สรุปบทเรียน CoP เคมีบำบัด


การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผ่านชุมชนนักปฏิบัติ

แบบรายงานผลการดำเนินการโครงการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ 

1. ชื่อชุมชนนักปฏิบัติ เคมีบำบัด

2. สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติ

1.       นางดวงพร  สีจร                          ที่ปรึกษา

2.       นางอุบล จ๋วงพานิช                    facilitator (ผู้ดำเนินการหลัก)   

3.       นางสาวรัชนีพร คนชุม              Historian (ผู้ประมวลความรู้)                   

4.       นางสมฤดี  ศรีนา                        Historian  (ผู้ประมวลความรู้)                  

5.       นางคณิตา  ชาดี                            สมาชิก CoP                                      

6.       นางนาถอนงค์  น้อยน้ำคำ         สมาชิก   CoP                                       

7.       นางสาวสมรักษ์ บุญจันทร์         สมาชิก   CoP

8.       นางอภิญญา  คารมปราชญ์        ผู้ประสานงาน

3. วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดให้ได้มาตรฐานระดับสากล 

4. การดำเนินกิจกรรม   เริ่มดำเนินการ 4 มกราคม 2550   มีการประชุม ทั้งหมด 5 ครั้ง        

ครั้งที่ 1  วันที่ 4 มกราคม 2550

1.  เปิดตัว CoP – สร้างสัมพันธภาพ  การเปิดตัว CoP ครั้งแรกที่น่าประทับใจ มีผู้บริหารมาร่วมประชุม กล่าวต้อนรับและให้การสนับสนุน ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีระหว่างสมาชิก การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครั้งแรก   ทำให้สมาชิกรู้สึกอยากเข้าร่วมประชุมในครั้งต่อไป

2. การกำหนดข้อตกลงของกลุ่มจากการเล่าประสบการณ์  ในการกำหนดข้อตกลงของกลุ่ม Facilitator

ควรให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

ข้อควรระวัง คือ Facilitator ควรป้องกันไม่ให้สมาชิกเข้าสู่การโต้แย้ง ให้หลีกเลี่ยงการยกมือตัดสิน  กรณีที่ความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ให้กลุ่มหาความเห็นร่วม(Consensus) ในบางกลุ่มการใช้คำว่ากฎ อาจมองดูว่า ต้องปฏิบัติตาม อาจเลี่ยงมาใช้คำว่า ข้อตกลงของกลุ่ม ทำให้เห็นภาพว่าไม่ได้บังคับแต่เป็นความคิดเห็นร่วมของสมาชิกทุกคน

3.กำหนดเป้าหมาย (Desired State) ร่วมกัน  มีการระดมสมอง เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สมาชิกมีความรู้สึกร่วมกัน แนวทางการดำเนินงาน โดยตั้งคำถามหลักๆ ดังนี้ อะไรคือประเด็นปัญหาในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด และเป้าหมายหลักของกลุ่มที่ต้องการคืออะไร 

ครั้งที่ 2  วันที่ 26 มกราคม 2550

ครั้งที่ 2  CoP  เราแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่มและเตรียมประชุมวิชาการของงานบริการพยาบาล เรื่อง Excellence nursing :บทบาทที่ท้าทายวิชาชีพในวันที่ 7-9 มีนาคม 2550 และดิฉันซึ่งเป็น Facilitator ได้ไปอภิปรายร่วมในที่ประชุมครั้งนั้นด้วย มีเรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์ ของพยาบาลแต่ละคน 

ครั้งที่ 3  วันที่ 9 มีนาคม 2550

เราได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก CoP ของเราและเครือข่ายจากโรงพยาบาลจังหวัดเลย เพชรบูรณ์และกาฬสินธุ์

ได้ Knowledge assets หลายประเด็น เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์ (Story Telling/ Experience Sharing) ของพยาบาล OPD 4 หอผู้ป่วย 5 6ข และ 3ก และ เครือข่ายจากโรงพยาบาลจังหวัดต่างๆ

ครั้งที่ 4 วันที่ 27 เมษายน 2550

พยาบาลหอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ เภสัชกรประจำหอผู้ป่วย เรื่อง การป้องกันการฉีดยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด (Extravasations)

เรื่องเล่าของหัวหน้าตึก (อุบล จ๋วงพานิช) สืบเนื่องจากปี 2549 เรามีผู้ป่วยเกิดยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด 1 คน จากยาVinorabine  ทำให้เรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันนั้น 

ครั้งที่ 5   วันที่ 8 มิถุนายน 2550 เวลา 14.00-16.00 น.  

กลุ่ม CoP เคมีบำบัด  มีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบันทึกใน go to know ณ. ห้องประชุมงานบริการพยาบาล

หัวข้อการประชุม
แจ้งเรื่อง  การบันทึกรายงานการประชุมและมีเรื่องเล่าของ   CoP เคมีบำบัด   โดยผ่าน web go to know
 

การสมัครสมาชิก go to know ของแต่ละคน
เพื่อไว้แสดงความคิดเห็นใน CoP เคมีบำบัด หรือ ในบันทึกอื่นๆเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  blog to blog (B to B)

5. ผลลัพธ์ที่ได้

1.   ผู้ใช้บริการ

        ได้รับบริการที่เป็นเลิศ

        ครอบคลุมแบบองค์รวม

2.       ผู้ให้บริการ

       มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดย F2F

       มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันโดย B2B มีบันทึกใน go to know 15 บันทึก            

       มีความสุขในการทำงาน

       Knowledge Assets   

       ทำงานมีคุณภาพ

3. องค์กร

       มีชื่อเสียง

       พัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ

6. สิ่งที่ได้เรียนรู้               

1.  สมาชิกมีโอกาสได้นำเสนอเรื่องดีดีและประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วย 

2. สมาชิกพูดคุยได้ทุกเรื่องและมีคนอื่นฟัง               

3. สมาชิกมีโอกาสนำสิ่งดีดีที่เพื่อนเล่าไปขยายผล โดยการนำไปปรับใช้ในการทำงาน               

4. มีเครือข่ายในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด               

5. มีการนำเสนอผลการประชุมและหาแนวทางแก้ปัญหากับ CLT ต่างๆ

นำเสนอประเด็นที่ควรได้รับการแก้ไขในที่ประชุม CLT ศัลยกรรม

ซึ่งหัวหน้าภาคฯ อ. โอวตือ ได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันได้อย่างดีค่ะ

7. แผนการดำเนินการต่อไปในอนาคต               

1.   กำหนดประเด็นในการพูดคุยและมีการบันทึกเป็น Knowledge Assets   

2. การนำแนวคิดที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในหน่วยงานจริง โดยการปรับปรุงวิธีการทำงาน               

3. มีการเผยแพร่นวัตกรรม                

4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Web board                

5. เริ่มมีการขยายเครือข่ายความรู้เข้าไปในหน่วยงานได้

8. อยากให้คณะกรรมการบริหารจัดการองค์ความรู้/สำนักงานโครงการฯสนับสนุนอย่างไร               

1. จัดให้ความรู้เรื่อง CoP                

2. สนับสนุนงบประมาณต่อ               

3.  จัดให้ CoP ได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน โดยมีห้องของ CoP เฉพาะ               

4. ควรมีการติดดาวให้ CoP ที่มีการดำเนินการดีเด่น

9. หน่วยงานของท่านมี CoP หรือกิจกรรมอื่นที่เป็น KM เรื่องอื่นหรือไม่ ถ้ามีเรื่องอะไร               

1.  กลุ่มวางแผนจำหน่าย               

2. กลุ่มวิปัสสนาเยียวยารักษาใจ

หมายเลขบันทึก: 115163เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์สุรพล (เลขาฯ KM คณะแพทย์)

จะส่งสรุปผลการดำเนินการ CoP เคมีบำบัด

ในโอกาสต่อไปนะคะ

ขอนำความรู้เรื่องชุมชนนักปฏิบัติมาให้อ่านกันก่อนนะคะ

เพราะจากการไปเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ทุกคนก็งง แต่ดิฉันบอกไม่ต้องกังวลเรื่อง CoP

ให้ทุกคนลองเล่าประสบการณืในการทำงาน

โดยหาประเด็นมาแลกเปลี่ยนกัน

แล้วแต่ละคนก็นำสิ่งที่ดี ไปลองปรับงานของตนเอง

Community of Practice – CoP เรียบเรียงโดยคุณเพชรนรา สุขเลี้ยง 

อะไรคือชุมชนแห่งการปฏิบัติชุมชนแห่งการปฏิบัติ เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันเป็นชุมชน โดยมีแรงปรารถนา (passion) ร่วมกันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวพวกเขาไว้ภายใต้กรอบความรู้ ซึ่งกรอบความรู้เหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสมาชิกชุมชนและองค์กร ชุมชนแห่งการปฏิบัติจะทำหน้าที่ดูแลความรู้ด้วยแรงขับภายในจากความรู้สึกเป็นเจ้าของความรู้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่พวกเขามีความสนใจ จึงทำให้วงจรการจัดการความรู้สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยแรง ผลักดันหรือการบังคับจากองค์กร นอกจานี้ การรวมตัวกันเป็น ชุมชนยังได้ก่อกำเนิดความไว้วางใจและความสนิทสนม ซึ่งไม่มีอยู่ในโครงสร้างการจัดการความรู้รูปแบบอื่นๆ

องค์ประกอบของ CoP

เพื่อให้ CoP สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ควรประกอบด้วย

 

1. Sponsor คือ ผู้สนับสนุนกลุ่ม เป็นศูนย์รวมการสื่อสารภายใน CoP และ ระหว่างสมาชิก CoP และเป็นผู้นำสู่จุดสนใจ  การสนทนา มีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของ CoP ธำรงไว้ซึ่งประเด็นการสนทนา ไกล่เกลี่ยความแตกแยก ความไม่เข้าใจของ CoP บ่อยครั้งที่ร่วมเป็นผู้ดำเนินการหลักด้วย

 

2. Facilitator คือ ผู้ดำเนินการหลัก ทำหน้าที่จัดระบบของ CoP บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อสนับสนุน CoP ส่งเสริมเทคนิคต่างๆให้ CoP ดำเนินการและสนับสนุนให้ CoP มีวัตถุประสงค์ สื่อสารความสำเร็จของ CoP สู่องค์กร มีการสื่อสารอย่างจริงจัง ถึงสมาชิก CoP ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีช่องทางการ สื่อสารที่แท้จริง

 

3. Community historian คือ นักประวัติศาสตร์ชุมชน ทำหน้าที่บันทึกสิ่งสำคัญที่ได้จากการประชุมของ CoP จับประเด็นจากการอภิปราย สรุปประเด็นทั้งหมดของการสนทนาหรือการอภิปรายของ CoP ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

 4. Member คือ สมาชิก CoP ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการอภิปราย นำเสนอประเด็นใหม่คิดวิธีแก้ปัญหา แนะนำวิธีที่ทำให้ CoP มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ขั้นตอนปฏิบัติเพื่อสร้าง CoP

 

Step 1 จัดตั้ง CoP นำร่อง แล้วแต่งตั้งผู้สนับสนุนกลุ่ม (sponsor) และผู้ดำเนินการหลัก (facilitator) จากนั้นก็ส่ง e-mail ให้ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นสมาชิกกลุ่ม

 Step 2 จัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 1 ด้วยถามคำถามหลักๆดังนี้ อะไรคือเป้าหมายหลักของกลุ่ม ได้ผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็น

สมาชิกทั้งหมดแล้วหรือไม่ ควรจะนัดเจอกันบ่อยขนาดไหน จะคุยเรื่องอะไรในการพบกันครั้งต่อๆไป และควรเตรียมวาระการเรียนรู้ ส่วนFacilitator หรือผู้ดำเนินการหลักหรือผู้จดรายงานการประชุม ควรบอกวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการและบันทึกรายชื่อ ผู้เข้าประชุมและติดต่อผู้ที่ควรจะเข้าร่วมแต่ขาดการประชุม

 

Step 3 Facilitator ทำสรุปการประชุมครั้งแรกและส่งให้สมาชิกทุกท่าน sponsor หรือผู้สนับสนุนหลังจากนั้นเริ่มกระจายข่าวการก่อตั้งกลุ่มเพื่อเพิ่มจำนวนสมาชิก

 

Step 4 Facilitator หาความต้องการในการใช้เทคโนโลยี เช่น โฮมเพจ ใน Lotus Notes เพื่อเสริมการสื่อสารระหว่างสมาชิกและแสดงให้องค์กรได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น

 Step 5 จัดประชุมกลุ่มครั้งที่ 2 เริ่มการประเมินพื้นฐานของกลุ่ม (การมีส่วนร่วม ความชอบ) มุ่งเน้นที่การแลกเปลี่ยน

ความคิดเห็นมากกว่าการมุ่งให้สมาชิกเสนอเนื้อหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อหลักให้มากขึ้น บันทึกการมีส่วนร่วม (ดูจำนวน ผู้เข้าร่วม) และรายงานให้สมาชิก

 Step 6 จัดประชุมครั้งที่ 3 และ 4 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อ โดยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่ม หลังจากประชุมกลุ่มครั้งที่ 4 facilitator ทำแบบสำรวจทาง e-mail ชนิดง่ายๆ ที่มีคำถามจำนวนไม่มากเพื่อสำรวจว่า สมาชิกคิดอย่างไรกับ

ความก้าวหน้าความกระตือรือร้น ความสนใจ และการเรียนรู้ของสมาชิก ความรู้ที่สำคัญได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนหรือไม่ ความพึงพอใจของสมาชิก ในสิ่งที่ได้รับเมื่อเทียบกับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ แล้วรายงานผลสำรวจผ่านสื่อที่เหมาะสม เช่น Intranet หรือโฮมเพจของกลุ่ม

 Step 7 จัดการบรรยายประสบการณ์ในองค์กรเพื่อเสวนาเรื่อง ความก้าวหน้าและปัญหาที่พบ สิ่งที่ทำได้ดีและเหตุผล

ความเจริญเติบโตของกลุ่ม การตลาดและการสื่อสารต่างๆที่ได้ทำ และผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม

 

Step 8 ดำเนินการประชุมกลุ่มต่อ ประมาณ 6-7 ครั้ง เชิญ ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง CoP เยี่ยมชมเพื่อประเมินความแข็งแกร่งของกลุ่ม โดย พบผู้สนับสนุนและผู้ดำเนินการหลัก ให้คำแนะนำเพื่อพัฒนากลุ่ม เป็นต้น

 แหล่งข้อมูล

1. เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง CoP Implementation Process ของ Ms. Kim

ขออนุญาต นำไปเป็นตัวอย่างการสร้าง และ ดำเนินงาน ของ CoP ให้กับ ศูนย์การแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลชลประทาน นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท