บริษัทเคียวเซร่า และหลักการบริหารแบบอะมีบา


ก่อนอื่นผู้เขียนต้องขอออกตัวก่อนว่ายังไม่มีความรู้เกี่ยวกับบริษัทเคียวเซร่านี้มากนัก แต่ว่าได้อานิสงส์จากการทำวิจัย ที่ทำให้ได้มีโอกาสได้มารู้จักกับคุณคะซึโอะ อินาโมริ ผู้ก่อตั้งบริษัทเคียวเซร่า แล้วก็แนวคิด แนวทางในการบริหารจัดการที่น่าสนใจ เลยขอใช้พื้นที่ใน gotoknow นี่เป็นเสมือนสมุดบันทึกย่อเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้มา

สมุดบันทึกนี้ยินดีต้อนรับความคิดเห็นจากทุกๆท่าน ที่ได้มีโอกาสแวะเวียนผ่านมานะคะ

เข้าเรื่องกันเลย...

แต่ก่อนสมัยอยู่ที่เมืองไทย... ถ้าพูดถึงบริษัท "เคียวเซร่า" คงนึกถึงแต่บริษัท "เคียวเซร่า มิต้า" ที่เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องถ่ายเอกสาร พร้อมกับสโลแกนติดหูที่ว่า "เล็กๆ มิต้าไม่ ใหญ่ๆ มิต้าทำ" 

 พอมาอยู่ที่ญี่ปุ่น คนก็ม้ักจะพูดถึงแต่โตโยต้า ฮอนด้า หรือไม่ก็มัสสึชิตะ (บ้านเราคุ้นกันในชื่อพานาโซนิคมากกว่า) ก็เพิ่งจะได้มีโอกาสได้ยินเรื่องของเคียวเซร่าเองเมื่อไม่นานมานี้เอง พอเริ่มได้ยินครั้งแรก มันก็ได้ยินต่อมาเรื่อยๆ แล้วก็จุดประกายความน่าสนใจสำหรับงานวิจัยเราขึ้นมาซะอย่างงั้น 

เคียวเซร่าที่นี่ มันไม่เกี่ยวกับไอ้สโลแกนข้างต้นแต่อย่างใด จะว่าไม่เกี่ยวก็ไม่เชิงเพราะเคียวเซร่า มิต้าจริงๆก็เป็นบริษัทในเครือเคียวเซร่านั่นแหล่ะนะ  แต่ถ้าพูดถึงเคียวเซร่าที่นี่ คนก็จะนึกถึงสองอย่าง

  1. คุณคะซึโอะ อินาโมริ 稲盛和夫 ผู้ก่อตั้งเคียวเซร่า กับปรัชญาในการบริหาร (Management Philosophy: 経営フィロソフィー) แล้วก็
  2. การบริหารจัดการแบบอะมีบา (Amoeba Management: アメーバ経営)

ครั้งแรกที่ได้ยินก็รู้สึกสะดุดหูกับคำว่าอะมีบา? ทำไมต้องอะมีบา? แล้วการบริหารจัดการแบบอะมีบาเป็นยังไง? มันดียังไง? ทำไมมันถึงดัง? รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนขอยกไว้เขียนในครั้งต่อๆไป วันนี้เอาแค่เกริ่นก่อนแล้วกันว่าการบริหารจัดการแบบอะมีบานี่เป็นยังไง

 ว่ากันโดยง่าย ก็คือว่า การบริหารจัดการแบบอะมีบา คือการแบ่งองค์กรให้เป็นหน่วยย่อยเล็กๆ ให้มีการดูแลงานกันเอง โดยใช้การคำนวณผลกำไรต่อชั่วโมง หรือ 時間当たり採算
 เป็นเครื่องมือช่วย เน้นให้การทำงานมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน แล้วก็ทำให้พนักงานมีความตื่นตัวในการคิดแก้ปัญหา และพัฒนาอะมีบาของตัวเอง (ทำได้ยังไง เดี๋ยวไว้อธิบายตอนพูดถึงรายละเอียดของอะมีบาอีกที) แล้วก็ด้วยเหตุนี้เอง ก็ทำให้มีการรวมอะมีบาบ้าง แยกอะมีบาให้ย่อยลงไปอีกบ้าง ปรับเปลี่ยนไปให้เข้ากับสถานการณ์ขององค์กรได้อย่างทันท่วงที คุณลักษณะมันก็เป็นเหมือนธรรมชาติของอะมีบาดีๆนี่เอง 

 ...

คำสำคัญ (Tags): #kyocera#amoeba management#kazuo inamori
หมายเลขบันทึก: 110110เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2007 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

มัวแต่ไปอ่าน blogspot เพิ่งมาเจอบันทึกนี้

เขียนต่อดิ มันจะช่วยเวลาเขียน thesis ด้วย

พี่เคยอ่านที่ไหนมาไม่รู้บอกว่า

The palest ink maybe stronger than the best memory.

แหม.. นึกว่าใครย่ิองมาให้ความคิดเห็นเราที่นี่  ก็นะ... ตั้งใจไว้ว่าจะเขียนเอาไว้เรียบเรียงความคิดเหมือนกัน ไว้มาเขียนต่อแน่ๆ รอก่อนนะๆๆๆ แล้วคอมเม้นต์ด้วย =)

อยากรู้ไหมค่ะว่า Kyocera Philosophy เป็นอย่างไร ถ้าได้ศึกษาและเรียนรู้มันอย่างจริงจังคุณจะรู้ว่าทำไม ทานอินาโมริถึง ได้ชื่อว่า นักปราชญ์แห่งแดนอาทิตย์อุทัย

ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ KYOCERA.......

การบริหารจัดการแบบอะมีบา คือการแบ่งองค์กรให้เป็นหน่วยย่อยเล็กๆ ให้มีการดูแลงานกันเอง โดยใช้การคำนวณผลกำไรต่อชั่วโมง หรือ 時間当たり採算

*****************

ถ้าอมีบา พูดคุยกันได้ด้วย คงยิ่งดีนะคะ

พูดคุยแบบtwo way communication ,ทันท่วงที,และ หวังดีต่อกันและกัน..ส่งผลดีต่อองค์กรในที่สุด

;P

ไม่ได้แวะมาล็อกอินเสียนาน...

จริงๆปรัชญาของอะมีบาน่าสนใจมากค่ะ

เหลือก็แต่วิธีปฏิบัติ เพราะบางทีก็มองข้ามวิธีการ ไปเน้นที่ผลงานปลายทางซะงั้น

ดีใจนะเนียที่ยังมีคนพูดถึง

บริษัท kyocera อย่างน้อยก็มีคนรู้จักมากมาย

ในนานพนักงาน ช่างkyocera thailand

สนใจอยากนำไปปฏิบัติจริงในองค์กร มีใครพอแนะนำได้บ้างคะ

เรียน คุณมุทริกา พฤกษาพงษ์ ครับ: ผมขอร่วมแชร์ความเห็นด้วยนะครับ. คุณมุทริกาอาจยังไม่เคยทำความเข้าใจความหมายที่แตกต่างระหว่างคำว่า ‘採算(อ่านว่า Saisan)’ กับคำว่า ’利益(อ่านว่า Rieki)’ เลยทำให้ต้องใช้คำแปลภาษาไทยว่า “การคำนวณผลกำไรต่อชั่วโมง” แทนความหมายของคำว่า “時間当たりの採算” ความจริงแล้ว 採算 จะหมายถึง มูลค่าที่กำหนดความคุ้มทุนคุ้มจ่ายซึ่งมาจากการคิดคำนวณจุดคุ้มทุน(หรือจุดแยกระหว่างกำไรกับขาดทุน หรือ BEP or Break Even Point) ของผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตหรือจะขาย ส่วนคำว่า 利益 ก็คือ มีกำไรหรือทำกำไรนั่นเอง เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้ ควรเขียนใหม่ว่า “มูลค่าคุ้มทุนต่อหน่วยชั่วโมง” หรือ ค่าคุ้มทุนที่ได้ต่อหน่วยชั่วโมง” ครับ
ขอบคุณมากสำหรับโอกาสที่ได้อ่านบทความนี้ครับ
พลชัย 12//06/2020.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท