โครงการ Intelligent Organization Coaching Service กับ ม.อ.


เป็นหลายมุมที่คิดกลับไปกลับมาเพื่อความรอบคอบ

เมื่อต้นเดือนก่อนได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการกับ สคส.เรื่อง "องค์กรอัจฉริยะ"  ในรายการ สคส.นำเสนอโปรแกรมเพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ "Intelligent Organization Coaching Service" 
      ที่ ม.อ. โดยการนำของ CKO สนใจโครงการนี้และได้ไปเข้าร่วมประชุมครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550  กลับมาตั้งหลักคิดกันว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด มี 2 มุมในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้
          น่าจะเลือกคณะที่มีขนาดพอควรเข้าร่วมโครงการเป็นคณะนำร่องที่จะเดินตามกระบวนการ Coaching  ได้อย่างไม่อืดอาดนักเนื่องจากองค์กรของเราเป็นองค์กรใหญ่ .... เป็นพันธะสัญญาเพียงปีเดียวว่าเขาต้องเป็นคณะนำร่องในการทำ....แล้วจบกันเขาก็พึงรักษาสถานะและบรรยากาศในองค์กรให้คงอยู่เองข้อดีคือ....ได้คณะที่มุ่งมั่นทำจริง...เห็นผลเกิดการ "อิน" ในการทำงานให้คณะตัวเอง...สำเร็จ...อาจไม่ส่งผลหรือสะท้อนไปยังคณะ..หน่วยงานอื่นๆ
          มุมหนึ่งที่มองคือ...จัดคนกลาง...ใครก็ได้ไม่สังกัดคณะจากคณะอาจเป็นกรรมการ KM  ตรงกลางที่มุ่งมั่นรวมทีมกันไปเรียนรู้กระบวนการ...เลือกคณะใดก็ได้มานำร่องใช้คณะนั้นเป็นกรณีศึกษาทำใน 1 ปี แล้วกลับมาทำหน้าที่ Coaching คณะหน่วยงานอื่นๆในมหาวิทยาลัย...ดิฉั้นเชียร์แบบหลังนี้น่าจะคุ้มกว่าในแง่การลงทุน...และการมาขยับขบวนทัพภายใน....เพราะเชื่อว่าหากคณะใดคณะหนึ่งไปนำร่องแล้ว...เราไม่สามารถบังคับให้เขาทำหน้าที่ Coaching ต่อหน่วยงานอื่นต่อแน่นอน เท่ากับต้นทุนที่ลงทุนไปจะเกิดดอกออกผลอยู่ที่คณะ หน่วยงานเดียว
          วันศุกร์นี้ บ่ายเรานัดคุยกันอีกที โดยเชิญคณะที่เราเห็นว่ามีต้นทุนเดิมในการเดินในเส้นทางสายนี้มาร่วมคุย....ร่วมเป็นหน่วยงานนำร่อง  อีกมุมดิฉั้นก็มองว่า....อาจเป็นโอกาสของหน่วยงานที่ไม่มีต้นทุนเดิมในการพลิกบรรยากาศการทำงานพลิกสมรรถนะองค์กร ให้ดีขึ้น...
เป็นหลายมุมที่คิดกลับไปกลับมาเพื่อความรอบคอบ


 

หมายเลขบันทึก: 112294เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2007 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แวะมาทักทายครับ
  • เยี่ยมมากเลยครับ IO
  • ขอเรียนรู้ผ่านบล็อกต่อไปนะครับ

สวัสดีค่ะ

P

ตามที่อ่านนะคะ ตรงนี้ดีที่สุดค่ะ เห็นอย่างเดียวกันค่ะ

...จัดคนกลาง...ใครก็ได้ไม่สังกัดคณะจากคณะอาจเป็นกรรมการ KM  ตรงกลางที่มุ่งมั่นรวมทีมกันไปเรียนรู้กระบวนการ...เลือกคณะใดก็ได้มานำร่องใช้คณะนั้นเป็นกรณีศึกษาทำใน 1 ปี แล้วกลับมาทำหน้าที่ Coaching คณะหน่วยงานอื่นๆในมหาวิทยาลัย

มีคนประสานงานเป็นคุณเมตตาซะอย่าง รับรองคุ้มค่าการลงทุนแน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน ไม่ได้ยอนะคะ เชื่ออย่างนั้นจริงๆ แต่สงสัยว่าคนที่จะมารับบทบาทนี้นั้น หน้าที่เดิมจริงๆของเขาควรจะเป็นอะไรคะ อ่านแล้วยังนึกไม่ออกว่า ใครจะมีอิทธิพลขนาดสามารถไป coach คนอื่นได้ แม้ว่าจะไปผ่านการเรียนรู้กระบวนการมาแล้วก็ตาม ถ้าเป็นทีมก็ต้องเป็นทีมที่เป็นกลางแต่คนมีความเชื่อมั่นศรัทธา ใช่ไหมคะ เฮอ....เอาใจช่วยนะคะ ฟังดูเป็นภาระมหึมาจัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท