แหล่งสารสนเทศกับการผลิตเอกสารวิชาการ


เมื่อจะผลิตเอกสารวิชาการ แหล่งข้อมูลหนึ่งที่ท่านจะไป....คือ

คงมีหลายคำตอบที่ท่านเลือก เช่น Google,  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหนึ่งในนั้นคงเป็น ห้องสมุด...ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากห้องสมุดมีสารสนเทศที่หลากหลาย

ก่อนที่นักวิชาการจะไปใช้แหล่งสารสนเทศใดๆ ท่านควรทำความรู้จักกับลักษณะและขอบเขตของสารสนเทศที่แหล่งเหล่านั้นให้บริการก่อนจะทำให้ท่านไม่เสียเวลา เช่น

  • การค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เป็นที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสะดวกรวดเร็ว ทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลถึงเวลาเปืด-ปิดของการให้บริการ แต่สิ่งทีควรคำนึงอย่างมาก คือ ข้อมูลบนอินเทอร์นั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ต้องพิจารณากลั่นกรอง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นต้องทราบว่าเว็บไซต์ใดให้ข้อมูลอย่างไร ต้องรู้จักการจำกัดผลการสืบค้นข้อมูลให้แคบลง เพื่อให้ผลการสืบค้นมีความเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เช่น การใช้การเชื่อมคำค้น 2 คำด้วยเครื่องหมาย + ในการค้นข้อมูลจาก Google มีความหมายในการเชื่อมคำเหมือนคำว่า and จะทำให้ข้อมูลแคบลง หรือการเชื่อมคำ 2 คำด้วยเครื่องหมาย - หมายความว่า google จะไม่ค้นคำตามหลังเครื่องหมาย - ได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับคำว่า not
  • ารค้นข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรทราบลักษณะการให้บริการและขอบเขตข้อมูลของหน่วยงาน องค์ก่อนนั้นๆ เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การสึกษาแต่ละเขตนั้น สามารถให้สารสนเทศเกี่ยวกับจำนวนนักเรียน จำนวนครู จำนวนโรงเรียน เป็นต้น แต่อาจไม่มีข้อมูลงบประมาณที่สมบูรณ์ในรายโรงเรียนก็เป็นได้
  • ห้องสมุดต่างๆ ท่านที่ผู้ใช้ควรทราบบริการของห้องสมุดแต่ละแห่งด้วย บางแห่งไม่ให้บริการบุคคลภายนอก ให้บริการเฉพาะสมาชิกเท่านั้น บางแห่งต้องมีค่าธรรมเนียมในการเข้าใช้บริการ เช่น ห้องสมุดสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ควรทราบถึงขอบเขตการให้บริการด้วย รวมถึงลักษณะทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการด้วย เช่น ห้องสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นอนุญาตให้บุคลภายนอกใช้อ่านบริการสิ่งพิมพ์ได้ แต่ไม่สามารถใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และ Electronic Database ได้ มีหลายครั้งที่อาจารย์มาจากต่างจังหวัดแล้วต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรระดับประถม-มัธยม +ผลงานวิทยฐานะที่ผ่านการพิจารณาแล้ว มาใช้บริการที่สำนักวิทยบริการ มข. พบจำนวนน้อย รู้สึกถึงการเสียเวลา เพราะคาดหวังว่าน่าจะมีสารสนเทศมากกว่านี้ จึงต้องชี้แจงให้ท่านอาจารย์เข้าใจว่า ห้องสมุดนี้เป็นห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่จัดบริการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยในมหาวิทยาลัย จึงอาจไม่มีสารสนเทศอื่นๆ ที่ต้องการ 

ตัวอย่างที่เล่ามานั้นก็คงสรุปได้ว่า หากจะใช้บริการแหล่งสารสนเทศใด  ในฐานะผู้ใช้ควรหาข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งสารสนเทศนั้นๆ มาก่อน อาจจะใช้การค้นแวะชมเว็บไซต์ หรือการโทรศัพท์สอบถ่มก่อน จะช่วยให้เลือกแหล่งสารสนเทศได้ตรงกับความต้องการข้อมูลมาสนับสนุนการผลิตผลงานวิชาการได้

และก่อนที่นักวิชาการจะไปค้นหาสารสนเทศมาใช้ในการผลิตผลงานวิชาการ ควรมีการประเมินตนเองก่อนว่า สารสนเทศที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันเพียงพอแล้วหรือยัง ข้อมูลที่นักวิชาการควรพิจารณา ได้แก่

  • ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรหรือในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลหรือสถิติที่เกิดจากสภาพปัจจุบัน
  • ข้อมูลหรือสถิติย้อนหลัง
  • ข้อมูลในเชิงหลักการ หรือทฤษฎี
  • ข้อมูลการวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้แหล่งสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังมีแหล่งข้อมูลประเภทบุคคลอีกนะคะ...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 113297เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2007 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ค้นหาเรื่องการผลิตเอกสาร

ค้นหาเกี่ยวกับการสื่อสารและการร่าง-โต้ตอบจดหมาย

สวัสดีค่ะ คุณฎารุณี จันทร์หอม

เสียดายที่ไม่ได้ login ด้วยชื่อนะคะ เลยตอบทาง Mail ไม่ได้ ค้นด้วยหัวเรื่อง กำหนดคำค้นด้วยคำว่า "หนังสือราชการ -- การเขียน" เช่น ในฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรมของห้องสมุด มข. พบรายการหที่เกี่ยวข้องดังนี้

 - การเขียนหนังสือติดต่อราชการ. 2540. เรียบเรียงโดย ประวีณ ณ นคร ประวีณ ณ นคร

- การเขียนหนังสือติดต่อราชการ : บทเรียนด้วยตนเองสำหรับข้าราชการทุกระดับ. 2531. เรียบเรียงโดย ประวีณ ณ นคร

- เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม. 2550. นภาลัย สุวรรณธาดา, อดุล จันทรศักดิ์, กิจคณิตพงศ์ อินทอง

- การจัดทำหนังสือราชการ. 2545. โดย ประภารัตน์ เค้าสิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท