จิตตปัญญาเวชศึกษา 13: Transformative Coaching


Transformative Coaching

บทความที่แล้ว (จิตปัญญาเวชศึกษา 12: บทบาทการเยียวยาสังคมของแพทย์) หลายส่วนได้มาจากงานสัมมนาปรชุมเชิงปฏิบัติการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ รพ.สันทราย เชียงใหม่ อันมีหมอวรวุฒิเป็น ผอ. เป็นตั้วโผจัด รายรอบด้วยกระบวนกรจากทีมมูลนิธิจิตวิวัฒน์ สถาบันขวัญเมือง ได้แก่ อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู และอ.มนตรี ทองเพียร ไม่นับสังฆะผู้ช่วยกระบวนกรจาก รพ.นครพิงค์ พี่กิจจา ป้ายักษ์ พี่จู

ตารางและท่อนหลัง ได้มาจากบท Sensing ในหนังสือ Theory U ของ Otto Scharmer และในที่ประชุมสัมมนา เรายังได้มีการสนทนาวงเล็กอีกสองสามรอบ พอจะขยายความบางประเด็นได้ ดังต่อไปนี้

คุณสมบัติของ transformative coaching & midwife

โดยทั่วๆไป เราเห็นบทบาทของแพทย์ใน level แรก คือ การเป็นช่างซ่อม ซึ่งมีตั้งแต่ช่างซ่อมทั่วไป ช่างซ่อมเฉพาะทาง จนไปถึง guru ของช่างซ่อม ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะเครื่องพิเศษ แต่จะพิเศษอย่างไรก็ดี ก็ยังเป็นเพียงช่างซ่อมเท่านั้น ถ้ายังไม่ได้ทำอะไรมากกว่านั้น ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การปรับเปลี่ยนกระบวนคิด จนไปถึงการเกิดตัวตนใหม่ เขียนโลกใบใหม่ของคนไข้

ถ้าเราอยากจะเป็น coach หรือเป็น midwife ที่จะช่วยในระดับสูงขึ้น ต้องทำอย่างไร?

Howard Gardner เขียนหนังสือเรื่อง Changing Mind ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนคิด มีได้หลากหลายวิธี และยังแปรตามบริบท ได้แก่ อะไรคือ "วาระ" ของคนๆนั้น ใครเป็นคนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง ทำอย่างไร ในบริบทเช่นไร อาทิ "แม่เป็นคนเล่าเรื่องอะไรสักอย่างที่มีผลต่อกระบวนคิด ขณะกำลังนอนกอดกันบนเตียงใบเก่าที่บ้าน ด้สยเสียงอันอ่อนหวาน อ่อนโยน" ก็จะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจาก "คนแปลกหน้ามานั่งสอน นั่งพูดศัพท์ยากๆ ในห้องเรียนตอนบ่ายอันร้อนอบอ้าว น่าง่วงนอน ท่ามกลางเสียงก่อสร้างอาคารข้างๆห้อง"

การเป็น coach หรือ เป็น midwife ก็ขึ้นกับบริบทไม่น้อยเช่นกัน

ดังนั้นจึงมีเรื่องราวบางอย่างที่น่าพิจารณา ในขณะที่เราเกิดจำเป็นจะต้องเป็นผู้ช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด หรือตัวตนใหม่

 

  1. Suspension การห้อยแขวน ไม่ตัดสิน (non-judgmental attitude)

  2. Safety Zone หล่อเลี้ยงให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย

  3. Unconditional Love ทำด้วยความรัก ปราถนาดี อย่างไม่มีเงื่อนไขใดๆ

  4. ทำใน "วาระ" ของเขา ไม่ใช่ของเรา

  5. มีความเชื่อ ศรัทธาในศักยภาพการดีขึ้นของคนทุกคน 

 

ทั้งการ transformation และการปรับเปลี่ยนตัวตนนั้น ต้องอาศัย "พลังหลัก" จากคนๆนั้นเอง เสมือนการทำคลอดนั้น แม่ต้องอยากนำพาเอาชีวิตใหม่ออกมา และลงมือทำเอง ในการปรับเปลียนพฤติกรรม หรือตัวตนนั้น ไม่มีการใช้ cesarian section หรือหมอเป็นคนทำเอาดื้อๆ ตอนไหนก็ได้ แต่ต้องอาศัย ความสุกงอมของบริบทและวาระทุกอย่าง จึงนำมาซึ่ง timely change ณ เวลาที่เหมาะสม บริบทที่เหมาะสมที่สุด

Suspension การห้อยแขวน

ไม่มีใครอยากถูกตัดสิน โดยเฉพาะในเรื่องบางเรื่อง เช่น ความเป็นคน ความมีมนุษย์ ความดี ความมีคุณค่า แต่บางสถานการณ์เราก็ต้องการการตัดสินเช่นนี้ เป็นครั้งคราว อาทิ เมือเราต้องการให้อภัย เมื่อเราต้องการสำนึกผิด เมื่อเราต้องการเริ่มชีวิตใหม่ anew

เมื่อไหร่ก็ตามที่หมอ พยาบาล แฝง judgmental attitude ลงไปในการสื่อสารล่ะก็ ก็จะมีอะไรต่อมิอะไรตามมาเป็นชุด การห้อยแขวนไว้ก่อนมีประโยชน์หลายอย่าง ได้แก่

 

  •  เมื่อไม่ตัดสิน ก็จะไม่กินพื้นที่ของใคร ไม่รุกราน comfort zone ของใคร คนที่เราสื่อด้วยก็จะเปิดรับได้ง่ายขึ้น
  • เมื่อไม่ตัดสิน เราก็จะไม่ download ของเก่ามาใช้ ไม่ใช้เทปม้วนเก่าในการรับรู้ โอกาสที่เราจะเรียนรู้ โอกาสที่กลุ่มจะเกิด collective thought ก็จะมากขึ้น
  • เมื่อห้อยแขวนไว้ก่อน เรื่องราวที่รับรู้ก็จะค่อยๆจมลงไปใน "ขาลง" ของตัว u บังเกิดความนุ่มนวลซึมซับศักยภาพทุกหยดในตัวเรากับเรื่องราว ทำให้เราตอบสนองได้เนียนขึ้น รอบคอบขึ้น และเต็มพลังความสามารถของเราอย่างแท้จริง
  • เมื่อเราห้อยแขวน เราก็จะ ฟังอย่างสุนทรีย์ และเมื่อเราฟังอย่างสุนทรีย์ ก็จะกลายเป็นฟังอย่างเยียวยา (healing listening) 
  • เมื่อเราฟังอย่างห้อยแขวน เราได้ใช้ตัว u ของเราเข้าจับกับเรื่องราว เราเกิดการเรียนรู้ และได้รับ collective thought เป็นของเราเอง
  • เมื่อเราฟังอย่างห้อยแขวน เราได้ทำ counseling คนที่เราฟังไปด้วยเสมอ

 

การฟังอย่างห้อยแขวน (suspension) เป็น skill ที่ฝึกหัดได้ และเชี่ยวชาญได้ และมีประโยชน์อย่างยิ่ง อาจจะต้องเริ่มมาจากการมีสติ ตั้งใจฟัง ทุกเรื่องเสียก่อน ปล่อยวางตัวตนเดิมของเราลงไปชั่วขณะหนึ่ง เพื่อป้องกันการด่วนตัดสิน

 

Safety Zone พื้นที่ปลอดภัย

ไม่ว่าใครๆก็ไม่อยากถูกด่วนตัดสินกันทั้งนั้น ไม่นับการด่วนตัดสินมักจะผิดเป็นส่วนใหญ่เสียด้วย

คนเราจะมี comfort zone มี safety zone หรือพื้นที่ปลอดภัย เป็นพื้นที่ีที่เซลล์ของเรา อวัยวะของเรา อยู่ใน mode ปกติ ที่สามารถเติบโต ซ่อมแซม สื่อสาร และเรียนรู้่ได้ดี เมื่อพื้นที่นี้ถูกรุกราน สมดุลก็จะเอียงเอน และเราจะเข้าสู่ mode ปกป้อง เพื่อการอยู่รอดก่อน ก็จะหยุดการเติบโต ซ่อมแซม สื่อสาร เรียนรู้

คนที่อยู่ในสภาวะเปราะบาง ยิ่งไวต่อการรับรู้เป็นพิเศษ ไวต่อการคุกคาม และพื้นที่เปราะบางมากขึ้น comfort zone แคบลงๆ จนอาจจะหายไปเลย การหล่อเลี้ยงดูแลต้องกระทำด้วยจิตเมตตา กรุณา 100% แสดงออกมาทั้งกาย วาจา ใจ

ต้องฝึกหัดเป็นคนที่ไว สังเกต และรับรู้่ว่าคนที่เรากำลังไป counseling อยู่ เขากำลังอยู่ใน mode ใด รู้สึกปลอดภัยเพียงพอไหม หรือว่าอยู่ใน mode กลัวหมอ กลัวพยาบาล กลัวเจ็บ กลัวการสูญเสีย ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้ลดลง โอกาสที่เราจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะน้อยลง ยากขึ้น

 Unconditional Love

 ข้อดีของสภาวะเปราะบางก็คือ สมดุลจะเอนเอียงไปในทางที่เกิดความไวเพิ่มขึ้น ไวต่อการรับรู้ และสิ่งหนึ่งที่คนทุกข์สามารถรับรู้ได้ก็คือ ความเมตตา กรุณา และความหวังดี จากผู้อื่น

มนุษย์สามารถหยิบยืมพลังให้กันและกันได้ และการ "ให้ยืม" นี้ มีดอกเบี้ยเสียด้วย นั่นคือ ยิ่งให้ คนให้จะได้รับกลับเป็นทวีคูณ เป็นดอกเบี้ยทบต้น พวกเราอาจจะเคยสังเกตเห็นคนไข้บางคน จะรียกร้องหาหมอบางคน พยาบาลบางคน หรืออาสาสมัครบางคน บางทีคนที่ถูกเรียกหานี้ก็ไม่เห็นจะเก่งกาจ ไม่เห็นจะทำอะไร แต่น่าจะมีอะไรบางอย่างที่ทำให้คนไข้ "รู้สึกดี" เมื่อมีคนเหล่านี้อยู่ใกล้ๆ 

 เมื่อเรามีความกล้า มีเจตน์จำนงแน่วแน่ เราจะก่อเกิดพลังชนิดหนึ่ง เป็น conviction เป็นพลังในการทำอะไรที่เรามั่นใจ ศรัทธา ว่าเป็นสิ่งที่ควรแล้ว งดงามแล้ว เป็นมงคลแล้วที่จะทำ ทำอย่างไม่กังวลสนใจในผล มีสมาธิในกิจกรรมที่กำลังทำอยู่นั้นอย่างเต็มที่ และขณะที่เรากำลังทำอะไรแบบนี้ พลังที่เรามีจะสามารถถ่ายเท รับรู้ โดยคนรอบข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เปราะบาง ไวต่อการรับรู้ เช่น คนไข้ คนที่กำลังทุกข์ทรมาน โหยหาความช่วยเหลือ หาความอบอุ่น

จะพัฒนา unconditional love จะต้องพัฒนา open will หรือ เจตน์จำนง หรือ moral courage ความกล้าหาญทางคุณธรรม ต้องเป็นเรื่องอะไรที่เราเคยใคร่ครวญไตร่ตรองมานาน จนเลยระดับ open mind คือเลยระดับ "จิตตื่นรู้"  intellectual understandingลยระดับ open heart คือเลยระดับ "ใจกระจ่าง" ให้ได้

 

FOR YOU  

การทำความดีนั้น ต้องเป็นการทำ "เพื่อเธอ" มิฉะนั้นก็จะเป็นเพียงการทำเพื่อเสริมบุคลิก เสริมความงามของตนเองเท่านั้น

การทำ "เพื่อเธอ" หรือการจะช่วยเหลือใครนั้น จะต้องเริ่มจาก "เข้าใจ และเคารพ" ในตัวคนๆนั้นเสียก่อน ทราบและตระหนักตลอดเวลาว่าเรากำลังทำ "เพื่อเขา" และกิจกรรมนี้ไม่ใช่วาระของเรา แต่เป็นวาระของเขา เพื่อเป็นการเตือนใจว่าอย่าตัดสิน อย่าตัดสิน ให้ฟังเรื่องราวของเขาให้ดี เมื่อเราฟังให้ดีแล้ว เราจะได้ทั้งเนื้อหา และลำดับความสำคัญในมิติต่างๆ ในความหมายของคนไข้เอ ซึ่งสำคัญมากในการวางแผนการรักษา และการวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนกระบวนคิด และเปลี่ยนตัวตน (ถ้าจำเป็น)

 

ศรัทธาในผู้คน 

สิ่งหนึ่งที่ชวยได้มากคือ มีความศรัทธาในศักยภาพว่าคนเราทุกคนนั้น มีความสามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ มีความสามารถเรียนรู้ได้ ไม่จำกัด ไม่่ว่าจะอยู่ในสภาวะใดๆ

การมีศรัทธาเช่นนี้ เราจะเปิดหนทางสู่ open will หรือเพาะเจตน์จำนง ในการจะเป็น midwife หรือผู้ทำคลอดตัวตนใหม่นั้น เราตระหนักรู้ว่าเป็นวาระของผู้อื่น แต่เรามีอภิสิทธิ์ได้ไปอยู่ในที่ที่เราอาจจะหล่อเลี้ยงช่วยเหลือได้ ด้วยความศรัทธาที่เรามีในมวลมนุษยชาติ ใน humanity ไม่กังวลต่ออุปสรรค กำแพงในใจของเรา จากกระบวนทัศน์เก่า จากระบอบความคิดเก่า ไม่ download ไม่ใช้่เทปม้วนเก่าในการทำงาน มองเห็นความสวยงาม เต็มไปด้วยความเป็นไปได้ในทุกสิ่งทุกอย่าง

นั่นคืองานหน้าที่ของ midwife 

 

หมายเลขบันทึก: 119372เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2007 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เยี่ยมมากๆครับพี่ชาย

 

รู้สึกชื่นชมทุกครั้งที่ได้มีโอกาสแวะเข้ามาอ่านข้อเขียนของคุณหมอค่ะ

ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อได้ไหมคะ

 

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ
  • มาหลายรอบแล้วครับ  แต่นิสัยไม่ดี ไม่ได้ทิ้งร่องรอยไว้ 
  • มีแต่ความขอบพระคุณลึกๆอยู่ในใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท