Learning cycle วงจรเรียนรู้ โดย Partanen


Learning cycle เป็น Long-term process  เป็นกระบวนการ   ที่ใช้เวลานาน   อย่าเร่ง   อย่าใจร้อน

คิดจะทำให้ คน ให้เด็ก "คิดเป็น"  ต้องใช้ เวลา ให้เขาผ่าน Ba (เป็นภาษา ญี่ปุ่น คือ มี "เวที" ให้ได้ ชน กับโลกความเป็นจริง)   ได้ คิด ได้ ลปรร  ได้มีเวลา "ตกผลึก" บ่มเพาะ  ย่อย  สิ่งที่ได้  พบ และ รู้สึก (Findings & feeling)  และ กล้าที่ ทำ  มีแรง มีพลัง Open will

                         Experiences  

Experimenting                      Thoughts

                       Concretizing

Experiences ----->   ทั้งคนเดียว หรือ เป็นทีมก็ดี   เป็น Team learning      ซึ่ง พี่เลี้ยง เจ้านาย ควร สร้างโอกาส ให้ ผู้เรียน  ได้ ผจญภัย  ชนกับโลกที่เป็นจริง

ครูไทย  จะเอาตนเอง เป็น "กันชน"   ทำให้ผู้เรียน ขาด ประสบการณ์ ปะทะ โลกแห่งความเป็นจริง

เจ้านายไทย  เน้นแต่ งกๆ เค็มๆ  เอาทุกวินาที ของพนักงาน ให้ทำงานให้คุ้มกับเงิน ที่จ่ายเป็น ค่าตัว เงินเดือน      พนักงานกินเงินเดือนมากมาย จึงหมดเวลาไปการทำงานโดยไม่ได้เรียนรู้    

ผมจำกลอน บทนี้ ได้ คร่าวๆ   เรียนมา ตั้งแต่ เป็นเด็กมัธยม  คือ " .... ชายใดมิท่องเที่ยวเทียวไป  ทั่วทุกแคว้นแดนไกล มิอาจประสบพบสุข  ชายใดอยู่เหย้าเนาทุกข์ ...... "  

เด็กบางคน ถูกพ่อแม่ ทิ้งให้อยู่ในห้อง ในอพาตเมนต์ ไม่ค่อยเจอผู้คน   มีการค้นพบว่า จะเป็น  เมาคลีซินโดรม    สมองพัฒนาการช้า

การดูทีวีมากไป   ก็ทำให้ ผู้เรียน ไม่ได้ ปะทะ โลกความเป็นจริง   หากรายการนั้นไร้สาระยิ่งแย่มาก   แต่  คนสื่อ  ก็ ยัง ไม่ช่วยกันเป็นครูที่แสนดี ทั้งๆ ที่ สื่อ คือ ครูคนใหม่   มีอิทธิพล มากกว่า ครูในระบบ

Thoughts   คือ  ได้คิด ได้เอา ความรู้เดิม มาปะติดปะต่อ กับ สิ่งที่พบใหม่  ความรู้สึกใหม่ๆ     เปิดหู เปิดตา เปิดใจ (Open heart , Open mind)

การคิดเป็นระบบ  คือ  คิดไปถึงผลกระทบแบบลูกโซ่  สำคัญมากๆ    

การคิดเป็นระบบ แบบวิศวะ  อย่างพวกผมก็ดีครับ  แต่  ก็มักจะขาด "ความรู้สึก"  เหี้ยมไปหน่อย  

พวกเราเรียนมาแบบ เชิงเดี่ยว  เช่น  เอาแต่ช่าง วิศวะ กฏหมาย หมอ บัญชี บริหาร ครู ฯลฯ    ทำให้ ไม่สามารถปรับตัวได้กับ การเปลี่ยนแปลงใหม่  ความท้าทายแบบใหม่    ความซับซ้อน (Complexity) ของโลกนี้    เป็นต้น    ทำให้  การแก้ปัญหาเดิม กลายเป็นไป สร้างปัญหาใหม่ อยู่เสมอๆ

ผู้สอน  เอาแต่  ลวกๆ เร่งๆ ปิ้งแผ่นใส   ตลุยสอนให้ครบตามแผนการสอน    ฯลฯ  ทำให้ผู้เรียน ขาดโอกาส ที่ จะย่อย คิด บ่ม  ฯลฯ 

นักวางแผนการสอน วางหลักสูตร  หากยัง เป็นพวก งกๆ เค็มๆ  ยัดทุกอย่าง   ก็กลายเป็น ปริยัด   หรือ ยัดจนปริ

เราเอาแต่ ผลผลิต   จนลืมดูกระบวนการ   ห่วงแต่ ผู้เรียนจะไม่รู้    จนลืมไปว่า   เราทำให้เขา คิดไม่เป็น !!!! 

หลังการทำ Lab  ดูงาน อบรม  ดูงาน กิจกรรมต่างๆ   เรา ไม่ค่อย จะ คุยกันดีๆ  เรา ขาด Dialogue อย่างแรง    ด้วยคำอ้าง มาตรฐานว่า "สอนไม่ทัน"  "ไม่ครบที่จะสอบ"  "หลักสูตรสั่งให้สอนตามนี้"  สอนไม่ครบเดี๋ยว  พวก QA จะมาแจก CAR

Concretizing   การมองภาพรวมให้ออกแล้วหาแก่นแท้ให้เจอ  การตกผลึกความคิด   การสร้างสรรความคิดใหม่   การอยากจะทำอะไรใหม่ๆ   การเอาทฤษฎีต่างๆมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีที่ตนเองค้นพบ   การอยากทดลองทฤษฎี ข้อสมมติฐานใหม่ของตนเอง

ช่วงความคิดรวบยอดนี้  น่าเขียน บทความ  Essay บรรยายทั้งสิ่งที่คิด ที่พบ และ อย่าลืม ความรู้สึกที่เกิดขี้นด้วย

 

Peter Senge อ่านว่า เซ็งกี้   (ยืนยันได้ เพราะ คุณกิดากร อังคณารักษ์  ไปถามเจ้าตัวมาแล้ว)    ใช้คำว่า Conceptualization   คือ  การประมวลข้อมูล แนวคิดต่างๆ  เอามา จัด หมวดหมู่  เอามาดู Pattern   เอา ความวุ่นวายมาหาแก่น   (Chaos เป็นเรื่องที่ดูสับสน  หากเราเข้าใจมัน เราจะเห็นแก่น   อุปมา พระไตรปิฎกทั้ง 45 เล่ม 84000 พระธรรมขันธ์    ถ้าศึกษาจริง ก็มุ่งลงสู่ที่ใจ   หรือ   กระบวนท่ากระบี่ต่างๆ อาจจะมีมากมาย แต่ สุดท้าย ก็มีเคล็ด มีลมปราณ)

การฝึกคิดแบบรวบยอดแบบนี้   ต้องผ่านการฝึกฝน   ผ่านวงจรเรียนรู้ ให้ครบ  "ประสบการณ์ คิด  มองภาพรวมเพื่อหาแก่น   ทดลองทำ"

หากครู  "ขวาง"   ครู "ครอบ"  ครูที่มี "ความกลัว"ในใจ   (กลัวเด็กสอบไม่ได้  เรียนไม่ครบ   กลัวใครๆรู้ว่าตนเองโง่   หงุดหงิดที่โดนเถียง  อยากเป็น "ราชา ราชินี" ในห้องเรียน  ฯลฯ < ----  เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในการเรียนรู้  ทั้ง ของตนเอง และ ผู้เรียนด้วย

การศึกษาที่มั่นใจว่า การบรรยาย  การ Lecture จะให้ผลสำเร็จ  เป็นความล้มเหลว  เพราะ  การบรรยายให้ผลน้อยมาก   แต่  หลายคน  ก็เลือกที่จะบรรยาย   มันสนุก ง่าย  และ ครู ผู้สอน  ยังมีความกลัวว่า สอนแบบอื่น  จะ "ยัด" ไม่ทันเวลา     นั่นนะสิ จะรีบรู้ไปไหนกัน   ในเมื่อสิ่งที่ยัด  เป็น "ข้อมูล"  ไม่ใช่ "ความรู้"

Experimenting    การได้ทดลองข้อสมมุติฐาน ทฤษฎี  ที่อย่างลอง อยากรู้  ของผู้เรียน    ผู้เรียนมี ความปรารถนา (Will) ที่จะรู้    ผู้สอนก็ต้องกระตุ้นให้เขา กล้าทำ (Open will)     แทนที่  จะขวาง

หากการทดลองนี้ โครงงานนำร่อง (Pilot Project)   เป็นกุศล เป็นประโยชน์   ปลอดภัย  สามารถทำได้ จากน้อยไปยาก  ไม่ขี่ช้างจับตั๊กแตน  ไป One size fit all   ไปคลุมถุงชน  ฯลฯ   ก็ทดลองเถอะครับ

ความล้มเหลว ผิดพลาด เป็น การเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่ 

การเอาแต่ ไปศึกษา Success cases มากๆ   ไปดูแต่ Best practices  มากๆ   ก็อาจ จะโดน  ลวงให้คิดตามแบบนั้นๆได้      คนที่มาเล่าให้ฟังอาจจะใส่ไข่ โม้   ปิดบังบางอย่างก็ได้   กรณีของเขา ก็เป็นบริบทของเขาไม่ใช่ของเรา .....    ในขณะที่ การศึกษา Failure cases  เป็นการไป กระตุ้น ให้คนล้ม คนกลัว  กล้าทำอีก  ไปดู  ไปสกัดความรู้จากความสำเร็จที่ค้นพบก่อนที่พวกเขาจะล้มเหลว    คนที่ล้มแล้วลุก คือ วีรบุรุษ วีรสตรี

พวกเรามีความกลัวมากๆ  ฝังเป็น mental model   คือ  กลัวที่เราความผิดพลาด   กลัวโดนแซว  โดนดุ  ฯลฯ

ครู  พ่อแม่  เจ้านาย  ที่ เอาแต่ กดดัน  ตวาด ดุ   ฯลฯ ตั้งแต่เล็กๆ   มันเป็น ฝันร้าย  เป็นโรคหวาดกลัวการเรียนรู้   ไปขวางกั้น การ เปิดหู เปิดตา เปิดใจ และ เปิดพลัง

การศึกษาในระบบ  หากปรับตนเองไม่ได้   เราก็ควร มีการศึกษานอกระบบมากขึ้น

อบรมคนเรียนจบแล้ว อบรมการเป็นพ่อแม่   อบรมผู้ปกครอง ฯลฯ  ให้มากๆ    และ   ทันทีที่คิดถึงการอบรม อย่าคิดถึง "บรรยาย"  ปิ้งแผ่นใส  สาด Power point 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 109454เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2007 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • ชอบบทความของอาจารย์มากค่ะ
  • ถึงอย่างไรก็ยังเห็นแผ่นใสปิ้งอยู่ดี
  • อยากเห็นการเรียนรู้ในแบบของอาจารย์มากค่ะ

ก็คงต้อง หาโอกาส  มา  เข้าวง เรียนรู้  กับ ผม ก็ดีนะ

มีหลายรูปแบบครับ

ยกเว้น ตอนโดนเชิญ   ไป บรรยาย  ผม ก็จำใจ ใช้ แผ่นใส     แต่  ก็ยัง    เขียนสดๆ ใน Power point    หรือ  ให้ดูรูป   อาศัยรูป  นำร่อง นำเรื่องไปเรื่อยๆ

ในป่าช้า  ก็สอนแบหนึ่ง

ในชุมชน  ก็สอนอีกแบบ

ในค่ายเรียนรู้  ก็สอนอีกแบบ

ในวงกินข้าว เดินทางด้วยกัน   ไปดูงาน  ก็สอนอีกแบบหนึ่ง

 

 

การเรียนการสอนแบบไทยยังเป็นแบบ อ่านๆเข้าไว้(แต่อ่านเท่าไหร่ก็อ่านไม่ทัน ไม่จบซักที) แล้วเวลาสอบก็เอาคำตอบในหนังสือนั่นแหล่ะ จำและลอกเอามาตอบ ไม่ได้รู้จักนำมาประยุกต์ ค้นหาองค์ความรู้ขึ้นใหม่เองบ้าง (รู้ดี เพราะตอนเรียน ก็เคยเป็นแบบนี้)

อาจารย์ พ่อแม่ สื่อ เราทุกๆคนต้องช่วยๆกันหน่อย กระตุ้นให้สังคมไทยคิดเป็น มองภาพรวมได้ อย่าเอาแต่เดินตามก้นคนอื่นๆนะ 

เห็นด้วยกับอาจารย์มากค่ะ   ในการทำงานจริงๆรู้สึกจะมีอุปสรรคในการที่จะให้ผู้นำคิดไปทางเดียวกันค่ะ   มักจะต่างคนต่างคิดซึ่งต้องใช้เวลาและเทคนิกในการทำงานร่วมกันมาก

คงต้องใช้เวลาและเรียนรู้ไปด้วยกันค่ะ

สวัสดี ค่ะ อาจารย์

ขอบคุณสำหรับเรื่องนี้ กำลังสอนอยู่พอดี ค่อยใจชื้นว่า ถ้าเด็กนักเรียนมาอ่านบันทึกของอาจารย์ คงเข้าใจวิธีการสอนของเรามากขึ้น learning by practicing or experiment  วิธีนี้ผู้สอนต้องคิด และเตรียมขั้นตอนการเรียนรู้ สนุกกับการจินตนาการ แต่ตอนสอนไม่เหนื่อยมาก เพราะให้ผู้เรียนพูดเยอะๆ ทำเยอะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท