งานวิจัยสู่งานประจำ(3)


การพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย

งานวิจัยสู่งานประจำ 

                       ผมจะขอนำเสนอสรุปผลการวิจัยต่อจากตอนที่2 ที่มีการพูดถึงสภาพปัญหาของเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย ตำบลยางสูง อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร    สำหรับตอนที่3นี้เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกส้มของเกษตรกรผู้ปลูกส้มรายย่อย  โดยการสนทนากลุ่ม(Focus Group Discussion )และทำSWOT   ได้ดำเนินการศึกษาสภาพแวดล้อมภายใน และสภาพแวดล้อมภายนอก(SWOT Analysis)

แล้วได้ทำการวิเคราะห์ตาราง สวอท (SWOT Matrix ) ได้เทคโนโลยีการปลูกส้มแต่ละด้าน ดังนี้

                    เทคโนโลยีด้านการเตรียมพันธุ์ส้มมีดังนี้ 

(1)     ศึกษาพันธุ์ส้มที่เกษตรกรปลูกพบอาการของโรคกรินนิ่ง  โรคโคนเน่า-รากเน่า หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบรากไม่แข็งแรงและยอดไม่ขยาย

ทีมนักวิจัยร่วมกันสรุปส้มมีปัญหาระบบรากไม่แข็งแรง

 

ทีมนักวิจัยได้ข้อสรุปปัญหาที่รากกระทบต่อกิ่งก้านใบ
  

(2)     คัดเลือกพันธุ์ส้มพันธุ์ดี   จากแหล่งพันธุ์ส้มที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อทำการผลิตส้มที่ปลอดโรค

ทีมวิจัยศึกษาแปลงพันธุ์ส้มปลอดโรคในท้องถิ่น

 

(3)     การควบคุมต้นส้มพันธุ์ดี  ปลอดโรค ที่นำมาปลูกในแปลงของเกษตรกรและพัฒนาวิธีการขยายกิ่งพันธุ์ส้มที่ปลอดโรค โดยการนำกิ่งพันธุ์มาจากต้นส้มที่สมบูรณ์

ทีมวิจัยได้ข้อสรุปว่าหากมีการคัดพันธุ์ดีมาปลูกส่งผลที่ดีต่อต้นส้ม

  

(4)     จัดทำแปลงศึกษา วิจัยพันธุ์ส้มที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ร่วมกัน ระหว่างเกษตรกร-นักวิจัย-นักส่งเสริมการเกษตร

ทีมวิจัยได้ข้อสรุปร่วมกันจะต้องทำPARวงที่2ต่อไป

  

(5)     ศึกษาดูงานแปลงส้มปลอดโรคและแปลงส้มที่ประสบผลสำเร็จในการใช้พันธุ์ติดตาส้มปลอดโรค เพื่อนำวิธีการมาขยายพันธุ์ในแปลงของตนเองและเป็นการปรับปรุงพันธุ์ส้ม

ทีมวิจัยศึกษาต้นส้มที่มาจากกิ่งปลอดโรค

  

(6)     ทำการขุดแล้วเผา ทำลายต้นส้มที่พบอาการเป็นโรคกรินนิ่ง โรคโคนเน่า-รากเน่า ที่เกิดขึ้นในแปลงส้มของเกษตรกรเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงศัตรูส้ม

ทีมวิจัยได้ข้อสรุปในการพัฒนาเทคโนโลยีการขยายกิ่งพันธุ์

                      ข้อสรุปเทคโนโลยีด้านการเตรียมพันธุ์ส้ม  คือ การพัฒนาวิธีการขยายกิ่งพันธุ์ส้มที่ปลอดโรค โดยการนำกิ่งพันธุ์มาจากต้นที่สมบูรณ์และพัฒนาวิธีการคัดเลือกกิ่งพันธุ์ส้มและวิธีการปักชำกิ่งพันธุ์ส้มให้ปลอดโรคได้อย่างสมบูรณ์

(โปรดติดตามอ่านตอนต่อไป)

                           

หมายเลขบันทึก: 112571เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2007 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สวัสดีครับหนุมร้อยเกาะ ขอขอบคุณครับผม ที่ให้กำลังใจ แก่คนใจเดียวกันสร้างสรรค์และพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร สู่ความเป็นเลิศในอนาคตนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท