GIS for UTilities in Thailand #2


การประยุกต์ใช้งาน GIS ไม่ใช่เรื่องง่าย มีเรื่องราวมากมาย ที่ต้องศึกษา ค้นคว้า พิจารณา และพัฒนา จึงไม่แปลกเลยที่เรื่องการบันทึกเรื่องราวจะต้องใช้ระยะเวลา
หลังจากที่เริ่มบันทึกแรกไว้ ไว้เมื่อปีที่แล้ว กว่าจะมีเวลา สมาธิ และสติ เพื่อเรียบเรียงเรื่องราวที่เป็นวิชาการได้อีกครั้งก็ผ่านมาเกือบปี  นี่ถ้าเป็นหนังภาคสอง คนดูคงลืมภาคแรกไปแล้วเป็นแน่ แม้แต่คนเขียนเอง ยังจำไม่ได้เลยค่ะว่าบันทึกเดิมเขียนอะไรไว้บ้าง (ไม่รู้ว่า ภาค 3 จะได้เขียนเมื่อไหร่) ถ้าใครสนใจอ่านเรื่องตั้งแต่ต้น ลองไปค้นบันทึกเก่าดูนะคะ หาไม่ยากหรอกค่ะ ปีนึงมี 3 บันทึกก่อนจะไปพูดเรื่อง GIS กับการประยุกต์ใช้ในหน่วยงานสาธารณูปโภคนั้น  หากผู้ใดสนใจเรื่องข้อมูลทั่วไปของ GIS เป็นต้น ว่า GIS คืออะไร หน้าตายังไง ประกอบด้วยอะไรบ้างนั้น น่าจะหาข้อมูลได้ไม่ยากนักในโลกปัจจุบันนี้ ขอแนะนำสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก GIS ให้ไปลองศึกษาความหมายของมันมาก่อนสักนิดนะคะแต่ถ้าใครไม่เวลา ไม่เป็นไหร่ค่ะ (อ้าว แล้วให้ไปอ่านก่อนทำไมกันนั่น) ลองติดตามบันทึกเรื่องนี้ดูค่ะ  อาจจะเห็นภาพได้เหมือนกันค่ะ  เพียงแต่จะเป็นภาพในมุมเดียว คือมุมของการใช้งานในหน่วยงานสาธารณูปโภคพระเอกในบทความนี้ คงหนีไม่พ้น GIS ของการไฟฟ้านครหลวง เพราะผู้เขียน (เข้าใจไปเองว่า) รู้จักเป็นอย่างดี  เนื่องจากทำงานในเรื่องนี้มาตั้งแต่ ปี 2537 (ไม่ต้องคำนวณอายุกันนะคะ เดี๋ยวตกใจ) โดยเนื้อหาที่จะนำเสนอจะพยายามแบ่งเป็นตอน ๆ เพราะว่าถ้าจะเขียนให้จบภายในตอนเดียว คงต้องกินนอนหน้าเครื่อง computer เป็นแน่  คิดดูว่าทำมา 10 กว่าปี จะเล่าตอนเดียวจบได้ยังไงสำหรับวันนี้ คงจะเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของโครงการ GIS/AM/FM ของการไฟฟ้านครหลวงในช่วงปี 2531-2535 ได้มีการร่วมมือของหน่วยงานสาธารณูปโภคในเขต กทม.  ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง กรมที่ดิน และองค์การโทรศัพท์ เพื่อดำเนินการโครงการจัดทำระบบข้อสนเทศที่ดินกรุงเทพมหานคร  เพื่อทดลองและศึกษาความเป็นไปได้ในการทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสาธารณูปโภคร่วมกันในพื้นที่ 3 ตารางกิโลเมตร และใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท โดยมีการจัดทำแผนที่ฐาน และนำข้อมูลแผนที่เดิมที่อยู่ในรูปกระดาษของแต่ละหน่วยงานมาซ้อนทับกัน แล้วนำเข้าข้อมูลในระบบ GIS เพื่อประมวลผลต่าง ๆ ผลจากโครงการดังกล่าว  คือ มีความเป็นไปได้ที่หน่วยงานสาธารณูปโภคในพื้นที่รับผิดชอบเดียวกัน กับร่วมกันทำแผนที่ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้  แต่เนื่องจากในขณะนั้น GIS ยังถึงเป็น เทคโนโลยีสมัยใหม่ และการประยุกต์ใช้งานในหน่วยงานสาธารณูปโภคยังไม่มีมากนัก  ทำให้ความใช้จ่ายในการดำเนินโครงการค่อนข้างสูง  จึงยังไม่มีหน่วยงานใด ขยายผลต่อในหน่วยงานของตนเองจากโครงการดังกล่าว  จึงเป็นการจุดประกายให้ผู้บริหารของ กฟน. เล่งเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของ GIS ที่จะเกิดกับหน่วยงาน จึงได้มีการว่าจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาการรายละเอียดในการทำโครงการ  GIS/AM/FM ของ การฟ้านครหลวงเอง   จนกระทั่งในปี 2537 โครงการ GIS/AM/FM ระยะที่ 1 ของการไฟฟ้านครหลวงจะได้เริ่มขึ้นค่ะ
หมายเลขบันทึก: 110634เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท