ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ
ทพญ. ฉลอง ทพญ ฉลอง เอื้องสุวรรณ เอื้องสุวรรณ

การสืบค้นข้อมูลที่แสนสนุก



                สองวันนี้มีโอกาสเข้าอบรมเรื่อง การสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์   มูลเหตุของการเข้าอบรม คือ อยากจะทำวิจัย และพบว่าขั้นตอนแรกสุดของการทำวิจัย คือ การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการในเรื่องที่เรากำลังสนใจอยู่ว่ามีการศึกษาวิจัยไปในระดับไหนแล้ว   เรื่องอะไรบ้างที่ศึกษาได้ข้อเท็จจริงแล้ว  และเรื่องอะไรบ้างที่ยังมีข้อมูลไม่ชัดเจน
                       เนื่องจากตอนนี้กำลังดูแลผู้ป่วยฉายแสงที่ศีรษะและลำคอ พบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาปากแห้ง คอแห้ง เนื่องจากต่อมน้ำลายถูกทำลายไปด้วย ทำให้ผลิตน้ำลายได้น้อยลง  มีความรุนแรงต่างกันตามขนาดของรังสีที่ได้รับ และตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง
 ปัญหาก็คือว่า เราพอจะมีหนทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้อย่างไรบ้าง หรือจะป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดความรุนแรงในการเกิดสภาวะปากแห้ง น้ำลายแห้ง
                         การสืบค้นข้อมูลทางการแพทย์ในปัจจุบันนี้ พบว่า มีฐานข้อมูลให้เราสืบค้นมากมาย และโชคดีที่คณะแพทย์ของเราได้ตอบรับฐานข้อมูลต่าง ๆ มากมาย   ซึ่งแต่ฐานข้อมูลก็มีข้อดี ข้อเด่น ต่างกัน     หากเราสามารถเลือกใช้แต่ละฐานข้อมูลก็จะทำให้การสืบค้นข้อมูลมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
                         เริ่มต้นสืบค้นข้อมูลฐานแรกเป็นของ MD consult  เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ทางการแพทย์ รวบรวมข้อมูลจากสำนักพิมพ์ชั้นนำทางการแพทย์  รวมถึงเอกสารวิจารณ์ต่าง ๆ จากสำนักพิมพ์ สมาคมทางการแพทย์ และตัวแทนทางรัฐบาลมากกว่า 50 แห่ง
                         การสืบค้นจะมีทั้งหนังสือ วารสารทางการแพทย์ และมีราบละเอียดตัว The clinic ที่แยกไว้ตามคลินิกต่าง ๆให้ค้นหาโรคและบทความ  นอกจากนี้ ยังมีให้สืบค้นเรื่องของ patient education ซึ่งเป็นภาษาง่าย ๆ เขียนได้กระชับดีมาก, เรื่องยา, clinical practice guideline และรูปภาพต่าง ๆ
                      หลักการสืบค้นก็ใช้คำที่น่าสนใจ เช่น xerostomia และอาจจะเชื่อมคำด้วย and or not แล้วแต่ความต้องการ  และหากสองคำติดกันให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“------“) ในการกำกับ เช่น “dental caries“   และใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) หลังคำ  เช่น  infant* เพื่อบอกว่าไม่ว่าลงท้ายด้วย s หรือตัวอักษรใด ก็เอาหมด
                       ฐานข้อมูลต่อไปเป็นฐาน Proquest Medical Library เป็นฐานข้อมูลทางการแพทย์และสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 1986  - ปัจจุบัน  และยังรวบรวมฐานข้อมูลจาก Med line ด้วย ซึ่งสามารถสืบค้นได้ทั้งสาระสังเขป (abstract)  Full text, Full text image และ text + graphics
                          การสืบค้นมีทั้ง Basic, Advance และ Topic Guild และ Publication Search  อาจเริ่มต้นด้วย Basic Search ด้วยการใส่ชื่อกำกับ, ระบุระยะเวลา, เลือกจำกัดผลลัพธ์ หรือประเภทบทความ  เลือกสิ่งพิมพ์, ชื่อผู้แต่ง เป็นต้น    ส่วน Advance Search ก็อาจจะระบุข้อมูล  ระบุคำเชื่อม  จำกัดเขตข้อมูล  เพิ่มทางเลือกการสืบค้น  หรืออาจจะใช้ Publication Search  หรือ Topic Search มาช่วย เพื่อกรองข้อมูลให้ใกล้เคียงความต้องการมากขึ้น  เมื่อเจอข้อมูลให้ Marked List ไว้  เพื่อจัดเก็บต่อไป
                           ฐานข้อมูล web of science
 ฐานข้อมูลนี้จะมีข้อมูลครอบคลุมฐานสังคมศาสตร์  มนุษยศาสตร์  และวิทยาศาสตร์
 วิธีสืบค้นจะมี General search และ Cited Reference search  ข้อเด่นของการ search ใน web นี้ คือ  ข้อดีข้อหนึ่งคัดกรองข้อมูลให้ได้ตามความต้องการไปเรื่อย ๆ เช่น ตาม Timed cited (จำนวนครั้งที่ได้รับการอ้างถึง)  First Author, ชื่อของสิ่งพิมพ์, ปีที่พิมพ์   เป็นต้น  
                    ข้อดีข้อสอง คือ สามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าสู่ End note web ได้  ปัจจุบันนี้เกือบทุกฐานข้อมูลสามารถเก็บเข้าสู่ End note ได้เช่นกัน
                     ข้อดีข้อสาม ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการสืบค้นได้ เช่น แสดงเป็นจำนวน record ที่พบ แสดงคุณภาพ,  ปริมาณของบทความ   เพื่อดูความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือความสามารถของผู้แต่ง
 เรื่องสุดท้ายที่คิดว่า ชอบมาก ๆ และดีมาก ๆ คือ การจัดเก็บข้อมูลที่ค้นมาได้ไว้ใน End note webs  ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ สามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะส่วนของบรรณานุกรม ช่วยในการเขียนบรรณานุกรมของการวิจัยมาก ๆ
                   เราสามารถสมัครเป็นสมาชิกใน End note webs ได้
 จริง ๆ แล้วรายละเอียดของการอบรมมีเยอะมาก  ใครสนใจก็น่าจะเข้าอบรม และคิดว่าบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร  ควรจะฝึกสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลเหล่านี้ เพราะจะทำให้เรามีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ทันสมัยมากขึ้น
 ใครก็ตามที่จะทำวิจัยควรจะเริ่มต้น  หรือ Review literature ด้วยวิธีนี้ เพราะจะช่วยให้เราทบทวนวรรณกรรมได้เร็ว เป็นระบบมากขึ้น  คิดว่านี่อาจจะเป็นก้าวสำคัญในการเริ่มต้นทำวิจัยของข้าพเจ้า

หมายเลขบันทึก: 110810เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณคุณหมอหลองที่เก็บมาบอกต่อค่ะ มีแหล่งข้อมูลดีๆแต่ถ้าไม่เผยแพร่วิธีใช้ให้กว้างขวางมากๆก็น่าเสียดายจริงๆนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท