เรื่องเล่าจากออสเตรเลีย (28.1)


School of Health เป็นภาควิชาในสังกัดของคณะFaculty of Education, Health and Professional Studies ของ The University of New England

           เช้าวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน ตื่นนอน 7 โมงครึ่ง อาบน้ำแต่งตัวกินอาหารเช้าแบบฝรั่งที่ห้องอาหารของหอพัก ประมาณ 9 โมงเช้าพบกับหัวหน้าภาควิชาสุขภาพ(School of Health) แต่งชุดไหมไทยมาต้อนรับ มีการถ่ายรูปหมู่ และพาไปดูห้องเรียนที่จำลองมาจากโรงพยาบาลโดยมีหุ่นจำลองเป็นคนไข้นอนอยู่บนเตียง มีหุ่นแสดงอวัยวะต่างๆไว้ด้วย หลังจากนั้นก็มีนักข่าวท้องถิ่นมาสัมภาษณ์อาจารย์หมอบุญชอบและพี่ชัยเวช นักข่าวสามารถพูดไทยได้เพราะมีภรรยาเป็นสาวไทย

           School of Health เป็นภาควิชาในสังกัดของคณะFaculty of Education, Health and Professional Studies ของ The University of New England ซึ่งตอนนี้มหาวิทยาลัยนี้ยังไม่มีคณะแพทย์ แต่ทราบคร่าวๆว่ากำลังจะเปิดคณะแพทย์โดยร่วมกับโรงพยาบาลที่ให้บริการของNSW Health Service เป็นแหล่งฝึกในชั้นคลินิก ไม่ต้องสร้างโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเอง  เท่าที่ทราบมาหวิทยาลัย 3 แห่ง กำลังจับมือกันเพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์แนวใหม่โดยใช้โรงพยาบาลแทมเวอร์ธ ขนาด 270 เตียง เป็นที่สอนในชั้นคลินิกคือUNE, Southern Cross University, Chals-Studt University ซึ่งได้แนวคิดมาจากการผลิตแพทย์ของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ใช้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียนชั้นคลินิกและใช้แพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลร่วมเป็นอาจารย์ เป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่านำเอาประสบการณ์ในการทำงานของแพทย์ในโรงพยาบาลมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน ในเมืองไทยแพทยสภากำหนดให้โรงพยาบาลที่จะสอนนักเรียนแพทย์จะต้องมีอย่างน้อย 400 เตียง ซึ่งอาจปิดกั้นโรงพยาบาลเล็กที่มีความพร้อมในเรื่องแพทย์ที่เต็มใจจะเป็นอาจารย์และอยุ่ในพื้นที่รอบข้างของมหาวิทยาลัย  ล่าสุดได้ทราบจากอาจารย์หมอไพจิตรว่า คณะรัฐมนตรีออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง ที่ต้องใช้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียนในระดับชั้นคลินิก(ปี 4-6) เพื่อเพิ่มจำนวนแพทย์ในชนบท

          โรงเรียนแพทย์เหล่านี้จึงถือเป็น Rural Medical School แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่ากระบวนการคัดเลือกเด็กจะได้เด็กที่มีใจรักที่จะไปทำงานในชนบทหรือไม่ และอีกอย่างจะฝ่าด่านของแพทยสภาในเรื่องคุณภาพการเรียนการสอนได้หรือไม่ แต่หากเป็นประโยชน์ของประเทศก็น่าจะพยายามช่วยกันยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ไม่ใช่แค่ผลิตให้ได้ครบจำนวนเท่านั้น แต่แพทยสภาและมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลที่เป็นแหล่งฝึกต้องร่วมมือกันเพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตแพทย์

หมายเลขบันทึก: 10918เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2005 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท