ปลีกวิเวกตอนที่ 4


เขายอมทำอาหารเลี้ยงเพราะอยากส่งเสริม และได้บุญจากการดูแลเรานั่นเอง
  ความที่เราเป็นผู้หญิง เลยคิดว่าโอกาสบวชเรียนเป็นภิกษุก็ไม่มี ฉะนั้น อย่างหนึ่งที่อยากรู้ก็คือ การบิณฑบาตร พระเวลาเดินไปบิณฑบาตรท่านมีความรู้สึกอย่างไร คราวนี้เราได้มาปลีกวิเวก ต้องไปขอข้าวเขากิน แม่ชีคนเก่งได้เอาชามโคมมาให้ 1 ใบ บบอกว่าไว้ใส่อาหารมากินที่เรือนพัก สายวันนั้น ก่อนเพล เราได้ฝึกเดินจงกรม พิจารณาอาการทางกาย ว่าเราจะมีสติ ดูตามอิริยาบทสักกี่มากน้อย อยากจะบอกว่าทั้งหมด นี้ เป็นการมาเรียนรู้เอง ไม่ได้ศึกษามาก่อน อาจเพียงแค่ฟังๆเขาพูดกัน แต่มานึกว่าเราก็ลูก พระพุทธเจ้า ต้องปฏิบัติจริงๆ ขณะเดินมาใกล้ เรือนแม่ชีอีกคนที่เมตตาทำอาหารเลี้ยง โดยเธอกินเจ ได้ยินบทสนทนาของเธอกับใครสักคน ประมาณว่า กำลังทำอะไร แม่ชีก็ตอบว่า กำลังเตรียมอาหารให้นักปฏิบัติ หมายถึงเรา พอได้ยิน มันบังเกิดความรู้สึกประหลาดเกิดขึ้น คือ นี่เขามองเราเป็นนักปฏิบัติ เขายอมทำอาหารเลี้ยงเพราะอยากส่งเสริม และได้บุญจากการดูแลเรานั่นเอง วันหลังเขาได้บอกถึงขนาดว่าเราเป็นเนื้อนาบุญ ของเขาเชียว มันตื้นตันใจ และคิดในบัดดลว่า เราจะทำอะไร ให้สมกับคำว่าเนื้อนาบุญ จึงเก็บทุกอย่างที่คิดว่าเป็นความดี ตั้งแต่ การคิด การพูด และการกระทำ ตลอดการปฏิบัติธรรม ถึงเวลาสวดมนต์ก็ตั้งใจไปสวดมนต์ ถึงเวลาทำสมาธิก็ทำ เก็บกวาดสถานที่ก็ต้องทำ นอกจากนี้จะพูดจา ก็ล้วนแต่เรื่องธรรม และการยกจิตใจกันและกัน ทุกวันเมื่อถึงเวลาถือชามไปใส่ข้าว จึงรู้สึกสบายใจขึ้น ส่วนการปฏิบัติธรรมนั้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง ขณะกำลังนั่งสมาธิอยู่คนเดียว ก็มีความรู้สึก ถูกกระตุกแขนอย่างแรง จนมือที่ซัอน  บนตักถูกยกขึ้น ก็ตกใจเหมือนกัน แต่มีกัลยาณมมิตรท่านหนึ่งบอกไว้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น ให้แผ่เมตตาสุดประมาณ จึงนั่งแผ่เมตตาแล้วนั่งต่อไป และจิตใจก็มิได้หวั่นไหวแต่ประการใด คราวหน้าจะมีเรื่องที่กลัวจริงๆมาเล่าให้ฟังกัน
คำสำคัญ (Tags): #บิณฑบาตร
หมายเลขบันทึก: 117670เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2007 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ....คุณตันติราพันธ์ ครับ......แล้วได้คำตอบหรือยังว่า พระท่านขณะบิณฑบาตร ท่านมีความรู้สึกอย่างไร? .........

หลากหลายครับ ผมเองก็เคยบวชเรียนมา 2 ปี เต็มสอบได้นักธรรมตรี เสียดายนักธรรมโทไม่ได้สอบครับ ถ้าแบ่งหยาบ ๆ ก็ประมาณ 4 ประเภท (แบ่งเองครับไม่มีตำรา) หนึ่งเหมือนบัวโผล่พ้นน้ำครับ  บิณฑบาตร เพื่อยังอัตภาพไปวัน ๆ (ขอแค่พอฉันท์ และฉันท์แค่พอประมาณ) ความรู้สึกจะไม่ยินดียินร้ายกับอาหาร เพราะนำมาเพื่อบำบัดความหิวเก่า  บรรเทาความหิวใหม่เท่านั้น  

สอง บัวปริ่มน้ำ คือต้องฝึกฝนอยู่อีกนิดก็เข้าถึงธรรมแล้ว จะยังถามถึงว่าอาหารต้องเป็นอาหารที่คละเคล้ากันในบาตร(ติดเทคนิค) ฉันท์มื้อเดียว ทานง่าย การออกบิณฑบาตรยังต้องใช้พระคาถาสะกดใจไว้ ไม่ให้สนใจ.....(ภิกษุหนุ่มในเมืองมักจะสอดสายตาจึงทำให้อาบัติได้ง่าย)ผ่านการอบรมอีกนิดก็จะไม่ใยดีต่อโลก

สาม เป็นบัวกลางน้ำ แม้ว่าจะเป็นผู้ทรงศีลอยู่แล้ว ก็ยังต้องสำรวมกิริยาให้ตลอด การบิณฑบาตรก็เช่นกัน มีศีลกำหนดอยู่ไม่น้อยกว่า 10 ข้อ ภิกษุที่เป็นบัวกลางน้ำมักจะสอดสายตาไปมา และเกิดการปรุงแต่งได้ง่าย ยังใยดีกับรสชาดอาหาร สีสรรของอาหาร ยังเลือกว่าสิ่งนี้ดีเก็บไว้ และความรู้สึกที่ว่าอยากได้สิ่งของอาหารที่ดีอยู่เสมอ......คงต้องได้สดับตรับฟังจากพระอริยะเสียก่อนจึงจะตั้งตนเป็นบัวชั้นที่ สองได้

สี่บัวใต้น้ำ เป็นภิกษุที่ไม่ได้เข้ามาศึกษาพระธรรม ปฏิบัติธรรม  มุ่งแต่ความอยากเป็นที่ตั้ง  มักนิยมยินดีกับอาหารราคาแพง และรสอร่อยเป็นที่ตั้ง  ยังต้องฝึกอีกมากถึงจะเข้าใจว่า การบวชเรียนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร?

ถ้าเราบิณฑบาตรเพราะคิดว่าเขาหวังบุญกุศล ตอบว่าใช่ครับ....การที่เขาได้ทำบุญกับคนที่เป็นเนื้อนาบุญถือว่าได้ทำบุญมากกว่าภิกษุธรรมดา 10 เท่าครับ  เขาก็จะทำบุญไปจนกว่าเราจะได้อริยะสงฆ์ เขาก็จะได้บุญกุศลไปอีก 100 เท่าครับ....

แต่ถ้าเราต้องบิณฑบาตรเองนั่นหมายถึงให้เราปล่อยวางครับ ไม่ยึดติดกับอาหารที่ต้องมีรูปมีรสมีกลิ่นที่ถูกใจ......ถ้าเป็นบางวัด เราต้องทานอาหารเหลือจากพระก็เพื่อให้ไม่คิดว่าเราวิเศษ(ข้าวก็จะเป็นข้าวปั้นรวมจากการบิณฑบาตรของพระท่านนั่นเองคละเคล้ากันทั้งหมด มีวัตถุประสงค์การบำบัดความหิวเก่า และบรรเทาความหิวใหม่เท่านั้น (ไม่ติดในรูป ไม่ติดในรสชาต ไม่ติดในกลิ่น)...เป็นการฝึกฝนเรื่องราคะจริต หรืออสุภะ(ไม่งามทั้งปวง

คงตอบได้ไม่ครอบคลุมครับ ...ขอบคุณครับ

 

 

ขออนุโมทนาบุญที่ให้ธรรมทานนะคะ ไม่ทราบจริงๆว่าการบิณฑบาตร มีวัตถุประสงค์ และอานิสงส์ใดบ้าง ส่วนตัวแค่อยากจะแทนความรู้สึกของตนเองเท่านั้น แล้วก็ได้ข้อสรุป ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัวเสียอีก รู้แต่ว่า เราจะเอาความดีไปตอบแทนเขา อีกอย่างการปลีกวิเวกคราวนี้ เป็นความต้องการของตนเอง และอยากศึกษาวิถีของครูบาอาจารย์ หรือผู้ที่ตั้งใจปฎิบัติธรรมอย่างเอกอุกในป่าเขาลำเนาไพรด้วย ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ได้ความรู้อย่างไม่เคยได้รู้มาก่อนจริงๆค่ะ

  • บันทึกนี้ขออนุญาตนั่งฟังนะครับ
  • เพราะไม่สันทัดกับเรื่องเหล่านี้ ..
  • แต่พ่อเคยบอกกล่าวต่อลูก ๆ หลาน ๆ ว่า
  • คนที่ไม่ยอมใส่บาตรตอนเช้าที่หน้าบ้านของตนเองนั้น  เพราะคิดว่าจะไปตักบาตรที่วัดเอง  แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่ถึงวัดนั้น  สู้คนที่ตักบาตรหน้าบ้านเพราะไม่สะดวกไปวัดไม่ได้เลย
  • ผมฟังแล้วก็ชอบแนวคิดนี้มาก
  • แต่ที่บ้าน, พ่อตักบาตรตอนเช้าที่หน้าบ้านแล้ว  ยังไปถวายภัตตาหารที่วัดในทุกเช้าเหมือนเดิม..
  • นั่นคือสิ่งที่ท่านปฏิบัติอยู่เสมอ
  • ผมเคยบวชเพราะศรัทธาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ อายุได้ ๓๘ ปี จำนวน ๑ พรรษา และเมื่อออกบิณฑบาตรวันแรกก็ได้รับรู้ว่าพ่อรอใส่บาตรเรามาตลอด เพราะเราครบบวชมาก็หลายปีแล้ว เห็นมือพ่อสั่นขณะตักข้าวใส่ในบาตรเรา(ขณะเขียนบันทึกไปน้ำตาไหลไป) และแม่บอกให้ทราบในภายหลังว่า พ่อใส่บาตรเราเสร็จแล้ววิ่งไปกอดแม่ซึ่งอยู่ในครัว ร้องไห้พร้อมพูดว่าได้ใส่บาตรลูกบ่าวแล้ว ผมฟังแล้วอึ้งไปเลย อนิจจาเราไม่รู้ความต้องการของพ่อ

สวัสดีค่ะ

คุณคำสุวรรณ์ โชคดีที่ได้บวช ดิฉันเองคงหมดโอกาสแล้วชาตินี้ ขออนุโมทนาบุญอย่างยิ่งค่ะ

 ขอบคุณคุณแนดินนะคะ ที่เข้ามาให้กำลังใจตลอด ขอโทษที่ตอบช้าค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท