ชีวิตยุค KM (3) : การมีปฏิสัมพันธ์ของความรู้


"มนุษย์คือผู้สร้างความรู้ KM คือวิถีการดำเนินชีวิตของคน" ...อิคูจิโร โนนากะ
เมื่อดู SECI Model แล้วจะเห็นการหมุนของความรู้เป็นเกลียวความรู้ ทำให้เกิดการจัดการความรู้ขององค์กรซึ่งต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์กันของความรู้ นั่นคือ จาก tacit-->explicit, explicit-->explicit, explicit-->tacit, และจาก tacit-->tacit ซึ่งการจะนำไปใช้หรือให้น้ำหนักในการจัดการกับแหล่งความรู้ย่อมแตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กรนั้นๆ  เช่น บางองค์กรอาจให้น้ำหนักในส่วนที่เป็น tacit-->explicit มากที่สุด เนื่องจาก tacit knowledge เป็นความรู้ที่มีคุณค่า ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ "อิคูจิโร โนนากะ" ผู้เชี่ยวชาญด้าน KM ระดับโลก ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงจาก tacit เป็น explicit นั้นเกิดจากปัจจัยหลายตัว เช่น วิสัยทัศน์ของผู้นำ การได้ทำงานจริง การมีสินทรัพย์ทางด้านความรู้ (asset knowledge) การพูดคุยของคนที่ทำงานด้วยกัน หรือสภาพแวดล้อม โดยจะใช้ Ba หรือเวทีที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งอาจจะเป็นเวที ที่คนทำงานพบกัน หรือใช้เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้และต้องใช้เวลาอันยาวนานที่เกิดขึ้นในตัวคน ดังนั้นองค์กรจึงจำเป็นที่จะต้องดึงเอา tacit ออกมาทำให้เกิดความชัดเจนเห็นเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น สามารถ่ายทอดต่อไปให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและองค์กร
หมายเลขบันทึก: 115592เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2007 04:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนท่าน สายน้ำแห่งความคิด วิชิตแห่ง มมส

  •  ประสบการณ์ที่ได้สังเกตุ ส่วนใหญ่
  •  "ฟัง ฝัน แต่ ไม่ได้นำไป ทำจริง"
  •  เกลียวความรู้ จึงไม่ค่อยเกิด ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท