คุณค่าแห่ง “ความพอเพียง”


“ระบบความพอเพียง” เป็นลักษณะการพัฒนาอย่างยั่งยืน สมดุล มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน

        ระบบความพอเพียง  ตามแนวทางพุทธปรัชญา  คือ มัชฌิมาปฏิปทา  หมายถึง  มีความพอดี  พอประมาณ  และความสมดุลในเชิงระบบ  หรือทั่วทั้งระบบ       

        ระบบความพอเพียงนี้  สามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกิจการต่าง ๆ ตามบริบท  ในทุกประเภท  และทุกขนาด  กล่าวคือ :

·       ทุกประเภท เช่น  การผลิต  การทำงาน  การดำเนินชีวิต  การเรียน  การเงิน  ฯลฯ

·       ทุกขนาด  เช่น  ส่วนบุคคล  ชุมชน  สังคม  ธุรกิจใหญ่ / กลาง / เล็ก  ฯลฯ

        แนวคิดตามหลัก ระบบความพอเพียง  มีอยู่ 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ :

1.       กำหนดความพอดี / พอประมาณ / สมดุล  เพื่อให้เกิดการกระทำ  และพัฒนาการอย่างยั่งยืน

2.       กำหนดดังกล่าวนี้ต้องเป็นกำหนดอย่างมีเหตุผล  และมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยงอยู่ในตัว  เพื่อให้เกิดความเป็นไปได้  พร้อมด้วยการป้องกันความเสี่ยง  และแผนสำรองไว้ด้วย

3.       เน้นการใช้ความรู้สู่การกระทำ  กระทำด้วยสติและความรอบครอบ  เพื่อการอภิวัตรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ

4.       มุ่งการใช้จ่ายทรัพยากรอย่างประหยัด  และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น  เพื่อขจัดและลดความสูญเสีย 

5.       เน้นจิตสำนึกแห่งคุณธรรม  และความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญ  เพื่อความสงบสุข  และความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน  ทั้งในปัจเจกบุคคล  ในสังคม  และในธรรมชาติแวดล้อม (Ecology System) 

    ข้อดีเด่นของ ระบบความพอเพียง   เป็นรากแก้วแห่งการพัฒนาอย่างพอเพียงในทุก ๆ ด้านอย่างสมดุลถ้วนหน้า เพื่อตนเอง  สังคม  และธรรมชาติแวดล้อม  ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข  ไม่มีการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  และเป็นการร่วมพัฒนาต่อเนื่อง ยั่งยืน มุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ

หมายเลขบันทึก: 117189เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท