กลับสู่รากเหง้า เพื่อการเติบโต (1)


ก่อนจะก้าวกระโดดข้ามหุบเหว เราควรถอยหลังให้ไกลพอสมควร เพื่อสะสมกำลัง

เป็นการหวนคืนสู่รากเหง้า หยั่งราก เพื่อการเติิบโต

รากลึก เติบโตตระหง่านได้ ก็ไม่ใช่สิ่งแปลก 

ก่อนการคิดทฤษฎีใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ (ที่ไม่ใช่ค้นพบโดยบังเอิญ) เรามักเห็นรูปแบบร่วมกันของการค้นพบทั้งหลายว่า คนคิด มักมีรากหยั่งลึกในมิติประวัติศาสตร์ของเรื่องนั้น ๆ มากพอจนสามารถฉีกตำราเก่าทิ้งได้ เพราะ รู้มาก รู้จริง รู้ลึก

ไอน์สไตน์จินตนาการทฤษฎีเป็นภาพอุปมาในเชิงเรขาคณิต ก่อนจะใช้คณิตศาสตร์กระท่อนกระแท่น (จนมีนักคณิตศาสตร์มืออาชีพแซวเอา ว่าเด็กในเมืองที่เขาอยู่น่ะ คิดคล่องกว่า) มาบรรยายแนวคิดเชิงเรขาคณิตของเขา ที่สามารถอธิบายความผิดปรกติต่าง ๆ ที่คนอื่นมองข้าม

ตรงนี้คือ เขาซึมซับเอาเรื่องในอดีตที่ยังไม่มีคำอธิบาย มาพยายามอธิบาย โดยคิดเป็นภาพ ว่าเกิดอะไรขึ้น

รากฐานเรขาคณิตของเขา วัยเด็กคือ Euclidean geometry ว่ากันว่า เขาลุ่มหลงในความงดงามของเรขาคณิตมาตั้งแต่วัยเด็ก และวัยโตคือ Non-Euclidean geometry เมื่อต้องใช้งาน

นั่นทำให้ไอน์สไตน์มองว่า คณิตศาสตร์ คือภาษาบรรยายภาพ ที่บังเอิญดีกว่าภาษาทั่วไปเท่านั้น

ในหลายกรณี มีเสียงบ่นว่า นักศึกษาเรียนโท-เอก หลายคนฐานไม่แข็ง โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาทั่วไป  ทำให้ต่อยอดยาก คือพอแตะเรื่องแนวคิดพื้นฐานอะไรหน่อย  ก็โวยว่าลืมไปหมดแล้ว หากต้องมาดูแล ต้องเหนื่อยใจกันทั้งสองฟากฝ่าย ทั้งที่จบมาเกรดสูง ๆ และหัวไว น่าจะไม่มีปัญหา ถามอะไรที่เรียนมาตรง ๆ ตอบได้ดี แต่ถามซอกแซกหน่อยออกอาการบ๊องแบ๊วให้เห็นทันที

ผมมีกรณีศึกษา เล่าสู่กันฟังจากประสบการณ์ของตัวเอง คิดว่าคงพอเป็นอุทาหรณ์ได้บ้าง ว่าการย้อนไปหยั่งรากในความรู้ต้นตอ มีประโยชน์อย่างไร ตัวอย่างอาจโฟกัสไปเชิงการคำนวณหน่อย ก็ต้องขอออกตัวไว้ก่อน

ต่อตอนหน้าครับ 

หมายเลขบันทึก: 119073เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ในทัศนะผม   หวนคืนสู่รากเหง้า ต้องใช้การเรียนรู้ เป็นเครื่องมือ 
  • เห็นด้วยกับผลผลิตทางการศึกษา  บางส่วนดูเหมือนไม่คุ้มกับการลงทุน 
  • เด็กๆที่มาฝึกงาน บางครั้งทำให้เราปวดหัวได้มากเหมือนกัน 
  • ยินดีที่ได้พันธมิตรทางวิชาการ  ขออนุญาตร่วมเรียนรู้   ครับผม 
     ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยคนนะคะ  การหวนคืนสู่ความเป็นรากเหง้าของตัวเองเป็นการทำให้เราเข้าใจอะไรให้มากขึ้น  การสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นตัวตนของตัวเองให้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้วเรามาจากรากฐานของความรู้มากแค่ไหน  การที่เราจะก้าวต่อไปอย่างมั่นคงและไม่ล้ม  ก็น่าจะมาจากรากฐานที่เรามีอยู่ด้วย  การที่เราเดินไปข้างหน้าอย่างเดียวโดยลืมที่จะเหลียวมองดูข้างหลัง  ก็อาจจะทำให้เราล้มได้เหมือนกัน   แล้วจะแวะมาเยี่ยมอีกคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท