ฝึกลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ครั้งที่ 2 , บริษัทวิทยุการบิน (Air Traffic Control)


หลังจากเดินทางกลับจากตาคลี
วันรุ่งขึ้น พวกเราก้อได้รับภารกิจให้เดินทางไปฝึกการลำเลียงผู้ป่วยโดยเครื่องบิน C-130
โดยคราวนี้ก้อเป็นพวกเรากลุ่มที่สอง  ทำหน้าที่เป็น Flight nurse
ส่วนอีกกลุ่ม  ก้อเป็นคนไข้แทน
โดยกระผมรับบท  ผู้ป่วยโรคตับแข็ง  น่าน...ต้องนอนเปลไป
แอบดีใจ  เกิดมาได้นอนเตียงบนเครื่องบิน  เหอ ๆ
โดยสถานีปลายทางคราวนี้  เป็นสถานีของกองบิน 21 อุบลราชธานีนั่นเอง
คาดว่าใช้เวลาบินประมาณหนึ่งชั่วโมง
โดยตอนเช้าพวกเรานัดรวมตัวกันที่ รพ.ภูมิพลแต่เช้า
แล้วมีรถบัสนำพวกเรามาที่สนามบินของกองบิน 6 ดอนเมือง
แต่พอมาถึงก็มีข่าวร้ายว่า  เครื่องบินที่เราจะบินนั้น  ถังน้ำมันรั่ว!!
ต้องขอเวลาซ่อมก่อน  ไอ้เรารีบให้เวลาเต็มที่  ขอให้ซ่อมให้ดีละกัน
ระหว่างนั้นพวกเราได้ซ้อมลำเลียงผู้ป่วยไปพลาง ๆ ก่อนกะเครื่องบินที่จอดซ่อมนั่นแหละ
โดยฝึกยกเปล  ติดเปลบนเครื่องบิน  ดูแลคนไข้
ฝึก CPR คือปั๊มหัวใจและช็อกด้วยไฟฟ้า  ถ้าคนไข้หัวใจหยุดเต้นบนเครื่องบิน
แล้วฝึกว่าถ้าเกิดเครื่องบินต้องลงจอดฉุกเฉินหรือตกบนบกหรือในทะเล
จะลำเลียงคนไข้ออกอย่างไร  จัดคนไข้อย่างไรบ้าง
ใช้เวลาชั่วโมงกว่า ๆ จึงฝึกครบ
จากนั้นทราบข่าวมาว่า  ไม่สามารถซ่อมรอยรั่วถังน้ำมันเครื่องบินได้
จึงเปลี่ยนไปใช้เครื่อง C-130 อีกลำ  มาเดินทางแทน
ซึ่งเครื่องบินอีกลำนี้  เป็นเครื่องพระที่นั่งสำรองเชียวนะ  (มีบุญจริง ๆ)
พวกเราก้อได้เคลื่อนย้ายกำลังพลไปอยู่ที่เครื่องนี้เรียบร้อย
และกำลังจะออกเดินทาง  เข้านั่งประจำที่  รัดเข็มขัดแล้ว
นักบินพร้อม  ผู้โดยสารพร้อม  ทุกอย่างพร้อม...แต่
มีช่างมาบอกว่า  ยางล้อเครื่องบินด้านซ้ายหลังสึก
พวกเราจึงไปดู  พบว่ารอยล้อสึกมีเป็นวง ๆ อยู่ด้านในของเครื่องบิน
ต้องมุดเข้าไปดูจึงเห็น  อยู่ลึกมาก  สึกถึงหกวงด้วยกัน
ใครนึกภาพไม่ออก  นึกถึงวงปีต้นไม้  ลักษณะเดียวกันนั่นแหละ
โดยถ้าสึกมากกว่าสี่วง  จะไม่ใช้งาน
เพราะยางจะแตกตอนเครื่องลงได้  เหวย...
นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราทั้งยี่สิบคน  รวมนักบินกับอาจารย์น่าจะ 25 คนได้
ที่รอดชีวิตปาฏิหารย์ 
เพราะเขาว่าเครื่องบินจะขึ้นได้ตามปรกติ  บินได้ดี  แต่เวลาลงจะยางระเบิดแน่ ๆ
เฮ้อ ...เกือบเป็นข่าวหน้าหนึ่งวันรุ่งขึ้นแล้วมั้ยล่ะ 
ขอบคุณคุณพระคุณเจ้าที่คุ้มครองจริง ๆ
สรุปใช้เวลาเปลี่ยนยางล้ออีกชั่วโมงนึง  วันนั้นเลยฟรีไปเลย  อดเดินทาง  ว่าง...
จากนั้นวันต่อมา  กำหนดการพวกเราจะต้องเดินทางไปดูงานที่บริษัทวิทยุการบิน
ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ทุ่งมหาเมฆนั่นแหละ 
(จริง ๆ อยู่ตรงไหนก้อไม่รุ้เหมือนกัน  เขียนไปงั้นแหละ  เพราะตอนเดินทางไปดันหลับ)
บริษัทวิทยุการบิน  จะมีหน้าที่คอยดูแลและจัดการจราจรบนท้องฟ้าของเครื่องบิน
คล้าย ๆ กับตำรวจจราจรนั่นแหละ
แต่งานของเขาเครียดมากเลยนะ  ทุกวินาทีคือชีวิตหลายร้อยชีวิต
งานของเขา  รายได้ดีนะ  แต่ต้องอยู่เวรบ่อย
กล่าวคือ  วันแรกทำกลางวัน  วันสองทำกลางคืน  แล้วก้อพักสองวัน
โดยในวันที่ทำงานนั้น  จะทำงานสองชั่วโมง  พักหนึ่งชั่วโมง
ฟังดูเหมือนสบายนะ  แต่จริง ๆ เครียดมาก 
ต้องเป็นคนที่ตัดสินใจเก่ง  และรับผิดชอบมาก  ภาษาอังกฤษต้องดีมากด้วย
เพราะกัปตันทุกประเทศติดต่อกันด้วยภาษาอังกฤษนี้
โดยงานของเขาจะแบ่งหลัก ๆ เป็นสามแบบ  (ไม่แน่ใจว่าถูกป่าวนะ  จำได้แวบ ๆ)
หนึ่งคือ  หอบังคับการบิน  ที่พวกเราเห็นเป็นหอที่สนามบินนั่นแหละ
มีหน้าที่ควบคุมการจราจรภาคพื้นและส่ง,รับเครื่องบินจากสนามบินจนบินถึงระยะ 10 ไมล์ม้าง
จากนั้นจะส่งต่อให้กับ Approach control ซึ่งมีหน้าที่นำเครื่องบินเข้าออกจากสนามบิน
ที่ระยะ 10 ไมล์ไปจนถึง  50 ไมล์ 
โดยไม่ได้ควบคุมด้วยสายตานะ  แต่ใช้เรดาห์แทน
ซึ่งงานจุดนี้จะไม่ได้มีเครื่องบินที่เยอะอะไรมาก
เพราะพื้นที่ไม่เยอะ  แต่ถ้าเทียบกันจริง ๆ ก้อเครียด  ความหนาแน่นเครื่องบินจะมีเยอะกว่า
ซึ่งต้องใช้ผู้ดูแล  ที่เป็นผู้ชำนาญในพื้นที่ของสนามบินนั้นมาควบคุม
โดยเมื่อก่อน  Approach control จะอยู่ในแต่ละสนามบิน
แต่เมื่อพิจารณาแล้ว  บางสนามบินไม่ค่อยมีเครื่องบินลง  แต่ต้องใช้คนไปคุมศูนย์หลายคน
ทำให้คิดว่ารวมการทำงานดีกว่า  จะได้ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณ 
ซึ่งก้อฟังดูน่าจะถูกต้อง 
จากนั้นพอพ้นระยะ 50 ไมล์ไปจนถึงออกนอกประเทศ
จะส่งการควบคุมให้กับอีกศูนย์หนึ่ง  แต่จำชื่อไม่ได้
ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและรับส่งเครื่องบินเข้าออกประเทศ
ติดต่อกับต่างประเทศด้วย  และคอยสังเกตเครื่องบินที่ไม่มีสัญชาติเข้าประเทศด้วย
โดยศูนย์นี้จะทำงานแบ่งเป็นพื้นที่ๆ แต่ละพื้นที่มีเครื่องบินอยู่ในรับผิดชอบเป็นร้อยลำเลย
น่ากลัวจริง ๆ  เพราะถ้าสมมติว่าเขาบอกผิดไป
เครื่องบินสองลำได้ปะทะกันแน่บนอากาศ  เพราะเรดาห์ของเครื่องบินมองไม่เห็นเท่าของที่นี่
แต่ด้วยเครื่องไม้เครื่องมือของเค้าซึ่งดีและทันสมัยมาก ๆ
ประกอบกับพนักงานที่เก่ง  และมีการฝึกที่ดี
ทำให้ไว้วางใจระบบนี้ได้  เพราะเป็นที่แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ได้รับการรับรองจาก ICAO องค์การการบินระหว่างประเทศเชียวนะ
นอกจากนั้นที่นี่ยังมีระบบรองรับเผื่อเกิดแผ่นดินไหว ไฟไหม้ ฯลฯ ด้วย
ดีจริง ๆ
อ้อ...ลืม point อีกเรื่อง
พนักงานสาว ๆ ที่นี่  ก้อหน้าตาน่าร้าก  จิ้มลิ้มกันทุกคนเลย
ถึงแม้ว่าจะไม่เท่าแอร์โฮสเตส  แต่ก้อไม่เป็นรองใครเชียวนะ  เหอะๆ
ที่เขียนเรื่องนี้น่ะ  เผื่อเพื่อนคนใดสนใจนะ  อย่าเข้าใจเราผิด  หุหุ 
หมายเลขบันทึก: 116999เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2007 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 05:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แชมป์น้องพี่

อ่าน blog แล้ว สนุกดี รู้สึกเหมือนแปปเดียวเอง แต่ว่าทำอะไรไปตั้งเยอะ 

ว่างๆโทรมาคุยบ้างนะน้อง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท