IBNUFUAD
อับดุรเราะฮ์มาน ฟูอัด อาลมูฮัมมัดอามีน

morning talk--การมีส่วนร่วมอีกรูปแบบของวิถีท้องถิ่นตัวตนมลายูปตานี


เป็นการประชุมประจำ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทาง อบต.ตันหยงลุโละ ได้จัดขึ้นเพื่อให้ภาคีต่างๆในชุมชนได้มีโอกาสพบปะเจอะเจอกัน

ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุม (แทนครูใหญ่)  ร่วมกับ อบต.ตันหยงลุโละ  ซึ่งเป็นการประชุมประจำ รูปแบบหนึ่ง ซึ่งทาง อบต.ตันหยงลุโละ ได้จัดขึ้นเสมอๆ เพื่อให้ภาคีต่างๆในชุมชนได้มีโอกาสพบปะเจอะเจอกัน

ก่อนนี้ทาง อบต.ก็จัดไปแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อ 2-3เดือนก่อน ซึ่งผมก็ได้ไปร่วมเช่นกัน ครั้งนั้นจำได้ ผมได้นำเสนอโครงการของเราต่อที่ประชุม ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวโครงการครั้งแรกต่อสาธารณะ เรียกความสนใจจากภาคีที่ได้เข้าร่วม morning talk ได้ไม่น้อย

ส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการดำเนินโครงการยุวสตรีรักษ์สุขภาพ ที่มีก็มาจากการสานเสวนา(Dialogue) ในรูปแบบของ morning talk ซึ่งเลียนแบบวิถีดั้งเดิม หรือวิถีชาวบ้านปกติ ที่มีอะไรก็คุยกันไปพลางในระหว่างมื้ออาหารเช้า หรือเย็น ถามสารทุกข์สุกดิบกัน

ครั้นเมื่อนึกถึงโครงการยุวสตรีรักษ์สุขภาพ ตั้งแต่เริ่มต้น ก็อาจจะเป็นการเริ่มต้น ด้วยการสานเสวนา หรือวิธีการคล้ายๆกันนี้เอง

จนหลายฝ่ายตกกระไดพลอยโจน กระโดดลงมาร่วมวงกับเราแบบเต็มตัวแล้วในวันนี้ หลายท่านก็ได้ก้าวถอยไป 1 ก้าว เพราะภาระงาน แต่ก็แสดงเจตจำนงว่า หากปลีกตัวจากงานมาได้เมื่อไร ก็ยินดีจะเข้ามาร่วมเสมอ

ทำให้เรานึกถึงเพื่อนๆจาก สมาคมวางแผนครอบครัวฯ สาขาปัตตานี(คุณมูฮัมหมัดเจะเซ็ง) ,พี่สุอาจารย์ภาควิชา พลศึกษา มอ.ปัตตานี, "พี่แตน"จนท.สถานีอนามัยตำบลตันหยงลุโละ และอีกหลายท่านที่ไม่สามารถกล่าวได้หมด

ตลอดจนท่านผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3(หมู่บ้านกรือเซะ)ผู้ล่วงลับไป ท่านฝากผลงานต่างๆไว้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาประชาชนชาวบ้านตำบลตันหยงลุโละมากมาย

โครงการเราเริ่มจากการที่เรา(สามคน:"ครูมัง"สุไลมาน โซะหะมะ,"ก๊ะซา"ของเด็ก" ครูซัฟฟีซา บารู และผม)เรานั่งคุยกัน แบบไม่ได้ตั้งใจว่าจะทำอะไร เพียงแต่เรานึกถึงพฤติกรรมด้านการทิ้งขยะของเด็กนักเรียนในโรงเรียน(ของเขาทั้ง 2 คน ซึ่งในขณะนั้นผมยังทำงานอยู่ที่เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดปัตตานี)

จนในหลายเดือนต่อมาโครงการก็เป็นรูปร่างขึ้นในกระดาษ

และหลายเดือนต่อมา โครงการ(ในกระดาษ)ก็ผ่านแดดผ่านฝน(เปียกจนต้องปริ้นท์ใหม่หลายรอบ)มาจนกระทั่งถึงประมาณ เดือนกันยายน 2549 ก็ติดต่อไปยัง สสส. และส่งไป และหลังจากนั้นไม่นานผมก็เข้าไปเริ่มงานช่วยสอน(รายชั่วโมง)ในโรงเรียน

และอีกหลายเดือนเช่นกันกว่าที่จะทราบข่าวว่าโครงการผ่าน ได้รับการอนุมัติงบให้ทำได้  ซึ่งต่อมาเราก็ได้เริ่มโครงการโดยได้เชิญครูใหญ่ และคณะครูในโรงเรียนมาร่วมหารือ

และก็เริ่มมีการเปิดตัวใน morning talk และหลังจากนั้นต่อมา ก็มีวิทยากรจาก สสส.มาร่วมทำ workshop ให้กับเรา

นำโดย พี่ศิลป์ชัย และพี่นุช (ผู้ประสานงาน สสส.ส่วนภูมิภาค)

หลังจากนั้นอีกสักระยะ เราก็ได้หลักสูตร การอบรม และเราก็ได้จัดค่ายอบรม 2 วัน 1 คืน ขึ้น ณ รร.สตรีพัฒนศึกษา

 

โครงการ "ยุวสตรีรักษ์สุขภาพ" เป็นความร่วมมือของชุมชน โดยภาคีเครือข่าย ได้แก่โรงเรียนสตรีพัฒนศึกษา "หะยีนิเซาะ อาเก็บอุไร-บำเพ็ญ",โรงเรียนจงรักษ์สัตย์วิทยา,โรงเรียนศาสนูปถัมภ์,สถานีอนามัยตำบลตันหยงลุโละ และองค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลุโละ
โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก


ความเห็น (2)

ผมอ่านแล้ว ดีใจด้วยที่มีความคิดเชิงสร้างสรรค์ และเป็นนักพัฒนาที่เก่ง ส่วนอาจารย์ซาฟีชา บารู  ผมรู้จักดีเหมือนกัน เพราะเค้าเป็นรุ่นพี่ที่เรียน มอ.

  แต่ผมติดใจนิดเดียวก็คือ งบ สสส. มันเป็นภาษีจากบุหรี่และสุรา เป็นเงินบาป(หะราม) เหมาะสมหรือเปล่ากับกิจกรรมของพี่น้องมุสลิมเรา เพราะ ศาสนาอิสลาม ห้ามเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เมาทุกอย่าง

  ช่วยชี้แจงหน่อยว่า งบ สสส. ใช้กับพี่น้องมุสลิมได้หรือเปล่า? ถ้าได้จากอายะอัลกรุอานไหน? หรืออาดิษอะไร? หรือมีหลักฐานอื่นๆ มั้ย

ต้องขอขอบล่วงหน้า ถ้าตอบคำถามนี้

รุสดี

สำหรับข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการเงินสนับสนุนกิจกรรมของ สสส. เท่าที่ทราบก็สามารถหาได้จาก สำนักงานประสานงานภาคใต้ตอนล่างของแผนงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำนักงานอยู่ตึกชั้น 2 อาคารวิทยาลัยอิสลามคึกษาด้านหน้ามัสญิดครับ

ซึ่งมี ผศ.ดร.อิสมาแอล อาลี เป็นผู้ดูแลครับ หากต้องการหลักฐานสิ่งใด รบกวนติดต่อโดยตรงที่ สนง.เลยครับ

สำหรับผมเป็นเพียงผู้สนใจเกี่ยวกับการพัฒนา โดยหวังผลงานในอนาคต ที่จะเปลี่ยนแปลงที่ตัวเด็ก และไปเปลี่ยนแปลงสังคมอีกครั้งหนึ่งครับ

สำหรับแหล่งเงินนั้น โดยส่วนตัวแล้วเคลียร์แล้วจึงทำครับ แต่ก็คงไม่ได้อยู่ในข่ายของนักวิชาการศาสนาที่จะอธิบายอะไรได้ ผมขอฟังนักวิชาการท่านชี้ขาดดีกว่า

ผมไม่ติดใจแหล่งทุนใดๆ หากเราได้มีส่วนกำหนดรูปแบบกิจกรรมบ้าง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตเราก็เพียงพอ อีกอย่างผลกระทบที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลทางลบผมก็พอใจครับ

อีกอย่างแหล่งทุนอื่นๆเองก็ไปสนับสนุนอย่างอื่นกันหมด เช่นสร้างโน่น สร้างนี่  แต่กิจกรรมที่เราทำเป็นกิจกรรมที่ติดอาวุธทางปัญญาให้แก่เด็กๆครับ

ซึ่งเชื่อว่าไปขอแหล่งทุนอาหรับ แหล่งทุนมุสลิม ไม่มีทางได้ครับ

หรือหากท่านมีแหล่งทุนไหนที่ฮาลาลที่ สนับสนุนกระบวนการแบบนี้ เน้นการมีส่วนร่วมแบบ สสส. ผมก็ยินดีที่จะงดรับกับ สสส.ครับ

แต่ถ้าตามคำวินิจฉัยของนักวิชาการแล้ว หากไม่มีแหล่งอื่น เงิน สสส.ก็ใช้ได้ครับ

ทำงานมากว่า 7 เดือนในโครงการ พบคำถามนี้ไม่น้อยครับ

ตลอดเวลาเราก็พยายามหาแหล่งอื่นๆ แต่ก็ไม่มีใครสนใจเราครับ เพราะเปนผลเชิงคุณภาพ ไม่ได้เน้นผลเชิงปริมาณ แหล่งทุนเขาไม่ชอบครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท