ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ไร้สาย


  
       “มาตรฐานกับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล” เป็นสิ่งที่จะนำมาใช้ระบุว่านั่นคืออุปกรณ์โทรคมนาคมที่เหมาะกับการใช้งานประเภทใดเป็นต้น แต่อีกมิติหนึ่งที่เราควรจะนึกถึง ก็คือระยะทางในการสื่อสารข้อมูล โดยอุปกรณ์โทรคมนาคม แบ่งเป็นสามระยะดังนี้
       
       1. PAN ย่อมาจาก Personal Area Network หรือบางครั้งก็เรียกว่า Personal Area Connectivity (PAC) เมื่อเติม W แทน Wireless ข้างหน้าเป็น WPAN คือ อุปกรณ์โทรคมนาคมส่วนบุคคลที่ติดต่อสื่อสารในระยะใกล้ไม่เกิน 10 เมตร
       
       2. LAN ย่อมาจาก Local Area Network เราคงได้ยินกันบ่อยๆ เมื่อเติม W แทน Wireless ข้างหน้าเป็น WLAN คือ คือ อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ติดต่อสื่อสารในระยะกลางหรือในระดับท้องถิ่น ไม่เกิน 100 เมตร
       

       3. WAN ย่อมาจาก Wide Area Network หรือบางท่านเรียกว่า MAN หรือ Metropolitan Area Network และเมื่อเติม W แทน Wireless ข้างหน้าเป็น WWAN คือ อุปกรณ์โทรคมนาคมที่ติดต่อสื่อสารในระยะไม่เกิน 10 กิโลเมตร

       ยกตัวอย่าง ให้พอเห็นภาพตามมาตรฐาน IEEE ที่คนในวงการโทรคมนาคมทราบกันดี สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก IEEE ของย่อสั้นๆ ดังนี้ IEEE ถือเป็นเวทีประลองยุทธอันสำคัญของงานวิศวกรรมไฟฟ้าทั่วโลก IEEE นั้นเป็นองค์กรในประเทศ สหรัฐอเมริกา มีชื่อเสียงแวดวงงานวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้าทุกสาขามากที่สุดในโลก IEEE ย่อมาจาก The Institute of Electrical and Electronics Engineers Standards Association (IEEE-SA) มาตรฐาน IEEE เกิดจากการระดมวิศวกรผู้ชำนาญการนับพันๆ คนในวงการวิศวกรรมไฟฟ้าและโทรคมนาคมช่วยกันกำหนดมาตรฐานสำหรับการสื่อสารไร้สายที่น่าสนใจ เราจึงได้เรียบเรียงให้เป็นลำดับตามระยะทางในการสื่อสารเป็นตัวอย่างดังนี้ครับ
       
       1. Personal Area Network (PAN) เช่น Bluetooth มาตรฐาน IEEE 802.15 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารส่วนบุคคล และพวกอุปกรณ์ Ultra wideband ในอเมริกา และอุปกรณ์ Wireless USB เป็นต้น
       Bluetooth

       บลูทูธ เป็นชื่อกษัตริย์ไวกิ้ง นามว่า ฮาร์รอล บลูทูธ (King Harold Bluetooth) ว่ากันว่า บลูทูธเป็นกษัตริย์องค์เดียวในเผ่านักรบนี้ ที่สามารถรวบรวมประเทศราชให้แข็งแกร่งที่สุดได้ โดยไม่ใช้ความรุนแรง แต่ใช้วิถีทางการทูตแทน
       
       บลูทูธ เป็นอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย ด้วยคลื่นวิทยุ กำลังส่งสูงสุดไม่เกิน 100 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 100 เมตร บลูทูธ ในวงการโทรคมนาคมรู้จักในนามมาตรฐาน IEEE 802.15.1 เท่าที่ทราบ บลูทูธ มีอัตรารับส่งข้อมูลถึง 3 Mbps ใช้ย่านความถี่ ISM band ที่ 2.45 GHz
       
       2. Local Area Network (LAN) เช่น มาตรฐาน IEEE 802.11 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารเฉพาะที่ หรือที่คนทั่วโลกคุ้นเคยกันดีอย่าง WiFi
       
       WiFi เป็นชื่อเรียกทางการค้า แต่ที่ใช้อ้างอิงนั้นหมายถึง มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวมีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงด้วยคลื่นวิทยุที่ความถี่ 2.4 GHz และย่านความถี่ใหม่ที่ 5 GHz ในการใช้เชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่ท่านเห็นการใช้โน้ตบุ๊คต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายนั่นเอง IEEE ได้มีการตั้งคณะทำงานต่อเนื่อง โดยคณะทำงานกลุ่มที่มีผลงานที่น่าสนใจและเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, IEEE 802.11e, IEEE 802.11g, และ IEEE 802.11i
       
       MIMO (Multiple-input multiple-output) 
        MIMO เป็นญาติผู้น้องของ WiFi เป็นมาตรฐาน 802.11n ซึ่งพูดง่ายๆ คือแตกต่างกันที่ มีสายอากาศเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นเอง เพื่อเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ภาครับและภาคส่งให้มากขึ้น อีกทั้งนำข้อดีของ OFDM ของ 802.16 มาใช้ MIMO ถูกคาดหวังทางทฤษฎีไว้ว่าจะสามารถให้อัตราความเร็วการรับส่งข้อมูลได้ถึง 250 Mbps
       ZigBee
        มาตรฐาน IEEE 802.15.4
       3. Metropolitan Area Network (MAN) และ Wide Area Network (WAN) เช่น WiMAX หรือ มาตรฐาน IEEE 802.16 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารสาธารณะในเมืองที่เราได้ตรงนี้คุณปรเมศวร์ให้ความเห็นแย้งว่า มาตรฐานยุโรปนิยาม WMAN และ WWAN มีระยะไม่เกิน 10 Km. แต่เทคโนโลยีอย่าง WiMAX กลับมีระยะทางถึง 50 Km. มากกว่าในนิยามที่ว่าไว้ หรือมาตรฐาน IEEE 802.20 สำหรับเครือข่ายการสื่อสารระยะไกล หรือมาตรฐาน WiBro ซึ่งคล้าย WiMAX แต่เป็นมาตรฐานของเกาหลีเท่านั้น หรือเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่างๆ เช่น GSM CDMA 3G เป็นต้น ขออนุญาตไม่ขยายความอุปกรณ์ในระยะนี้เพราะหลายท่านคงคุ้นเคยมากหรือไม่ก็ดูในบทความเก่า

       

       

       ในมิติการเคลื่อนที่อาจจะไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าจะมีอัตราเร็วสูงในการรับส่งข้อมูลเสมอไป แต่อย่างไรก็ตามทิศทางของเทคโนโลยีโทรคมนาคมจะมุ่งเข้าสู่อัตราเร็วสูงและรองรับการใช้งานแบบเคลื่อนที่ด้วย

       Hype Curve ของ Gartner นั้น แสดงถึงความคาดหวังของสังคมที่จะเห็นเทคโนโลยี (Visibility) และเทคโนโลยีที่เป็นดาวค้างฟ้า (Plateau Productivity) ซึ่ง WiMAX ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่เป็นความหวังสูงของชาวโทรคมนาคมและ WiFi เป็นดาวค้างฟ้าตลอดไป
       
       อ้างอิง
       3G/UMTS Towards mobile broadband and personal Internet, WHITE PAPER FROM THE UMTS FORUM, 2005
       http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%98
       http://www.bluetooth.com/bluetooth/
       http://www.zigbee.org/en/index.asp
       http://en.wikipedia.org/wiki/Bluetooth
       http://www.palowireless.com/zigbee/
       http://de.wikipedia.org/wiki/ZigBee
       http://en.wikipedia.org/wiki/WiBro
       http://www.intel.com/netcomms/bbw/index.htm
คำสำคัญ (Tags): #cyber
หมายเลขบันทึก: 118793เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2007 03:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จำเป็นต้องรู้  เพราะจำเป็นต้องใช้ อ่ะครับ

ครูอ้อยก็ใช้ อ่ะค่ะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลทางวิชาการดีๆ---ผมเองก็ใช้เหมือนกันครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท