กลุ่ม "ทองหลาง"
นศ.มรภ.พระนคร ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี

หัตถกรรมทำมือ,ภูมิปัญญาชาวบ้าน ,ดีกว่าอยู่ว่าง ๆ


สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน

 หัตถกรรมจักสานเสวียนหม้อ ภูมิปัญญาชาวบ้าน

       สำหรับใครที่ไม่ชอบอยู่ว่าง  ๆ  ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถหารายได้เสริมให้กับครอบครัวในยามเศรษฐกิจชักหน้าไม่ถึงหลัง  สร้างเกราะคุ้มกันให้กับตนเอง ดีกว่านั่งฟุ้งซ่านคิดหาทางออกก็ยิ่งพบทางตัน  มาสร้างสมาธิ  มีสติ  เพิ่มสตางค์  อายุไม่เกี่ยง  เชิญทางนี้ค่ะ  "ทองหลาง" ขอแนะนำช่องทางทำกิน & สืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน  โดย   คุณแม่เหี้ยง  มินทอง   (ผู้ถ่ายทอดความรู้แก่พวกเรา)

   โดย  นางสาวธัชพร  เทพพิทักษ์  (เก่ง-สาวช่างฝัน)  เรียบเรียง

  

   เสวียนหม้อ หรือภาษาพื้นบ้านเรียกว่า  เตียวหม้อ  สมัยโบราณยังไม่มีแก๊ส ใช้เตาถ่าน เตาฟืน ก้นหม้อที่ใช้ก็เลยดำ เขาจึงใช้เสวียนหม้อมารองเอาไว้ไม่ให้เปรอะพื้น แต่ตอนหลังได้มีการดัดแปลงเป็นรูปแบบการใช้ต่างๆ กันไป  เช่น จานรองแก้ว ตะกร้า กระเช้า แจกัน ถาดใส่ผลไม้ และผอบ เป็นต้น 
      ประวัติความเป็นมา พื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลคลองน้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี   มีพืชเศรษฐกิจหลักคือ มะพร้าว 
ในอดีตที่ผ่านมาข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ครอบครัวผลิตขึ้นเอง ไม่มีการ ซื้อขาย  ดังนั้น  จากภูมิปัญญาชาวบ้านจึงคิดประดิษฐ์เสวียนหม้อ ( ที่รองหม้อข้าว - หม้อแกง ) ,ตะกร้าใส่อุปกรณ์ต่างๆ ในบ้าน  เป็นงานฝีมือภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบทอดมายาวนาน  ใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นคือก้านมะพร้าว  และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

   แม่เฒ่าเหี้ยง  มินทอง  อายุ  83  ปี  ( แม่เฒ่า  หมายถึง  ยาย ในภาษาภาคกลาง ) อยู่บ้านเลขที่  86  หมู่  3  ตำบลคลองน้อย  อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อาชีพหลักทำสวนมะพร้าว  สวนกล้วย  แม้อายุมากแล้วแต่ก็ยังเข้าสวนอยู่เป็นประจำ  เพราะคิดว่าการได้ดูแลผลผลิตของท่านทำให้รู้สึกรักและภูมิใจในสิ่งที่ท่านสร้างมากับมือ  ทั้งยังเป็นการออกกำลังกายไปในตัว  หากวันไหนไม่ได้เข้าสวนไม่ได้ทำงานกลับรู้สึกไม่สบายตัว  ดังนั้น  ยามว่างจากงานในสวนหรือช่วงน้ำท่วมเข้าสวน

     

วัตถุดิบขั้นตอนวิธีการผลิต

หัตถกรรมจักสานเสวียนหม้อนี้ใช้ ก้านมะพร้าว เป็นวัตถุดิบในการทำ    เลือกเอาก้านมะพร้าวที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป  นำไปตากแดดพอเหี่ยว แล้วนำมาลอกเอาใบทิ้งเหลือไว้แต่ก้าน  จากนั้นก็นำมาสานเป็นภาชนะตามที่ต้องการ  

? การเลือกเอาก้านมะพร้าวที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป  ก้านมะพร้าวที่แก่จะแข็งและกรอบเกินไป จะหักง่ายไม่ทนทาน  เลือกก้านที่ค่อนข้างยาว    

? นำก้านมะพร้าวที่ตัดมาไปตากแดดพอเหี่ยว

?  เหลาก้านมะพร้าวโดยการเอาส่วนใบออก

 

? ก้านมะพร้าวที่เหลาแล้ว เลือกขนาดที่ใกล้เคียงกัน นำมาแยกเป็นกองจับเป็น 9  หวี  หวีละ  18  ตอก (จำนวนตอก 9 , 12 , 15 , 18 , 21 ขึ้นอยู่กับขนาดของเสวียนหม้อที่ต้องการ )

? เรียกก้านมะพร้าวที่เหลาแล้ว  ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้น  ว่า  ตอก  ( คล้ายเส้นตอกไม้ไผ่ )

 

?  นำก้านมะพร้าวแต่ละหวีมาเรียงขัดกัน  เพื่อเริ่มต้นสานก้นเสวียน

?  เริ่มต้นสานโดยการเสริมแกนก้นเสวียนให้แข็งแรงด้วยรัดเกล้า

                รัดเกล้า  เป็นศัพท์ที่แม่เฒ่าเหี้ยงเรียก  โดยฉีกส่วนของหน้าทางมะพร้าวออกเป็นเส้นยาว  และนำมาบิดเป็นเกลียว  ใช้ขัดเป็นวงตรงส่วนก้นเสวียน เป็นหลักในการสาน ช่วยเพิ่มความแข็งแรง 

?  ขึ้นรูปเสวียนหม้อ ดึงก้านมะพร้าวให้แน่นเพื่อความแข็งแรง

ประโยชน์ที่ได้รับ              

          รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  ใช้วัสดุจากธรรมชาติให้ได้ประโยชน์สูงสุด  นอกจากจะไม่เสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังมีส่วนช่วยสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีรายได้เพิ่มขึ้น  ชุมชนมีชื่อเสียงในการสืบทอด

คุณค่าของเครื่องจักสาน

                 จะเห็นว่าเครื่องจักสานไทยในภาคต่างๆ นั้นมีมากมายหลายชนิดและมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะถิ่นของเครื่องจักสานเหล่านั้น สะท้อนให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น สภาพ การดำรงชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนถึงการนับถือศาสนาของกลุ่มชนที่ผลิตเครื่องจักสาน เครื่องจักสานจึงเป็นศิลปหัตถกรรมมีคุณค่าในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีอย่างหนึ่ง คุณค่าอีกประการหนึ่งของเครื่องจักสาน คือ คุณค่าทางศิลปะและความงามเครื่องจักสานหลายชนิดมีรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายที่ลงตัวงดงามอย่างยากที่จะหาเครื่องมือเครื่องใช้ประเภทอื่นเทียบได้

  

 

 

   

หมายเลขบันทึก: 120032เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2007 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
อ่านดูแล้ว ทำให้อยากเห็นรูปของเสวียนจัง ลงให้ดูหน่อยครับ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอาชีพ ภูมิปัญญา ถ้าเรานำมาบูรณาการณ์ จัดการความรู้เพื่อพัฒนาให้กับคนในชุมชน สังคมให้มีคุณค่าทางวัฒนธรรม เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่ม 9 เม็กดำ

ขอบคุณ อ.ทนัน ที่มาเยี่ยมชมนะคะ ตอนนี้ได้นำรูปมาประกอบเรื่องแล้วนะคะ (แม่เฒ่าเหี้ยง มินทอง เป็นยายแท้ ๆ ของเก่งเองค่ะ)

ขอบคุณ คุณรักชาติ ท.บ. พล ทหาร ที่แวะเข้ามาค่ะ 

thatchaporn *_*

  • เห็นรูปแล้วนึกได้เลยว่าเคยเห็น ตอนนั้นไม่ทราบว่าเรียกอะไร เห็นว่ามันเป็นเครื่องจักสาน พอพบเรื่องเสวียนในบันทึกนี้ ชื่อแปลกก็เลยอยากเห็นรูป พอเห็นปุ๊บ ประสบการณ์เก่า+ใหม่ เข้ากันได้ทันที ถึงบางอ้อครับ
  • มาทีหลังดังกว่าจริง ๆ ลงรูปได้แล้ว ต่อไปก็ลงเพลงนะ

ขอบคุณค่ะ อ.ทนัน ก็คงต้องรบกวนขอวิชาจากอาจารย์อีกเหมือนเคยนะคะ อยากลงเพลงเป็นเร็ว ๆ เหมือนกันค่ะ  แต่ต้องรอสอบกลางภาคเสร็จก่อนแล้วจะขอศึกษาวิธีการทำจากอาจารย์นะคะ

ขอบคุณค่ะ

thatchaporn ^_^

สวัสดีครับวันนี้ได้เข้ารักษาความสงบในพื้นที่ชายแดนใต้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นขอบคุณ เพราะวันนี้ต้องไปประจำการที่ใต้ 3 วัน ทำรายงานเกี่ยวกับการสือสารในท้องถิ่น และภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศ

ขอบคุณค่ะ  คุณรักชาติ ท.บ. พลทหาร  ขอให้โชคดีในหน้าที่รับใช้ชาติ  พวกเรา  "ทองหลาง" เป็นกำลังใจให้  ถ้าว่างเข้ามาเยี่ยมบ่อย  ๆ  น่ะค่ะ

ขอบคุณนะ

สำหรับเนื้อหาที่สามารถนำมาเพิ่มเติมในรายงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท