รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ (7) เรื่องเล่าหมอแอ๊ด


... แต่ก่อนเราเข้าใจว่าเราเป็นถึงหมอ ทำได้ทุกอย่าง มันไม่ใช่ ต้องเข้าไปหาเขา และไปตอนที่เขาว่าง ต้องถามว่า คุณว่างเมื่อไร เพราะไปหลายทีก็ไม่เจอคุณเลย ...

 

หมอแอ๊ด ... ทพ.เริงสิทธิ์ อยู่ที่ รพ.ลำปลายมาศค่ะ หมอแอ๊ดเล่าเรื่องความสำเร็จว่า

  • ทำเรื่องส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ...
    กิจกรรมที่ทำพบว่า ตอนแรกไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง พยายามเอาเรื่องเข้าหารือกรรมการโรงพยาบาล
  • กรรมการให้ความคิดว่า ถ้าจะทำทั้งตำบล เป็นไปได้ยาก น่าจะเริ่มที่หมู่บ้านก่อน ให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ
  • และมีพี่ที่กำลังทำในเรื่องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดในหมู่ 4 ถ้าหมอลงไปทำตรงนั้น มันจะได้สอดคล้องกัน ก็เลยเข้าไปในหมู่ 4 ก่อน
  • จึงเข้าหมู่ 4 ไปตรวจฟัน ไปหาผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ work
  • ก็เลยมาคุยที่กรรมการอีกที ทีมงานใน รพ. ก็บอกว่า การเข้าไปอย่างนี้มันต้องใช้แขนใช้ขา ... เอาคนในชุมชนดูแลกันเอง
  • ก็เลยตัดสินใจ วันที่ 9 กพ. ก็เรียกประชุม คนในหมู่บ้าน มีการทำแบบสอบถาม
  • และ 14 กพ. ก็เอาโครงการไปนำเสนอ ได้รับการ feedback กลับมาว่า มันน่าจะเป็นเรื่องยาก เพราะเราต้องออกไปตรวจผู้สูงอายุทั้งหมด 100 คน
  • ก็เลยมีการแบ่งทีมบุคลากรข้างใน และข้างนอก สร้างทีมงาน ในลักษณะที่ว่า เอา รพ.ส่งเสริมสุขภาพเป็นทีมหนึ่ง เพราะจะมีงานผู้สูงอายุอยู่หลายฝ่าย คุณหมอคนหนึ่งก็ดูแลผู้สูงอายุ เบาหวาน ส่งเสริมก็ดูแลผู้สูงอายุ มีชมรม จึงขมวดตรงนี้มารวมกัน
  • เขาพูดอะไรก็ไปตามเขา เช่น พยาบาลไปอบรมเรื่องผู้สูงอายุมา ก็บอกว่า คุณไปอบรมมาก็ต้องมาถ่ายทอดนะ ของคุณไปทำอะไรมา และมีโอกาสก็ดึงเขาไปด้วย
  • ส่วนทีมนอก รพ. ก็มาสร้าง โดยมีฝ่ายส่งเสริมฯ เป็นพี่เลี้ยง เพราะเขาทำงานกับ อสม. มาตลอด
  • เขาก็บอกว่า จะไปทำเรื่องช่องปาก ก็จะมีพี่สัมฤทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม
  • จากนั้นเราก็เริ่มรู้จักเขา ... ไปนำเสนอที่ศูนย์ฯ มา 3 เดือน ก็เรียกประชุม ก็หารือฝ่ายส่งเสริมฯ ว่าอยากให้มีคนไปช่วย ก็ได้มา 2 คน และมาหาคนในหมู่ 4 ให้มาประชุมกับผมทั้งหมด และไปหาผู้สูงอายุที่แข็งแรง ช่วยงานได้ เขาก็ไปหามาได้ทั้งหมด 39 คน มาประชุมกัน
  • แล้วให้แต่ละคนในที่ประชุมไปประชุมย่อย โดยให้ข้อมูลเขาไปว่า ทำยังไงในหมู่บ้านของคุณจะปลอดน้ำอัดลม โดยเริ่มต้นจากการไม่จำหน่ายในเด็ก ผู้สูงอายุเป็นคนดูแลลูกหลาน
  • เขาคิดออกมาได้หลายอย่าง แต่มีคนบอกว่า ข้อตกลงพวกนี้ เราจะนำไปติดตามบ้านของทุกคนดีไหม เขาก็บอกว่า ติดยาก เพราะเรามา 40 คน (คนน้อย) เราน่าจะไปหาเครือข่ายอีกคนละ 2 ครัวเรือน
  • เขาก็ไปหาต่ออีกคนละ 2 ครัวเรือน และก็ตาม อสม. ไปในแต่ละครัวเรือน
  • ก็เลยมีวันที่ 4 พค. เรียกประชุมครั้งที่ 2 และก็มีการตรวจเยี่ยมของกรมฯ ในวันนั้น และมีข้อตกลง 5 ข้อ
  • 1. ให้ผู้สูงอายุดูแลลูกหลาน แปรงฟันตามที่ อสม. สอน
  • 2. ผู้สูงอายุดูแลลูกหลาน ให้เลือกกิน เลือกซื้อ และหลีกเลี้ยงน้ำอัดลม หรือขนมกรุบกรอบ
  • 3. งานวัดงานบุญนี่ ผู้สูงอายุ หรือ อสม. ให้ตรวจดูสมาชิก อย่าให้เอาน้ำอัดลมเข้ามาเลี้ยง ให้เอาน้ำสมุนไพรขึ้นมาแทน
  • 4. ให้ขอร้องร้านค้าอย่าเลือกขายของนี้ให้ลูกหลาน
  • 5. เก็บเงินครอบครัวละ 2 บาท ทำเรื่องอาหาร และทางเลือกเพื่อเด็ก
  • 5 ข้อนี้ จัดเป็นกิจกรรม
  • พอเรื่องตามงานก็บอกว่า ให้ตั้งคนขึ้นมาดูแล และพยายามทำให้ครอบคลุม เพราะว่าเราเป็นหมู่บ้านแกนนำ หมู่บ้านอื่นๆ จะได้มาทำตาม
  • ส่วนนี้คือ ความภาคภูมิใจว่ามันเป็นไปได้

ถามว่า "หมอแอ๊ดคิดยังไงก่อนที่จะลงไปทำ เพราะตอนมาบอก บอกว่า 100 หลังคาเรื่อน พี่แอ๊ดจะเดินไปเอง สำรวจเอง"

  • ตอนแรกผมก็เข้าใจว่า การที่เราจะทำอะไรจะอยู่ที่เราจะทำงานวิจัยชี้นหนึ่งเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ก็เอาโครงการนี้ลงไป มันก็จะ standard ต้องออกคนเดียว และก็ไม่อยากให้คนอื่นสัมภาษณ์ ก็คิดทำเอง
  • แต่พอกลับมา ก็คิดไปว่า มันจะไม่ไหว แต่ก็พยายามดำเนินการอยู่ โดยตรวจและส่งต่อมาอยู่ประมาณ 3 เดือน
  • ก็เรียกประชุมตรงนี้ เพราะช่วง 3 เดือนก็มีความเปลี่ยนแปลง มีการตั้งกรรมการ รพ. มีการแนะนำว่าน่าจะเอาคนมาเกี่ยวข้อง ความคิดนี้ก็เลยมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ
  • ที่ว่า ... แต่ก่อนเราเข้าใจว่าเราเป็นถึงหมอ ทำได้ทุกอย่าง มันไม่ใช่ ต้องเข้าไปหาเขา และไปตอนที่เขาว่าง ต้องถามว่า คุณว่างเมื่อไร เพราะไปหลายทีก็ไม่เจอคุณเลย ... เราดูจากสำเนาทะเบียนบ้าน ที่เขามี 100 คน มี 100 รายชื่อ ก็ต้องไปให้ครบ

ปัจจัยความสำเร็จ ของหมอแอ๊ด อยู่ที่เรื่องของ "การทำให้ อสม. ให้ความร่วมมือได้"

  1. ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ จากหัวหน้าฝ่ายการฯ ก็ลงไปช่วยพูด
  2. สสจ. (พี่เผ่าพันธุ์) ลงไปเต็มที่เลย ... คือ ทีมส่งเสริมสุขภาพที่แข็ง ของทั้ง รพ.ลำปลายมาศ สสจ. สนับสนุนเต็มที่ให้เราทำงาน
  3. ได้แรงบันดาลใจ (จาก รพ.พุทไธสง) กำลังใจในการทำงานขึ้นมาว่า เราทำตรงนั้นได้ ก็จะขยายงานได้
  4. ชุมชนเป็นพี่เป็นน้อง ไล่ไปไล่มาก็เป็นเครือญาติ และเป็นหมู่บ้านที่รวมตัวกันเป็นกระจุก เวลาเราลงไปก็เข้าไปหาเขาได้เลย
  5. ทีม อสม. เข้มแข็ง

รวมเรื่อง "รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ"

 

หมายเลขบันทึก: 115463เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2007 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อสม คือเสาค้ำจุนสุขภาพสังคมครับ
  • คนทั่วไปไม่ค่อยได้รับรู้เท่าไหร่
  • ขอบคุณที่เล่า ลปรร ครับ
  • เห็นด้วยเลยค่ะ อ.wwibul
  • พลังของงานชุมชน อยู่ที่นี่นี่เอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท