มือหนึ่งแห่งเมืองกล้วยไข่(2)


ภาพที่อยากจะเห็นในองค์กรส่งเสริมการเกษตร

มือหนึ่งแห่งเมืองกล้วยไข่

  

                      วันนี้เป็นวันที่ผมมีความสุขที่สุดวันหนึ่งครับ(วันที่ 25 กรกฎาคม 2550 )  ภาพที่อยากจะเห็นในองค์กรส่งเสริมการเกษตร ที่ทีมผู้บริหารระดับจังหวัด ประกอบด้วยท่านเกษตรจังหวัด หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าฝ่าย ได้หันหน้าเข้าหากัน และพร้อมที่จะลงไป ACTION ถึงในระดับพื้นที่ เพื่อเป็นการให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรระดับพื้นที่ หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายฯก็คือผมนำKM  ไปเป็นครื่องมือที่สวมลงในงานประจำนั่นเองครับ โดยวันนี้เราได้กำหนดแผนไปเยี่ยมการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ  จังหวัดกำแพงเพชร

 ได้พบกับคุณอำนวยและคุณกิจตัวจริง

                        เมื่อเราเดินทางไปถึงที่ทำการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลประชาสุขสันต์    ก็มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯมาให้การต้อนรับ     จากนั้น คุณสุดใจ หล้าหาญ ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯได้เล่าผลการดำเนินงานของศูนย์บริการฯตลอดจน ได้นำเสนอกิจกรรมที่ดีเด่นของศูนย์ฯก็คือ การสร้างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน  พัฒนาวิทยากรเกษตรกร ซึ่งจะได้ไปดูงานของจริงต่อไป

  

                           จากนั้นคุณสิทธิพงษ์ กองพันธ์ (นวส.5 ) เลขานุการของคณะกรรมการศูนย์ฯได้นำเสนอผลงานเพื่มเติมว่า การดำเนินงานของศูนย์บริการฯเริ่มแรกมีการจัดทำเวทีชุมชนระดับตำบลร่วมกับทางอบต.ประชาสุขสันต์ โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับคณะกรรมการศูนย์ฯ อบต.และผู้แทนกลุ่มอาชีพทางการเกษตรต่างฯ จนได้(1)แนวทางพัฒนาการเกษตรประจำตำบล(2) เป้าหมายกลุ่มอาชีพ (3) แผนพัฒนากลุ่มอาชีพ (4) การสนับแผนพัฒนากลุ่มอาชีพ(5)แผนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการฯ(6) การสนับสนุนแผนการปฏิบัติงานของศูนย์บริการฯ

                     จากนั้นคุณบรรเจิด สิงห์ทอง นายกอบต.ประชาสุขสันต์ ได้เล่าว่าตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทางอบต.ได้สนับสนุนงบประมาณให้ศูนย์บริการฯและกลุ่มอาชีพทางการเกษตรมาโดยตลอดเพื่อส่งเสริมสนับสนุนตามแผนพัฒนากลุ่มอาชีพทางการเกษตร

  

                      ดูของจริงในไร่นา

 

   ทีมงานได้เดินทางร่วมกันไปพบคุณกิจตัวจริงที่ชื่อ คุณประชา วงษา บ้านเลขที่61 หมู่ 7 ตำบลประชาสุขสันต์ อำเภอลานกระบือ มีพื้นที่ที่ทำการเกษตรอยู่จำนวน 11 ไร่เศษ ได้แบ่งพื้นที่นี้ทำกิจกรรมทางการเกษตรอยู่หลากหลายกิจกรรมเช่น ทำนา เลี้ยง โคเนื้อ  เลี้ยงปลากินพืช  เลี้ยงเป็ดไข่ เลี้ยงไก่พื้นบ้าน  และปลูกไม้ผลบนขอบบ่อปลา ในปีหนึ่งฯจะมีรายได้ที่ขายผลผลิตทางการเกษตรประมาณ 60,000  บาท สามารถเลี้ยงตัวอยู่ได้

 

  
 

                  จัดเวทีชาวบ้านใต้ร่มไม้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่าง(1) CKO สุชาติ ทองรอด(เกษตรจังหวัด)(2) หัวหน้ากลุ่ม-ฝ่าย (3) เกษตรอำเภอลานกระบือ(คุณทองดี หาญใจ )(4) คุณศิทธิพงษ์ กองพันธ์(เกษตรตำบล/นวส.5)(5)คุณประชา วงษาและภรรยาชื่อคุณทองบู่ วงษา(เจ้าของแปลงเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน)(6) คุณสุดใจ หล้าหาญ(ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลประชาสุขสันต์)(7)คุณบรรเจิด สิงห์ทอง(นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประชาสุขสันต์)

 
 

                   กำหนดหัวปลาร่วมกันคือ การสร้างศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนภายใต้การดำเนินงานร่วมกันของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ อบต. กลุ่มอาชีพทางการเกษตร และเกษตรกรที่อยู่ในชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนต่อไปครับ(โปรดติดตามอ่านตออนต่อไปครับ)                         

หมายเลขบันทึก: 114644เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบพระคุณมากครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • อย่าลืมคิดตรงกันข้ามไว้ด้วยนะครับ...อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท