ประวัติสมเด็จพระราชินีนาถ


ประวัติสมเด็จพระราชินีนาถ
ประวัติสมเด็จพระราชินีนาถ       สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มีฐานันดรเมื่อแรกพระราชสมภพคือหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์กิติยากร เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ของพลเอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น จันทบุรีสุรนาถ กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๔๗๕ ที่บ้านเลขที่ ๑๘๐๘ ถนนพระรามหก ตำบล วังใหม่ อำเภอ ปทุมวัน จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นบ้านของ พลเอก เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ( หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) พระบิดา ของหม่อมหลวงบัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามว่า สิริกิติ์ มีความหมายว่า ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ทรงเริ่มรับการศึกษาชั้นอนุบาล ที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงทรงย้ายมาเรียนที่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ ถนนสามเสน เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาสงบ หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐทูตวิสามัญ และอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำ สำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ติดตามครอบครัวไปพำนัก ณ ประเทศ อังกฤษ ประเทศเดนมาร์ก และประเทศฝรั่งเศสทรงมุ่งมั่นจะเป็นนักเปียโนและ ทรงประสงค์จะเข้าศึกษาที่วิทยาลัยดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส       ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงศึกษาอยู่ที่เมื่องโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และโปรดเสด็จไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ที่กรุงปารีส จึงทรงพบ ทรงคุ้นเคย และทรงต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต่อมาเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ หม่อมหลวงบัว นำธิดาทั้งสองไปเยี่ยมพระอาการที่กรุงโลซานน์ และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ซึ่งขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระราชชนนี ได้รับสั่งขอให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มาอยู่ศึกษาต่อที่เมื่องโลซานน์ โดยเข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำ Riante Rive มีชื่อเสียงใน การสอนวิชา ภาษา ศิลปะดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร
วันที่ ๑๙ กรกฏาคม ๒๔๙๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงหมั่นกับ หม่อมราชวงศ์สิริกิต์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นิวัติ ประเทศไทยเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
แล้วได้เข้าสู่พระราชพิธีราชา ภิเษกสมรสกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๓ ณ วังสระปทุม ครั้งเมื่อถึงวันที่ ๕ พฤษถาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามโบราณขัตติยราชประเพณี เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี
      ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๓ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้ตาม เสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลับประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เนื่องจากแพทย์ผู้รักษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง ใน พ.ศ. ๒๔๙๔ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา ฯ ณ เมืองโลซานน์เมื่อพระชนมายุได้ ๗ เดือน
ทั้งสามพระองค์ได้ เสด็จนิวัติประเทศไทย ระหว่างที่กำลังซ่อมบูรณะพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อใช้เป็นที่ ประทับถาวร ได้ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมา สมเด็จพระบรม ราชินีพระประสูติกาล พระราชโอรส พระราชธิดา อีก ๓ พระองค์ คือ
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
รวมพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์
      วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ทรงได้รับแต่งตั่งเป็น สภานายิกาสภากาชาดไทย แทน สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี องค์สภานายิกาเดิม ซึ้งเสด็จสวรรคต เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๘        ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธาเสด็จออกทรงพระ ผนวชในพระบวรพระพุทธศาสนา ตามโบราณราชประเพณี ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงปฎิบัติ พระราชกรณียกิจทั้งปวงลุล่วงเรียบร้อย เมื่อทรงลาผนวชแล้ว จึงทรงพระกรุณาสถาปนา พระอิสริยยศสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีความหมายว่า พระบรมราชินี       ผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน จึงนับ เป็นสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่สองของประวัติศาสตร์ชาติไทย
หมายเลขบันทึก: 117368เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2007 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ราชประวัติพระราชินีนาถ

ด.ช.ไตรปริศพนธ์ บุญศิริ

พระราชประวัตฺพระราชินีนาถ ครบท่วนมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท