)   (นักศึกษา : นพมาศ ช่วยนุกูล   รภ.สวนสุนันทา) 1. การทำ Alignment ก็เหมือนกับการต่อจิ๊กซอเพื่อให้ได้ภาพใหญ่ภาพเดียว ดังนั้นองค์กรต้องมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน คนในองค์กรจะต้องมีการ Shared Vision ไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยงาน/องค์กร  และพัฒนาตนเองให้เป็น Personal Mastering  เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของตนเองและผลักดันให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์ ตามลำดับ         2. ในแต่ละองค์กรควรจะมีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ที่มีทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงต่อเนื่องไปสู่กลยุทธ์องค์กร  และนำไปสู่การกำหนด Roles & Responsibilities  ความเชื่อมโยงดังกล่าวนี้จะนำไปสู่การกำหนด KRA  ในแต่ละ Function  แต่ละกลยุทธ์ พร้อมดัชนีวัดผลความสำเร็จ  และการกำหนดคุณสมบัติ หรือ Job  Requriement  หรือ Competency  3. อย่างไรก็ตาม คงไม่มีหน่วยงานใดทำงานตาม Function เพียงอย่างเดียว กล่าวคือหน่วยงานยังต้องมีหน้าที่ทำงานสนองยุทธศาสตร์ หรืองานมอบหมายพิเศษ หรือ งาน Cross Functional ซึ่งทำให้ทุกคนไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของ Relationship และ Leadership ได้ 4. เมื่อบุคลกรกรมีผลงานตามเป้าหมายแล้วควรนำไปเชื่อมโยงกับระบบ Rewards และ Ownership  กล่าวคือ เมื่อองค์กรมี เป้าหมายและ Align สู่ KUSA , Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking ซึ่งก็คือ Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution        5. อย่างไรก็ตามผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า ใน Workforce Alignment Model  ควรเพิ่มเติมเรื่องโครงสร้าง เข้าไว้ด้วย  ทั้งนี้เนื่องจากเรื่องโครงสร้างเป็นเรื่องที่มักอยู่คู่กับอย่างถาวรกับองค์กร  ในขณะที่บุคลากร/ผู้นำองค์กร มีวงจรแบบหมุนเวียนคือเข้ามาและจากองค์กรไป  ดังนั้น หากโครงสร้างองค์กรมีความเหมาะสม ก็จะมีส่วนเอื้อให้เรื่อง  Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking  เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล แต่ในทางตรงข้ามหากโครงสร้างองค์กรไม่ดี ก็จะเป็นอุปสรรคต่อ เรื่อง  Measured Accountabilities , Linked Rewards , Ownership Thinking  และส่งผลให้ Workforce Alignment ไม่มีความยั่งยืน และกระทบกับการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรในที่สุด ...............................

 

การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 13ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนไปศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 22 กันยายน 2550

      วันนี้นับว่าเป็นวันที่สำคัญและมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับการปิดคอร์สวิชาการจัดการทุนมนุษย์เพราะศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้ทุ่มเท ตั้งใจและเสียสละเวลาสำหรับพวกเราเป็นอย่างมาก และก็เหมือนทุกครั้งเพราะอาจารย์บอกเสมอว่าบรรยากาศการเรียนที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนจึงได้ประเด็นที่หลากหลาย เช่นการคิดให้คิดเชิงประจักษ์คือมีข้อมูลสนับสนุนไม่ใช่จากความรู้สึก ความรู้ที่ดีควรได้มาจากการ Sharing  เพราะจะเกิดความต่างกันในความคิดได้ความรู้ที่ครอบคลุม รอบด้านกว่าการอ่านคนเดียว และการลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนทางปัญญา

          ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะองค์กรยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูงก็ต้องการผู้นำที่ไม่ใช่ผู้จัดการเท่านั้นซึ่งปัจจุบันพบว่ากำลังประสบปัญหาการขาดแคลนผู้นำในอุดมคติการเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลปของการบังคับบัญชา  ภาวะผู้นำ(Leadership) ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐจำเป็นต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง (Know Something in Everything) หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง (Know Everything in Something) เพราะบางครั้งการเป็นผู้นำที่มองด้านเดียวอาจเกิดปัญหาได้ ใครจะคาดคิดว่าอยู่ดี ๆประเทศไทยที่ประกาศอยู่เสมอว่าเป็นประเทศเสรี มีประชาธิปไตย กลับต้องเกิดการปฏิวัติโดยทหาร นี่ก็แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเกิดจากปัญหาของผู้นำระดับประเทศที่ขาดในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมในความเป็นผู้นำ

       ผู้นำแม้จะมีมากมายหลายประเภทเช่นผู้นำทางวิชาการ ทางการเมือง ทางศาสนา ทางทหารและอื่น ๆอีกมากมาย แต่ถ้าจะมองเรื่องที่ใกล้ตัวมากที่สุดคือ ผู้นำครอบครัวเพราะเป็นผู้นำที่สำคัญและเป็นรากฐานให้ลูก ๆและสังคมคอบครัว ชุมชน ได้เห็น และแม้ว่าภาวะการเป็นผู้นำบางคนก็มีมาตั้งแต่เกิด (Born to be) อย่างไรก็ตามการจะเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องมีการฝึกฝน การพัฒนาต่อยอดเช่นกัน ซึ่งมีทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำมากมายเช่น Jack Welch ,Michael Hammer ,Posner and Kouzea หรือ8 K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และ 8 H’sของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม ความเชื่อของประเทศทางตะวันตกและตะวันออก

         อย่างไรก็ตามการที่ได้มีโอกาสเรียนรู้กับศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุดกับยุคนี้แม้ว่าอาจช้าไปหน่อยแต่อย่างน้อยเป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการและความคิดว่าทำไมการเป็นผู้บังคับบัญชาจึงต้องมีกรอบ  อ้างระเบียบไปซะทุกเรื่อง นั่นเป็นเพราะว่าผู้บังคับบัญชาเป็นผู้บริหารไม่ใช่ผู้นำ เพราะการเป็นผู้นำที่ดีย่อมทำให้ผู้อื่นอยากเดินตามดังนั้นต้องเน้นที่คน ต้องสร้างความเชื่อใจไว้วางใจให้ได้จึงต้องใช้ระยะเวลา เน้นนวัตกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง สามารถมองเห็นอนาคตขององค์กรได้อย่างชัดเจนโดยมีข้อมูลสนับสนุนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร

           สิ่งสำคัญที่จะเติมเต็มของการเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำจะต้องมีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ประการ ตั้งแต่ทุนที่มีมาตั้งแต่เกิด ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนทางด้านความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความคิด เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลักดันให้เกิดการบริหารประเทศ บริหารองค์กร บริหารสังคมและชุมชน ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง

          นอกจากนี้อาจารย์ยังแนะนำให้ศึกษาดูงานในสถานที่จริงอีก 3 แห่งในต่างประเทศซึ่งนับว่าป็นสิ่งที่ดีมากและที่ดีที่สุดคือการที่อาจารย์บอกว่าจะพาพวกเราไปด้วยต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับความเมตตาที่อาจารย์มีกับพวกเรา การปิดคอร์สในวันนี้คงเป็นการปิดคอร์สเพื่อการต่อยอดมากกว่าการสิ้นสุดการเรียน เนื่องจากสิ่งที่อาจารย์บรรยายวันนี้มีหลายเรื่องที่สามารถนำมาเป็นงานวิจัยในการทำดุษฎีนิพนธ์ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงในความกรุณาที่เสียสละเวลามาให้ความรู้กับพวกเราด้วยความห่วงใยในการศึกษาครั้งนี้โดยที่อาจารย์จะย้ำเตือนอยู่เสมอว่า ปริญญาไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญา ดังนั้นการรู้จริงของพวกเราต่างหากเป็นสิ่งสำคัญ

อรพินท์ มณีรัตน์
[email protected]

        

การบ้าน วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550บรรยายโดย..ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์เรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนโดย..ชารวี  บุตรบำรุง

     สำหรับเช้าวันนี้ ท่านอาจารย์จีระ ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่ามาให้ความรู้แก่พวกเรา ทำให้ได้แนวคิดมากมายที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น ขอให้มีวัฒนธรรมในการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ต้องมีปัญญา และ Investment ที่สำคัญที่สุด คือ ปัญญา มนุษย์เกิดมาเท่ากันอยู่ที่การลงทุน(ทุนทางปัญญา) อย่างต่อเนื่องและต่อยอด รวมทั้งต้องรู้ว่า แต่วันได้ความรู้ด้วยวิธีใด มีการแบ่งปันหรือไม่ สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างไร เสมือนการปลูกข้าวอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้จักเก็บเกี่ยวด้วย รู้จริง ดีกว่า รู้เยอะ และต้องมี

 H – Happyness  มีความสุข

R – Respect  ยกย่องมนุษย์

D – Dignity  ให้เกียรติ ศักดิ์ศรี

S – Sustainability ยั่งยืน

 

    

นอกจากนี้ ยังทราบว่า ทุนมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่มีค่า ต้องลงทุน และสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ เช่น Finance , Marketing ….ซึ่งล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนต้อง เก่งคน เก่งงาน เก่งการเปลี่ยนแปลง โดย

    
R E   -  H U M A N E E R I N G      เป็นการบริหารงานและบริหารคนเพราะถือว่าคนเป็นทรัพยากร (RESOURCE) ที่สำคัญขององค์กร สิ่งที่จำเป็นในการRE-HUMANEERINGคือ
การเปลี่ยนความคิดของคน
การเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร
เปลี่ยนความคิดเรื่องวิธีการทำงาน
การสร้างวิสัยทัศน์ในการทำงานการบริหารงาน
 เน้นการทำงานเป็นทีม
การบริหารทรัพยากรบุคคลที่อยู่นานให้มีคุณค่า

RE-HUMANEERING สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในระบบ 5 W เพื่อปฏิบัติการคือ

   

1.WHAT กำหนดนโยบาย / เป้าหมายแผนงาน / ขอบเขต ขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน
       2.
WHO เสาะหา / รวบรวม คนในองค์กรที่เข้าข่ายระบบ RE-HUMANEERING
       3.
WHERE วิเคราะห์ผลกระทบที่จะมีต่อแผนก ฝ่าย ฯลฯ       4.WHENให้เสร็จทันเวลาและทันความต้องการ
       5.
WHY ข้อมูลเปรียบเทียบ เพื่อเหตุผลในการเพิ่มเหตุผลในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของคนในองค์กร (ดร.รัตติกรณ์ จงวิศาล)

    

ตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ผู้นำซอฟแวร์ของโลก มีภาวะผู้นำดังนี้ 1.     ใฝ่รู้ 2.    คิดสร้างสรรค์ 3.    คิดนอกกรอบข้ามศาสตร์  4.     ทุนทางปัญญา 5.    กล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ

  และโดยเฉพาะปัจจุบัน ในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการผันผวนในทุกๆด้าน  ภาวะผู้นำ เป็นสิ่งที่จะทำให้สามารถขับเคลื่อนองค์กร ฝ่าวิกฤตยืนหยัดไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนต่อไปได้ ซึ่งภาวะผู้นำมี  3 องค์ประกอบ ได้แก่  

1. ภาวะผู้นำบารมีในการสร้างแรงบันดาลใจ  (Charismatic – Inspirational Leadership)  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะแสดงออกด้วยการเป็นแม่แบบที่เข้มแข็ง ให้ผู้ตามได้เห็นตาม  เกิดการรับรู้ในพฤติกรรมผู้นำ  ทำให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผู้นำขึ้น   นอกจากนี้ผู้นำการเปลี่ยนแปลงยังมีพฤติกรรมปฏิบัติ ที่มีมาตรฐานทางศีลธรรมสูงจนเกิดการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม  ทำให้ได้รับความศรัทธา ความไว้วางใจ การยอมรับ นับถืออย่างลึกซึ้งจากผู้ตาม ดังนั้น  ผู้นำจะต้องแสดงออกด้วยการสื่อสารให้ผู้ตามทราบถึงความคาดหวัง ที่ผู้นำมีต่อผู้ตามด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ  ให้ยึดมั่นและร่วมสานฝันต่อวิสัยทัศน์ขององค์การ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายแทน  การทำเพื่อประโยชน์เฉพาะตน  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นผู้ที่ส่งเสริมน้ำใจแห่งการทำงานเป็นทีม  ผู้นำจะพยายามจูงใจผู้ตามให้ทำงานบรรลุเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยการสร้างจิตสำนึกของผู้ตาม ให้เห็นความสำคัญว่า  เป้าหมายและผลงานนั้นจำเป็นต้อง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  จึงทำให้องค์กรเจริญก้าวหน้าประสบความสำเร็จได้ 

 2.  ภาวะในการกระตุ้นทางปัญญา  (Intellectual Stimulation)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่แสดงออกด้วยการกระตุ้นให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ  โดยใช้วิธีการคิดทวนกระแสความเชื่อและค่านิยมเดิมของตนหรือผู้นำหรือองค์การ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะสร้างความรู้สึกท้าทายให้เกิดขึ้นแก่ผู้ตาม มองปัญหาเป็นโอกาส และจะให้การสนับสนุนหากต้องการทดลองวิธีการใหม่ ๆ ของตน  หรือการริเริ่มสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ให้กับองค์การ  ส่งเสริมให้ผู้ตามแสวงหาทางออกและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่  กระตุ้นให้ทุกคนได้ทำงานอย่างอิสระในขอบเขตของงานที่ตนมีความรู้ความชำนาญ     

 3. ภาวะในการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล  (Individualized Consideration)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ที่ให้ความสำคัญในการใส่ใจ ถึงความต้องการความสำเร็จและโอกาสก้าวหน้าของผู้ตามเป็นรายบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลบางคนอาจต้องดูแลใกล้ชิด  ในขณะที่บางคนมีความรับผิดชอบสูงอยู่แล้ว จะให้อิสระในการทำงาน เป็นต้น  โดยที่ผู้นำจะแสดงบทบาทเป็นครู พี่เลี้ยง และที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการช่วยเหลือผู้ตามให้พัฒนาระดับความต้องการของตนสู่ระดับที่สูงขึ้น  สร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี   ส่งเสริมการเรียนรู้และความมั่นใจให้แก่ผู้ตามเพื่อให้ทำงานได้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ 

 

    

 ภาวะทั้ง 3 องค์ประกอบ   จะหลอมรวมพลังกาย พลังใจ พลังปัญญา ของคนทั่วทั้งองค์กร ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ การที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับใคร ก็ต้องเก่งพอ และ ดีเพียงพอที่จะเป็นแบบอย่าง 

 
 
“ Morning Coffee ” ของเช้าวันเสาร์ที่  22 ก.ย. 50 ในบรรยากาศของการปะทะกันทางปัญญาแบบโป๊ะเชะ ทำให้พวกเราได้รับความรู้ ความหวังดี และความห่วงใยอย่างเต็มเปี่ยมกับ Happy Learning จากศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ******* เริ่มด้วยประเด็นที่น่าสนใจจากการที่ ศ.ดร.จีระ ไปประชุมที่ประเทศฟิลิปปินส์ เรื่องทรัพยากรมนุษย์กับนวัตกรรมในกลุ่ม APEC  ที่อาจารย์เป็นประธานคณะทำงานด้าน HR. ของ APEC หรือ Lead Shepherd HRD WG ทำให้ได้ข้อคิดจากการที่คนเก่งในประเทศฟิลิปปินส์ปัจจุบัน มีค่านิยมทำงานในต่างประเทศจำนวนกว่า 10 ล้านคน และส่งเงินกลับมาช่วยครอบครัวและประเทศเท่ากับ 11 % ของ GDP. ในขณะที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2550 มีอัตราเติบโตของ GDP. เท่ากับ 4.0% หรืออยู่ในอันดับสุดท้ายของ ASEAN ตามที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ได้รายงานข้อมูลดังกล่าวไว้  อาจารย์ได้ให้มุมมองว่าถึงแม้รัฐบาลปัจจุบันจะมีจุดอ่อนในเรื่องของเศรษฐกิจ แต่ก็มีจุดแข็งที่ช่วยรัฐบาลในระยะยาวคือเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม และการปลูกฝังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออนาคต  ******* จากมุมมองดังกล่าว ดิฉันเห็นว่า ค่านิยมการทำงานในต่างประเทศของบ้านเรา ก็มิได้แตกต่างไปจากประเทศฟิลิปปินส์ หากแต่คนไทยมีจุดอ่อนในเรื่องของภาษาอังกฤษ จึงทำให้โอกาสในการถูกคัดเลือกในระดับขีดความสามารถเดียวกันน้อยกว่าคนฟิลิปปินส์  แต่มิได้หมายความว่าระดับค่านิยมจะแตกต่างกันมากนัก  เห็นได้จาก ค่านิยมในระดับผู้ใช้แรงงานโดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่ขายที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินมรดก ที่ทำมาหากินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เพื่อส่งลูกหลานไปทำงานในตะวันออกกลาง หรือประเทศเพื่อนบ้านอย่างเช่นสิงคโปร์ เป็นต้น ค่านิยมการละทิ้งถิ่นฐานมุ่งสู่การทำงานในกรุงเทพฯ ปล่อยให้คนแก่และเด็กเฝ้าบ้าน ในทำนองเดียวกันค่านิยมดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับคนในระดับที่มีความรู้ มีการศึกษาและเป็นคนเก่ง เช่นแนวโน้มอัตราที่เพิ่มขึ้นของค่านิยมการทำงานในต่างประเทศของอาชีพพยาบาลปัจจุบัน  เห็นได้จากจำนวนพยาบาลที่สมัครสอบ NCLEX เพื่อไปทำงานในต่างประเทศ จากข้อมูลของประเทศฟิลิปปินส์ที่ ศ.ดร.จีระได้รับทราบจากท่านทูตฟิลิปปินส์แจ้งว่า ประเทศฟิลิปปินส์มีพยาบาลถึงร้อยละ 85 ที่ไปทำงานในต่างประเทศทำให้โรงพยาบาลบางแห่งของฟิลิปปินส์ถึงกับต้องปิดกิจการเนื่องจากมีพยาบาลไม่เพียงพอ *********  จากบทเรียนของประเทศฟิลิปปินส์สู่ประเทศไทยดังกล่าวข้างต้น  หากวิเคราะห์โดยไม่ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systematic Thinking ที่มองอะไรอย่างเป็น Logic แล้ว ตัวเลข 11 % ของ GDP. ที่ได้ก็ดูมีค่ามหาศาล และน่าส่งเสริมค่านิยมนี้เพราะทำให้สร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก แต่หากวิเคราะห์กันอย่าง Organic จะเห็นว่าผลกระทบที่จะตามมาหรือปัญหาในระยะยาวที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่คุ้มกันเลย ไม่ว่าจะเป็น - ปัญหาด้านแรงงาน Labor Force และการประกอบอาชีพ เช่นงานบางประเภทก็ต้องใช้คนพม่าทำแทนแรงงานคนไทยทำให้เกิดปัญหาคนต่างด้าว Hispanic Origin ปัญหาด้านประชากร Population รวมถึง การศึกษา Education, ครอบครัว Family, สังคม Social ปัญหาด้านความยั่งยืน Sustainability เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม Environment, เศรษฐกิจ Economic, สังคม Social,วัฒนธรรม Culture, การเมือง Political เป็นต้น**********  จากผลกระทบดังกล่าวสรุปได้ว่า ถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ผู้นำและผู้บริหารประเทศจะต้อง ทำงานแบบเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับแบบเดิมๆ มองอะไรอย่าง Macro และมีวิสัยทัศน์ vision ในการเห็นความสำคัญของการลงทุนกับคนโดยใช้ ทฤษฎีทุน 8K’s เป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่องค์กร สังคม และประเทศชาติ โดยการศึกษาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาบนพื้นฐานทฤษฎี 2R’s ได้แก่ Reality และ Relevance เพื่อวางแผนกลยุทธ์ Strategy และสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added ในการพัฒนาโครงสร้างของ Human Capital ทั้งในด้าน Supply โดยเฉพาะการพัฒนาประชากรให้เป็น Global Citizen  และ ในด้าน Demand เพื่อให้เกิด Sustainability อย่างจริงจัง ***  และประเด็นที่สำคัญอีกประการที่ขาดไม่ได้คือ เมื่อลงทุนแล้วต้องอย่าลืมดูผลผลิตดังที่ ศ.ดร.จีระได้พูดเสมอว่า “ Cultivation is not as Important as Harvesting” การเพาะปลูกสำคัญก็จริง แต่การเก็บเกี่ยวย่อมสำคัญกว่า "********* ศาสตราจารย์ ดร.จีระ เสริมในประเด็นขององค์กรสมัยใหม่ที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง Changing Management ทั้งในด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยใช้ ทฤษฎี 3 วงกลม ได้แก่ 1.Context เน้นความสำคัญของ IT ต่อการจัดระบบฐานข้อมูลเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และการทำงานในรูปแบบของ process 2. Competencies เป็นเรื่องของการเพิ่มศักยภาพของคน 3. Motivation เป็นเรื่องของการใช้หลัก Personnel Management ให้เกิดจริงในองค์กร  ภาวะผู้นำ จึงมีบทบาทอย่างมากต่อความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลวขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ อาจารย์ได้กำหนดบทบาทของผู้นำ 9 ประการ Leadership Rules by Dr.Chira Hongladarom ไว้ดังนี้ 1.Crisis Management  2.Anticipate Change  3.Motivate Others to Excellent 4.Conflict Resolution 5.Explore Opportunities 6.Rhythm & Speed 7.Edge  8.Teamwork 9.Changing Management ********** ดิฉันขอเสริม Changing Environment ให้เป็นส่วนหนึ่งของ Changing Management กล่าวคือ ผู้นำกลยุทธ์เป็นส่วนหนึ่งของบทบาทผู้นำที่ดี  ผู้นำกลยุทธ์จะต้องอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และตระหนักเสมอว่า  How to be Successful in Changing World? โดยยึดหลัก 1. Macro  2. Focus 3.Strategic Moves และใช้บทบาทเสริมของผู้นำที่ดีในด้าน HR. Strategy and Management ได้แก่ 1.Path Finder  2.Alignment 3.Empower และ 4.Role Model ซึ่งต้องเน้นการให้ความสำคัญกับการเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือ Ethics ดังเช่นผู้นำประเทศที่มีทั้งเป็นแบบอย่างและไม่เป็นแบบอย่างที่ดี อย่างเช่น นาย ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น หรือ อดีตประธานาธิบดี ซูฮาร์โต แห่งอินโดนีเซีย  อดีตประธานาธิบดี เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส แห่งฟิลิปปินส์  เพราะการเป็นผู้นำย่อมต้องมีบทบาทที่แตกต่างอย่างชัดเจนกับการเป็นผู้จัดการ ดังคำกล่าวที่ว่า “ Leader do the Right Things , Manager do the Things Right ”     *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี
  การฟังบรรยาย วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550หัวข้อ LEADERSHIP โดยศาสตร์ตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์การบ้านครั้งที่ 13 โดย นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี  ลักษณะการเป็นผู้นำที่ดีORWAY TEAD ได้กล่าวถึงลักษณะที่จำเป็น ของผู้นำมี10 ประการ (TEAD 1936)RUCKER ได้กล่าวถึงลักษณะที่จำเป็น ของผู้นำมี 8 ประการ (บุญทัน2520:49)STOGDILL ได้กล่าวถึงลักษณะที่จำเป็น ของผู้นำมี 6 ประการ (STOGDILL 1974:74-75) นอกจาก LEADERSHIP อาจพิจารณา โดยใช้รูปอักษร CREST C-COMMITMENTR-RATIONALITYE-ENTERPRISINGS-STATESMANSHIPT-TENACITY          ลักษณะของผู้นำที่ประสบความล้มเหลว1.    เลือกที่รักมักที่ชัง2.    ให้ความสนิทสนมกับบางคนเป็นพิเศษ3.    วิพากษ์วิจารณ์ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยใช้อารมณ์4.    ชอบใช้อำนาจ5.    หลงอำนาจ6.    ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงโดยเหยียบศรีษะผู้อื่นขึ้นไป 7.    การไม่ยอมรับความเดียวดาย8.    การขาดหลักและปรัชญา เป็นเครื่องยึดในการทำงาน9.    การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง สรุป การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ในการเพิ่มเติมประสิทธิภาพในการบริหารงาน การเปลี่ยนแปลงกิจกรรม การพัฒนาตนเองขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรๆจึงต้องกำหนดรูปแบบและเทคนิค ฝึกทักษะความเป็นผู้นำ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรี การฟังบรรยาย วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุปการบรรยายเรื่อง ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน โดยศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์   ในการวิเคราะห์เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ในระยะหลัง จะมีการพูดถึง เรื่อง ผู้นำหรือ Leadership มากขึ้น เพราะองค์กรในยุคใหม่ต้องการผู้นำทุกระดับ ไม่ใช่แค่เจ้าของหรือ CEO ยิ่งมีการปลูกฝังผู้นำให้มากขึ้นในองค์กรเหล่านั้น จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือแก้ปัญหาได้ยิ่งในยุคการแข่งขันจาก  โลกาภิวัตน์ หรือความไม่แน่นอนทางการเมือง ปัจจัยในประเทศ บทบาทผู้นำจะมีมากขึ้น วัตถุประสงค์ในครั้งนี้ จึงจะมองผู้นำในวงการราชการหรือ อื่น ๆ และที่เกี่ยวข้องกับตัวท่านในห้องนี้ ไม่ใช่มาเรียนเรื่องผู้นำ แต่มาสำรวจตัวเอง แล้ว develop สิ่งแรกว่า เราจะไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ความหมายของผู้นำ            ผู้นำคือผู้ที่ทำให้คนอื่นเก่งและนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลว(ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์)  ผู้นำ คือ บุคคลที่มีความ สามารถในการใช้อิทธิพลให้คนอื่นทำงานในระดับต่าง ๆ ที่ต้องการ
ให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (McFarland,1979:214-215)
        ผู้นำ คือ ผู้ที่สามารถในการชักจูงให้คนอื่นทำงานให้สำเร็จตามต้องการ (Huse, 1978:227)         ผู้นำ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลสูงสุดในกลุ่ม และเป็นผู้ที่ต้องปฏิบัติภาระหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำที่ได้รับมอบหมายบุคคลอื่นในกลุ่มที่เหลือก็คือผู้ตาม แม้จะเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อย หรือผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็ตาม (Yukl, 1989:3-4)
        ผู้นำ คือ บุคคลที่มาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง หรือการยกย่องขึ้นมาของกลุ่ม เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและช่วยเหลือให้กลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
         กวี วงศ์พุฒ (2535: 14-15) ได้สรุปแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำไว้ 5 ประการ คือ
        (1) ผู้นำ หมายถึง ผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม เปรียบเสมือนแกนของกลุ่ม เป็นผู้มีโอกาสติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นมากกว่าทุกคนในกลุ่ม มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจของกลุ่มสูง
        (2) ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งนำกลุ่มหรือพากลุ่มไปสู่วัตถุประสงค์หรือสู่จุดหมายที่วางไว้ แม้แต่เพียงชี้แนะให้กลุ่มไปสู่จุดหมายปลายทางก็ถือว่าเป็นผู้นำทั้งนี้รวมถึงผู้นำที่นำกลุ่มออกนอกลู่นอกทางด้วย
        (3) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่คัดเลือกหรือยกให้เขาเป็นผู้นำของกลุ่มซึ่งเป็นไปโดยอาศัยลักษณะทางสังคมมิติของบุคคลเป็นฐาน และสามารถแสดงพฤติกรรมของผู้นำได้
        (4) ผู้นำหมายถึงบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่างคือสามารถสอดแทรกอิทธิพลบางประการอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มได้มากที่สุด
        (5) ผู้นำ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งสามารถนำกลุ่มไปในทางที่ต้องการ เป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการแสดงบทบาทหรือพฤติกรรมความเป็นผู้นำ
        บุญทัน ดอกไธสง (2535:266) ได้สรุปเกี่ยวกับผู้นำไว้ว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง
        (1) ผู้มีอิทธิพล มีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการ
        (2) เป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ
        (3) ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่ม และนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
       สรุปได้ว่า ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น การชี้แนะ สั่งการ และช่วยเหลือให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ได้มีการเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันออกไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้ว่าราชการ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง คณบดี
ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership) ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ ซึ่งหมายถึง
ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
           การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
    ความหมายของภาวะผู้นำ ได้มีผู้ให้ความหมายของภาวะผู้นำไว้หลากหลายและแตกต่างกัน ซึ่ง
ยุคล์ (Yukl, 1989 : 3) ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ความหมายของภาวะผู้นำมีหลากหลายและแตกต่างกัน ก็เนื่องจากขอบเขตเนื้อหาและความสนใจในภาวะผู้นำ ในการศึกษาของนักวิจัยแตกต่างกัน ในที่นี้จึงขอนำเสนอให้ศึกษาดังต่อไปนี้
        ๏ ภาวะผู้นำคือความริเริ่มและธำรงไว้ซึ่งโครงสร้างของความคาดหวังและความสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกของกลุ่ม (Stogdill, 1974:411)      ๏ ภาวะผู้นำคือความสามารถที่จะชี้แนะ สั่งการ หรืออำนวยการ หรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้อื่นเพื่อให้มุ่งไปสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ (McFarland, 1979:303)      ๏ ภาวะผู้นำคือศิลปในการชี้แนะลูกน้อง หรือผู้ร่วมงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ (Schwartz, 1980:491)     ภาวะผู้นำ เป็นกระบวนการที่บุคคลใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุความต้องการของกลุ่ม หรือจุดมุ่งหมายขององค์การ (Mitchell and Larson, Jr., 1987:435)      ๏ ภาวะผู้นำเป็นเรื่องของศิลปของการใช้อิทธิพลหรือกระบวนการใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้เขามีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานจนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของกลุ่ม (Koontz and Weihrich, 1988:437)      ๏ ภาวะผู้นำเป็นความสามารถในการใช้อิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้ประสบความสำเร็จตาม เป้าหมายหมายที่ตั้งไว้ (Robbins, 1989:302)      ๏ ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการชี้แนะและอิทธิพลต่อกิจกรรมต่างๆ ของสมาชิกของกลุ่ม
(Stoner and Freeman, 1989:459)
     ๏ ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง(พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196)     จากการวิเคราะห์ความหมายของภาวะผู้นำข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติ     สำหรับความหมายของภาวะผู้นำเกือบทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้นำ (Leader)พยายามจะมีอิทธิพลต่อผู้ตาม (Followers) ในกลุ่มหรือบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้มีทัศนคติ พฤติกรรม และอื่น ๆ ไปในทิศทางที่ทำให้จุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือองค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย ประเภทของผู้นำ            - ผู้นำทางวิชาการ                - ผู้นำทางการเมือง            - ผู้นำทางศาสนา                  - ผู้นำทางธุรกิจ ( ใหญ่ )       - ผู้นำทางธุรกิจ ( SMEs )     - ผู้นำธุรกิจในฐานะมืออาชีพ            - ผู้นำในฐานะเจ้าของ         - ผู้นำทางด้านกีฬา            - ผู้นำทางการทหาร ผู้นำสำคัญอย่างไร             เส้นของผู้จัดการ(Manager)จะวิ่งเข้าไปหาเส้นของผู้นำ(Leader)ซึ่งถ้าเส้นวิ่งเข้าใกล้ยิ่งดีแต่ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ระหว่าง Managerกับ Leaderความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้จัดการบุคคลทั้งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันหลายด้านเช่น แรงจูงใจ ความเป็นมา วิธีคิด และการปฏิบัติงาน
     ดังที่นักศึกษาวิจัยสรุปไว้ดังต่อไปนี้ เบนนิส และนานัส (Bennis and Nanus, 1985 : 21) ได้สรุปว่า   
"ผู้จัดการคือ บุคคลที่ทำให้งานสำเร็จ ส่วนผู้นำคือ บุคคลที่ทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูก
managers are people who do things right
and leaders are people who do the right things"

   หมายความว่า ผู้จัดการ คือ บุคคลที่สนใจแต่จะหาวิธีการทำให้งานที่ได้รับมอบให้สำเร็จ โดยไม่ได้ให้ความสนใจสิ่งอื่นใดต่างจากผู้นำที่จะต้องพิจารณาความถูกต้องของงานรวมทั้งผลกระทบต่อบุคลากรและองค์การ ก่อนที่จะดำเนินการให้เกิดผลดีที่สุด     รอบบินส ์ (Robbins, 1989 : 303) ได้อ้างถึงการศึกษาของซาเลสนิค (Zalesnik, 1986 : 54)
และสรุปความแตกต่างของบุคคลสองกลุ่มไว้ดังนี้
    1. ผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะยอมรับและปฏิบัติตามเป้าหมายขององค์การ โดยไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวไปพิจารณา หรือเกี่ยวข้องด้วย ในขณะที่ผู้นำจะเอาความรู้สึกส่วนตัวมาพิจารณาเป้าหมายขององค์การก่อนที่จะปฏิบัติตาม
    2. ผู้จัดการจะมองการทำงานว่าเป็นกระบวนการความสามารถ ที่ประกอบไปด้วยคนและความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์วิธีการทำงานและตัดสินใจที่ดีที่สุดในขณะที่ผู้นำ ทำงานในตำแหน่งที่มีความเสี่ยงสูง ต้องพยายามไม่ใช้อารมณ์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและอันตราย ที่อาจจะเกิดกับตนเอง โดยเฉพาะผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งที่มีโอกาส และสิ่งตอบแทนค่อนข้างสูง
    3. ผู้จัดการชอบที่จะทำงานร่วมกับบุคคลอื่นมากกว่าการทำงานใด ๆ ด้วยตนเอง คนเดียว เพราะไม่ต้องการมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับงานนั้น ผู้จัดการจะมีความสัมพันธ์เฉพาะกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกันในกระบวนการทำงานหรือกระบวนการตัดสินใจต่างกับผู้นำที่งานมักจะเกี่ยวข้องกับความคิดมากกว่าคน แต่ถ้ามีความสัมพันธ์กับบุคคลต่าง ๆ ก็จะมีโดยสามัญสำนึก และพยายามจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของบุคคลเหล่านั้นด้วย     4. ผู้จัดการต้องการคำสั่งหรือคำชี้แนะที่ชัดเจน เมื่อต้องเผชิญกับการตัดสินใจ หรือ เหตุการณ์ที่จะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นจำนวนมาก ในขณะที่ผู้นำมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจ ได้ โดยไม่ห่วงกังวลว่าจะกระทบต่อบุคคลรอบข้างมากนัก
    แฮนสัน (Hanson, 1985 : 178) ได้กล่าวว่า คำว่า ผู้นำ (Leader) ผู้จัดการ (Manger) และผู้บริหาร (Administrator) ได้มีการใช้แทนกันตลอดเวลา แม้นว่าจะยอมรับว่ามีความแตกต่าง ผู้จัดการและผู้บริหารค่อนข้างจะมีความหมายใกล้เคียงกัน แม้นว่าในอดีตที่ผ่านมา ผู้จัดการดูจะมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าผู้บริหาร ซึ่งมักปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่เป็นงานประจำมากกว่า แฮนสันได้เน้นให้เห็นว่า แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำนั้นอย่างน้อยจะมี 2 ทางคือ
    ผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางขององค์การว่าจะไปทิศทางใด และจะต้องใช้ความสามารถในการชักจูง ทำให้ผู้ตามประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่ต้องการจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ผู้จัดการเพียงแต่ให้ความสนใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น การว่าจ้าง การประเมินบุคลากรการจัดสรรทรัพยากรการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติงานและอื่น ๆ จนประสบความสำเร็จ สรุปว่ามุ่งสนใจปฏิบัติงานประจำที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดเท่านั้น ถึงแม้นว่าคำว่า ผู้นำ ผู้จัดการ ผู้บริหารจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็นิยมที่จะใช้แทนกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวพันถึงองค์การที่เขาบริหารอยู่ดีขึ้นรวมทั้งหนังสือเล่มนี้ด้วย ผู้เขียนก็จะใช้แทนกันในบางกรณี เพื่อความเข้าใจดังกล่าว
สรุปผู้นำและผู้จัดการแตกต่างกันอย่างไร ผู้นำที่ดี         เน้นที่คน         Trust การเป็นที่ยอมรับ         ระยะยาว ต้องมองระยะยาว         What , Why ทำไมไม่สำเร็จ ทำไมทำไม่ได้         มองอนาคต ขอบฟ้า/ภาพลักษณ์         เน้นนวัตกรรม         Change มองการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ         เน้นระบบ         ควบคุม         ระยะสั้น         When , How         กำไร/ขาดทุน ทุก 3 เดือน         จัดการให้สำเร็จ มีประสิทธิภาพ         Staticเราจะต้องเป็นผู้บริหารที่พยายามไปสู่ผู้นำที่ดีให้ได้ ชนิดของผู้นำ            - Trust / Authority ต้องได้รับการยอมรับและความศรัทธาในองค์กรมีอำนาจและคำสั่งทางกฎหมาย            - Charisma  มีบุคลิกอุปนิสัยเป็นที่ถูกใจผู้ร่วมงานคนรองข้างอยากอยู่ใกล้เช่น จอร์น เอฟ เคนาดี้            - Situational ผู้นำที่ดีเป็นผู้ที่ขึ้นกับสถานการณ์เช่น นายกเทศมนตรีนิวยอร์ค เป็นผู้นำที่ดีตอนตึกถล่มจากเหตุการณ์ก่อการร้าย            - Quiet Leader ผู้นำยุคใหม่จะต้องเน้นความคิดเป็นหลักมีความคิดมีปัญญาคิดวิเคราะห์ให้เป็นจากการวิจัยของ Center for creative leadership พบว่า การจะ develop ผู้นำ มี 5 วิธี เรียกว่า ทฤษฎี 5 E’s             1. Example รูปแบบตัวอย่างที่ดีเช่นพระเจ้าอยู่หัว            2. Experience ผู้นำที่ดีควรจะสร้างประสบการณ์ให้กับตนเองเช่น การรับงานที่อยากชอบความเจ็บปวด ความล้มเหลว สร้างโอกาสและบริหารความเสี่ยง            3. Education การฝึกอบรม            4. Environment การสร้างบรรยากาศให้ผู้นำเกิดขึ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม กล้าให้ทุกคนได้ทำ งานแล้วต้องปกป้องลูกน้อง             5. Evaluationประเมินผลสุดท้ายต้องให้รางวัลการวิเคราะห์ของอาจารย์ที่ University of Washington ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี 1. Character หรือ คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น  - ชอบเรียนรู้ - มีทัศนคติเป็นบวก       - การมีคุณธรรม จริยธรรม2.  มี Leadership skill ที่สำคัญคือ            - การตัดสินใจ           - การเจรจาต่อรอง            - การทำงานเป็นทีม             - Get thing done ทำงานให้สำเร็จ3. เรียกว่า Leadership process คือ การมี Vision และมองอนาคตให้ออก มีprocess ที่ดีในตอนจบ4. คือ Leadership value สำคัญที่สุดคือ  Trust ความศรัทธาในผู้นำนั้น ๆ ผู้นำจะต้องมี 1 skill 2. value 3. process            ผู้นำที่ดีจะต้องมี 1.มองความจริง 2. ตรงประเด็นลักษณะของผู้นำในแนวทางของนักวิชาการต่างๆ1.  4 E’s Leadership ( Jack Welch )          Energy         Energize         Edge         Execution      2. Leadership roles by Chira Hongladarom1. Crisis management2. Anticipate change3. Motivate others to excellent บ้าคลั่งให้คนอื่นเป้นเลิศ4. Conflict resolution5. Explore opportunities6. Rhythm & Speed 7. Edge ( Decisiveness )8. Teamwork9. การบริหารความไม่แน่นอน   3. บทบาทของผู้นำ (Leadership roles)The 4 Roles of Leadership by Stephen Covey :-        Path Finding (หาช่องทาง)-        Aligning (ต้องให้การเงิน การตลาดอยู่ในแนวเดียวกัน)-        Empowering (มอบอำนาจ)-        Role Model  (มีรูปแบบที่ดี)  4. The Klann Leadership ของ Center for creative Leadership           Courage กล้าหาญ         Caring          Optimism มีความคิดเชิงบวก         Self control ควรควบคุมตัวเองให้ดี แพ้เพื่อชนะ         Communication มีการถ่ายทอดที่ดี   5. Michael Hammer มี 3 เรื่อง         Vision          Communication         Commitment    6. แนวคิดเรื่อง Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes1. ผู้นำต้องเป็นแม่แบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี    วิธีคือ   - พูดถึงคุณค่า (Value) ของตัวเองให้ชัดคืออะไร                 - ปฏิบัติตามที่กำหนดคุณค่านั้น ๆ 2. จุดประกายการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน    วิธีคือ  - มองอนาคตว่าคืออะไรและแสวงหาความเป็นไปได้ -        นำคนอื่นที่มีวิสัยทัศน์ร่วมมาทำงานร่วมกัน 3. ท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ อย่ายอมรับสภาพเดิม ๆ วิธีคือ - สร้างวัฒนธรรมการมีนวัตกรรมใหม่ ๆ               - แสวงหาทางออกใหม่ บริหารความเสี่ยง              - ชนะเล็ก ๆ เพื่อชนะใหญ่ ๆ4. ดึงความเป็นเลิศของผู้อื่นให้ร่วมงาน     วิธีคือ - แสวงหาความร่วมมือ (Collaboration)              - พัฒนาจุดแข็งของคนอื่น  และกระจายอำนาจให้ผู้อื่น 5. แสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น     วิธีคือ - ยอมรับความสำเร็จ หรือ Contribution ของผู้อื่น และยกย่องผู้อื่นอย่างจริงใจ              -  หาโอกาสแสดงและฉลองความสำเร็จ โดยให้เป็นความสำเร็จของชุมชนของพวกเรา ผู้นำต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง       
ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน (วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550)                ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้แนวคิดว่า รู้จริง ดีกว่ารู้เยอะ มนุษย์เกิดมาเท่ากันถ้าลงทุนด้านการศึกษาให้มากขึ้นก็จะเพิ่มทุนมนุษย์ให้กับตนเอง โดยใช้ทฤษฎี 8K’s เมื่อลงทุนด้านทุนมนุษย์มากแล้วก็ต้องเพิ่มเติมโดยเฉพาะทุนทางปัญญา, ทุนทางสังคม, ทุนทาง Talented (Skill, Knowledge และ Mindset) เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) กับนวัตกรรม (Innovation) ซึ่งต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาโดยอาศัยทฤษฎีเบ็ดตกปลา พร้อมกับกระบวนการเรียนรู้ 4L’s (Learning Methodology, Learning Environment, Learning Opportunities และ Learning Communities) และทฤษฎี 2I’s (Inspiration: จุดประกายให้เกิดความสุข, Imagination: มีจินตนาการ) นอกจากนี้ยังรวมถึงทุนทางจริยธรรม, ทุนแห่งความสุข, ทุนทาง digital, และทุนแห่งความยั่งยืน ทำให้ระยะสั้นไม่ขัดกับระยะยาวเป็นการมองอนาคตว่าจะอยู่อย่างไรให้ยั่งยืน และนำทฤษฎี HRDS (Happiness: ความสุข Respect: ยกย่องนับถือ Dignity: ศักดิ์ศรี และ Sustainability: ความยั่งยืน) มาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้อีกด้วยท่าน ดร.จีระ ได้กล่าวถึงประเด็นของผู้นำ ผู้นำคือผู้ที่ทำให้คนอื่นเก่งและนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จ หรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลว ซึ่งการบริหารจัดการสมัยใหม่สามารถนำแนวคิดของปีเตอร์ ดรักเกอร์ โดยหลักการของผู้นำในองค์กรนั้นปีเตอร์ ดรักเกอร์ เรียกว่า ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Executive) ต้องมีลักษณะของความซื่อสัตย์ มีวิสัยทัศน์สำหรับจุดหมายขององค์กร มุ่งที่โอกาส เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และดำเนินงานที่สำคัญ รวมถึงความรับผิดชอบและฝึกฝนในด้านการบริหาร การฝึกปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพของผู้นำ เกิดมาจากความรู้และประสบการณ์ หลักการของภาวะผู้นำและการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ได้ ผู้นำต้องเป็นมากกว่าผู้บริหาร มีการแบ่งชนิดของผู้นำที่ดีไว้ดังนี้คือ (1) Trust: เป็นที่ยอมรับไว้วางใจในองค์กรซึ่งจะเกิดมาจากความศรัทธาของคนในองค์กร (2) Charisma: มีเสน่ห์ ลักษณะอุปนิสัยถูกใจผู้ร่วมงาน เช่น พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์ ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ คุณอนันต์ ปัญญารชุน ที่มีความซื่อสัตย์ หรือ John Fitzgerald Kennedy เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีมาดผู้นำที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าของวาทะเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง "จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ" (3) Situational: การตัดสินใจตามสถานการณ์ เช่น Rudolf Giuliani นายกเทศมนตรีนครนิวยอร์ก ที่ปรากฏตัวที่ซากของตึกเวิลด์เทรด เซ็นเตอร์ ตั้งแต่ชั่วโมงแรกๆ หลังเกิดเหตุ และอย่างต่อเนื่องในวันถัดๆ มาเพื่อมาคอยดูแลสั่งการให้เหตุการณ์ต่างๆ ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย (4) Quiet Leader: มีทักษะในการฟัง ผู้นำมักจะต้องฟังมากกว่าพูด เพื่อที่จะสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นผู้นำที่เน้นความคิดและปัญญาจากการวิจัยของ Center for Creative Leadership ประเทศสหรัฐอเมริกา นับแต่ปี 1983 เป็นต้นมา ได้พบว่าจุดแตกต่างของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จกับผู้บริหารที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ ทักษะในความเก่งคน และ CCL ได้เสนอทฤษฎี 5 E’s ในการพัฒนาผู้นำดังนี้ (1) Example: ดูรูปแบบที่ดี (Role Model) (2) Experience: สร้างประสบการณ์ให้ตัวเอง ผู้นำควรมอบงานที่ท้าทายให้ลูกน้องได้ปฏิบัติ (3) Education: จัดการฝึกอบรม (4) Environmental: สร้างบรรยากาศให้ผู้นำเกิด มีการพูดคุย พบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ฝึกการตั้งคำถามคำตอบ และ (5) Evaluation: การประเมินผลตลอดเวลานอกจากผู้นำในลักษณะของ CCL แล้วยังมีลักษณะผู้นำของ Jack Welch ถือเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับ GE โดยเวลซ์ได้เปลี่ยนรูปโฉมของบริษัทที่อยู่ในธุรกิจการผลิตอย่างเดียวมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกทางสินค้าและบริการ ด้วยการเข้าซื้อกิจการของบริษัทต่างๆ นับร้อยๆ แห่ง มีการปรับโครงสร้างองค์กรโดยการให้พนักงานออกจากงานมากกว่า 100,000 คน ไล่ผู้วางแผนกลยุทธ์ออกทั้งหมด และให้ผู้บริหารรับฟังพนักงาน ซึ่งจะเห็นว่าเวลซ์เป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจในเรื่องยากๆ จากการทำงานเวลซ์ได้ค้นพบรูปแบบผู้นำ 4 ประการ (ผู้นำ 4E) ประกอบด้วย (1) Energy: มีพลัง รักที่จะ ทำ ทำ และทำ (2) Energizes: จุดประกายให้ผู้อื่นมีพลัง จะใช้วิสัยทัศน์วางแนวทางให้ผู้อื่นปฏิบัติ ผู้นำจะรู้ว่าจะทำให้คนตื่นเต้นกับงานได้อย่างไร และพร้อมที่จะยกความดีและชื่อเสียงให้ผู้อื่นเมื่องานสำเร็จและยอมรับผิดชอบเมื่อเกิดปัญหา (3) Edge: มีความแข็งแกร่ง มีวิญญาณของการแข่งขัน รู้ว่าจะตัดสินใจเรื่อง ความเป็นความตาย ได้อย่างไร และไม่ยอมแพ้กับความยากลำบาก และ (4) Execution: ลงมือปฏิบัติให้เกิดผลงาน ผู้นำที่เก่งจะรู้วิธีการใช้พลังและคมทำให้เกิดผลงาน และรู้วิธีลงมือให้เกิดผลงาน กฎ 6 ข้อในการเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จของ Jack Welch (1) ควบคุมจุดมุ่งหมายในชีวิตด้วยตนเอง (2) เผชิญหน้ากับความเป็นจริงของปัจจุบันไม่ใช่อดีตหรือสิ่งที่หวังให้เป็น (3) เปิดเผยกับทุกๆ คน (4) อย่าควบคุม แต่จงเป็นผู้นำ (5) จงเปลี่ยนแปลงเสียก่อนถึงคราวจำเป็น และ (6) ถ้าไม่คิดว่าตัวเองได้เปรียบก็อย่าแข่งกับใครยังมีลักษณะผู้นำของ Stephen Covey, Michael Hammer และ Posner & Kouzes ที่มีลักษณะแนวตะวันตกและตะวันออกผสมผสานกันไป และไม่ว่าจะเป็นลักษณะผู้นำแบบใดก็ตามในปัจจุบันที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงทุกวันนั้น ผู้นำต้องมีโฟกัส มีแรงปรารถนา น่าเชื่อถือ มีกลยุทธ์ มี Teamwork เป็นกลไกสู่ความสำเร็จ การทำให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกัน และที่สำคัญกล้าเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่า (คิดนอกกรอบ) และทำให้คนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ภายใต้ ทฤษฎียังรู้ไม่พอ
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
Workforce Alignment in an Organization อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด  การบรรยายครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้ในเรื่องของการมีส่วนร่วม   การต่อ Jigsaw  ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพอย่างชัดเจน      มีการ Shared Vision สามารถนำความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา นำไปปรับปรุง ประยุกต์ใช้ได้กับการพัฒนาองค์กร โดยมุ่งเน้นให้เห็นภาพของการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ และจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นผู้นำ (Leadership) ซึ่งจะต้องมีบทบาทสำคัญที่สุดในองค์กร ต้องเข้าใจวิธีการทำงาน สามารถนำพาพนักงานในองค์กรให้เป็นที่ยอมรับและให้ความร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานแบบรวมพลังเดินไปข้างหน้าให้ถึงเป้าหมายที่เป็นเส้นตรง (Alignment) และไปในแนวทิศทางเดียวกัน และในทางตรงกันข้าม หากพนักงานในองค์กรต่างคนต่างคิด ต่างทำ โดยไม่มุ่งเน้นเป้าประสงค์ (Goal) หรือไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแล้วล่ะก็ องค์กรก็คงจะไม่มีวันก้าวหน้า ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างแน่นอน จะได้รับผลสำเร็จยาก เสียเวลา ในการดำเนินการไปเปล่า ๆ มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดเลย              และท่านอาจารย์ยังได้บรรยายถึง    หลักการของ ENTERPRIGE GOVERNANCE  ซึ่งประกอบด้วย 1. CONFORMANCE PROCESS           1.1   ผู้นำต้องตอบรับการเปลี่ยนแปลง 1.2   ผู้นำต้องมีแนวทางของตนเอง 1.3   ผู้นำต้องมีคณะกรรมการ 1.4   ระบบการจัดการต้องไม่เสี่ยง 1.5   มีการตรวจสอบการปฏิบัติงาน     2. PERFORMANCE PROCESS          2.1   มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ 2.2   มีการวางแผนด้านการตลาด 2.3   การจัดการเชิงกลยุทธ์ต้องไม่เสี่ยง 2.4  ระบบการวางแผนกลยุทธ์ ต้องกล้าได้กล้าเสีย 2.5   ต้องเป็นกระบวนการที่ต้องทำติดต่อกัน 
ทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ
ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนไป ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์                               การบรรยายในวันนี้ นับว่าเป็นวันที่สำคัญมากสำหรับนักศึกษา เพราะเป็นวันปิดคอร์สวิชาการจัดการทุนมนุษย์ของท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ท่านได้ทุ่มเท ตั้งใจและเสียสละเวลาให้กับพวกเรา เป็นอย่างมาก โดยเรื่องที่นำเสนอคือเรื่อง          ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน  แน่นอนในยุคปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเต็มไปด้วยการแข่งขันที่สูง   หากองค์กรใดที่ขาดองค์ความรู้ ซึ่งมีการขับเคลื่อนจากผู้นำองค์กรที่ขาดทักษะ ประสบการณ์ ภูมิความรู้ความสามารถแล้ว ย่อมจะนำพาองค์กรไปไม่ตลอดรอดฝั่ง หรือไม่ถึงจุดหมายปลายทางที่องค์กรได้ปรารถนาไว้อย่างแน่นอน แต่การที่จะมีผู้นำหรือเป็นผู้นำที่ดีได้นั้นก็ต้องอาศัยปัจจัย ซึ่งประกอบไปด้วย ศาสตร์และศิลปะ  ดังนั้น ภาวะผู้นำ(Leadership) ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐก็ตาม จำเป็นต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง (Know Something in Everything) เรียกได้ว่ามีองค์ความรู้ที่หลากหลาย (Multi Knowledge)                   อย่างไรก็ตามการจะเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องมีการฝึกฝน การพัฒนาต่อยอดเช่นกัน ซึ่งมีทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำมากมายเช่น 8 K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และ 8 H’sของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เป็นต้น แต่การศึกษาใน Class นี้ เป็นการโชคดีของนักศึกษาที่ได้เรียนรู้กับท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุดกับยุคนี้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ว่า  เป็นเพราะเหตุใด การเป็นผู้บังคับบัญชาจึงต้องมีกรอบ   มีการสั่งการตามลำดับชั้น อ้างระเบียบเหตุผลข้อบังคับไปซะทุกเรื่อง คำตอบ ก็เพราะว่า ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้บริหาร   ไม่ใช่ผู้นำ เพราะการเป็นผู้นำที่ดีย่อมทำให้ผู้อื่นอยากเดินตาม  ดังนั้นการเป็นผู้นำจึงได้เน้นไปที่คน ต้องสร้างความเชื่อถือ ไว้วางใจ สามารถครองใจคนได้  จึงต้องใช้ระยะเวลาสั่งสมบารมี  เน้นนวัตกรรมให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง สามารถมองเห็นอนาคตขององค์กรได้อย่างชัดเจนโดยมีข้อมูลสนับสนุนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าจะทำให้สำเร็จได้อย่างไรสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้นำจะเติมเต็มของการเป็นผู้นำที่ดีนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำจะต้องมีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ประการ ตั้งแต่ทุนที่มีมาตั้งแต่เกิด ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนทางด้านความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความคิด เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลักดันให้เกิดการบริหารประเทศ บริหารองค์กร บริหารสังคมและชุมชน ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง             ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนไป นั้น ต้องมีคุณสมบัติที่เพียบพร้อมไปแทบทุกด้าน แน่นอนมนุษย์มิได้มีมาแต่กำเนิด แต่สิ่งที่ปรุงแต่งนั้น หาได้จากการเรียนรู้โดยทุนทางปัญญา มุ่งสู่ทุนทางด้านความรู้ ใฝ่หาประสบการณ์ ทักษะ เพื่อให้เกิดคำว่า เก่งคน เก่งงาน  เก่งความคิด สั่งสมทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์มีวิสัยทัศน์   โดยควบคู่ไปกับทุนทางจริยธรรม ทุนทางสังคม เพื่อให้เกิดการเตรียมพร้อมที่จะรับรู้ เปิดรับนวัตกรรมใหม่ ๆ  ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกยุคโลกาภิวัตน์เช่นทุกวันนี้ได้อย่างสบายมาก       
นางเครือวัลย์ สมณะ
ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนบรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550                   ตามที่อาจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ได้มาสอนนักศึกษาในวันนี้  เป็นการทบทวนความรู้และสรุปเฉพาะประเด็นสำคัญๆ ที่ได้เคยบรรยายมาแล้วเกี่ยวกับ ทุนมนุษย์ (Human Capital)” และยังมีทุน (Capital) อื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ทุนที่ดิน เครื่องจักร และมนุษย์ เป็นต้น  เพื่อนำทุนที่มีอยู่มาบริหารจัดการสร้างคุณค่าให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น  และได้เน้นถึงทฤษฎี 3 วงกลม ให้นักศึกษาได้เห็นภาพรวมของทฤษฎีนี้อย่างชัดเจนและทำให้เข้าใจซาบซึ้งยิ่งขึ้น ส่วนการสอนในวันนี้จะเน้นหัวข้อ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน วิเคราะห์ถึงความสำคัญของการเป็นผู้นำองค์กร  แจงรายละเอียดความแตกต่างระหว่างการเป็นผู้นำที่ดี (Good Leadership)  กับผู้บริหารที่ดี (Good Management) ว่าต่างกันอย่างไร                   ผู้นำมักจะเน้นเรื่อง คน เป็นหลัก เพราะ คน เท่านั้นที่มีความสามารถคิดสร้างสรรค์       มีจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องราวสารพัดอย่าง  คน เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เป็นผู้ผลักดันให้เกิดสรรพสิ่งต่างๆ ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ทั้งในปัจจุบันและอนาคต  การสร้างความเชื่อถือ (Trust) ให้คนในสังคมยอมรับ โดยเฉพาะการสร้าง Credit อาจใช้เวลายาวนาน ต้องมีการกระทำอย่างต่อเนื่องเป็นนิจสิน เสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลา จากพื้นฐานของทัศนคติที่มีอุดมการณ์ของพนักงานในองค์กรของเรา  ผู้นำต้องรู้จักการบริหารจัดการ นำนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิผลภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลก และต้องให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน                   ผู้นำที่ดีต้องรู้จักช่องว่างของตนเอง เพื่อจะได้พัฒนาตนเองเติมให้เต็มได้ตรงประเด็น และนำไปสู่การพัฒนาองค์กรให้เป็นเลิศดีขึ้น ผู้นำต้องมีจินตนาการ มีความคิด Creative new products วางแผนสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ (Innovation) เสมอ ต้องขวนขวายเรียนรู้ตลอดเวลาในการบริหารจัดการให้ได้ผลสำเร็จทุกสถานการณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ อาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้จัดแบ่งกลุ่มผู้นำมี 4 ชนิด1.      Trust / Authority ผู้นำมาจากความศรัทธาเป็นที่ยอมรับของคนภายในองค์กร หรือมาจากคำสั่งแต่งตั้งเป็นทางการตามกฎหมายกำหนด2.      Charisma ผู้นำที่มีบุคลิกลักษณะดีเป็นที่ชื่นชอบของผู้พบเห็น ถูกใจ รู้สึกอบอุ่นเมื่อได้สัมผัส3.      Situational จากสถานการณ์สร้างผู้นำ4.      Quiet Leader  ผู้นำยุคใหม่เน้นคนมีความสามารถ มีภูมิปัญญา คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น รู้จักการวิเคราะห์เหตุการณ์ปัญหาต่างๆ กลุ่มผู้นำนั้นมีหลายระดับ แต่ละระดับย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกัน นับตั้งแต่ความแตกต่างทางสังคม ทุนมนุษย์ สภาพแวดล้อมและทุนอื่นๆ แต่ละสภาพสังคมมีความต้องการผู้นำทั้ง 4 หัวข้อข้างต้นไม่เหมือนกัน หากมีการวิเคราะห์วิจัยตามสภาพความเป็นจริง จะสามารถพัฒนา (Develop) ผู้นำ (Leadership) ได้ตรงประเด็นดังทฤษฎี 2R’s ของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ คือ1.      Reality  มองความจริง2.      Relevance  ตรงประเด็นนอกจากผู้นำ 4 กลุ่มดังกล่าวข้างต้น ดิฉันคิดว่ายังมีผู้นำอีกหลากหลายชนิด เช่น ผู้นำทางศาสนาและผู้นำการก่อการร้าย ขอยกตัวอย่าง บินลาดิน  เป็นผู้นำที่มีความสามารถสูง ผลงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลหาที่เปรียบได้ยากในสังคมนี้ แต่ผลที่เกิดมิได้ให้ประโยชน์กับมวลมนุษยชาติในทางที่สร้างสรรค์และเกิดความอยู่ดีมีสุข กลับทำให้คนครึ่งโลกมีสุขภาพจิตเสื่อมเสีย เพราะเกิดความหวาดระแวง  เกรงกลัวต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดจากมนุษย์สร้างขึ้นมาซึ่งหลีกเลี่ยงได้ มิใช่เกิดจากภัยธรรมชาติที่นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์  การเป็นผู้นำที่ดีจึงเป็นเรื่องที่กระทำยากกว่าการเป็นผู้บริหาร                   ส่วนผู้บริหาร เป็นภารกิจที่ถูกกำหนดให้มีการกระทำให้เห็นผล จึงเป็นเรื่องระบบการควบคุมการกระทำต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวหากเป็นธุรกิจก็จะเป็นเรื่องกำไรขาดทุน และต้องมีการรายงานเพื่อให้เห็นผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้ชัดเจน 

                สุดท้าย อาจารย์ได้เน้นถึงทฤษฎีต่างๆ ของ ทุน 8 ประเภท (8 Ks)  ทฤษฎี 5  Ks ใหม่ ทฤษฎี   4 Ls และ ทฤษฎี 2 R’s  ซึ่งทั้งหมดนี้หากนักศึกษาได้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติให้ดี มีความชำนาญ ก็จะเกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรและต่อตัวนักศึกษาเอง ที่ต้องการพัฒนา (Develop) ตนเอง ทำในสิ่งที่ดีกว่าเดิมเป็นการสร้างฐานสังคม และเป็นฐานแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ดังข้อความที่ดิฉันจำได้ตอนเด็กๆ

.....ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน

       จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล

       ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน         เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย เครือวัลย์  สมณะ26  กันยายน  2550
การบ้านครั้งที่ 13ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงสอนโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์นายพนม ปีย์เจริญ

22 กันยายน 2550

...................................................

 

      มนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักต่อสู้ตั้งแต่เกิดมา  ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถรับรู้ได้แต่เราสามารถเรียนรู้ได้ว่า ในวันที่เราถือกำเนิดเกิดขึ้นมา เรามีแค่หัวกับหางและสัญชาติญาณในการเอาชีวิตรอด แม้จะเป็นแค่สเปิร์มตัวเล็กๆก็ตาม  เรารู้ว่าเป้าหมายคือรังไข่ของแม่เราที่เราต้องแข่งกับพี่น้อง เราในคราวนั้นไม่น้อยกว่า 400 ถึง 500 ล้านตัว

     และเราก็ได้รับชัยชนะ ซึ่งชัยชนะที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราก็คือการได้มีชีวิตเกิดขึ้นมาสู่โลกใบนี้  จากนั้นเราก็ถูกหล่อหลอมจากแม่...พ่อ...คนในครอบครัว โรงเรียนและสังคมรอบข้าง

     ภาวะผู้นำภายในตัวเรา จะถูกปลูกฝังให้ก่อตัวขึ้นที่ละเล็ก ทีละน้อย จากสิ่งแวดล้อมที่รายรอบตัวเราโดยที่เราแทบไม่รู้ตัว ถ้าใครอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ถูกฝึกให้รู้จักการเป็นผู้นำตั้งแต่เล็กๆ   เราจะค้นพบภาวะผู้นำในตัวเราได้ด้วยความรวดเร็ว แต่ถ้าเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสตัดสินใจเองคิดเอง ทำเอง ฯลฯ  โอกาสที่จะรู้ตัวตนว่า ภาวะผู้นำเป็นเช่นไร ก็จะช้ากว่าผู้อื่นหลายเท่า

     ผู้นำจึงแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ     1.  ผู้นำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และ

     2.  ผู้นำที่เกิดขึ้นจากการได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้ง

     สำหรับท่านอาจารย์จีระ ท่านได้แยกชนิดองผู้นำไว้ ดังนี้      1.  Trust หรือ Authorit     2.  Charisma     3.  Situational     4.  Quiet Leader
 

สำหรับผู้นำชนิดที่ 4 นี้จะคิดเป็นหลัก มีแนวความคิดที่นับว่ามีทุนทางปัญญาสามารถคิดวิเคราะห์ได้ดี

 

ผู้นำหลักๆในองค์กรจะมี 3 ระดับ คือ     1.  ระดับล่าง     2.  ระดับกลาง

     3.  ระดับบนหรือระดับยอด

     ซึ่งในแต่ละระดับต้องมีความสามารถและความรับผิดชอบที่ต่างกัน ที่สำคัญก็คือในแต่ละระดับต้องมีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน   ในโลกปัจจุบันถ้าจะมีการวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆของผู้นำในบ้านเรา ระหว่าง

      ผู้นำหญิงกับชาย      คนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่      ตะวันตกกับตะวันออก

      ราชการกับเอกชน  ต่างกันอย่างไร

     

     ถ้าจะวิเคราะห์กันเช่นนี้เห็นทีจะเรื่องยาว แต่ต้องยอมรับว่าผู้นำที่ว่ากันด้วย เพศ ต้องยอมรับว่าผู้หญิงเราเก่งมานานแล้ว แต่ในอดีตที่ผ่านมา ผู้หญิงมักไม่ค่อยได้รับโอกาส ผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำได้ดีไม่แพ้ผู้ชาย แม้แต่น้อย

     และจากการวิจัยของ Center for creative Leadership พบว่า การที่จะ Develop ผู้นำมี 5 วิธี เรียกว่าทฤษฎี 5 E      1.  Example = รูปแบบที่ดี     2.  Experience = มีประสบการณ์ที่ดี ชอบงานท้าทาย     3.  Education = ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ หาความรู้ตลอดเวลา     4.  Environment = เป็นผู้นำที่สร้างบรรยากาศให้ผู้น้ำเกิดขึ้นมีการกระจายอำนาจให้รับผิดชอบ     5.  Evaluation = ต้องมีการประเมินผลที่ดีและได้ผล  

     การวิเคราะห์ของอาจารย์ที่  University of Washington  ผู้นำจะต้องมี  4 วิธี  คือ

            1. Character ต้องมีคุณลักษณะที่-    ชอบเรียนรู้-    มีทัศนคติที่เป็นบวก-    มีคุณธรรมจริยธรรม     2. มี Leadership skill คือ            -  การตัดสินใจที่ดีแม่นยำ            -  การเจรจาต่อรอง ที่มีศิลปะและชั้นเชิงเหนือชั้น            -  การทำงานเป็นทีม ที่ต้องรู้จักการบริหารทีม

            -  ชอบทำงานที่ยากและท้าทาย Get thing done

          3. Leadership Process มีกระบวนการในการมีภาวะผู้นำ            เป็นผู้มี Vision ต้องมองไกล คิดไกล และต้องมองอนาคตให้ออก คาดการณ์ได้แม่นยำ     4. Leadership Value

            ต้องแสดงออกพร้อมทั้งปฏิบัติตนให้ผู้คนรอบข้างมองเราให้ออกว่า คุณค่าเราอยู่ตรงไหน

 

     ในส่วนของแนวคิด The Klann Leadership ของ Creative Leadership ได้กล่าวไว้ว่าผู้นำต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้ คือ     1. กล้าหาญ Courage     2. มีความเป็นห่วงเป็นใย Caring     3. มีความคิดเชิงบวก Optimism     4. สามารถควบคุมตัวเองได้ดี Self control     5. สื่อสารได้ดี Communication

 

      แนวคิดเรื่อง Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes เป็นแนวคิดที่ถ้าเราสามารถนำมาปรับให้สอดคล้องกับคนไทยได้อย่างเหมาะสม  ก็จะถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาพัฒนาศักยภาพผู้นำของไทยเราได้อย่างดี

     1. ผู้นำต้องเป็นแม่แบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี     เพราะลูกน้องจะดูเราเป็นต้นแบบ  และจะดำเนินรอยตามเรา ถ้าเราเป็นต้นแบบที่ดี เราก็จะได้ผู้ตามที่ดี  แต่ถ้าเรานำไม่ดี เราก็จะได้ผู้ตามที่แย่ๆ        2. จุดประกายสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน     ปลูกฝังให้ทุกคนมีวิสัยทัศน์ และให้ทุกคนมีโอกาส Share Vision เพราะในแต่ละระดับชั้นย่อมมีมุมมองที่ต่างกันออกไป  มุมมองเล็กๆอาจสร้างผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็ได้  ผู้นำที่ดีย่อมไม่สบประมาทวิสัยทัศน์ของผู้น้อย ไม่ว่ามุมมองนั้นจะถูกหรือผิดก็ตาม     3. ท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ อย่ายอมรับสภาพเดิม     สร้างวัฒนธรรมการมีนวัตกรรมใหม่ๆ  ต้องรู้จักทำงานที่ท้าทาย พร้อมทั้งรู้จักการบริหารความเสี่ยง     4. ดึงความเป็นเลิศของผู้อื่น

     ผู้นำที่เก่งต้องรู้จักดึงความเก่งที่เป็นจุดแข่งของผู้อื่น มาใช้ประโยชน์ได้เหมาะกับโอกาส

     5. แสดงความมีน้ำใจกับผู้อื่น

     จงยินดีและยอมรับความสำเร็จของผู้อื่น แม้ดูว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย  หาโอกาสแสดงและฉลองความสำเร็จร่วมกัน   การเป็นผู้นำคนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้  เราต้องรู้จักใช้ศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมๆกัน โดยเลือกโอกาสที่เหมาะสม

 

      ผู้นำที่ดีจึงต้องวางตัวเองให้เหมาะ ในขณะเดียวกันก็ต้องกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมที่อยู่รายล้อมตัวเรา ที่สำคัญคือ ผู้นำจะต้องพัฒนาหาความรู้ อยู่สม่ำเสมอ และตลอดเวลา มิฉะนั้นเราจะกลายเป็นคนตกโลก หลุดยุค ไม่สามารถกลมกลืนไปกับโลกปัจจุบันและอนาคตได้.

 ................................นายพนม ปีย์เจริญMR. Panom Peecharoen

27.9.2007

 
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน  ศ.ดร.จีระ   หงส์ลดารมภ์         (Homework 13)

          จากการศึกษาในหัวข้อ"ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน" กับท่าน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550 ผมขอสรุปประเด็น และShare ความคิดดังนี้

          เมื่อพูดถึงการบริหารทัรพยากรมนุษย์ องค์กรใดจะบริหารได้ดีหรือไม่เพียงใด มักจะมองไปที่ตัวของ"ผู้นำ" (Leadership) ว่ามีภาวะการเป็นผู้นำมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง หรือธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ ผู้นำยิ่งมีบทบาทมากขึ้น

          ผมใคร่ขอกล่าวถึงผู้นำในองค์กรที่ผมทำงานอยู่ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการผู้นำขององค์กรของผมท่านเป็นผู้นำประเภท "ผู้นำทางวิชาการ" แต่แฝงไปด้วย "วิชาการเชิงธุรกิจ" นั่นคือเมื่อท่านก้าวขึ้นมารับตำแหน่งใหม่ๆ ด้วยวิสัยทัศน์อันยาวไกลของท่านทุกคนให้เกียรตินับถือ แต่การที่ท่านมองการIณ์ไกลเกินไป หลายสิ่งหลายอย่าง ผู้ใต้บังคับบัญชาเดินตามไม่ทัน การบริหารในภาพรวมจึงเกิดปัญหา โดยเฉพาะเมื่อท่านมองงานวิชาการเป็นหลัก ท่านต้องการให้มีเครือข่ายทางวิชาการที่หลากหลายแต่นั่นก็คือต้องมีเม็ดเงินตามมาด้วย โดยลืมมองถึงเรื่องของ "คน" ว่าคนในองค์กรจะสามารถทำได้หรือไม่ ในขณะที่มีงานประจำ และงานที่ได้รับมอบหมายจากส่วนงานที่สังกัดล้นมือ ปัญหาต่างๆ ค่อยๆ เกิดขึ้นตามลำดับบุคลากรมีความรู้สึกว่าเหมือนกับถูกบังคับให้ทำ แต่เมื่อทำงานมากขึ้น  ผลตอบแทนยังคงเท่าเดิม ทำให้หลายต่อหลายคน ต้องมองหางานใหม่และค่อยๆ ออกจากองค์กรไปทีละคนสองคน แม้กระทั่งในส่วนของบุคลากรที่เป็นเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย  ก็ถูกบีบในเรื่องของเวลาในการปฏิบัติงาน  หน่วยงานนี้อยู่ในกทม. เดิมเคยมาลงเวลาได้ไม่เกิน 09.00 น. แต่เปลี่ยนการลงเวลาจากการเซ็นชื่ออย่างเดียว  เป็นการสแกนนิ้วลงเวลาด้วย และต้องมาทำงานภายใน 08.00 น.  ทำให้บุคลากรเจ้าหน้าที่หลายคน ต้องหางานใหม่ เพราะไม่สามารถรับกับกฎระเบียบดังกล่าวได้กว่า 20 คน  ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนงาน แม้จะรักองค์กรเพียงใด แต่ก็ไม่สามารถอยู่ในองค์ได้ เพราะมิฉะนั้นจะมีผลต่อการประเมินเพื่อต่อสัญญา/ขึ้นเงินเดือน

          จากนั้นประมาณ 1 ปีเศษๆ "ผู้นำ" คนดังกล่าว จึงค่อยๆ ได้คิด และยอมปรับกฎระเบียบให้ยืดหยุ่นลงมาโดยให้มาปฏิบัติงานได้ภายใน 08.30 น. บุคลากรจึงเริ่มมีความรู้สึกในเชิงบวกกับผู้นำมากขึ้น

          ที่ยกเป็น Cast ข้างต้น เป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของการปฏิบัติด้านการบริหารบุคคลของ "ผู้นำ" ในองค์กรของผม ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีอีกหลากหลายพฤติกรรมของ "ผู้นำ" ที่ "ไม่มองคน" ทำให้องค์กรเกิดความระส่ำระสายมีแต่เสียงซุบซิบนินทา แต่ก็เป็นเพียงเสียงของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ยิ่งในวงการราชการด้วยแล้ว แทบไม่มีผลอะไรเลยในเสียงของคนระดับปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามนโยบายเป็นหลักในการทำงาน  ทั้งนี้ องค์กร ตลอดทั้งบุคลากรขององค์กร จะเป็นปกติสุขในการทำงานได้ "ผู้นำ" ต้องหันกลับมาดูแล "บุคลากร" ในองค์กร นั่นคือบริหารบุคคล โดยใช้หลัก "คุณธรรม - จริยธรรม" และ "ธรรมาภิบาล" พร้อมสร้างขวัญ กำลังใจให้มากขึ้น องค์กรจึงจะอยู่รอด  และเจริญเติบโตต่อไปได้

          หนึ่งในคุณสมบัติของผู้นำที่ดี "เก่งคน  เก่งงาน  เก่งการเปลี่ยนแปลง" จะเห็นได้ว่าการจะเป็นผู้นำที่ดีได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  เพราะนอกเหนือจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ผู้นำต้องเน้นสิ่งเหล่านี้ในการบริหารองค์กรด้วย นั่นคือ

   • เน้นคน                     • ได้รับการยอมรับ(Trust)

   • มองไกล                   • What, Why

   • เน้นภาพลักษณ์        • เน้นนวัตกรรม

   • ปรับเปลี่ยนให้ทันตามสภาวการณ์(Change)

     * รูปแบบของผู้นำ *

  1. ผู้นำที่เป็นที่ยอมรับ (Trust) / ผู้นำมาจากการใช้อำนาจ(Authority)
  2. ผู้นำมีบุคลิก, อุปนิสัยเป็นที่ถูกใจของคนทั่วไป(Charisma)
  3. ผู้นำตามสถานการณ์ (Situational)
  4. ผู้นำทางปัญญา (Quiet  Leader)

          จากการวิจัยของ  Center for creative leadership (CCL) พบว่าเราสามารถ develop ผู้นำมี 5 วิธี ที่เรียกว่าทฤษฎี 5 วิธี ที่เรียกว่า ทฤษฎี 5 E's คือ

  1. ผู้นำที่เป็นเสมือนโรโมเดล (Example)
  2. ผู้นำที่สร้างประสบการณ์ให้กับตัวเอง (Experience)
  3. ผู้นำที่หมั่นศึกษาหาความรู้ (Education)
  4. ผู้นำที่เน้นการสร้างบรรยากาศ (Environment)
  5. ผู้ที่ทำให้ความสำคัญกับการประเมินผล (Evaluation)

          จากการวิเคราะห์ผู้นำ ของอาจารย์จาก University of Washington ได้จำแนก คุณลักษณะผู้นำไว้ 4 ประเภท คือ

     1. Character คุณลักษณะที่พึงปรารถนา เช่น      

   • ชอบเรียนรู้              • มัทัศนคติเชิงบวก      

   • มีคุณธรรม จริยธรรม

     2. มี Leadership Skill ที่สำคัญ คือ  

   • การตัดสินใจ           • การเจรจาต่อรอง

   • การทำงานเป็นทีม

     3. Leadership process คือการมี Vision และมองอนาคตให้ออก

     4. Leadership value คือการมี Trust ความศรัทธาในตัวผู้นำ

          แนวคิดที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ "ผู้นำ" อีกเรื่องหนึ่ง คือ Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes ซึ่งได้พูดถึงคุณสมบัติของผู้นำไว้ 5 ประการ

1. การเป็นแม่แบบที่ดี

       > พูดถึงคุณค่าของตัวเองให้ชัดเจน

2. จุดประกายการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน

       > มองอนาคต และแสวงหาความเป็นไปได้

3. ท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่ 

        > สร้างวัฒนธรรมการมีนวัตกรรมใหม่    

        > แสวงหาทางออก, บริหารความเสี่ยง

4. ดึงความเป็นเลิศของผู้อื่นให้มาร่วมงานกับเรา

       > แสวงหาความร่วมมือ

       > พัฒนาจุดแข็งของผู้อื่น, กระจายอำนาจ

5. แสวงหาความมีน้ำใจต่อผู้อื่น

       > ยกย่อง, ยอมรับในความสำเร็จของผู้อื่น

          ถ้าจะมองถึงการเป็น "ผู้นำ" ของ "ผู้หญิง" แม้ว่าจะมีการแต่งตั้ง, เลือกตั้งในบางประเทศ, บางองค์กร, บางส่วนงานขององค์กร แล้วก็ตามที  แต่ผมมองว่า "ผู้หญิง" จะเป็น "ผู้นำ" ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น หลายเรื่องที่สุดท้ายแล้วต้องอาศัย "ผู้ชาย" ในการแสดงถึง "การมีภาวะผู้นำ" ให้ทั่วโลกได้ประจักษ์ เพราะจุดหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในความแตกต่างระหว่าง ผู้ชาย กับผู้หญิง คือ "ความเข้มแข็ง" และ "ความเด็ดเดี่ยว" กล้าตัดสินใจ มีมากกว่า (ในภาพรวม)  และมีความอ่อนไหวในทุกเรื่องน้อยกว่าผู้หญิง  ดังนั้น ถ้าผู้หญิงจะขึ้นเป็นผู้นำขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "องค์กรใหญ่" คงจะเป็นไปได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย เพราะทุกอย่างเป็น "โลกาภิวัตน์" ทั้งสิ้น นั่นคือมีสิทธิที่จะเป็นไปได้ เพราะ

           "ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน" 

          ท้ายที่สุด จากคำพังเพยที่ว่า "ถ้าหัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก" เป็นคำเปรียบเปรยได้กับคนที่จะเป็น "ผู้นำ" ในยุคโลกาภิวัตน์ จะต้อง

          - กล้าที่จะเริ่ม                                                              - กล้าจะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง, ความเสี่ยง                                                                                  เปรียบเสมือนผู้นำของประเทศไทย พระองค์หนึ่ง นั่นคือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ก่อนที่จะกู้เอกราชให้กับชาติไทย พระองค์ท่านทรงให้ทหารทุก คนทุบหม้อข้าวหม้อแกงที่มีอยู่ทั้งหมด   เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทหารทุกคน ว่าเราจะต้องชนะข้าศึก และมีอาหารรออยู่ข้างหน้าแล้ว  "ชนะเล็กๆ เพื่อชนะใหญ่ๆ"

                                             - ขอบคุณครับ-

                                        สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์         

         

นายปลื้มใจ สินอากร

วันที่ 22 กันยายน 2550

 

บรรยายโดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์

 การบริหารองค์กร ทฤษฎี 3 วงกลม 
 

วงกลมที่ 1 Context หรือ สภาพแวดล้อมในองค์กรนั้น เอื้ออำนวยต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

- ระบบโครงสร้างองค์กรมีความเหมาะสม และอำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการที่ดี หรือไม่

 

- การนำระบบ IT มาใช้ในการบริหารจัดการช่วยให้ได้ติดตามผลการดำเนินงาน และสั่งการได้รวดเร็ว รวมทั้งข้อมูลนำมาใช้ในการวางแผนงาน และกำหนดกลยุทธ์

 

- Process ของงานขบวนการทำงานต้องวางระบบการทำงานให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

 

- การนำ Data และ Knowledge นำข้อมูลและความรู้ต่างๆ มาพัฒนาองค์กรให้มีความรู้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่า

 Gap     จากภาพจะมีส่วนที่วงกลมที่ 1, 2 และ 3 ซ้อนกันนั้นจะต้องทำการวิเคราะห์ว่ามีสิ่งแวดล้อม และ Competencies รวมทั้งการ Motivation สิ่งใดที่เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดช่องว่างนั้น 

วงกลมที่ 2 Competencies

 - องค์กรจะต้องมีวัฒนธรรมในการแสวงหาความรู้

 

- ผู้บริหารมีภาวะเป็นผู้นำ

 

- ผู้นำจะต้องมีโลกทัศน์ที่กว้าง และกำหนดวิสัยทัศน์ที่ดี

 

- องค์กรจะต้องค้นหา Innovation

 

- การบริหารเวลา (Time Management) เป็นเรื่องสำคัญของทุกองค์กร

 

- Creativity มีความคิดสร้างสรรค์

 

- มีทัศนคติเป็นบวกต่อองค์กร (Positive Thinking)

 

- ทำงานเป็นทีม

 

- การบริหาร Knowledge องค์กรจะต้องมีการบริหาร Knowledge เพื่อให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

 

- Change Management ผู้บริหารจะต้องมีการบริหารความเปลี่ยนแปลง

 

- การกระจายอำนาจให้ได้ผล การบริหารเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพจะต้องมีการกระจายอำนาจให้ได้ผล

 

- ความสามารถในการตัดสินใจ ผู้บริหารต้องตัดสินใจเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ

 

- ความสามารถในการรับฟัง และยอมรับความจริง ผู้บริหารจะต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และนำมาพิจารณายอมรับความจริง 

Competencies แบ่งเป็น 5 เรื่อง

 

1. Functional Competency

 

            ความรู้ความเชี่ยวชาญของอาชีพจะต้องมีการศึกษา และฝึกอบรมเพิ่มเติมให้คงมีความรู้ที่ทันสมัย และเชี่ยวชาญตลอดเวลา

 

2. Organizational Competency

 

            มุ่งเรื่องความรู้ความเชี่ยวชาญขององค์กร ได้แก่

 

            - ปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร

 

            - ปรับปรุงวิธีการทำงานโดยนำเครื่องมือการบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น Six Sigma และ TQM

 

            - มุ่งเน้นวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้ทุกคนรัก และศรัทธาองค์กร

 

3. Leadership Competency

 

            - มุ่งเน้น People skill มุ่งเน้นในความชำนาญเชี่ยวชาญของผู้นำ

 

            - Vision ผู้บริหารจะต้องมี วิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

 

            - Trust ผู้นำจะต้องมี Trust ความเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง

 

4. Entrepreneurial Competency

 

            - ต้องมีมโนคติที่ดี ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

 

            - ทัศนคติที่ดีต่อการดำเนินงาน

 

            - การบริหารความเสี่ยงมีการติดตาม และวางแผนป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลต่อองค์กร

 

5. Macro and global Competency

 

            - ต้องทราบ และติดตามว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชาติ และระดับโลก

             - การมุ่งเข้าหาโอกาส และหลีกเลี่ยงอันตราย 

วงกลมที่ 3   จะต้องหาวิธีทำอย่างไรให้การ Motivation มีประสิทธิภาพ

 

Motivation

 - การมีระบบโครงสร้างเงินเดือน และค่าตอบแทนที่เหมาะสม และเน้น Pay for Performance และการทำงานอย่างมีความสุขอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

- การให้โอกาสแก่ผู้ร่วมงานมีความก้าวหน้าตามความสามารถ และความเหมาะสมขององค์กร

 

- การให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมในการทำงาน

 

- ให้มีการฝึกฝน และมอบหมายงานที่ท้าทาย

 

- ให้ผู้ร่วมงานทำงานกันเป็นทีม เป็นการฝึกความรับผิดชอบ

 

- การให้รางวัลพิเศษแก่ผู้ที่มีความสามารถ

 

- การให้โอกาสแก่ผู้ร่วมงานเพิ่มพูนความรู้ตลอดเวลา

 

- ให้มีวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนต้องปฏิบัติ

 

- มีการพิจารณา และประเมินผลงานของคนในองค์กรอย่างโปร่งใส

 

- ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร่วมงานทุกคน  

   

      -  มีรูปแบบ (Style) ในการบริหารงาน

 

      -  สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี เพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และ  ทำงานอย่างมีความสุข

       -  Empowerment มีการมอบหมาย กระจายอำนาจเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว  ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง

     ผู้นำคือผู้ที่ทำให้คนอื่นเก่งและนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จหรือหลีกเลี่ยงความล้มเหลวองค์กรทุกองค์กรจะต้องมีผู้นำในภาวะที่โลกเปลี่ยนแปลงผู้นำมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องมีผู้นำที่ดี จึงจะสามารถนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโลกได้

    

  ผู้นำจะต้องพาองค์กรไปสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง และการไม่แน่นอนทางการเมือง ของประเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้นำองค์กรจะต้องมีการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อองค์กรอยู่รอด 

ผู้นำมีหลายประเภท

 

-          ผู้นำทางวิชาการ

 

-          ผู้นำทางการเมือง

 

-          ผู้นำทางธุรกิจ (SMEs)

 

-          ผู้นำทางธุรกิจในฐานะมืออาชีพ

 

-          ผู้นำในฐานะเจ้าของ

 

-          ผู้นำทางด้านกีฬา

 

-          ผู้นำทางด้านทหาร

  ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร 

ผู้นำ

ผู้บริหาร
- เน้นที่คน - Trust  - ระยะยาว         - What, Why     - มองอนาคตขอบฟ้า/ภาพลักษณ์- เน้นนวัตกรรม- Chough - เน้นระบบ- ควบคุม - ระยะสั้น - When, How- กำไร/ขาดทุน- จัดการให้สำเร็จมีประสิทธิภาพ - Static

ชนิดของผู้นำ

 

-          Trust มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ Authority  มีคำสั่ง

 

-          Charisma มีบุคลิกดี อุปนิสัยมีเสน่ห์

 

-          Situational  มีโอกาสพวกที่มีประสบการณ์หรือการเรียนมามากย่อมมีโอกาสมาก

 

การวิจัยของ Center for Creation leadership

 

          ผู้นำมี 5 วิธี เรียกว่าทฤษฎี SE’s

 

1.      Example ต้องดูรูปแบบที่ดีเป็นตัวอย่างได้

 

2.      Experience  สร้างประสบการณ์ที่ดีผ่านความลับ ผ่านความล้มเจ็บปวด ความเหลวมาแล้ว

 

3.      Education  มีการเรียนและการฝึกอบรมเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ

 

4.      Environment  สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

 

5.      Evaluation  ต้องมีการประเมินผล

 

การวิจัยของอาจารย์ที่ University of Washington

 

          ผู้นำจะต้องมี 4 วิธี

 

1.      ชอบศึกษาหาความรู้

 

2.      มีทัศนคติเป็นบวก

 

3.      มีประสบการณ์ในการทำงาน

 4.      มีคุณธรรม จริยธรรม 

Leadership ในความหมายของ ศ.ดร.จิวะ หงส์ลดารมย์

 

1.      Crisis management ต้องมีความสามารถในการบริหารภายใต้สภาวะวิกฤต

 

2.      Anticipate change ต้องรู้การเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า

 

3.      Motivate other ต้องกระตุ้นให้เกิดความบ้าคลั่งจนเป็นเลิศ

 

4.      Conflict resolution การบริหารความขัดแย้ง

 

5.      Explore opportunities การแสวงหาโอกาส

 

6.      Rhythm & speed ต้องมีกาละเทสะ รู้จักจังหวะเวลา ในการทำงาน

 

7.      Edge (Decisiveness) จะต้องชี้ขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน

 

8.      Teamwork  การทำงานเป็นทีม

 9.      การบริหารความไม่แน่นอน 

บทบาทของผู้นำ (header ship roles)

 

Stephen Corley ได้กำหนดบทบาทของผู้นำได้ 4 บทบาท

 

1.      Path Fending กำหนดทิศทางในการทำงาน

 

2.      Aligning กระตุ้นผู้ร่วมงานให้ไปในทางเดียวกัน

 

3.      Empowering กระจายอำนาจให้ผู้ร่วมงาน

 

4.      Role Model  เป็นตัวอย่างที่ดี

 

The Klan Leader ship ของ center for creative Leadership

 

-          Courage กล้าหาญ กล้าตัดสินใจ

 

-          Caring ห่วงใย  ดูแลผู้ร่วมงาน

 

-          Optimism  คิดในเชิงบวก

 

-          Clef control  ควบคุมตนเอง

 

-          Communication การถ่ายทองและการสื่อสารกับผู้ร่วมงาน

 

Michael Hammer  มี 3 เรื่อง

 

-          Vision

 

-          Communication

 -          Commitment 

แนวคิดเรื่อง Leader ship challenge ของ Posner และ Kouges

 

1.      ผู้นำต้องเป็นแม่แบบเป็นตัวอย่างที่ดี

 

      วิธีคือ    พูดถือคุณค่า (Value) ของตัวเองให้ชัดคืออะไรปฏิบัติตามที่กำหนดคุณค่านั้น ๆ

 

2.      จุดประกายสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน

นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  / PHD 8202 รภ.สวนสุนันทาภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง (22 กันยายน 2550) / นักศึกษา : นพมาศ ช่วยนุกูลผู้นำ  ก็คือคนที่สามารถนำพากลุ่มคน องค์กร ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  ซึ่งผู้นำที่ดีจะนำพากลุ่มคน องค์กร ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ(สังคมยอมรับได้) ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ส่วนผู้นำที่ไม่ดีคือผู้นำที่นำพาไปสู่เป้าหมายที่กลุ่ม องค์กรต้องการ แต่เป้าหมายและวิธีการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้นไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม   อย่างไรก็ตาม ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำคือภาวะแห่งการรักษาสมดุลที่เป็นคุณสมบัติของผู้นำ 5 ประการหลักคือ   1)  ความเป็นตัวตน  ได้แก่ อุปนิสัย การเป็นแบบอย่างที่ดี การควบคุมตนเอง การปรับเปลี่ยนแนวคิด (Mental Model : win-win) และเรื่องจริยธรรม เป็นต้น  2) การบริหารคน  ได้แก่ 2.1) คนในองค์กร ซึ่งประกอบด้วย ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ทีมงาน ความร่วมมือ  และ 2.2) คนนอกองค์กร ประกอบด้วย ลูกค้า ประชาชน เครือข่าย เนื่องจากเราต้องแข่งขันกับคนอื่น ๆ ในโลกเพื่อความอยู่รอด และไม่มีใครหรือผู้นำคนไหนสามารถเก่งได้คนเดียว หรือต้องมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Interdependent)   3) การบริหารงาน อันประกอบด้วย 3.1) องค์กร ซึ่งประอบด้วย Vision Mission ค่านิยม ซึ่งผู้นำต้องมีความชัดเจนในจุดนี้รวมทั้งมีการ Share Vision  3.2) Competency  3.3) กฎหมาย ระเบียบปฎิบัติ  3.4) การเมือง  4) เรื่องการเปลี่ยนแปลง  จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ โดยใช้แนวทางของนวัตกรรม  5) การบริหารสถานการณ์  ได้แก่ 5.1)  Trust  5.2) Motivation และ  การกระจายและการมอบอำนาจ  5.3) การตัดสินใจ     หากผู้นำไม่สามารถรักษาภาวะสมดุลในคุณสมบัติ 5 ประการได้  ภาวะผู้นำที่จะนำพากลุ่มหรือ องค์กรไปสู่เป้าหมาย ก็ไม่อาจสัมฤทธิ์ผลและองค์กรก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ............................... 
            ในยุคปัจจุบันซึ่งถือว่าเป็นยุคที่มีสภาวะการแข่งขันสูง ภาวะผู้นำถือเป็นกำลังสำคัญที่จะช่วยผลักดัน ให้องค์การประสบความสำเร็จ ภาวะผู้นำจึงต้องได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทันต่อโลกที่กำลังก้าวไป เดิมผู้นำมีหน้าที่ในการวางแผนและบริหารเพื่อให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้เท่านั้น แต่สำหรับในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร สภาพแวดล้อม (Environment) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล โดยอาศัยเทคโนโลยีทางด้านข้อมูลข่าวสารต่างๆเป็นเครื่องมือในการที่จะรวบรวมข้อมูลต่างๆทั้งด้าน ความเคลื่อนไหวของคู่แข่งขัน ความต้องการของลูกค้า ปัญหาอื่นๆที่มีผลต่อธุรกิจหรือ องค์การ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิผลที่เรียกว่า "Integrated leadership" ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยเน้นไปที่กระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษา ความได้เปรียบ   ในยุคนี้จึงเน้น การพัฒนา ภาวะผู้นำควบคู่ไปกับการทำงานเป็นทีมเป็นสำคัญ และในขณะเดียวกัน การติดต่อสื่อสารภาย ในองค์การก็ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะการที่จะสื่อสารในเรื่องของภารกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมต่างๆขององค์การไปสู่พนักงานที่อยู่ในองค์การ เนื่องจากหากพนักงานเหล่านั้นมีความเข้าใจและมีความรู้ไปในทิศทางเดียวกันประสิทธิภาพขององค์การก็จะเพิ่มมากขึ้นและเป็นการช่วยลดปัญหาต่างๆในองค์การได้เป็นอย่างดี และผู้นำยังต้องพยายามจูงใจ พนักงานซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กร ให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน โดยใช้วิธีการต่างๆ เช่น ให้มีส่วนร่วมในทีม มีส่วนร่วมในความสำเร็จที่สำคัญ มีการแบ่งผลกำไร(Profit Sharing)อย่างเป็นธรรม ให้การยอมรับ ในตัวพนักงาน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผล ให้เกิดความเข้าใจและแนวคิดในวัตถุประสงค์ของ องค์การในตัวพนักงานตรงกัน และนำไปสู่ความสำเร็จขององค์การในที่สุด                 คุณสมบัติของผู้นำที่ดีควรมีดังนี้1.           Knowledge   ความรู้                ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย 2.      Initiative  ความริเริ่ม                ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า 3.      Courage and firmness    มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด                นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ กล้าได้กล้าเสีย ด้วย4.      Human relations    การมีมนุษยสัมพันธ์ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา  ซึ่งจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้5.      Fairness and Honesty   มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต  ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น 6.      Patience  มีความอดทน ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง7.      Alertness   มีความตื่นตัว  คือมีความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาดขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์8.      Loyalty   มีความภักดี                 การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี                9.     Modesty   มีความถ่อมตนไม่ถือตัว                คือการไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล             ท่านอาจารย์ ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ได้แบ่งกลุ่มของผู้นำไว้ 4 ชนิดดังนี้1.       Trust หรือ Authorit   คือผู้นำที่มาจากความยอมรับศรัทธาของคนในองค์กร หรือมาจากการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ2.       Charisma    ผู้นำมีบุคลิกลักษณะและอุปนิสัยเป็นที่ชื่นชอบของบุคคลทั่วไป3.       Situational     ผู้นำตามสถานการณ์4.       Quiet Leader   ผู้นำทางปัญญา  เป็นผู้นำที่รู้จักคิดวิเคราะห์ปัญหา 

                สรุปการเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องรู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)  มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง  มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence)  เป็นผู้ที่ตั้งคำถามอยู่ตลอดเวลาว่า ใคร(Who)  ทำอะไร(What)  ที่ไหน(Where)  เมื่อไร(When)  ทำไม(Why)  อย่างไร(HOW)    มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้

ขอบคุณครับ  สรณิต  พุ่มพฤกษ์

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected]) HomeWork# 14 Human Capital (15-Sep-07)Leadership in the changing world.Prof. Dr. Chira Hongladarom  ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้             วันนี้รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ Aj.Chira  มานั่งพูดคุยให้ความรู้กับพวกเราในช่วงเช้า (Morning Coffee) และต่อในห้อง Lecture เปิดโอกาสให้พวกเราได้มีส่วนร่วมสอบถามและแสดงความคิดเห็น  ประเด็นที่บรรยายคือ ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการยรรยาย คือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ทุนมนุษย์ คืนทุนที่มีลมหายใจ  ทุนมนุษย์เกิดจากมนุษย์   หรือ อีกในหนึ่ง ทุนมนุษย์ คือ คน (Homo Spain)  บางคนมีทุนมนุษย์แต่ไม่มีทุนทางปัญญา Human Capital สำคัญเป็นอันดับแรก ใน ทฤษฎี 8 Ks ส่วนอีก 7 Ks ที่เหลือเป็นส่วนประกอบ               การสร้างคนเก่ง เราต้องสร้างขึ้นมา Demand Side กระตุ้นให้อยากทำงานโดย Supply Side  ตามที่ผมเข้าใจคือ  ต้องใช้ระบบคุณธรรม และ คุณ นะ ทำ ในการบริหารงาน            Talented Capital : ทุนทางปัญญา (Knowledge), ความชำนาญ (skill) และ แนวคิด (Mindset)   เราควร Open Mind ไม่ควรคิดเพียงมิติเดียว  เพราะการคิดเพียงด้านเดียวเป็นอันตราย  เพราะฉะนั้น “Know what going on” เราควรหมั่นหาความรู้ให้สดใหม่เสมอเพื่อให้สามารถรู้เท่าทันและอยู่ในสังคมยุค IT  Globalization ได้.   แต่ก็มีข้อควรระวังรู้มากไปจะเป็นโรค IOKO             I : Information            O : Overflow            K : Knowledge            O : Overload            โรค Information Overflow Knowledge Overload หรือ โรคสำลักข้อมูล  คือ รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้เรื่องที่ควรรู้             ผมได้มองเห็นจาก Case Study เกี่ยวกับทุนมนษย์  ใน Philippine  พบว่าคน Philippine ไม่ค่อยรักประเทศตัว  เมื่อคนPhilippine มีความรู้แล้ว  มักจะไม่ทำงานในประเทศ Philippine แต่จะไปทำงานในต่างประเทศ  เช่น เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ, ทำงานฝ่าย Human Resource ในบริษัท Multi National ต่างๆ   ซึ่งคน Philippine เหล่านี้จะส่งเงินกลับประเทศคิดเป็น 11% ของ GDP ทั้งประเทศ   แสดงว่า Philippine มีปัญญาเรื่องการสร้างทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม  ทุนทางสังคม และทางแห่งความหยั่งยืน  เพื่อใช้พัฒนาประเทศ เนื่องจากคนเหล่านี้เมื่อมีทุนทางปัญญาแล้วจะไม่ใช้ทุนทางปัญญาที่มีมาพัฒนาประเทศ  แต่จะออกไปทำงานต่างประเทศ.            เกี่ยวกับทฤษฎี 3 วงกลม   ; การสร้างแรงจูงใจ (Motivation) ผมได้แนวคิดเพิ่มเติมจากที่ Aj.Chira สอน คือ ผมนำมาคิดประยุกต์ใช้แรงจูงใจที่เกิดขึ้นจากการทำงานเป็นดังนี้            Income (I) :  รายได้ ที่เราจะได้รับจากการทำงาน  ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมองแรงจูงใจจากตรงนี้เป็นหลักเนื่องจาก ท้องยังไม่อิ่ม ก็ต้องมีเรื่องแรงจูงใจจากรายได้เป็นหลัก.            Credit (C) :  เป็นสิ่งที่เราได้จะจากการทำงาน เช่นมีความรู้ความสามารถ มีความชำนาญในด้านนี้ ,  เราเป็นคนพูดจริงทำจริง,  เป็นคนตั้งใจทำงาน ให้ออกมาดีที่สุด ทำงานเต็มที่ แน่นอนผู้คนในที่ทำงานและรอบตัวเราจะให้สิ่งนี้แก่เรา  เราจะได้ Trust นั้นหมายถึงเราเป็นคนมีความเสี่ยงต่ำ (Low Risk)            Experience (E) : ประสบการณ์ เมื่อเราทำสิ่งใดเป็นระยะเวลาหนึ่งเราจะเกิดความรู้ (Knowledge) และความชำนาญ (Skill) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกว่าประสบการณ์ เป็นสิ่งที่เราจะได้ เป็นอีกหนึ่งสิ่งในแรงจูงใจ.            ทั้ง 3 สิ่ง เป็น ICE ที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ. สรุป ผู้นำที่ดีในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง จะต้องไม่ลุ่มหลงสิ่งเหล่านี้            1.อำนาจ             2.เงิน ทอง ทรัพย์สิน.เนื่องจากทั้ง 2 อย่างนี้ ยิ่งใช้มากยิ่งหมดเร็ว ผู้นำที่ดีต้องมีน้ำใจ.
        อาจารย์จีระยังคงให้ความเป็นกันเองกับนักศึกษาโดยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตั้งแต่เช้าก่อนเข้าห้องเรียน ซึ่งในทัศนะของผมแล้วเห็นว่าอาจารย์อาจจะกำลังทำให้นักศึกษาเห็นทฤษฎี 4L’s นั้นสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เรื่องที่พูดให้เป็นทฤษฎีโก้เก๋ โดยเอาประสบการณ์ในแต่ละวันในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมาที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากความจริง (Reality) ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์นั้นๆ (Relevancy) ที่อาจารย์ไปช่วยหน่วยงานต่างๆ มาบอกเล่ากับนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้ฉุกคิดต่อยอดและนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) หรือนำเอาไปเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ในอนาคต                นอกจากการเล่าประสบการณ์แล้ว อาจารย์ได้ให้ความกระจ่างเพิ่มเติมในเรื่อง Human Capital ซึ่งอยู่ในทฤษฎี 8K’s ว่าคือทุนในทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นส่วนหนึ่งนอกเหนือจากทรัพยากรธรรมชาติ เป็นเรื่องของการลงทุนในมนุษย์เสียก่อน ซึ่งบางครั้งเราต้อง pain before gain เมื่อมีทุนมนุษย์ตรงนี้แล้ว เราก็ต้องมีทุนอื่นๆที่อาจารย์กล่าวถึงไว้แล้วในทฤษฎี 8K’s ซึ่งทุนเหล่านั้นต้องมีอยู่ในทุนมนุษย์จึงจะประสบความสำเร็จ                 บทเรียนที่สำคัญในวันดังกล่าวคือเรื่องภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ความแตกต่างระหว่างผู้นำ (Leader) และผู้จัดการ (Manager) ซึ่งบ่อยครั้งคนมักจะนำมาใช้ปนกัน แต่จริงๆแล้วสองคนนี้ต่างกัน โดยอาจารย์ได้นำกราฟมาแสดงให้เห็นถึงช่องว่าง (gap) ระหว่างผู้นำกับผู้จัดการ ซึ่งผู้นำจะมี performance ที่สูงกว่าผู้จัดการ แต่ผมก็ได้ให้ความเห็นว่ากราฟของผู้จัดการนั้นไม่น่าจะเป็นเส้นตรงเสียทีเดียวแต่อาจจะเป็นเส้นโค้งก็ได้ ซึ่งอาจารย์ก็เห็นด้วย นอกจากนี้ผมอยากจะขอแสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่าเส้นกราฟทั้งสองเส้นนี้มีโอกาสที่จะทับกันได้ถ้าผู้จัดการพัฒนาการทำงานของตนให้ดีขึ้น และมีโอกาสแซงขึ้นไปอยู่สูงกว่าผู้นำก็ได้ นั่นหมายถึงว่าคนที่เป็นผู้จัดการอยู่ก็ใช่ว่าจะเป็นผู้จัดการอยู่ตลอดกาล แต่อาจจะพัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นผู้นำได้ในวันใดวันหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องพิจารณาเช่นกันว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นควรจะต้องมี minimum performance requirement หรือไม่ ซึ่งหากจำเป็นต้องมี กราฟเส้นของผู้นำของผู้นำก็ไม่จะเป็นต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป ทั้งนี้รวมถึงผู้จัดการด้วย                การที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้นำนั้นก็ต้องเรียนรู้คุณสมบัติหรือชนิดของผู้นำว่ามีอะไรบ้าง และผู้นำจะต้องดำรงตนอย่างไร ซึ่ง Jack Welch, CEO ของ GE กล่าวว่า ผู้นำไม่ใช่ผู้ที่จะต้องคอยทำให้ตัวเองเด่น แต่ต้องมองดูว่าจะทำให้ลูกน้องหรือทีมงานของตนเองเก่งหรือดีขึ้นได้อย่างไร ผมว่านัยก็คือ ผู้นำต้องทำเพื่อคนอื่น ไม่ใช่ทำเพื่อตนเอง ทั้งนี้อาจารย์จีระได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับผู้นำของบุคคลต่างๆ รวมทั้งตามแนวคิดของอาจารย์มานำเสนอ (ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวซ้ำเพราะอยู่ในเอกสารที่แจกแล้ว) เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ซึ่งมีทั้งที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน

                   อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของผมเห็นว่าผู้นำนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำในรูปแบบเสมอไป แต่อาจเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ผู้นำตามธรรมชาติ ซึ่งบางครั้งทำงานเกิดสัมฤทธิผลมากกว่าผู้นำในรูปแบบด้วยซ้ำไป เพราะสามารถผูกใจและโน้มน้าวผู้คนได้ เข้าลักษณะที่ว่า ผู้นำคือผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม (ด้วยความยินยอมพร้อมใจ) ไม่ใช่ต้องทำตามเพราะคำสั่งแต่ไม่ยินยอมพร้อมใจ แต่การจะเป็นผู้นำได้ดีก็ต้องสร้างเครดิตและศักยภาพให้เห็นว่าตนเองมีความพร้อม นอกจากปัจจัยขั้นพื้นฐานที่ว่าจะต้องเป็นคนดีมีจริยธรรมแล้ว ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มองเห็นปัญหาก่อนใครว่าปัญหาอยู่ตรงไหน และมองออกด้วยปัญญาด้วยว่าจะมีวิธีแก้อย่างไร เท่านั้นยังไม่พอ ต้องกล้าตัดสินใจด้วย มิเช่นนั้นการคิดออกก็ไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากนี้ ผู้นำทำคนเดียวไม่ได้ ต้องโน้มน้าวให้คนอื่นคล้อยตามและร่วมมือ เหนือสิ่งอื่นใดคือการเห็นความสำคัญของทีมงาน เมื่องานสำเร็จต้องให้เครดิตผู้อื่น ไม่ใช่เก่งอยู่คนเดียว แต่ต้องถือเป็นความสำเร็จร่วมกัน ทุกคนมีคุณค่าในฐานะองคาพยพหนึ่งขององค์กร ซึ่งหากจะร้อยเรียงเป็นคำสั้นๆที่ใจหรือจำง่ายก็อาจจะกล่าวได้ว่าผู้นำนั้นจะต้องเป็นผู้ที่ มองเห็นปัญหา          มีปัญญาแก้ไข  กล้าตัดสินใจ  โน้มน้าวผู้อื่นได้  สู้เส้นชัยพร้อมทีมงาน แต่จะทำให้ครบคุณสมบัติที่ว่านี้ได้มากน้อยเพียงใดและรวดเร็วเพียงใดก็คงต้องขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาองค์ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดมรรคผลต่อไป

                                        รักษเกชา แฉ่ฉาย

สรุปการบรรยายครั้งที่ /14 (เสาร์ที่ 22 กันยายน 2550) โดย ท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์  ในหัวข้อภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องทุนมนุษย์ในมุมมองต่าง ๆ หลายคนได้แสดงความคิดเห็น อาจารย์ได้อธิบาย ทำให้ความเข้าใจเรื่องทุนมนุษย์ของแต่ละคนชัดเจนขึ้น ทุนมนุษย์นั้นกว่าจะได้มา ต้องมีการลงทุนก่อน(Investment) มนุษย์มีทุนติดตัวมาตั้งแต่เกิดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่แต่ละคนจะมีความสามารถในการจัดการให้ทุนในแต่ละด้านเพิ่มขึ้นได้แตกต่างกัน การเรียนรู้จึงสำคัญที่วิธีการเรียนรู้เพื่อให้ได้คุณภาพมิใช่ปริมาณ รู้จริงดีกว่ารู้เยอะ คือต้องเรียนรู้ตามหลักของทฤษฎี 4 L’s  ของท่านอาจารย์จีระ และ ต้องมี Happiness(มีความสุข)  Respect(ยกย่องมนุษย์)  Dignity (ให้เกียรติ มีศักดิ์ศรี) Sustainable (มีความยั่งยืน) ด้วย สำหรับเรื่อง  ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยน  หากนึกถึงองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผลของความสำเร็จนั้นมาจากการมีผู้นำที่มีประสิทธิภาพและความสามารถที่ไม่ธรรมดาในยุคศตวรรษที่มีประสิทธิภาพและความสามารถที่ไม่ธรรมดา ถ้าเรานึกถึงองค์กรที่ประสบความสำเร็จเราจะนึกถึงผู้นำในยุกต์ที่ประสบความสำเร็จนั้นด้วย เช่น Alfred Slon ของ GM(General Motors) หรือ John D. Rockefeller ของ Standard  Oil หรือ Jack Welch  ของ GE (General Electric)  หรือ Bill Gates ของ Microsoft  และอาจรวมถึง ผู้นำคนไทย อย่างเช่น ชาตรี โสภณพานิช แห่งธนาคารกรุงเทพ ด้วยก็ได้ ซึ่งผู้นำเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับองค์กรของตนอย่างมากมาย ซึ่งทำให้องค์กรของตนประสบความสำเร็จล้ำหน้าองค์กรอื่น ๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับตนในยุคที่ตนเป็นผู้นำ ถ้าแยกประเภทของผู้นำแล้วถือว่าผู้นำมีหลายประเภทได้แก่   ผู้นำทางวิชาการ   ผู้นำทางการเมือง  ผู้นำทางศาสนา   ผู้นำทางธุรกิจ     ผู้นำในฐานะเจ้าของ ผู้นำทางด้านกีฬา ผู้นำทางการทหาร ผู้นำแต่ละประเภทอาจจะมีคุณสมบัติบางอย่างที่เหมือนกันและอาจจะมีบางอย่างที่แตกต่างกัน  คุณสมบัติที่สำคัญทีผู้นำทุกคนควรมี เช่น1.       ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ เช่น แรงจูงใจ อารมณ์ และความต้องการ2.       ผู้นำต้องสามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือลูกน้องเชื่อว่าผู้นำมีคุณค่ามากพอที่จะให้พวกเขาทำตาม3.       ผู้นำต้องมีความสามารถในการสื่อสาร และควรเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง(two-way-communication)4.       ผู้นำมีความสามารถที่จะตัดสินใจในสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้ดีที่สุดผู้นำ (Leader) กับ ผู้จัดการ (Manager) มีความแตกต่างกัน เส้นของผู้นำ มีข้อสมมติว่าผู้นำจะต้องมีความสามารถในการบริหารด้วย  เส้นกราฟที่แสดงระหว่าง ความเป็น Leader กับ Manager คือต้องพยายามให้ช่องว่างระหว่างกราฟทั้งสองเส้นเป็นไปในทิศทางและเส้นเดียวกัน  ชนิดของผู้นำก็ยังประกอบด้วย  1.Trust / Authority   2.Charisma    3.Situational  4. Quiet Leader  จากการวิจัยของ Center for creative leadership พบว่า การจะ develop ผู้นำ มี 5 วิธี เรียกว่า ทฤษฎี 5 E’s1.       Example (มีรูปแบบตัวอย่างที่ดี : Role model) 2.        Experience (สร้างประสบการให้ตัวเอง ฝึกทำงานที่ยาก) 3.        Education (ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานรู้อยู่เสมอ) 4.        Environment (สร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน)  5.        Evaluation (ประเมินผลการทำงานอยู่เสมอ) ทักษะของผู้นำ Leadership skill ที่สำคัญคือการตัดสินใจ  (ฝึกให้ เร็ว รอบคอบ แต่อย่ารีบร้อนที่จะ yes  หรือ no)การเจรจาต่อรองการทำงานเป็นทีมGet thing done (มุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จ) The Klann Leadership ของ Center for creative Leadership  1. Courage2.    Caring เป็นห่วงเป็นใย จริงใจ และหวังดีกับทุกคน3. Optimism  คิดเชิงบวก4.  Self control เรียนรู้และควบคุบตนเองได้5. Communication  สื่อสารได้อย่างดี  ทุกองค์กรย่อมมีผู้นำ ผู้นำ เราต้องมีความสามารถที่จะแยกแยะระหว่างผู้นำที่ดีและผู้นำที่ไม่ดีให้ได้ผู้นำที่ไม่ดีคือผู้นำที่ขาดประสิทธิภาพ หรืออาจจะเป็นผู้นำที่ไร้จริยธรรม ขอเสนอประเภทของผู้นำที่ไม่ดี ตามแนวคิดของ Barbara Kellerman ผูอำนวยการศูนย์การเป็นผู้นำ องค์การสาธารณะที่ Kenedy School Government มหาวิทยาลัย Harvard ดังนี้  1.       ผู้นำที่ไร้ความสามารถ(ผู้นำที่ไม่สร้างสรรการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกให้เกิดขึ้น) 2.       ผู้นำที่เข้มงวด(ผู้นำที่ไม่ยอมดัดแปลงความคิดใหม่)  3.        ผู้นำที่ควบคุมตนเองไม่ได้(ผู้นำที่ใช้อารมณ์ในการบริหาร)4.       ผู้นำที่ปราศจากความกรุณา(ผู้นำที่ขาดเมตตา) 5.       ผู้นำขี้โกง(หรือผู้นำที่ทุจริต)  6.       ผู้นำใจแคบ(ผู้นำที่ไม่ยอมเสียสละ)  7.       ผู้นำปีศาจ(ผู้นำที่ทำร้ายร่างกายและจิตใจของผู้อื่น)ผู้นำทั้ง 7 ประเภทนี้เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีจึงไม่ควรเอาเป็นตัวอย่าง
นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 8

Five Discipline ของ  Mr.Peter  M.Senge มีความคล้ายคลึงกับ 8k’s  ของ Prof. Dr. Chira Hongladarom เป็นอย่างมาก ทั้ง 2 ทฤษฎีเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และพัฒนาคน ซึ่ง 8k Theory จะมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันออก ซึ่งจะเน้นถึง คุณธรรม และความสุขรวมอยู่ด้วย ส่วน  Five Discipline ของ Mr. Peter M. Senge จะแนวคิดเป็นตะวันตก เป็นการเน้นความจำเป็นของตัวบุคคลและการทำงานเป็นทีม การคิดอย่างมีระบบ 2 ทำอย่างไรจะนำ Idea ของทั้ง 2 ผ่านมาเป็นหลักปฏิบัติ ในทางปฏิบัติควรจะเริ่มจากการทำความเข้าใจ และทฤษฎีทั้ง 2 มาทำการวิจัยลงรายละเอียดให้มาก รวมทั้งจัดทำเป็นแผนงาน เพื่อนำไปปฏิบัติและเผยแพร่ (Action Plan) การเผยแพร่อาจจะจัดทำเป็นการจัดสัมมนาเผยแพร่ โดยเชิญผู้รู้และผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อคิดเห็น และขอความร่วมมือเพื่อก่อให้เกิดความรู้และเผยแพร่หลายมากขึ้น ขั้นตอนในการปฏิบัติอาจใช้ทฤษฎี 2R’s ของ Prof. Dr. Chira Hongladarom มาใช้ 2R’s คือ   

1.  Reality มองความจริง  

2.  Relevance ตรงประเด็น Reality คือ การอยู่กับความจริง ทำความเข้าใจกับเหตุการณ์รอบตัว และมองด้านปัญหาในการพัฒนาและการแก้ไข  Relevance คือ ความเกี่ยวข้อง สิ่งที่เกี่ยวข้องต่อสถานการณ์สามารถนำมาวิเคราะห์และใช้ทฤษฎี 8k และ 5 Discipline มาเป็นตัวนำได้

นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 9

Innovation   หมายถึง   นวัตกรรม คือ สิ่งที่เกิดจากความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม”  ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ต้องเป็นสิ่งใหม่สำหรับผู้สร้างสรรค์ แต่เก่าสำหรับคนอื่น ความคิดสร้างสรรค์ กับ นวัตกรรมนั้น ไม่มีทางรู้เลยว่า ความคิดนั้นใหม่หรือไม่ (ยกเว้นแต่จะอ้างอิงกับมาตรฐานบางอย่าง) และไม่มีทางบอกได้ว่ามันมีคุณค่าหรือเปล่าจนกระทั่งผ่านการประเมินทางสังคม นวัตกรรมมี 2 ประเภท คือ

1.นวัตกรรมแบบปิด

2.นวัตกรรมแบบเปิด

แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมคือการนำนวัตกรรมมาผสมผสานกัน นวัตกรรมผสมผสาน เกิดจากการผสมผสานแนวคิดที่แตกต่างโดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเท่า นวัตกรรมเฉพาะทางและเกิดจากการเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆเข้าด้วยกันในทางที่ไม่ธรรมดา เป็นผลจากการเคลื่อนย้ายผู้คน,การบรรจบกันของศาสตร์สาขาต่าง ๆ และการประมวลผลที่ล้ำยุค  แนวทางเล็ก ๆน้อย ๆ นการสร้างนวัตกรรม คือปัญหาคาใจต่าง ๆ

 1. เข้าไปจุดไหนดี

2. เข้าไปทำอะไรดี

3. รู้ว่าทำอะไร แต่จะทำอย่างไร

4.ใครเป็นคนทำ

5. ความสามารถเรามีแค่ไหน ใครช่วยได้ จากปัญหาต่าง ๆเหล่านี้ทำให้เราต้องหาคำตอบ โดยการหาความรู้จาก web site หนังสือ เอกสาร

         

นวัตกรรมเป็น Process ไม่ใช่ Product แต่ก่อให้เกิดเป็น Product ในภายหลัง และนวัตกรรมเกิดจากความคิดเป็นขั้นเป็นตอนไม่ใช่เกิดจากอุบัติเหตุ และการทำวิจัยภายในหน่วยงานเพื่อสร้างนวัตกรรมนั้น ปัจจุบันอาจไม่ทันโลกทันเหตุการเนื่องจากตอนนี้มี Open Innovation Model คือ นวัตกรรม Out Source จากภายนอกได้ โดยที่ งานวิจัยเป็น Research Driven ส่วน นวัตกรรมเป็น Market Driven ยกตัวอย่างบ้านเราเอง คิดอะไรไหม่ๆ ได้เสมอแต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หรือนำไปปฏิบัติได้แต่ Scale Up ไม่ได้ เพราะ นวัตกรรมที่เห็นผลสำเร็จในเชิงพานิชย์และสามารถนำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ นอกจากความคิดสร้างสรรค์แล้วยังต้องการความเป็นผู้ประกอบการด้วย

นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 10

การประเมินศักยภาพของคนในองค์กรจึงมีบทบาทในเรื่อง HR และการบริหารผลการปฏิบัติงาน  (P M : Performance management) เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ

 

ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ

 

      1. Performance Planning /Goal-setting

 

      2. Continuous coaching and Feed back

 

      3. Performance review and evaluation

       4. Corrective and adaptive action นอกจากนี้ในแต่ละส่วนเชื่อมโยงกันโดยเริ่มที่การตั้งเป้าหมายในการบริหารผลการปฏิบัติงานการ และการตั้งเป้าหมายที่ดี         (S MART Goals) จะต้องมีความเฉพาะเจาะจง กำหนดระยะเวลา สามารถวัดได้ สอดคล้องกับความเป็นจริง และสามารถทำให้สำเร็จได้ อาจสรุปได้ว่าทุกคนต้องรู้ทิศทาง (Vision, Mission และวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กรอย่างเข้าใจและถ่องแท้ ตรงกับทฤษฏี 2R's     ของ ศ.ดร.จีระ ได้แก่ SMART นอกจากนี้การพัฒนาปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้    กระบวนการ P M ประสบความสำเร็จได้แก่การฝึกอบรม และการพัฒนา มีที่ปรึกษาที่ชาญฉลาด เป็นที่ยอมรับ     และเป็นที่ไว้วางใจ มีความก้าวหน้าในการทำงาน
นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 11

อาจารย์อรพิน ยก  case study ต่างๆมาบรรยายให้ฟังแล้วได้สรุปประเด็นสำคัญๆซึ่งตามconcept ของ Good governance ตามที่ UN ESCAP กำหนดมี 8 หลักการคือ

 

1.      การมีส่วนร่วม (participatory)

2.      การปฏิบัติตามกฎหมาย (rule of law)

3.      ความโปร่งใส(transparency)

4.      ความรับผิดชอบ (responsiveness)

5.      ความสอดคล้อง (consensus oriented)

6.      ความเสมอภาค (equity and inclusiveness)

7.      การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (effectiveness and efficiency)

8.      การมีเหตุผล(accountability

หลักการธรรมภิบาลโดยภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนจะต้องให้ความสำคัญกับ

1.      ความสุจริต ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty &Transparency)

2.      ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)

3.      คุณธรรมจริยธรรมและมโนสุจริต (Integrity)

4.      การมีส่วนร่วม (Participation) และ

5.      มีความเท่าเทียมกันในสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness)  

 

หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่ (New Public Management)          

หลักการบริหารภาครัฐสมัยใหม่จะต้องมีธรรมาภิบาล(Good Governance )ซึ่งธรรมาภิบาลจะประกอบด้วยหลักที่สำคัญคือ

1.      หลักประชาธิปไตยคือต้องมีเสรี มีส่วนร่วม

2.      หลักการบริหารสมัยใหม่

3.      หลักกลไกลตลาดประเทศไทยต้องรวมกลุ่มอาเชี่ยนซึ่งการรวมกลุ่มแบบนี้เราควรรวมกลุ่มแบบนี้ควรที่จะรวมกับประเทศอินเดียและจีนจะเป็นโอกาสที่ดีแก่ประเทศไทย และถ้ารวมกันได้แล้วเราก็ควรจะให้มีเงินสกุลเดียวคือสกุลเอเชีย(Asian Money) การรวมกลุ่มแบบEthical Standard เป็นกรอบธรรมาภิบาล  ประเทศที่มีธรรมาภิบาลสูงสุดที่ได้รับรางวัลคือ ประเทศ ฟินแลนด์ นอรเวร์ สวีเดน ส่วนในเอเชียคือประเทศสิงค์โปร์ ส่วนประเทศไทยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 4 ปีข้างหน้า OECD เพราะเป็นการยกมาตรฐานทางด้านจริยธรรมหรือธรรมาภิบาลและAccountability เช่นประเทศญี่ปุ่น เขาจะแสดงความรับผิดชอบของนักรบญี่ปุ่นที่คว้านท้องตนเองต่อหน้าจักรพรรดิ์ และถ้าธนาคารในต่างประเทศเขาทำผิดต่อลูกค้าเขาจะแสดงความรับผิดชอบโดยประธานธนาคารจะออกมากล่าวขอโทษส่วนของประเทศไทย ถ้าเป็นปรานธนาคารเมื่อทำผิดคงจะไม่มีใครมาแสดงความรับผิดชอบ    

            ระบบราชการในอุดมคติควรที่จะ

1.      สนองความต้องการและประโยชน์สุขของประชาชน

2.      บริหารงานมุ่งผลสัมฤทธิ์

3.      ประสิทธิภาพประสิทธิผล

4.      เน้นหลักคุ้มค่า ทันสมัย

5.      เที่ยงธรรมและรับผิดชอบ

6.      ยืนหยัดในความถูกต้อง

7.       ประชาชนมีส่วนร่วม

8.      สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 12

Workforce Alignment in an Organization

 

เรื่องของ Enterprise Governance แบ่งเป็น

 

(1) Corporate Governance เป็นกระบวนการ Conformance เช่น การมีตัวแทนจากภายนอกที่นำความรู้และประสบการณ์มาช่วยกำหนดทิศทางองค์กรทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ และ

 (2) Business Governance เป็นกระบวนการ Performance โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และเป็นการสร้าง Value Creation ให้แก่องค์กร    

ในส่วนกลยุทธ์ องค์กรอาจนำ Five-Force Model มาวิเคราะห์คู่แข่งขัน SWOT Analysis มาวิเคราะห์ตนเอง และค้นหา Critical Success Factors ถ้าองค์กรไม่มีก็อาจจะสร้างหรือซื้อให้เกิดขึ้นในองค์กรก็ได้ จากนั้นปรับ Tactic ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยกลยุทธ์ขององค์กรแบ่งได้ 3 ระดับคือ

 (1) Departmental Strategy

 

(2) Strategic Business Unit (SBU) / Division Strategy

 

(3) Corporate Strategyแนวคิดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของ Thomas-Kilmann ประกอบด้วย 5 แบบคือ

 

(1) Confronting: แบบยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน โดยไม่ให้ความร่วมมือ มุ่งชัยชนะของตนโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์หรือความสูญเสียของผู้อื่น อาศัยอำนาจหน้าที่ของตนคุกคาม ข่มขู่ เพื่อจะให้ตนได้ผลประโยชน์และได้ชัยชนะในที่สุด

 

(2) Avoiding: แบบไม่ยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน ในขณะเดียวกันก็ไม่ให้ความร่วมมือ แต่จะพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่สนใจความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำตัวอยู่เหนือความขัดแย้งโดยเชื่อว่าความขัดแย้งจะลดลงเมื่อเวลาผ่านเลยไป

 

(3) Accommodating: แบบไม่ยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน แต่จะให้ความร่วมมือ ยอมตามความต้องการของผู้อื่น แม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม ชอบเป็นผู้เสียสละเพื่อลดความขัดแย้ง

 

(4) Compromising: แบบยืนยันรักษาผลประโยชน์ของตน ขณะเดียวกันก็ให้ความร่วมมือที่จะแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์หรือเกิดความพึงพอใจบ้าง ในลักษณะพบกันครึ่งทาง และ

 

(5) Collaborative: แบบรักษาผลประโยชน์ของตน และให้ความร่วมมือในระดับสูง โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันแก้ปัญหา เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจอย่างเต็มที่ ใช้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของทั้งสองฝ่าย เพื่อจะหาทางเลือกที่เหมาะสม       

        

Workforce Alignment Model for Successful Strategy Execution แบ่งเป็น

 

(1) Aligned Goals ถ้าองค์กรขาด Aligned Goals ทำให้คนในองค์กรขาดทิศทาง 

 

(2) Business Acumen/Skills ถ้าองค์กรขาด KUSA (Knowledge, Understanding, Skills และ Attribute) ก็จะพึ่งพาคนอื่นตกอยู่ภายใต้การชักนำของคนอื่น

 

(3) Measured Accountabilities ถ้าองค์กรขาด Measured Accountabilities คนในองค์กรก็ไม่สามารถเติบโตได้เนื่องจากไม่มีการวัดผลงาน

 

(4) Linked Rewards ถ้าองค์กรขาด Linked Rewards คนในองค์กรก็จะขาดแรงกระตุ้น และ

 

(5) Ownership Thinking: รู้สึกถึงความเป็นเจ้าขององค์กร ถ้าองค์กรขาด Ownership Thinking คนในองค์กรก็จะทำงานเช้าชามเย็นชามไม่กระตือรือร้น
นายกฤตพงษ์ พัชรภิญโญพงศ์

การบ้านครั้งที่ 13

ทุนมนุษย์ในมุมมองต่าง ๆ ทุนมนุษย์กว่าจะได้มา ต้องมีการลงทุนก่อน(Investment) มนุษย์มีทุนติดตัวมาตั้งแต่เกิดที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่แต่ละคนจะมีความสามารถในการจัดการให้ทุนในแต่ละด้านเพิ่มขึ้นได้แตกต่างกัน การเรียนรู้จึงสำคัญที่วิธีการเรียนรู้เพื่อให้ได้คุณภาพมิใช่ปริมาณ รู้จริงดีกว่ารู้เยอะ คือต้องเรียนรู้ตามหลักของทฤษฎี 4 L’s  และ ต้องมี Happiness(มีความสุข)  Respect(ยกย่องมนุษย์)  Dignity (ให้เกียรติ มีศักดิ์ศรี) Sustainable (มีความยั่งยืน)ภาวะผู้นำในยุคที่โลกเปลี่ยนย่อมจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพราะองค์กรยุคใหม่ที่มีการแข่งขันสูงก็ต้องการผู้นำที่ไม่ใช่ผู้จัดการเท่านั้นซึ่งปัจจุบันพบว่ากำลังประสบปัญหาการขาดแคลนผู้นำในอุดมคติการเป็นผู้นำนั้นเป็นได้ไม่ยาก แต่การที่จะเป็นผู้นำที่ดีให้ได้นั้นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลปของการบังคับบัญชา  ภาวะผู้นำ(Leadership) ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจหรือภาครัฐจำเป็นต้องมีความรู้บางอย่างในทุกอย่าง (Know Something in Everything) หรือรู้ทุกอย่างในบางอย่าง (Know Everything in Something) เพราะบางครั้งการเป็นผู้นำที่มองด้านเดียวอาจเกิดปัญหาได้ ใครจะคาดคิดว่าอยู่ดี ๆประเทศไทยที่ประกาศอยู่เสมอว่าเป็นประเทศเสรี มีประชาธิปไตย กลับต้องเกิดการปฏิวัติโดยทหาร นี่ก็แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าเกิดจากปัญหาของผู้นำระดับประเทศที่ขาดในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมในความเป็นผู้นำการจะเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องมีการฝึกฝน การพัฒนาต่อยอดเช่นกัน ซึ่งมีทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำมากมายเช่น Jack Welch ,Michael Hammer ,Posner and Kouzea หรือ8 K’s ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และ 8 H’sของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม ความเชื่อของประเทศทางตะวันตกและตะวันออกการเป็นผู้นำที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำจะต้องมีทุนมนุษย์ทั้ง 8 ประการ ตั้งแต่ทุนที่มีมาตั้งแต่เกิด ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และทุนทางด้านความรู้ ประสบการณ์ ทักษะ ความคิด เพราะจะเป็นสิ่งที่ช่วยในการผลักดันให้เกิดการบริหารประเทศ บริหารองค์กร บริหารสังคมและชุมชน ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง

แนวคิดเรื่อง Leadership Challenge ของ Posner และ Kouzes

 

1. ผู้นำต้องเป็นแม่แบบที่เป็นตัวอย่างที่ดี   

วิธีคือ   - พูดถึงคุณค่า (Value) ของตัวเองให้ชัดคืออะไรและ ปฏิบัติตามที่กำหนดคุณค่านั้น ๆ

 

2. จุดประกายการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน   

วิธีคือ  - มองอนาคตว่าคืออะไรและแสวงหาความเป็นไปได้และนำคนอื่นที่มีวิสัยทัศน์ร่วมมาทำงานร่วมกัน

3. ท้าทายสิ่งที่เป็นอยู่อย่ายอมรับสภาพเดิม ๆ

 วิธีคือสร้างวัฒนธรรมการมีนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการแสวงหาทางออกใหม่ บริหารความเสี่ยงและ ชนะเล็ก ๆ เพื่อชนะใหญ่ ๆ

 

4. ดึงความเป็นเลิศของผู้อื่นให้ร่วมงาน    

วิธีคือแสวงหาความร่วมมือ (Collaboration) และ พัฒนาจุดแข็งของคนอื่น มีกระจายอำนาจให้ผู้อื่น

 

5. แสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น    

วิธีคือ - ยอมรับความสำเร็จ หรือ Contribution ของผู้อื่น และยกย่องผู้อื่นอย่างจริงใจ และ หาโอกาสแสดงและฉลองความสำเร็จ โดยให้เป็นความสำเร็จของชุมชนของพวกเรา
ก่อนอื่นต้องกราบขออภัย ท่านอาจารย์ ศ.ด.ร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างสูง ทางด้านการเขียน Blog และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ท่านได้ช่วยกรุณาแนะนำแนวทางด้านการเรียนในระดับ PHD ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา                                ผมนายสรณิต   พุ่มพฤกษ์ รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษท์ท่านอาจารย์ศ.ดร.จีระ ผมมีความหวังและความตั้งใจที่จะได้พบผู้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ตัวจริงซึ่งก็ได้พบท่านอาจารย์ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดในฐานะลูกศิษย์ และได้เห็นความปรารถนาดีของอาจารย์ที่มีต่อศิษย์ซึ่งเป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้า ในการทำให้บ้านเมืองของเราดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยอาจารย์มีหลักการและแนวคิดซึ่งได้ถ่ายทอดให้บรรดาลูกศิษย์สามารถนำความรู้เหล่านั้นไปสร้างมูลค่าเพิ่มจากการแลกเปลี่ยนทางความคิด หรือปัญญาปะทะปัญญา ที่อาจารย์พูดกับพวกเราอยู่เสมอ                                จากการเรียนปริญญาตรี โททางด้านรัฐศาสตร์ และได้ทำงานรับราชการอยู่ที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในสังกัดเทศบาลเมืองลัดหลวง จังหวัดสมุทรปราการ ด้วยความมุ่งมั่นที่อยากจะพัฒนาท้องถิ่น ในเฉพาะด้านการพัฒนาคน และประชากรในท้องถิ่นให้มีความรู้ ความคิด หลุดออกจากกับดักทางความคิด และการตกเป็นเบี้ยล่าง ของกลุ่มบุคคลใดหรือคณะใดโดยไม่ใช้พื้นฐานของความรู้ การตัดสินใจ และศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่                                ทั้งนี้ถ้าประชาชนในระดับรากแก้วของประเทศไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา หรือ ชาวใช้แรงงาน   ซึ่งถือว่าเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถ้าจะดูกันอย่างแท้จริงแล้ว คนในระดับท้องถิ่นไม่ใช่ว่าเป็นผู้ที่คิดไม่เป็น ซึ่งจากการที่ได้สัมผัสในระดับท้องถิ่น ประชาชนเป็นประชากรที่มีศักยภาพเป็นอย่างมาก เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำประชาชน และกลุ่มสร้างสรรค์สังคมต่างๆ  โดยผมคิดว่าประเทศไทยต้องพัฒนาไปได้มากกว่านี้อีกมาก หากมีต้นแบบที่ดี                                ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของผมที่ได้เรียนกับท่านอาจารย์จีระ ผมได้เห็นถึงความตั้งใจของอาจารย์ที่ได้เสียสละเวลาเพื่อที่บรรยายให้ความรู้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผมมองว่าตรงนั้นเป็นขุมพลังมหาศาลในการพัฒนาประเทศ                                แต่ต้องพัฒนาแนวคิดปรับ (MIND SET) ของผู้นำเสียก่อน การที่ผู้นำมีทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดี  เขาเหล่านั้นจะสามารถพัฒนาในระดับ Micro และจากหลายๆ Micro ไปสู่ภาพ Macro                                 การจะพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นระดับภาพรวม หรือส่วนย่อย ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จได้นั้น ต้องมองปัญหาให้ออกและแก้ไขให้ตรงจุด ต้องเอาจริงและเอาจริง  อย่างต่อเนื่องดังหลักทฤษฎี 2R’S                                 R-REALITY    วิเคราะห์จากความเป็นจริง เช่นปัญหาของท้องถิ่น เกิดจากการขาดส่วนร่วมของประชาชน หรือประชาชนไม่อยากมีส่วนร่วมกับผู้นำท้องถิ่น ตรงนี้ผู้นำต้องรู้และต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจน แก้ปัญหาให้ตรงจุด หาสาเหตุให้พบ รู้จุดอ่อน จุดแข็ง แล้วแก้ไขบนพื้นฐานความเป็นจริง                                R-RELEVANCE วิเคราะห์สถานการณ์แบบตรงประเด็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสับสนที่มากมาย หลายครั้งหลายหนที่แก้ปัญหาไม่ตรงจุด และแก้ผิดประเด็น หรืออาจตกอยู่ในหลุมพรางของความฉลาด (Intelligent Trap) ซึ่งมีลักษณะดังนี้                                - ชอบโต้แย้ง ความคิดเห็นของผู้อื่นตลอดเวลา                                - คิดว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น                                - หยิ่งยโส                                สิ่งเหล่านี้ทำให้ในการจัดการปัญหาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องย้อนกลับมามองทักษะทางด้านการบริหาร ไม่ให้เกิดการบริหารแบบไม่สนใจ 3C’s-          ขาดความเข้าใจเรื่องลูกค้า/ประชาชน (Consumer) ในท้องถิ่น ต้องรู้ว่าประชาชนต้องการสิ่งใด ขาดสิ่งใด และสิ่งใดที่แก้ไขได้ในปัจจุบันทันทีหรือยัง แก้ไขไม่ได้ในขณะเวลานี้แต่สามารถรอเวลาแก้ไขได้ เพราะตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น-          ชอบระบบสั่งการและควบคุม (Command and Control) หลากหลายมุมมองยังขาดความเข้าใจในระดับนโยบายระดับประเทศลงสู่การปฏิบัติในท้องถิ่น ในหลายครั้งอาจเป็นในลักษณะการสั่งการและควบคุมแบบไม่รู้ข้อเท็จจริง การสั่งการในระดับนโยบายไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความเป็นจริงทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ-          ยึดติดกับวัฒนธรรมเดิมๆ (Culture) ตัวนี้เป็นกับดักในการทำให้ไม่สามารถพัฒนาอะไรหลายๆอย่างให้ดีมากไปกว่าเดิม บางครั้งขาดความคิดสร้างสรรค์ ยึดติดกับความสำเร็จในระดับเท่าเดิม หากใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปบวกกับการคิดอย่างเป็นระบบเพราะท้องถิ่นมีต้นทุนเดิมเป็นพื้นฐานที่เข็มแข็งอยู่แล้วจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดย ใช้ความรู้ + ความคิดสร้างสรรค์ + ประสบการณ์ + ความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง = ความสำเร็จทางด้านการพัฒนาหากแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นได้มีหลักทางการคิด และได้นำทฤษฎีด้าน ทุนมนุษย์เข้าไปปรับใช้ผ่านตัวแทนซึ่งมีศักยภาพ คือผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านมิติของการพัฒนาในระดับชุมชน Micro หลายๆแห่งรวมกันบนพื้นฐานร่วมเดียวกันสามารถทำให้ประเทศพลิกจากการหลับเป็นการตื่น พลิกจากไร้ระบบเป็นมีทิศทางได้อย่างรวดเร็วการที่จะพัฒนาคน ควรจะต้องรู้ก่อนว่า ทุนที่เรามีอยู่ในตัวเอง มีทุนอะไร และอะไรเป็นส่วนที่เรายังขาดอยู่ต้องพัฒนาด้านไหน ดังทฤษฎีทุน 8 ประการ 8K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์1. Human capital หรือ ทุนมนุษย์ คือทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถานบันการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามีทุน (Capital) ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูง แต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรมก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงควรให้การปลูกฝังให้มีทุนทางจริยธรรม4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่คนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือสุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่ และบทบาทของตนเองต่อสังคม  ซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดการยอมรับในสังคม6.   Sustainability Capital  หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน  ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์  เพราะเนื่องจากว่ากี่เปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก  หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้น  เราก็ไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน7.   Digital Capital  หรือ ทุนทางเทคโนโยยีสารสนเทศ  โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสารและเทคโนโลยี  เป็นโลกาภิวัตน์  ฉะนั้นในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ  สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  8.       Talented Capital  หรือ ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ    ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ  ทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ(Mindset)ที่ถูกต้องในการทำงาน  มิฉะนั้นบุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพผมเชื่อว่าทฤษฎี8K’s ของท่านอาจารย์จีระมีความสำคัญทุกตัวโดยเฉพาะทุนมนุษย์ Human capital เป็นพื้นฐานของชีวิตบวกกับทุนทางปัญญา Intellectual Capital  ซึ่งเป็นทุนที่ทำให้เกิดความรู้ ความคิด วิเคราะห์จนเกิดปัญญานำมาซึ่งมูลค่าเพิ่มทางความคิดตัวนี้สามารถพัฒนาได้ยิ่งเป็นการต่อยอดเสริมกันในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันดังคำท่านอาจารย์จีระที่ว่า ปัญญาปะทะปัญญา จากที่เคยเห็นมาทุกครั้งในเวทีการร่วมกันคิดหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านการพัฒนาท้องถิ่นหรือพื้นที่จะได้มุมมองใหม่ทุกครั้งนั่นเป็นผลจากการได้เปิดกว้างทางความคิดนำมาซึ่งทางออกของปัญหาและแนวทางออกร่วมกันและอีกตัวคือทุนทางความรู้  ทักษะ  และทัศนคติ    Talented Capital  ก็มีความสำคัญมากเช่นกันเพราะนำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองควรให้คนได้รับการศึกษาพัฒนาตลอดชีวิตเพราะคนถ้ามีความรู้ ทัศนะคติที่ดี ก็เชื่อได้ว่าสังคมจะต้องดีขึ้นอย่างแน่นอนและใช้ Social Capital หรือ ทุนทางสังคม     Digital Capital  หรือ ทุนทางเทคโนโยยีสารสนเทศ   Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม  Sustainability Capital  หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน  จะนำมาซึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องการเป็นสิ่งสูงสุดคือ Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข นั่นเป็นการบูรณาการทางความคิดอย่างเป็นระบบมาถึงจุดนี้อยากจะเน้นที่การเริ่มต้นของการพัฒนาคนก่อนอื่นคงต้องเริ่มที่แรงจูงใจเพราะแรงจูงใจเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทุกประการ ขอกล่าวถึงเรี่องแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในที่นี้รวมถึงทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพราะสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนของประเทศคือคนแนวโน้มการพัฒนาคนในอนาคตผมมีความเชื่อมั่นว่าจะพัฒนาควรจะให้ความสนใจ ในเรื่องทัศนคติ แรงจูงใจ และอุปนิสัยเพื่อให้คนหาความรู้เอง พัฒนาทักษะด้วยตัวเอง รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามทัศนคติที่เปลี่ยนไป องค์กรทุกองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเจาะเข้าไปพัฒนาที่จิตใจของคนมากขึ้น องค์กรต้องหวังผลการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายในจิตใจของคนแล้ว การพัฒนาสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แนวทางหนึ่งที่กำลังมาแรงแซงทางโค้งในปัจจุบันคือ การพัฒนาตนเอง (Self-Development) เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในชีวิตของคนก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการพัฒนาแบบนี้คือ ตัวข้าราชการ พนักงาน และประชาชน แต่อย่าลืมว่าถ้า พนักงาน มีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์ในลำดับต่อมาก็หนีไม่พ้นตัวองค์กรและไปสู่ประเทศชาติ                    การพัฒนาแนวทางนี้จะเน้นการค้นหาตัวเอง การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตัวเอง การกำหนดเป้าหมายในชีวิต การกำหนดแนวทางไปสู่เป้าหมาย รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินชีวิตที่เป็นรูปธรรม พูดง่ายๆคือ สอนคนให้บริหารธุรกิจชีวิตของตัวเองก่อนนั่นเอง ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าถ้าคนมีแผนการบริหารชีวิตที่ดีแล้วคนเหล่านั้นย่อมสามารถเชื่อมโยงเป้าหมายชีวิตเข้าสู่เป้าหมายในการทำงานขององค์กรได้ไม่ยากนัก

นอกจากนี้ ถ้าคนสามารถบริหารชีวิตตัวเองได้ การบริหารคนบริหารงานก็ไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไปการพัฒนาแนวทางใหม่นี้ องค์กรจำเป็นต้องเปิดใจกว้างให้มากขึ้น อย่าคิดว่าต้องพัฒนาฝึกอบรมคนเฉพาะหลักสูตรที่เป็นประโยชน์กับองค์กรเพียงอย่างเดียว ลองคิดทบทวนดูให้ดีนะครับว่าอดีตที่ผ่านมาเราคิดแบบนี้ แล้วการพัฒนามันได้ผลหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่ ทำไมไม่ลองพัฒนาในแนวทางใหม่ดูบ้าง

                                การที่องค์กรส่งเสริมให้พนักงานมีการพัฒนาชีวิตตัวเองก่อนนั้น นอกจากจะทำให้คนเกิดแรงจูงใจในการทำงานแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่องค์กรจะได้รับคือ ได้รับรู้ว่าคนแต่ละคนมีเป้าหมายในชีวิตเป็นอย่างไร มีอะไรบ้างที่องค์กรสนับสนุนให้เขาเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ ลองพิจารณาดูนะครับว่า ถ้าพนักงานต้องการปิดบังไม่ให้องค์กรรู้ว่าตัวเองมีเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เพราะอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในหน้าที่การงาน ในขณะเดียวกันองค์กรก็พยายามกีดกันคนที่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเองที่ชัดเจน เช่น ถ้าองค์กรรู้ว่าคนไหนมีแผนในชีวิตที่จะออกไปทำธุรกิจส่วนตัว ก็มักจะไม่โปรโมทหรือไม่ค่อยส่งไปเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเสียหายสองต่อคือ นอกจากจะกีดกันคนที่มีแรงจูงใจในชีวิตแล้ว ในขณะเดียวกันก็เกิดความสูญเปล่าในการพัฒนาคนที่จงรักภักดีกับองค์กรแต่ขาดแรงจูงใจในชีวิต องค์กรส่วนใหญ่มักจะมองว่าใครยังไม่มีแผนชีวิต (หรือมีแต่ไม่รู้) ที่จะออกไปจากองค์กร องค์กรมักจะมองว่าคนๆนั้นเป็นทรัพยากรที่มีค่าน่าจะดูแลรักษามากกว่าคนที่มีแผนชีวิตที่ชัดเจน ผมจึงอยากให้คิดทบทวนดูใหม่ว่าการพัฒนาองค์กรไม่ได้อยู่ที่ว่าคนๆนั้นจะอยู่กับองค์กรนานหรือไม่ แต่อยู่ที่ในระยะเวลาที่เขาอยู่กับองค์กรเขาได้สร้างคุณค่าให้กับองค์กรมากน้อยเพียงใด เราจะเห็นว่าคนหลายคนที่ออกจากเราไปทำธุรกิจของตัวเอง ถ้ามองย้อนหลังกลับไปจะเห็นว่าคนเหล่านี้ได้ทุ่มเทและสร้างสรรค์ให้กับองค์กรอย่างคุ้มค่าเผลอๆอาจจะสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้มากกว่าคนที่อยู่นานก็ได้

                                ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนที่ทำงานเก่งและทำงานดีในองค์กรนั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่คนๆนั้นมีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน และมีแรงจูงใจในชีวิตที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน (Internal Drive) ไม่ใช่แรงจูงใจภายนอก (External Drive) ใครก็ตามที่ทำงานเพราะมีแรงจูงใจจากภายนอก คนๆนั้น โอกาสเปลี่ยนแปลงมีมาก เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ชีวิตได้เติมเต็มในสิ่งที่ต้องการแล้ว แรงจูงใจจะลดน้อยลงหรือหายไป แต่คนใดมีแรงจูงใจที่เกิดจากภายในแล้ว นอกจากจะไม่ลดไปตามการเติมเต็มของชีวิตแล้ว มันกลับจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาจะตั้งเป้าหมายชีวิตที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น และผมเชื่ออีกว่าความท้าทายในชีวิตอย่างหนึ่งของคนคือ การทำงาน เพราะการทำงานถือเป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เขาต้องการประสบความสำเร็จ
ท้องถิ่นของประเทศไทยหากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  โดยคำนึงถึงศักยภาพของประชาชน  ในทรรศนะของผมเห็นว่า  หากนำ Human Capital + Intellectual Capital + Talented Capital  =  ท้องถิ่นไทยต้องพัฒนาแบบมีทิศทางภายใต้ความแข็งแกร่งแบบวัฒนธรรมไทยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 8K’s ซึ่งถือว่าเป็นมูลค่าเพิ่มจากการกลั่นกรองความคิด  ประสบการณ์  บวกกับความสามารถด้านการเป็นผู้นำของเจ้าของทฤษฎีศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ ถือเป็นการคิดแบบบูรณาการอย่างลงตัวและเป็นการถ่ายทอดความรู้ความสำเร็จจากผู้นำระดับประเทศในฐานะเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศสู่ระดับประชาชนอย่างไม่มีเครื่องกีดกั้นทางความคิดและอีกประเด็นที่ต้องหยิบยกขึ้นมาอ้างประเด็นหนึ่งก็คือข้อคิดองค์กรธรรมาภิบาลและการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากผู้บริหาร  โดย-          ทำความเข้าใจและเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Appreciation)-          คิดเป็นคุณและคิดเป็นธรรม (Positive Thinking)-          กำหนดวิสัยทัศน์เป้าหมายการทำงานและอนาคต (Vision and Career Path)-          เดินหน้าพัฒนาตนเอง (Self-Development)-          เป็นคนดีมีอุดมการณ์ราชการ และเป็นตัวอย่าง (Rule Model)-          บริหารชีวิตอย่างสมดุล  มีสติและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด                หลักการของธรรมาภิบาลนั้นจะต้องให้ความสำคัญกับสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้-          ความสุจริต  ชัดเจน และโปร่งใส (Honesty & Transparency)-          ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability)-          คุณธรรม  จริยธรรม และมโนสุจริต (Integrity)-          การมีส่วนร่วม (Participation)-          ความเท่าเทียมกันทางสังคมและเป็นธรรม (Equity and Fairness)นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว  สิ่งสำคัญในวันนี้ที่ประชาชน คนเจ้าของประเทศต้องการจากการทำงานของคนของรัฐมากที่สุดก็คือ  การลดขั้นตอนการทำงาน  เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน  ลดความรู้สึกว่าเป็นเจ้านายประชาชน  และมีจิตสำนึกของการเป็นคนของรัฐ  สิ่งที่ข้าราชการยุคใหม่หรือผู้บริหารยุคใหม่จะต้องมีคุณสมบัติเพื่อแปลงพฤติกรรมการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพครบทุกด้านตามความต้องการ ได้แก่ 1. "คิด" เป็น ลักษณะของคนที่คิดเป็นจะไม่รอทำงานตามคำสั่ง ส่งผลให้งานไร้ประสิทธิภาพ ขาดความกระตือรือร้น ต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างโดยมีความหลากหลายในงาน รู้จักค้นคว้าคิดวิเคราะห์ภายใต้หลักวิชาการ และข้อมูลที่ถูกต้อง 2. "คุย" หรือการเจรจา ในที่นี้มิใช่การพูดแบบไม่มีจุดหมาย แต่เป็นการเจรจาอย่างมียุทธศาสตร์มีข้อมูลและมีศิลปะ

                3. "ควบคุม" โดยปราศจากการจับผิดหรือติดประกบ แต่อยู่ในรูปแบบของการติดตามประเมินผลการทำงานที่สำเร็จหรือปัญหา ทั้งนี้เพื่อหาหนทางแก้ไขตามสถานการณ์
4. "คุณธรรม" คนที่คิดเป็นแต่ไม่มีคุณธรรม ก็ส่งผลกระทบต่อระบบเช่นกัน คุณธรรมจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นข้าราชการที่เกิดมาพร้อมที่จะเป็นผู้ให้5. "ความรับผิดชอบ" คนที่มีความรับผิดชอบจะเป็นคนที่พร้อมทุ่มเทเวลาและวิธีคิด ผลงานจะออกมาดี และ 6."คุ้มค่า"คือการทำงานที่คุ้มกับเงินเดือนที่ได้รับ

                มุมมองใหม่ของความเป็นข้าราชการอีกประการหนึ่งก็คือ การให้ความสำคัญกับลูกค้า ในที่นี้มิใช่เฉพาะประชาชนที่มาขอรับบริการ ลูกค้ามีในหลายมิติ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานในระบบคือลูกค้า โดยเฉพาะมุมมองนี้จะเป็นของผู้บริหารทั้งในระดับสูงและระดับกลาง อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร

                "ลูกค้าที่ต้องบริการในภารกิจก็คือ ลูกน้องซึ่งได้รับมอบหมายงาน เมื่อพวกเขาให้การบริการกับภาคประชาชนและประเทศแล้ว ผู้บริหารจะต้องคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้มีความสุขอย่างพอเพียง สร้างแรงจูงใจในการทำงาน แก้ปัญหา และมอบนโยบาย นอกจากนี้เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา การทำงานต้องเน้นลูกค้าเป็นหลัก เพราะการทำงานจะสำเร็จไม่ได้ถ้าปราศจากการทำงานที่เป็นทีม"


          ในเรื่องของระบบการศึกษาของชาติท้องถิ่นไทยในปัจจุบันเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นมีมากมายตามลำดับ  ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายโอนการศึกษา  ซึ่งการศึกษาถือเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่มีความสำคัญมากที่สุด  เพราะการศึกษาเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้  ความคิด  ทรรศนคติ  สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่าประเทศจะเติบโตหรือถดถอยได้  เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดเพราะประเทศต้องขับเคลื่อนด้วยการแข่งขัน  ฉะนั้นต้องสอนเด็กให้คิดเป็น  วิเคราะห์เป็น  และสร้างสรรค์ได้  โดยใช้หลักทฤษฎี4L’s  ดังต่อไปนี้Learning Methodology  เข้าใจวิธีการเรียนรู้ในการพัฒนาคน  ต้องเริ่มต้นด้วยการกระตุ้นความสนใจให้เด็กรู้จักคิด  รู้จักโต้ตอบ  เพื่อที่จะได้เป็นนักคิดตั้งแต่วัยเยาว์  วิธีการเรียนการสอนต้องรู้ว่าวิธีใดสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้  และใช้วิธีนั้นเพื่อให้เด็กหัดคิดหัดวิเคราะห์ให้เกิดความคมในความคิดLearning Environment   สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้  การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนหรือการเรียนในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นการเรียนในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนต้องทำให้ผู้เรียนมีความสุข  มีความรู้สึกได้กับได้  เรียนด้วยความสนุก  อยากจะรู้อยากจะเรียนLearning Opportunities  สร้างโอกาสในการเรียนรู้  เกิดจากการปะทะกันทางปัญญาทำให้เกิดความคิด  มุมมองใหม่ๆ  การได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากต้นแบบทางความคิด  โอกาสในการเข้าถึงผู้มีปัญญาต่อยอดกับปัญญา ซึ่งจะก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์Learning Communities  สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้  ทำให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิด  ซึ่งก่อให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสิ่งที่ผมได้สัมผัสและถือเป็นการนำแนวคิดที่ได้จากการเรียนแบบแลกเปลี่ยนในห้องเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทามาปรับใช้ในวิธีการทำงานและได้เคยมีโอกาสได้ร่วมประชุมแนวทางการพัฒนาความรู้ให้กับเยาวชนในพื้นที่ร่วมกับผู้บริหาร ผู้นำท้องถิ่นและสถานศึกษาเพื่อหาแนวทางพัฒนาเยาวชนในเขตพื้นที่ผมได้มีการเสนอแนวคิดโดยใช้หลักทฤษฎี 4L’s ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบในหลักการและได้ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละด้านไปจัดเตรียมข้อมูลให้สอดคล้องกับหลักทฤษฎี 4L’s เพื่

ต่อเนื่องจากข้างต้น 

หลักทฤษฎี 4L’s เพื่อที่จะมาประชุมแผนปฏิบัติการอย่างเป็นทางการอีกครั้งและที่ภูมิใจคือที่ประชุมมีการถามว่าที่ผมเสนอและผ่านการยอมรับนั้นเป็นแนวคิดของนักคิดฝรั่งชื่ออะไรผมตอบที่ประชุมว่าท่านที่เป็นเจ้าของทฤษฎีไม่ได้เป็นฝรั่งแต่เป็นคนไทยและเป็นอาจารย์ของผมเองท่านชื่อ ศ.ด.ร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ นี่ก็เป็นความภูมิใจของผมที่ผมได้รับแนวคิดจากการถ่ายทอดของอาจารย์  และที่ประชุมได้ให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้องอื่นนำหลักการ 4L’s ไปใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชนโดยให้ใช้หลักการตามทฤษฎีเพราะเห็นว่าเป็นการคิดที่เป็นระบบและมีคำตอบอย่างชัดเจนในตัวของตัวเอง                ปัญหาอย่างหนึ่งในระดับท้องถิ่น ศักยภาพในการพัฒนาเกิดจากการรวมกันของพลังความคิดความร่วมมือบวกกับงบประมาณที่ลงไปในท้องถิ่นจะเห็นได้ว่าทำไมบางท้องถิ่น คนมี งบประมาณมี แต่การพัฒนาไม่เท่าที่ควรนั่นเป็นเพราะขาดความรู้อย่างเข้าถึงในการพัฒนาคือมีปัจจัยเอื้ออำนวยแต่ไม่สามารถพัฒนาได้ตามที่ควรจะเป็นต่างกับบางแห่งที่ขาดทั้งคนทั้งงบประมาณแต่มีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวหน้าตรงนี้ต้องย้อนกลับมามองบุคลากร ผู้นำ ประชาชนในพื้นที่                 การจะพัฒนาคนต้องพัฒนาคนให้มีความคิด คือการคิดที่เป็นระบบ  ใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์นำสู่การปฏิบัติจริง และทำงานเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จ รู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เป็นความรู้เหมือนผักสดไม่ใช่ผักเน่า และทำให้การคิดเพื่อสร้างสรรค์นั้นเกิดมูลค่าเพิ่มให้ได้โดยเริ่มต้นที่การคิดเชิงบวก คิดที่จะเป็นผู้ให้และสรรค์สร้างสังคม                และการจะทำงานให้ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านใดใดก็ตามหากแต่ต้องอาศัยความตั้งใจจริง ต่อเนื่อง รู้อะไรรู้ให้จริง วิธีการคิดอย่าให้เป็นวิธีการคิดแบบเดิมๆหรือยึดติดในความสำเร็จในระดับเท่าเดิม ต้องมีคนที่มีเป้าหมายคล้ายๆกัน ทำงานกันเป็นทีมและที่สำคัญคือต้องคิดอย่างเป็นระบบ                ในส่วนตัวผมเองแล้วมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการพํฒนาในระดับท้องถิ่นของไทยต้องไปได้อีกมากหากแต่คนในสังคมช่วยกันทางความคิดร่วมมือกันโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชนดึงศักยภาพจุดแข็งของแต่ละพื้นที่ดึงจุดแข็งของบุคคลดึงจุดแข็งของทรัยากรมนุษย์และช่วยกันผลักดันโดยเริ่มต้นจากจุดเล็กๆในระดับMICROหลายๆจุดเชื่อมต่อกันไปสู่ MACROกอรปกับต้องใช้แนวทางการคิดอย่างเป็นระบบ มีหลักการคิด ประยุกต์ใช้ทฤษฎีอย่างเหมาะสมให้เหมาะกับสถานการณ์และพื้นที่เชื่อได้ว่าประเทศไทยจะพัฒนาอย่างมีทิศทางและเดินไปในแนวทางที่เป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน                ท้ายนี้ต้องขอกราบขอบคุณท่านอาจารย์ ศ.ด.ร.จีระ   หงส์ลดารมภ์ เป็นอย่างสูงที่ผม นายสรณิต พุ่มพฤกษ์  ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์และได้รับคำแนะนำด้วยความปรารถนาดีมาโดยตลอดและไม่ว่าจะอยู่ที่ใดๆในสังคมนี้จะระลึกถึงที่ท่านอาจารย์เคยสอนพวกเราตลอดเวลาว่าคนเราจะประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง รู้อะไรรู้ให้จริง ลงมือทำ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอาจารย์ทำงานเพื่อสังคมประเทศชาติบ้านเมืองให้สมดังปณิธานของท่านที่มุ่งหวังเพื่อที่จะสร้างคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของชาติบ้านเมืองต่อไป                                                                                                                                            นายสรณิต พุ่มพฤกษ์

สวัสดีครับ

ผมขอขอบคุณที่ทุกคนเอาใจใส่ และตอบรับเป็นอย่างดี อาทิตย์นี้ผมไม่สะดวกที่จะเข้ามาสอนเอง แต่จะมีผู้ทรงคุณวุฒิ อีก 2 ท่าน มาสอนแทน และผมจะขอนัดพวกเราไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ที่เกาะล้าน พัทยา เพื่อทำความรู้จักกันให้มากขึ้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผมทำกับนักศึกษามาทุกรุ่น สำหรับวันและเวลาที่แน่นอน จะขอนัดอีกครั้งหนึ่ง

                                                                       จีระ หงส์ลดารมภ์

- อยากทราบว่า "ทุนทางสังคมกับทุนทางวัฒนธรรม" เป็นสิ่งที่สามารถเป็นจริง หรือนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในสังคมไทยได้หรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใด

- หากนำไปใช้จริงต้องมีการสร้างเสริมในปัจจัยใดบ้างเพราะเหตุใด ค่ะ

*****

ขอบคุณค่ะ

เรียน อจ.ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทางคุณอิ๋วช่วยจัดนัดหมายให้รุ่น 2 และรุ่น 3 พบปะกันตามรายละเอียดข้างล่างนี้ครับ

ด้วยความเคารพ

ธนพล

Mobile 081-840-6444

Dear Khun Aew

Thank you and confirm krab.

Best regards,

Tanapol Kortana

Group Chief Marketing Officer

Mobile +6681-840-6444

เรียน นักศึกษารุ่น 2 และรุ่น 3 ทุกท่าน

ด้วยทางโครงการ ฯ ขอประสานงานเรื่องพบปะนักศึกษารุ่น 2 และร่น 3 ซึ่งนักศึกษารุ่น 3 มีความประสงค์ขอพบปะนักศึกษารุ่น 2 เพื่อทำความรู้จัก แนะนำ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียน การทำงาน

ดังนั้นทางโครงการ ฯ ขอกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการพบปะของนักศึกษา ในวันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม 2552 เวลา 14.00 น. ณ ห้องเรียน 2153 อาคารศรีจุฑาภา ชั้น 5 (เนื่องจากนักศึกษาทั้ง 2 รุ่น มีการเรียนในเวลา 17.00 น. เหมือนกัน)

จึงขอเรียนเชิญมา ตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าว

ขอบพระคุณค่ะ

ด้วยความเคารพ

อิ๋ว

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท