มหกรรม KM ภาคการศึกษา โครงการ EdKM ครั้งที่ 1 : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนที่ 2


ตอนที่ 2

ตอนที่ 1

          (ต่อจากตอนที่ 1)

           KM  เพื่อสังคมฐานความรู้  คือ  สังคมที่มีความรู้เป็นฐาน  ความรู้ที่เหมาะสมและใช้ประโยชน์ได้จริง  สังคมที่อุดมไปด้วยปัญญา   เป็นสังคมที่สามารถเข้าถึงความจริงได้  ปัจจุบันสังคมเราเข้าไม่ถึงความจริง  เพราะเราติดมายา  เงินทองเป็นของมายา  ข้าวปลาคือของจริง  เงินกินไม่ได้  เป็นของสมมติที่ใช้แทนสิ่งของได้   เราต้องใช้ของสมมติให้เป็นของสมมติ  แต่อย่าไปยึดติดกับมัน  เหมือนกับการมีตำแหน่ง  ต้องใช้และใช้โดยมีสติว่า  มันคือสิ่งสมมติ 

          นอกจากนั้น  คุณเดชา  ยังได้สรุปอีกด้วยว่า  
          - การเข้าใจ  KM  อย่างเดียว  ไม่ใช่การเรียนรู้ 
          - KM  ต้องลงมือทำเองเท่านั้น
          - KM  เป็นทักษะ  จึงต้องฝึกปฏิบัติและลงมือทำ 
          - KM  จะช่วยให้เราไปถึงสังคมอุดมปัญญาได้
         
- KM  ช่วยจัดตำแหน่งความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน  เหมือนเป็นฐานราก  ตัวอาคารเป็นส่วนต่อยอด  KM  ซึ่งปัญหาการศึกษาไทย  เกิดจากการที่เราไม่ได้เอาความรู้ในตัวคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบโรงเรียนมาสร้างเป็นฐานราก  เราเน้นแต่ความรู้จากตำราอย่างเดียว  เราไม่มีรากฐาน  แต่เรามียอดมากมาย  เพราะเราไม่ได้สร้างฐานจริง  ไม่ได้สร้างเสาเข็ม ไม่ได้ทำคานให้แน่น  ยอดตึกสูงแค่ไหน  ก็ล้มแน่นอน  ฉะนั้น  หากเราต้องการสร้างตึกให้สูงเท่าไร  ฐานรากต้องแน่นมากขึ้นเท่านั้น
          - KM  จะต้องทำให้เกิดจิตสำนึกใหม่  ต้องทำให้เกิดกระบวนทัศน์ใหม่    
          ไอน์สไตน์  กล่าวไว้ว่า  “โลกอนาคตจะอยู่ไม่รอด  ถ้าคนไม่เปลี่ยนจิตสำนึก และกระบวนทัศน์ใหม่”  
          คนในยุคปัจจุบันมีจิตสำนึกกระบวนทัศน์ที่แยกส่วน    ต้องสร้างจิตสำนึกและกระบวนทัศน์ใหม่ของคนให้ได้  จะทำให้นำไปสู่การเปลี่ยนวิธีการและวิถีชีวิตได้
          - KM  จะช่วยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์
         
การเปลี่ยนกระบวนทัศน์มี  2   องค์ประกอบ  (อ้างจาก  จรรยา  จิตสงวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)  คือ
         1. ต้องมีกระบวนการเรียนรู้  ลงมือทำ  เรียนรู้จากการกระทำนั้น
         2. ต้องมีกระบวนการกลุ่ม
         เมื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ได้  จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง

         ในช่วงท้ายของการปาฐกถาพิเศษ  คุณเดชา  ได้เล่าประสบการณ์การเรียนรู้แบบกลุ่มของ โรงเรียนชาวนา  จังหวัดสุพรรณบุรี  พร้อมทั้งสรุปย้ำว่า  วงการศึกษาจะนำวิธีการของโรงเรียนชาวนาไปใช้ ต้องไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม   

          ส่วนการเสวนาและห้องย่อย  เน้นการนำเสนอ  Best  Practice  ของการประยุกต์ใช้  KM   ในแต่ละเรื่องตาม  Theme  ของห้องย่อยเพื่อพัฒนาการทำงานและการเรียนการสอนของ สพท.  และสถานศึกษาที่เข้าร่วม  โครงการ EdKM  ในประเด็นต่างๆ  ดังนี้ 
         - ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน KM  เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรการศึกษา 
         - KM  เพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการขององค์กร 
         - KM  เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน  
         -  KM เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรในการจัดการเรียนรู้
         - KM  เพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ 
         - KM เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 
         - KM และการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  
         - KM เพื่อส่งเสริมและพัฒนาด้านการอ่านของผู้เรียน  
         - KM สู่งานสนับสนุนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพองค์กรและผู้เรียน
         - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การใช้  Blog  และการเขียนเรื่องเล่าเผยแพร่ในบล็อก

          ผู้เขียนจะไม่ลงในรายละเอียดของห้องย่อยแต่ละห้อง  เนื่องจากผู้เขียนไม่ได้นั่งฟังห้องใดห้องหนึ่งอย่างต่อเนื่อง  เพราะต้องการสังเกตการณ์ในภาพรวมทั้งหมดของงานกิจกรรม

          โปรดติดตามตอนที่ 3 คะ

หมายเลขบันทึก: 111263เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เสียดายที่พลาดไม่ได้ไป
  • แต่มีคนมาเล่าให้ฟังแล้วครับ
  • ขอบคุณที่นำมาสรุปให้อ่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท