Geranun.com
นาย จีระนันท์ จิระบุญยานนท์

ผลกระทบ​จาก​ภาวะ​โลกร้อน​


          ​การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอัน​เนื่อง​มา​จาก​กิจกรรมของมนุษย์​ ​ก่อ​ให้​เกิดผลกระทบ​ใน​ระดับโลก​และ​ระดับภูมิภาค​ทั้ง​ทางกายภาพ​และ​ชีวภาพ​ ​ดังนี้​

          ระดับน้ำ​ทะ​เลขึ้นสูง​ หากอุณหภูมิ​เฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นอีก​ 1.4-5.8 ​องศา​เซลเซียส​ ​จะ​ส่งผล​ให้​น้ำ​แข็งที่ขั้วโลกละลาย​ ​และ​ระดับน้ำ​ทะ​เลเฉลี่ยสูงขึ้นอีก​ 14 - 90 ​เซนติ​เมตร​ ​ซึ่ง​จะ​ส่งผลกระทบ​ ​ได้​แก่​ ​การสูญเสียที่ดินการกัดเซาะ​และ​การพังทลายของชายฝั่ง​ ​ใน​ส่วน​ของพื้นที่ที่​จะ​ได้​รับ​ความ​เสียหายมากที่สุด​ ​คือหมู่​เกาะ​เล็กๆ​ ​เช่น​ ​หมู่​เกาะ​ใน​มหาสมุทรอินเดีย​ ​และ​ทะ​เลแคริ​เบียน​ ​รวม​ถึง​สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ใน​พื้นที่ราบลุ่ม​ ​เช่น​ ​สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ไนล์​ใน​ประ​เทศอียิปต์​

หากระดับน้ำ​ทะ​เลเพิ่มขึ้น​ 50 ​ซม​.​จะ​มีผลกระทบต่อประชากรโลกประมาณ​ 92 ​ล้านคน​ ​ตัวอย่างเช่น​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลที่สูงขึ้น​ 1 ​เมตร​จะ​ทำ​ให้​ประ​เทศอียิปต์​เสียพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น​ 1 ​เปอร์​เซ็นต์​ ​เนเธอร์​แลนด์​ 6 ​เปอร์​เซ็นต์​ ​บังคลา​เทศ​ 17.5 ​เปอร์​เซ็นต์​ ​และ​ ​หมู่​เกาะมาฮู​โร​ใน​เกาะมาร์​แชล​ 80 ​เปอร์​เซ็นต์​

นอก​จาก​นี้​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลที่ขึ้นสูง​ยัง​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสียหายต่อระบบนิ​เวศน์ชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลน​ ​ซึ่ง​เป็น​แหล่งที่​อยู่​อาศัยของสัตว์น้ำ​นานาชนิด​ ​การรุกล้ำ​ของน้ำ​เค็ม​เข้า​สู่​แหล่งน้ำ​จืดที่​จะ​ส่งผลเสียต่อการเกษตร​ ​และ​จาก​การที่น้ำ​ทะ​เลหนุน​จะ​ยัง​ทำ​ให้​เกิดน้ำ​ล้นตลิ่ง​และ​ท่วมบ้านเรือนอีก​ด้วย​

          ​สภาพอากาศรุนแรง​  เมื่ออุณหภูมิ​เฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น​ ​ภัยธรรมชาติต่างๆ​มี​แนวโน้มว่า​จะ​เกิดบ่อยครั้ง​ ​และ​รุนแรงมากยิ่งขึ้น​ ​เช่น​ ​ภัยแล้ง​ ​ไฟป่า​ ​พายุ​ไต้ฝุ่นโซนร้อน​ ​น้ำ​ท่วม​ ​และ​การพังทลายของชั้นดิน​ ​เป็น​ต้น​ ​ตัวอย่างที่​เห็น​ได้​ชัดของปรากฎการณ์​เหล่านี้​ ​ได้​แก่​ ​พายุ​ไซโคลนที่​เข้า​ถล่มรัฐโอริสสา​ ​ใน​ประ​เทศอินเดีย​ ​และ​คร่าชีวิต​ผู้​คนนับหมื่น​ใน​เดือนพฤศจิกายน​ ​พ​.​ศ​.2542 ​สภาวะคลื่น​ความ​ร้อน​ (Heat Wave) ​ใน​เดือนสิงหาคม​ ​พ​.​ศ​. 2542 ​ที่ทำ​ลายพืชผลการเกษตร​ใน​แถบตะวันออกเฉียงเหนือของประ​เทศสหรัฐอเมริกา​ ​และ​ทำ​ให้​มี​ผู้​เสียชีวิต​ 140 ​คน​ ​รวม​ทั้ง​ปรากฎการณ์น้ำ​ท่วม​ใหญ่​ใน​จีน​ ​ความ​แห้งแล้งรุนแรง​ใน​ซูดาน​ ​และ​เอธิ​โอเปีย​ ​ตลอดช่วงปี​ ​พ​.​ศ​. 2542-43 ​เป็น​ต้น​

          ​ปะการังฟอกสี​  สีสันที่สวยงามของปะการัง​นั้น​มา​จาก​สาหร่ายเซลล์​เดียวขนาด​เล็ก​ที่พึ่งพาอาศัย​อยู่​ใน​เนื้อเยื่อชั้น​ใน​ของปะการัง​ ​หากอุณหภูมิของน้ำ​ทะ​เลเพิ่มสูงขึ้น​ ​อัน​เนื่อง​มา​จาก​ภาวะ​โลกร้อน​ ​เพียง​ 2-3 ​องศา​เซลเซียส​ ​สาหร่าย​นั้น​จะ​ตายไป​ ​เมื่อปะการัง​ไม่​มีอาหาร​ ​ปะการังก็​จะ​ตาย​และ​กลาย​เป็น​สีขาว​ ​ปรากฎการณ์นี้​เรียกว่า​ ​ปะการังฟอกสี​ ​หรือ​การเปลี่ยนสีของปะการัง​   ​การศึกษาวิจัยที่สถาบันสมุทรศาสตร์​แห่งฟลอริด้า​ (Florida Institute of Oceanography) ​ระบุว่า​เกิดการฟอกสีของปะการังสูงสุด​ใน​ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา​ใน​ออสเตรเลีย​ ​จีน​ ​ญี่ปุ่น​ ​ปานามา​ ​ไทย​ ​มา​เลเซีย​ ​ฟิลิปปินส์​ ​อินเดีย​ ​อินโดนี​เซีย​ ​เคนยา​ ​ประ​เทศ​ใน​บริ​เวณทะ​เลแดง​ ​เปอโตริ​โก​ ​จา​ไมก้า​ ​โดย​เฉพาะ​ ​แนวปะการัง​ Great Barrier Reef ​นอกชายฝั่งออสเตรเลีย​ ​ซึ่ง​เป็น​แหล่งอาศัยของปะการังพันธุ์หายากที่​ใกล้​สูญพันธุ์​

          ​ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์​  ภัยธรรมชาติที่​เกิดขึ้นอย่างรุนแรง​ ​เช่น​ ​ภาวะน้ำ​ท่วม​ ​และ​คลื่นร้อน​ ​ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์​ทั้ง​ทางตรง​และ​ทางอ้อม​ ​เช่น​ ​อุณหภูมิที่สูงขึ้น​จะ​ทำ​ให้​ยุงลาย​ ​ซึ่ง​เป็น​พาหะนำ​ไข้มาลา​เรีย​และ​ไข้​เลือดออกขยายตัวเพิ่มขึ้น​ ​ส่งผล​ให้​มี​ผู้​ป่วย​ด้วย​โรคมาลา​เรียเพิ่มขึ้นประมาณ​ 50-80 ​ล้านคนต่อปี​ ​โดย​เฉพาะ​ใน​เขตศูนย์สูตร​และ​เขตร้อน​ ​เช่นเอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้​

          ​โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ​ ​ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​จะ​กระทบกระบวนการผลิตอาหาร​ ​สุขอนามัย​และ​ก่อ​ให้​เกิดปัญหาด้านสังคม​และ​เศรษฐกิจตามมา​ ​สิ่งเหล่านี้ก็​จะ​ยิ่งก่อ​ให้​เกิดปัญหาด้านสุขภาพที่​เกิดขึ้น​ใน​ประ​เทศเขตร้อนชื้น​ ​เช่น​ ​โรคท้องร่วง​ ​โรคขาดอาหาร​ ​โรคหอบหืด​และ​โรคภูมิ​แพ้​อื่นๆ​ ​ยิ่งไปกว่า​นั้น​อุณหภูมิที่สูงขึ้น​ ​จะ​ลดปริมาณน้ำ​สำ​รอง​ ​และ​เพิ่มปริมาณจุลชีพ​เล็กๆ​ ​ใน​อาหาร​และ​น้ำ​ ​ก่อ​ให้​เกิดโรค​ ​เช่น​ ​โรคอาหาร​เป็น​พิษ​

          ​ผลกระทบของภาวะ​โลกร้อนดังกล่าว​ ​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​เสียหายที่รุนแรง​ ​โดย​จะ​เกิด​กับ​กลุ่มประ​เทศกำ​ลังพัฒนาที่ยากจนรุนแรงมากที่สุด​ ​เนื่อง​จาก​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​โดย​เฉพาะ​เป็น​ประ​เทศเกษตรกรรม​ ​ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง​จาก​สภาพอากาศแปรปรวน​ ​และ​จะ​ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อปริมาณอาหารสำ​รอง​ ​และ​เศรษฐกิจ​โดย​รวมของประ​เทศที่​ต้อง​พึ่งพาการส่งออกสินค้าทางการเกษตร​เป็น​หลัก​ ​ประ​เทศไทยเองก็​เป็น​หนึ่ง​ใน​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนาที่​จะ​ได้​รับผลกระทบที่รุนแรง​จาก​การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเช่นเดียว​กัน​

          ผลกระทบต่อการเกษตร​และ​แหล่งน้ำ​  การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย​ ​ระบุว่า​ ​ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตร​ใน​ประ​เทศไทยสัมพันธ์​กับ​ปริมาณน้ำ​ ​ใน​ประ​เทศไทยมี​แนวโน้มว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​จะ​ทำ​ให้​ปริมาณน้ำ​ที่ใช้งานได้ลดลง​ (ประมาณ​ 5 - 10 ​เปอร์​เซ็นต์) ​ซึ่ง​จะ​มีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร​ ​โดย​เฉพาะข้าว​ ​ซึ่ง​เป็น​พืชเศรษฐกิจที่สำ​คัญ​ ​และ​ต้อง​อาศัยปริมาณน้ำ​ฝน​และ​แสงแดดที่​แน่นอน​ ​รวม​ถึง​ความ​ชื้นของดิน​และ​อุณหภูมิ​เฉลี่ยที่พอเหมาะ​ด้วย​

          ​สำ​หรับประ​เทศไทย​ ​ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อภาคการเกษตร​จะ​ไม่​รุนแรงมาก​ ​เพราะ​พื้นที่ชลประทาน​จะ​ได้​รับการป้อง​กัน​ ​แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ​และ​สังคมอาจ​จะ​รุนแรง​ใน​บริ​เวณที่ขาดน้ำ​อยู่​แล้ว​

          ​นอก​จาก​นี้​ ​ผลกระทบ​ยัง​อาจเกิดขึ้น​กับ​การทำ​ประมง​ ​เนื่อง​จาก​ ​แหล่งน้ำ​ที่​เคยอุดมสมบูรณ์ตลอด​ทั้ง​ปี​ ​เช่น​ ​แม่น้ำ​สาย​เล็กๆ​ ​ทะ​เลสาบ​ ​และ​ห้วยหนองคลองบึง​ ​อาจแห้งขอดลง​ใน​บางฤดูกาล​ ​ซึ่ง​จะ​ส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์​และ​การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ​ ​ซึ่ง​จะ​ทำ​ให้​จำ​นวน​และ​ความ​หลากหลายของชนิดของสัตว์น้ำ​ลดจำ​นวนลงอย่างมาก​ ​ตัวอย่างเช่น​ ​ความ​หลากหลายทางชีวภาพ​ ​และ​ความ​อุดมสมบูรณ์​ใน​แหล่งน้ำ​แถบลุ่มแม่น้ำ​โขง​ใน​ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ​จะ​ลดลงอย่างต่อ​เนื่อง​ ​หากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ​ยัง​คงดำ​เนินต่อไป
หมายเลขบันทึก: 114624เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2007 01:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
การชดเชยด้วยการจ่าย แต่ไมลดกการสร้างมลภาวะ ทางออกที่ดีของสารโตเกียวหรือนี่ ไปอ่านดูครับ http://www.thaingo.org/story/ox.htm จับตา ​รัฐบาลไทย​ ปลูกป่าขาย ​ออกซิ​เจน​

ปัญหาสภาพโลกร้อน​ ​ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง​ ​เกิดภาวะก๊าซเรือนกระจก​ ​สา​เหตุ​จาก​ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์​ (CO2) ​ซึ่ง​มา​จาก​เชื้อเพลิงฟอสซิล​ ​อาทิ​ ​ถ่านหิน​ ​น้ำ​มัน​ ​และ​ก๊าซมี​เทน​ ​ตลอดจนการตัดไม้ทำ​ลายป่า​โดย​การเผา​ ​และ​การทับถม​กัน​ของขยะ​ ​ของซากพืช​ ​ล้วนก่อ​ให้​เกิดก๊าซ​ ​ซึ่ง​ใน​ระยะ​ 20 ​ปีที่ผ่านมา​ ​ก๊าซ​ CO2 ​เพิ่มขึ้นร้อยละ​ 30 ​และ​ปัจจุบัน​ ​ปี​ 2548 ​มี​ CO2 ​สูงกว่าปี​ 2533 ​ถึง​ 12 ​เท่า​ ​และ​วิกฤติสิ่งแวดล้อมโลก​ได้​เปลี่ยนกระบวนทัศน์มนุษย์​ให้​เข้า​ใจ​อยู่​อย่างหนึ่งร่วม​กัน​ ​นั่นคือ​ ​โลกนี้​เป็น​โลกใบเดียว​กัน​ ​ดัง​นั้น​จึง​กระทบ​ทั่ว​ถึง​กัน

พลังงาน​ ​คือสา​เหตุสำ​คัญ​ ​ที่ทำ​ให้​เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​ใน​ขณะที่สัด​ส่วน​ของการ​ใช้​พลังงานกลับ​ไม่​เท่า​เทียม​ ​นั่นคือประ​เทศที่พัฒนา​แล้ว​ไม่​กี่ประ​เทศ​ ​ใช้​รวม​กัน​มาก​ถึง​ 68% ​อาทิ​ ​สหรัฐ​ 25% ​ยุ​โรป​ 21% ​ออสเตรเลีย​ 15% ​โซเวียต​ 12% ​และ​ ​เอเชีย​ 19%

​สนธิสัญญา​เกียวโต​จึง​พยายามแบ่งสัด​ส่วน​ความ​รับผิดชอบเพื่อ​ให้​เกิด​ความ​รับผิดชอบ​และ​เกิด​ความ​เป็น​ธรรม​ ​ตามปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

​นอก​จาก​นั้น​ ​ยัง​พยายาม​ค้น​หา​แนวทาง​ใหม่ๆ​ ​เช่น​ ​การ​ใช้​พลังงานทางเลือก​ ​ใน​กรณีที่ปรับเปลี่ยน​ได้​ ​และ​กรณีประกำ​ลังพัฒนา​ ​ที่​ยัง​ไม่​ลงทุนด้านพลังงาน​ ​ก็กระตุ้น​ให้​หันมา​ใช้​พลังงานสะอาด​ ​หรือ​พลังงานสี​เขียว​ ​หรือ​พลังงานที่​ให้​กำ​เนิดก๊าซคาร์บอนน้อยที่สุด​ ​อาทิ​ ​ก๊าซธรรมชาติ​ ​ปริมาณ​ 25 ​ล้านตัน​ ​ผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​เพียง​ 3 ​ล้านตัน​ ​แต่​ถ้า​ใช้​พลังงานหมุนเวียนสะอาด​ ​จะ​ผลิตคาร์บอน​หรือ​ CO2 ​เพียง​ 0.8 ​ล้านตัน​เท่า​นั้น

​เมื่อเปรียบเทียบ​กับ​อุณหภูมิของโลกที่ผ่านมา​ ​ใน​รอบ​ 1000 ​ปี​ ​จะ​พบว่า​ ​โลกเรามีอุณหภูมิสูงขึ้นหลาย​เท่า​ตัว​ ​และ​มีการคาดทำ​นายว่า​ ​อีก​ 100 ​ปี​ ​ข้างหน้า​ ​ถ้า​ไม่​มีการควบคุมปริมาณ​ CO2 ​จะ​ทำ​ให้​เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโลก​ ​และ​ “​ต้อง​ใช้​เวลา​เยียวยาอีกหลายร้อยปี​” ​ซึ่ง​ถ้า​อุณหภูมิสูงขึ้นเช่นนี้ทุกปีๆ​ ​เชื่อว่า​ ​อีก​ไม่​นาน​จะ​ไม่​มีสิ่งมีชีวิต​ใดๆ​ ​สามารถ​อยู่​รอด​ได้​บนโลก​ ​อีก​ทั้ง​จะ​เกิด​ ​พายุ​ ​ร้อนจัด​ ​แล้งจัด​ ​น้ำ​ท่วม​ ​สภาพภูมิอากาศ​ ​แปรปรวน​ ​พืช​ ​สัตว์ตาย​และ​สูญพันธุ์​ ​จนหมด

​หาก​ต้อง​การฟอกอากาศ​ ​ฟื้นฟูบรรยากาศโลก​ให้​สะอาด​ ​โดย​การปลูกป่า​ ​เชื่อว่า​ต้อง​ใช้​เวลา​ถึง​ 21 ​ปี​เพื่อที่​จะ​ย่อยสลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์​ ​และ​มาก​ถึง​ 70 ​ปี​ ​สำ​หรับก๊าซมี​เทน​ ​จึง​จะ​ฟอก​หรือ​ฟื้นฟูอากาศ​ ​ให้​ก๊าซพิษเหล่านี้หมดไป​จาก​โลก​

ปรากฏการณ์​ใน​ปัจจุบัน​ ​สิ่งที่พบคือ​ ​เริ่มกระทบ​กับ​ภาคการเกษตร​ ​กระทบ​กับ​ความ​หลากหลายทางชีวภาพ​ ​อาทิ​ ​ใน​เขตทุนดร้า​ ​กระทบ​กับ​ทรัพยากรน้ำ​ (น้ำ​ท่วม​ ​แล้งจัด) ​กระทบ​กับ​ป่า​ไม้ (ไฟป่า) กระทบ​กับ​ระบบสุขภาพของมนุษย์​ ​เชื้อโรคแข็งแรงมากขึ้น​ ​มี​โรคระบาด​ใหม่ๆ​ ​มากขึ้น​ ​และ​กระทบ​กับ​โครงสร้างพื้นฐาน​ใน​การดำ​รง​อยู่​ ​การตั้งถิ่นฐาน​และ​การจัดการทางสังคมของมนุษย์​ด้วย​ ​กรณีประ​เทศไทย​ ​สิ่งที่ชี้ชัดที่สุดคือ​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ได้​สูงขึ้นกว่า​เดิม​ถึง​ 50 ​ซม​. ​แถวบางขุนเทียน​ ​ทำ​ให้​เสา​ไฟฟ้า​ไปยืน​อยู่​กลางน้ำ​ ​มีผลทำ​ให้​กรุงเทพฯ​ ​เมืองที่รับน้ำ​หนักอาคาร​ ​อยู่​กว่ากว่าระดับน้ำ​ทะ​เล​ไม่​กี่ซม​.

​ปัญหาวิกฤติสิ่งแวดล้อมนี้​ ​ใน​เวทีประชาคมโลก​ ​ใน​นามสหประชาชาติ​ ​ได้​พยายามสร้างกลไกขึ้นมาหาทางแก้​ไขร่วม​กัน​ ​อาทิ​ ​พิธีสารเกียวโต​ (Kyoto Protocol) ​และ​ UNFCC ​ที่ว่า​ด้วย​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​ลดปริมาณก๊าซ​ (CDM : Clean Development Mechanism ) ​บทบังคับทางกฎหมาย​ ​สร้างกล​ไกล​ดก๊าซ​ ​อาทิ​ ​ถ่านหิน​ ​และ​สร้างพันธกิจรับผิดชอบร่วม​กัน

​แนวทางแก้​ไข​อื่นๆ​ ​ก็มีหลายข้อ​ ​อาทิ​ ​ลดขนาดเศรษฐกิจ​ ​อาทิ​ ​จำ​กัดปริมาณการค้า​ ​จำ​กัดเส้นทางการค้า​ ​เส้นทางมนุษย์​ ​นอก​จาก​นั้น​ ​ก็ลดขนาดอุตสาหกรรม​ ​เพื่อลดขนาดพลังงาน​ ​ซึ่ง​ด้านหนึ่งก็คือ​ ​เพิ่มขนาดออกซิ​เจน​ ​และ​ตาม​ด้วย​พัฒนา​เทคโนโลยีขนาด​เล็ก​ ​เทคโนโลยีสี​เขียว​ ​สร้างวัฒนธรรมทางสังคมแบบ​ใหม่​ ​ลดการบริ​โภค​ ​การเสพที่ฟุ่มเฟือยล้างผลาญ​ ​เป็น​ต้น​

ส่วน​บทบาท​ ​กลุ่ม​ G 77 ​กับ​ ​ประ​เทศด้อยพัฒนา​ ​ประมาณ​133 ​ประ​เทศ​ ​เปรียบเทียบ​แล้ว​ ​แทบ​ไม่​ได้​อะ​ไรเลยเกี่ยว​กับ​สำ​นึก​ความ​ผิดชอบ​ ​จาก​ประ​เทศร่ำ​รวยเหล่านี้​ ​ใน​ขณะที่​ ​พิธีสารเกียวโต​ ​ทำ​ได้​แค่ก่อ​ให้​เกิดสินค้าตัว​ใหม่​ขึ้น​ ​นั่นคือ “​ออกซิ​เจน​” ​เพื่อมาชดเชย “​คอร์บอนไดออกไซด์​” ที่ประ​เทศอุตสาหกรรม​ ​ไม่​กี่ประ​เทศ​ ​เลือกที่​จะ​จ่ายเงินชดเชย​ ​แทน “​ปริมาณออกซิ​เจน​” ​เพื่อแลก​กับ​การ “​ไม่​ลดปริมาณการ​ใช้​พลังงาน​” หรือ​ ​สิทธิพิ​เศษ​ใน​การปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ​ ​โดย​เฉพาะสหรัฐอเมริกา

​นับว่า​เป็น​กลไกบังคับ​ ​ที่ดู​แล้ว​มีหน้าตาอัปลักษณ์มากที่สุด​ ​ที่ประ​เทศเจริญ​แล้ว​เขา​คิด​กัน​ได้​ ​ทำ​ให้​ปัจจุบันประ​เทศ​ผู้​ผลิตควันพิษ​ ​ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ​ ​ยัง​มาก​อยู่​ ​แต่ก็มีหลายประ​เทศเริ่มหันมาลงทุน​ ​เช่น​ ​ญี่ปุ่น​ ​ซึ่ง​กำ​ลังเจรจาหาทางซื้อออกซิ​เจน​จาก​ประ​เทศด้อยพัฒนา​ ​อาทิ​ ​อินโดนี​เซีย​ ​พม่า​ ​ลาว​ ​และ​ไทย​ ​โดย​จ้าง​ให้​ปลูกป่าถาวร​ ​ซึ่ง​ถือว่า​เป็น​สัญญาร่วม​กัน​ของ​ 2 ​ประ​เทศ​ ​ใน​การซื้อขายก๊าซออกซิ​เจน (CDM : Clean Development Mechanism )

​ข้อดีคือการที่ประ​เทศพัฒนา​แล้ว​ ​ได้​เข้า​มา​ช่วย​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​ ​ลงทุน​และ​รักษาทรัพยากร​ ​พร้อม​ทั้ง​สร้างเทคโนโลยีด้านพลังงานที่สะอาดขึ้นมา​ใช้​ด้วย​ ​เพื่อ​ให้​บรรลุ​ถึง​ศักยภาพการพัฒนาที่ยั่งยืน

​เพียงแต่​ ​หากประ​เทศกำ​ลังพัฒนาพุ่งเป้าหมายที่​จะ​สร้างป่า​เพื่อที่ขายออกซิ​เจนฟอกปอด​ให้​มนุษย์​โลก (ที่ร่ำ​รวย) และ​หันไป​ใช้​พลังงาน​เล็กๆ​ ​แต่สะอาดต่อสิ่งแวดล้อมแทน​ ​แล้ว​ประ​เทศพัฒนา​แล้ว​หล่ะ​ ​ทำ​อะ​ไร​ ? ​ที่มากกว่าจ่ายเงินซื้อออกซิ​เจนราคาถูกๆ​

​นั่นคือ​ต้อง​จ่าย​ ​ค่า​เสียโอกาส​ใน​การพัฒนา​ ​และ​สร้าง​ความ​เข้มแข็ง​ ​ใน​ด้าน​ความ​ร่วมมือ​อื่นๆ​ ​เพื่อ​ให้​โลกก้าวไปสู่​ความ​ยั่งยืน​และ​ให้​มนุษยชาติ​ได้​ไกล่​เกลี่ยทรัพยากร​ ​เพื่อยกระดับสังคมไปสู่สังคมที่มี​ความ​เป็น​ธรรม​ด้วย

​แนวคิดการเพิ่มพื้นที่ป่า​ ​เพื่อดูดซับ​ CO2 ​นั้น​ ​จำ​แนกพื้นที่​ ​ได้​ 2 ​ประ​เภท​ ​คือ​ ​พื้นที่ที่​ไม่​ใช่​ป่า​ ​คือพื้นที่ว่างเปล่า​ ​และ​พื้นที่ที่​เป็น​ป่าถูกทำ​ลาย​ ​เมื่อหาพื้นที่​ได้​ตาม​ต้อง​การ​แล้ว​ ​ก็​จะ​คำ​นวณปริมาณออกซิ​เจน​จาก​ชนิดของป่า​หรือ​พันธุ์​ไม้​ ​ที่​สามารถ​ผลิตอากาศ​ ​หรือ​อกซิ​เจน​ได้​ ​แล้ว​คำ​นวณออกมา​เป็น​ราคา​

​ประ​เด็นสำ​คัญคือ​ ​ประ​เทศไทยมี​ความ​สนใจที่​จะ​ให้​เช่าพื้นที่ปลูกป่า​เพื่อกักเก็บอากาศ​ ​ซึ่ง​เชื่อว่า​ “​ถ้า​มี​แผนการจัดการที่ดี​ ​และ​เปิด​ให้​ประชาชน​ได้​มี​ส่วน​ร่วมเสนอแนะรับฟัง​” ​ก็นับว่า​ ​การปลูกป่าขายอากาศอาจ​จะ​เป็น​แนวทางหนึ่ง​ ​ที่น่าสนใจ​ ​แต่​โครงการนี้​
หนึ่ง​ ​ต้อง​ไม่​บุกรุป่าสมบูรณ์​ ​และ ​สอง ​ประชาชน​ต้อง​มีสิทธิทำ​กิน​ใช้​สอยประ​โยชน์​จาก​ป่าปลูก​ได้​ด้วย​ ​อย่า​ให้​คนจนที่​อยู่​กับ​ป่า​ ​ทำ​หน้าที่​ ​ทำ​ภารกิจ​ ​ผลิตอากาศ​ให้​คนเมือง​ ​คนรวย​และ​คนชั้นกลาง​ ​ได้​รับผลประ​โยชน์ฝ่ายเดียว​

​การที่​เมืองสร้างปริมาณคาร์บอนทำ​ลายอากาศมาก​ ​แล้ว​ให้​ชนบทผลิตอากาศทดแทน​ ​กำ​ลัง​เป็น​วงจรพันธกิจ​ ​แบบพึ่งพา​เสมือนประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​ใน​ปัจจุบัน​ซึ่ง​ไม่​เป็น​ธรรม​ ​เพราะ​เงื่อนไขพิธีสารนี้​ ​เช่น​ ​ถ้า​ญี่ปุ่นผลิต​ CDM ​หรือ​ออกซิ​เจน​ได้​มาก​ ​ก็​จะ​สามารถ​ผลิตคาร์บอนไดออกไซด์​ ​ทำ​ลายชั้นบรรยากาศ​ได้​มาก​ ​ซึ่ง​ก็คือปล่อยก๊าซพิษ​ได้​มากนั่นเอง​ ​เงื่อนไขนี้ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​หรือ​ประ​เทศยากจน​ ​มีหน้าที่​เพียงทำ​ความ​สะอาดโลก​ ​ขายอากาศราคาถูกๆ​ ​แล้ว​ก็ซื้อของแพงๆ​ ​จาก​ประ​เทศพัฒนา​แล้ว

​ส่วน​ CDM ​ปลูก​จะ​ที่​ไหนก็​ได้​ ​เพียงแค่ผ่านภาครัฐ​ใน​ประ​เทศ​นั้นๆ​ ​รับรู้​ ​เพียงแต่​ต้อง​ปลูก​ใน​พื้นที่​ใหม่​ ​เอาผืนป่า​เดิม​ไม่​ได้

แม้​แต่ราคาอากาศที่คาดว่า​จะ​มีการลงทุนซื้อ​ ​คือ​ 30 ​เหรียญ​ / 1 ​ตันคาร์บอน​ ​เท่า​นั้น​ ​โดย​ที่​ผู้​ผลิตอากาศ​ ​คือประ​เทศที่มีพื้นที่ปลูกป่า​ ​เช่น​ ​ประ​เทศไทย​ ​ใน​ส่วน​ประชาชน​ยัง​ไม่​ได้​รับรู้​และ​มี​ส่วน​ร่วมกำ​หนดเงื่อนไขตลอดจนราคา​แต่อย่าง​ใด​

​ดัง​นั้น​ ​พิธีสารนี้​ ​จะ​ดี​หรือ​ไม่​ก็​แล้ว​แต่​ ​ด้านหนึ่งก็นับว่า​ยัง​เห็น​ ​ประ​เทศที่รวย​แล้ว​ ​พยายาม​จะ​แสดงสำ​นึก​ ​มี​ส่วน​ร่วม​ความ​รับผิดชอบปัญหาสิ่งแวดล้อม​ ​แต่คำ​ถาม​ถึง​ด้าน​อื่นๆ​ ​คือ​ ​ประ​เทศที่ผลิตคาร์บอนออกไซด์มาก​เป็น​อันดับหนึ่งของโลก​ ​เช่น​ ​สหรัฐอเมริกา​ ​ทำ​ไม​ไม่​ยอมลงนามพิธีสารเกียวโต​ ​และ​ไม่​ปฏิบัติตามสนธิสัญญานี้​ ​และ​ ​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​ซึ่ง​เสียสละ​โอกาสตัวเอง​ ​เก็บพื้นที่ปลูกป่า​โดย​คิดแค่ค่าอากาศ​ ​ได้​รับสิทธิประ​โยชน์อะ​ไรบ้าง​ ​และ​ ​ประ​เทศพัฒนา​แล้ว​จะ​จำ​กัด​หรือ​ลดปริมาณการ​ใช้​พลังงานของตนเอง​ได้​อย่างไร

​งานนี้รัฐบาลไทย​นั้น “​แอบ​” ​สนใจที่​จะ​ผลิตอากาศขาย​ให้​ญี่ปุ่น​ ​โดย​อาจ​จะ​เลือกพื้นที่ที่จังหวัดยะลา​และ​นครราชสีมา​ ​ซึ่ง​ที่นครราชสีมามีการคาดว่า​ ​รัฐบาลอาจ​จะ​กัน​พื้นที่มาก​ถึง​ 400,000 ​ไร่​ ​เพื่อปลูกป่าขายอากาศ​ ​ซึ่ง​คาดว่าหาก​เป็น​ป่ายูคาร์ลิปตัส​ 550 ​ไร่​ ​จะ​ได้​ออกซิ​เจน​ 8,000 ​ตัน​ / ​ปี​

​กรณี​ไทย​ ​คำ​ถามที่รัฐบาล​ต้อง​ตอบ​ ​คือ​ ​ลักษณะของพื้นที่ที่​จะ​นำ​ไปปลูก​ ​ลักษณะของที่ดิน​ ​ลักษณะของพันธุ์พืช​ ​และ​เงื่อนไขที่ตกลง​ ​ตลอดจนระบบกรรมสิทธิ์​เหนือที่ดินทำ​กิน​ ​ที่ประชาชน​ใช้​ทำ​มาหากิน​อยู่​ ​รัฐบาล​จะ​จัดการอย่างไร​ ​และ​ทั้ง​หมดมีการศึกษา​ถึง​ความ​เหมาะสม​หรือ​ยัง​

​ที่สำ​คัญ “​ถามประชาชนเจ้าของประ​เทศ​ด้วย​ ?” . . .


อัฎธิชัย​ ​ศิริ​เทศ​
ทีมงาน​ ThaiNGO ​รายงาน

26 ​กัน​ยายน​ 2548

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท