Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

สื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน : สถานการณ์ด้านข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรแล้ว ? สถานการณ์ด้านองค์ความรู้ล่ะถึงไหนแล้ว ?


วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ อ.แหวว อ.โก๋ และคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมี จะขอเชิญมวลมิตรที่สนใจเรื่องสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชนมารวมตัวกันเพื่อมองสถานการณ์ด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชนอีกครั้ง ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วที่เราซึ่งเป็นภาควิชาการขอให้ มสช. ช่วยรับเป็นเจ้าภาพในการตั้งเวทีวิชาการเพื่อมองสถานการณ์ด้านนี้

          นับแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๗ ก็เป็นเวลาสามปีแล้วล่ะที่มารวมตัวกันเพื่อหารือกันถึงสถานการณ์ด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อก็คือพื้นที่ที่อาจสร้างความยุติธรรมตามธรรมชาติ จำไม่ได้ว่า ประเพณีการพูดคุยเรื่องนี้ เริ่มต้นจริงๆ อย่างไร ถ้านัดเขียนบล็อกเสียตั้งแต่เมื่อสามปีก่อน ก็คงจำได้ แต่เอาว่า ปีนี้ (๒๕๕๐) นั่งอยู่ ก็เลยนึกขึ้นได้ ก็เลยอีเมลล์หาคุณหมอสมศักดิ์ เพื่อหารือว่า เราน่าจะตั้งเวทีวิชาการของเราประจำปีนี้ได้แล้วล่ะ

            อ.แหววเพิ่งจบรายงานการวิจัยเพื่อการพัฒนาภายใต้โครงการเด็กและสื่อลงไป และได้นำความในใจในระหว่างการทำงานนี้มาบันทึกไว้ในโกทูโนด้วยแล้ว อ่านหรือยังคะ งานครั้งนี้ ยิ่งทำให้ อ.แหววตระหนักในข้อดีของการใชพื้นที่สื่อในการจัดการสังคมไทย สื่อในปัจจุบันอาจเป็นโทษต่อเด็กและเยวชนหลายเรื่อง แต่สื่อในปัจจุบันก็เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้เช่นกัน ประสบการณ์ในช่วงหลังของคนทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนได้ตระหนักอย่างเด่นชัด ลองดูตัวอย่างของการรณรงค์เพื่อให้อาจารย์อายุ นามเทพ นักดนตรีไร้รัฐได้มีโอกาสเดินทางออกจากประเทศไทยเพื่อไปแข่งดนตรีที่จีนและกลับมาในประเทศไทยได้ แม้เธอยังไม่มีสถานะบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายไทย เรื่องนี้ ไม่อาจเป็นจริงได้เลย หากไม่มีการใช้พื้นที่สื่อเพื่อร้องขอความเป็นธรรมให้แก่เธอผู้นี้

               สำหรับ อ.โก๋ เดาว่า สถานการณ์ด้านสื่อที่สนใจ ก็น่าจะเป็นงานสร้างผู้ทำสื่อที่มีความสร้างสรรค์ และทำให้พื้นที่สื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้สำหรับมนุษย์ในสังคมไทย ดังนั้น กระบวนการวัดความสร้างสรรค์ของสื่อโดย Quality Rating ดูจะเป็นงานที่ อ.โก๋ มุ่งมั่นอย่างเป็นที่สุด อ.โก๋วันนี้ เข้มแข็งที่สุดด้วยการสนับสนุนของ รศ.ดร.สายฤดี วรกิจโภคาธร แห่งสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผอ.ลัดดา ตั้งสุภาชัย แห่งกระทรวงวัฒนธรรม  อ.โก๋เริ่มต้นทำงานด้าน Rating นี้ มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน อ.โก๋บอกว่า มีเรื่องจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพวกเรามากมายทีเดียว 

               เพิ่งคุยกับคุณสมา โกมลสิงห์ ในเวลาไม่นานมานี้  อ.แหววก็ได้ฟังการสรุปประสบการณ์หลายอย่างของคนที่ทำงานด้านสื่อโทรทัศน์มาอย่างยาวนาน  และได้ฟังว่า คุณสมาคิดอะไรได้มากกว่า การทำรายการถอดรหัสและย้อนรอยอย่างที่ทำมานาน และอยากหยิบความคิดที่คิดได้ มาทักทอให้เป็นจริง หากมีทุนทำงาน ..... ต้องหารือกันล่ะซิ

           นอกจากนั้น ยังมี ผศ.สุรวุธ กิจกุศล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ และ ผศ.ดร.อรรยา สิงห์สงบ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ ที่อยากมาร่วมวงศึกษาปัญหาสื่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย  กฎหมายว่าด้วยความผิดอาญาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปรากฏตัวเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้ว สังคมไทยทางอิเล็กทรอนิกส์ดูไม่สบายใจนักกับกฎหมายนี้

                ยังมีคุณภาสกร จำลองราช แห่งมติชน ที่อ.แหววได้มีโอกาสคุยด้วยบ่อยครั้ง ก็ได้บอก อ.แหววว่า คิดออกในเรื่องการสอนชาวบ้านที่ถูกละเมิดสิทธิให้เป็น "ผู้สื่อข่าว"  เริ่มต้นแล้วกับการสอนเหล่าอดีตคนไร้สัญชาติที่แม่อายที่มารวมตัวกันตั้งคลีนิกกฎหมายแม่อาย และนำเพื่อนผู้สื่อข่าวลงสัมผัสปัญหาสังคมเชิงลึกและซับซ้อนของชายแดน อ.แหววรู้สึกเหมือนได้กลิ่นของการปรากฏตัวของสื่อเพื่อข่าวชายแดนที่จะปรากฏตัวขึ้นในไม่ช้าจากตระกูลความคิดนี้

               คุณแจง ฐิตินบ โกมลนิมิ แห่งสำนักข่าวชาวบ้าน ก็สนใจที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ท่านนี้ลงคลุกคลีกับข่าวภาคใต้ค่อยข้างมาก

               การเข้าร่วมเวทีของคุณภาสกรและคุณแจงน่าจะทำให้เราได้มีโอกาสถอดประสบการณ์เรื่องสื่อเพื่อสันติภาพอีกด้วย

               ส่วนคุณหมอสมศักดิ์บอก อ.แหววมาว่า "อจ แหวว mail มาพอดี เลยได้มาอ่าน blog นี้ครับ ผมเพิ่งกลับจากการประชุม คณะ กก จริยธรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ของยูเนสโกพอดี ระหว่างประชุมเกิดความคิดที่จะทำเรื่องนี้ให้จริงจังมากขึ้นในบ้านเรา อีกหลายเรื่อง เข้าใจว่าวงที่เริ่มกันเมื่อปีที่ผ่านมา คงส่งกระแสเตือนมาว่า น่าจะมา update และวางแผนกันทำงานให้จริงจังมากขึ้น ไปเห็นหนังสือเกี่ยวกับสื่อ อยู่หลายเล่ม อย่างเรื่อง myth of media violence กับ เรื่อง pubic television and digital technology แล้วก็ทำให้คิดถึงเรื่องที่พวกเราคุยกันอยู่ครับ จะนัดกันผ่าน อจ แหววก็ดีนะครับ เพราะผมต้องไปดูโปรแกรมตัวเองซักหน่อย ดีใจที่ อจ และทีมงานที่มีพลังสร้างสรรค์ เพื่อสังคม พยายามหาสมดุลย์ ระหว่างการทำงานเพื่อ ยาใจ กับ ยาไส้ (ภาษาที่ผมได้มาจาก จนท สาธารณสุขเชียงรายอีกทีครับ  ขออภัยที่จำชือคนพูดไมไ่ด้ จำได้แต่ว่าเป็นทีมงาน ข่วงพยา แปลว่า วงปัญญา)"  ก็แสดงว่า มีข้อคิดและข้อเห็นที่จะมาเล่าสู่กันฟังในเวทีเสวนาของเรา

               ในที่สุด เราก็นัดกันแล้วค่ะ มวลมิตร กล่าวคือ วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เวลาเช้า ๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. และหวังว่าคุณหมอสมศักดิ์คงเลี้ยงข้าวพวกเรา อ.แหวว เสนอให้เป็นการตรวจสอบสถานการณ์ด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน โดย อ.แหววจะเป็นคนเสนอภาพสัก ๑๐ ภาพใหญ่ของงานด้านสื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน และขอแรงมวลมิตรช่วยแรเงา ตอนนี้ กำลังหารือว่า นอกจากมิตรเก่าที่หารือกันแล้ว จะมีใครอีกไหมหนอ ?

                   ท่านที่ผ่านมาอ่านสนใจจะมาร่วมพูดคุยกับพวกเราไหมคะ ?

หมายเลขบันทึก: 115306เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ท่านทั้งหลาย
 
อ.แหวว อยากเรียกการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า การประชุมเพื่อแสวงหาโจทย์วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับสื่อในสังคมไทย
สำหรับปีนี้ ตัว อ.แหววเองเห็นว่า มีหลายอย่างที่ควรจะต้องรีบทำในสังคมไทย เกี่ยวกับ "สื่อ" และ "พื้นที่สื่อสารสาธารณะ"
 
อ.แหววได้ลองยกร่างกำหนดการประชุมมาแล้วค่ะ ดังเอกสารแนบนะคะ เห็นเป็นอย่างไร ลองแต่งเติมดูนะคะ
 
นอกจากนั้น อ.แหววได้สรุปความคิดคร่าวที่คุยกับหลายคนมาในบันทึกซึ่งแนบมาให้ออกนี้ด้วยแล้วค่ะ
http://gotoknow.org/blog/Media4Development/115306
ซึ่งคิดว่า เราอาจจะแลกเปลี่ยนกันก่อนวันประชุมจริงทางอินเทอร์เน็ตไปพลางๆ ก่อนได้
 
แล้วคิดว่า จะเขียนบันทึกถึง "โจทย์การทำงาน ๔ กลุ่ม" ก่อนหน้า เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนกันก่อนวันจริง ซึ่งมีเวลาจำกัด
คนที่อยากพูดอย่างเดียว ก็จะได้พูดในที่ประชุม แต่คนที่อยากทำด้วยมือด้วยขา จะได้ทำได้หลังจากการประชุม
 
อยากเรียนคุณหมอสมศักดิ์ว่า สิ่งที่ อ.แหววคิดนั้น เป็นสิ่งที่ต่อเนื่องจากที่คุยกับ อ.ประเวศ เป็นสิ่งที่ อ.แหววเรียกว่า "สื่อเพื่อสิทธิมนุษยชน"
อารมณ์ประมาณนี้ ลองอ่านซิคะ http://gotoknow.org/blog/Media4Development/33629
 
แต่ อ.แหวว ก็เห็นความจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องมี "สื่ออิสระ" หรือ "สื่อสร้างสรรค์" หรือ "สื่อจริยธรรมหรือสื่อคุณธรรม"
ตั้งข้อสังเกตว่า ทุกเรื่องมีแนวคิดร่วม แต่คนทำงานในแต่ละเรื่อง ไม่ค่อยได้คุยกันค่ะ ก่อนถึงวันคุยกันจริงๆ กะชวนคุยในอินเทอร์เน็ตก่อนค่ะ
 
คนที่จะเชิญมานะคะ ทาง มสช. ก็อาจจะเห็นตัวคนอยู่ นอกจากนั้น อ.รุ่งรัตน์ และ อ.อิทธิพลจะเข้ามาช่วยประสานงานกับคุณกัลยาณีค่ะ
อ.แหววนึกอะไรได้ ก็จะอีเมลล์มาบอกค่ะ
 
ไปจีน ก็คุยกันทางอีเมลล์ได้ค่ะ
 
ด้วยความนับถืออย่างยิ่ง
 
อ.แหวว

สวัสดีครับ

P

ขออนุญาตินำข้อความบางตอนไปรวมในรวมตะกอนครับ  ขอบคุณมากครับ    http://gotoknow.org/blog/mrschuai/113523#

ขอหารือคุณหมอสมศักดิ์ว่า ครั้งนี้ อ.แหววเสนอว่า จะต้องออกแรงตามคน ๔ กลุ่ม  มานั่งคุยกันค่ะ

(๑) กลุ่มที่ดันเรื่องสื่ออิสระ

(๒) กลุ่มที่ดันเรื่องสื่อเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์

(๓) กลุ่มที่ดันเรื่องสื่อเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

(๔) กลุ่มที่ดันเรื่องสื่อคุณธรรมหรือสื่อจริยธรรม

 อ.แหววคิดว่า เห็นตัวคนทั้ง ๔ คนนี้แล้วค่ะในสังคมไทย เอามาสักกลุ่มละไม่เกิน ๕ คน นั่งคุยกันแบบลึกๆ แน่นๆ และทำอะไรได้บ้าง คราวนี้ ไม่พูดกันเฉยๆ  แล้วค่ะ ออกแรงตามคนเองค่ะ ขอให้คุณหมอออกหนังสือเชิญ คุณเอ็มโทรมาประสานงานแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท