ความเดิม ตอนที่แล้ว


โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิในจังหวัดนำร่อง ตอนที่ 3

                 ห่างหายจากการเขียนบันทึกไป ซะหลายวัน เรียกได้ว่า เกือบ สองอาทิตย์ เลยก็ว่าได้ ก็ตามเคยคะ ติดประชุม แล้วก็ ต้องออกพื้นที่ ด้วย ก็เลยไม่ค่อยได้มีเวลานั่งอยู่ที่สำนักงาน สักเท่าไหร่ ว่าไปแล้ววันนี้ เรื่องราว ที่จะนำมาเขียนก็คงเป็น บันทึก เก็บตกจากการประชุม โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิในจังหวัดนำร่อง ครั้งที่ 3 ในครั้งนี้จัดที่โรงแรม รอเยิลริเวอร์ ไม่ใกล้ ไม่ไกล จากสายใต้ คะ การเดินทางเลยสะดวก ว่าไปแล้ว คราวนี้ จังหวัดระนองไปเกินโควต้าคะ ทั้ง-ทั้งที่ระดับ คปสอ. เราก็ไปจำนวนเท่าเดิม โดยประกอบด้วย ส่วนของสำนักงานสาธารณสุขและสถานีอนามัย 6 คน ทางโรงพยาบาลกะเปอร์ ก็มีการเปลี่ยนแปลง ผู้เข้าประชุม และเพิ่มจำนวน มาหนึ่งท่าน ที่เพิ่มเติม คือคุณ วิมลศรี ตะโฉ และ เปลี่ยนจากคุณขนิษฐา นาคแก้ว เป็นคุณ นัสรียา สือมะ ก็เป็นไปตามที่ทางคณะวิทยากรแซวว่า คณะทำงาน จะเปลี่ยนไปเรื่อย-เรื่อย แล้วก็เป็นเช่นนั้น จริง-จริง

                   ในการประชุม ครั้งนี้ (ตั้งแต่วันที่ 10-12 กรกฎาคม 2550 ) ในวันแรก จะเป็นการทบทวน ความเดิม ตอนที่แล้ว (โครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิในจังหวัดนำร่อง ตอนที่ 2 ) เพื่อให้ลดอาการมึนงง และสอบถามถึงการบ้าน จากการประชุมครั้งแล้วว่าดำเนินการ ไปถึงระดับไหน คราวนี้ ก็ส่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายแพทย์ วลพ ศุภวณิช ไปรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน ของ คปสอ.กะเปอร์ โดยรายงานแบบ ถล่มตัว (อิอิ) ว่ามีความคืบหน้าประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ..... ตั้งแต่นั้นมา ก็ โดน อาจารย์ แซว เวลาทำ Workshop มาโดยตลอด ประมาณว่า " อืม..พวก ยี่สิบเปอร์เซ็นต์นี่เห็นที่ต้องเร่ง แล้วนะ "  ก็ต้องน้อมรับคะ  

                  เนื้อหาโดยทั่วไปของการอบรมครั้งนี้ก็จะเป็นการนำ ข้อมูลจากการ ประเมินตนเองโดยใช้ เครื่องมือ PMQA มาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยเน้นการทำ Workshop เริ่มต้นจากการทบทวนผลงานในอดีต ทบทวนสภาพปัจจัยภายนอกทบทวนสภาพภายปัจจัยใน และเชื่มโยงไปสู่การคาดการณ์อนาคตและกำหนดความท้าทายเชิงกลยุทธ์ รวมถึงการทำ Workshop : Balanced  Scorecard และในวันสุดท้าย ก็เป็นลักษณะการพูดคุยในรูปแบบการ บรรยาย : มาตรฐานคุณภาพ หน่วยบริการปฐมภูมิ

 

บรรยากาศในการทำ Workshop

                   และพยายามตั้งข้อสังเกต ในส่วนของ คปสอ. อื่นๆ ที่ดำเนินการจัดทำ แบบประเมินตนเองโดยใช้ PMQA เสร็จสิ้นนั้น มีกระบวนการอย่างไร ได้โอกาส ช่วงพักเบรก ก็ ทำการเข้าไปสอบถาม ถึงกลวิธี ในการดำเนินงาน และลองนำมาเปรียบเทียบ กับการดำเนินงานที่มีอยู๋ เดิมของเรา พบว่า จุดสำคัญ คงอยู่ตรงที่ การประชุม หลังจากกลับมา จากการประชุมครั้งที่สอง ที่ตั้งแผนไว้ว่า จะต้องดำเนินการ ช่วงบ่ายสอง ของทุกวัน แต่แล้ว คณะ ทำงานก็ติดภาระกิจ นู้น-นี้ มากมาย สุดท้าย ก็ไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่วางไว้

                 ผู้เขียนจึง ลองขอคำแนะนำ จากท่านสาธารณสุขอำเภอ (ประธานคปสอ.) ถึงการหาเวลานอก เวลางาน เพื่อเร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จ ก่อนการประชุมครั้งต่อไปทีจะจัดขึ้นในวันที่ 6-8 สิงหาคม 2550 จึงได้จัดทำโครงการเพื่อเสนอนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่ออนุมัติ โครงการ ให้แล้วเสร็จ ภายในอาทิตย์นี้ และ ก็เป็นจริงได้ตามนั้น คะ ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขอบคุณ หัวหน้าฝ่ายยุทธศาตร์ สสจ.ระนอง ที่ช่วยเหลืออำนวยการ เป็นอย่างดี จนโครงการแล้วเสร็จ พร้อมที่จะ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ  (ตามโครงการ) นอกสถานที่ นอกเวลาราชการ โดยจัดขึ้นในวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2550 ที่ สามแหลม-รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ในการประชุมครั้งมีที่ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 ท่าน ตามคณะทำงาน (คำสั่งคปสอ.กะเปอร์ที่ 6/2550) เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ โดยแบ่งเป็นคณะทำงานทั้ง เจ็ดหมวด ในการรับผิดชอบตามบทบาทและภาระงานของแต่ละบุคคล

เก็บภาพบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยายามเช้ามาฝากกันคะ

สาม-หนุ่ม สาม-มุม

เก็บภาพกับหัวหน้า ซะหน่อย !!

คุณสิริพร QRT คนเก่ง อีกหนึ่งท่านของกะเปอร์คะ

นางสาว ท้างสามคนเลยคะ อิอิ

 

 

หมายเลขบันทึก: 112628เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อั้ม คุณนายสุดฤทธิ์

มิรู้จะออก คคห ว่าอย่างไร เป็นกำลังใจให้เพื่อนสุ้งานละกันจ้ะ

  • สวัสดีคะ เพื่อนอั้ม
  • แวะมาเก็บกำลังใจที่เพื่อน มามอบให้
  • ขอบใจหลาย-หลาย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท