มาผ่อนคลายด้วย...อโรมาเธอราปีกันเถอะ


Aromatherapy in cancer
โครงการ..การบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy)
หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ  แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์
 

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กนกกัญญา สุทธิสาร 

ดุจดาว กันพล   

บังอร  เพชรศรี    

กิตติมา  ตาซื่อ 

อรุณรัศมี  หิรัญนุเคราะห์    

ที่ปรึกษา     

คุณดวงพร  สีจร และอุบล จ๋วงพานิช

ที่มาของปัญหา 

ในปัจจุบันการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ผลดี   ทำให้ภาวะปลอดโรคมากขึ้นและการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี  ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้นแต่ต้องเผชิญกับความเครียดจากการรักษาเสริมด้วยยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายจากอาการข้างเคียงของยา รวมทั้งมีปัญหาทางด้านจิตใจ   และปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาต่างๆเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก   ดังนั้นพยาบาลจะต้องดูแลผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกด้านเป็นองค์รวม การดูแลทางด้านร่างกายตางแนวทางการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้ครบถ้วน

หอผู้ป่วย 5จ  จึงได้นำการดูแลหรือระบบบริการพยาบาลแบบทางเลือก(Complementary or Alternative Nursing Therapeutic) ได้แก่ การบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy) มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  อาจช่วยเสริมให้การแพทย์แผนปัจจุบัน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์  

 เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดผ่อนคลาย และพึงพอใจ

ระยะเวลาดำเนินการ   

1 มกราคม  2549 ปัจจุบัน

ขั้นตอนการดำเนินการ

การเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์  โดยจัดทำแผ่นพับและจัดทำป้าย อธิบายประโยชน์ของ Aromatherapy

จัดมุม  Aromatherapy

จัดหาเตา  

จัดหาน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)  เช่น กลิ่นยูคาลิปตัส  กลิ่นส้ม  

จัดหาวัสดุเกี่ยวกับ  Aromatherapy ประจำวัน  ได้แก่  มะกรูด    ดอกมะลิ  ใบเตย   มาไว้ในหอผู้ป่วย   

จัดทำ Aromatherapy โดยใช้น้ำมันหอมระเหยในการบำบัด ใช้เตา aroma

เริ่มจุดในช่วงเวลา 10.00 น- 12.00 น  ของทุกวัน 

 

ผู้ช่วยพยาบาลแจกแบบสอบถาม เพื่อประเมินตามแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้กลิ่นบำบัด  

พยาบาล  วิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละไตรมาศ 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ   

ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยกลิ่น มีภาวะผ่อนคลายและพึงพอใจ 

ผลลัพธ์การดำเนินการ (Outcome) 

การใช้กลิ่นบำบัดในหอผู้ป่วย   ปี 2549  ผู้ป่วยพึงพอใจในกลิ่นบำบัด   สามารถผ่อนคลาย   ต้องการได้กลิ่นต่อเนื่อง และความพึงพอใจโดยรวมระดับดีมาก 

บทเรียนรู้ที่สำคัญ    

นอกจากแนวทางการแบบแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การดูแลหรือระบบบริการพยาบาลแบบทางเลือกโดยการใช้การบำบัดด้วยกลิ่น (Aromatherapy) สามารถตอบสนองความต้องการผู้ป่วยได้  รวมทั้งยังเป็นการรักษาเสริม  ช่วยให้การรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรมีการดำเนินการต่อเนื่อง 

โอกาสหรือแผนการพัฒนางานต่อ  

จัดบริเวณในการทำ Aromatherapy เพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วย ได้รับกลิ่นอย่างทั่วถึง

รวมทั้งจัดทำแบบประเมินเพิ่มเติมในเรื่องของความพึงพอใจในแต่ละกลิ่นบำบัด

ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของ Aromatherapy แบบนวดเพื่อการผ่อนคลาย และนำมาใช้ในหอผู้ป่วยรวมทั้งสอนญาติเพื่อนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ที่บ้าน    

ฝึกนำเสนอผลงาน 10 กรกฎาคม 2550

ทีมงานฝึกนำเสนอผลงานและมีเพื่อนๆ  มาให้กำลังใจ

คุณกนกกัญญา พยาบาลฝึกนำเสนอผลงานก่อนวันจริงค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 108303เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

รู้สึกว่า ที่สวนครัวดิฉันจะมีหมด

มะกรูด    ดอกมะลิ  ใบเตย 

ถ้าส้มนี่ เราใช้เปลือกส้มที่เราทาน แล้วมาอังไฟจะได้ไหมคะ  

มะกรูด เราใช้แบบสดๆได้ โดยหั่นบางๆแล้ววางในห้องนำ หรือบริเวณที่เรานั่งประจำ

ใบเตย เราหั่นแล้วไปอบแห้งแล้ววางมุมที่ต้องการ จะอยู่ได้นาน

ส้ม เราใช้เปลือกส้มแล้งอังไฟก็ได้ค่ะ

หั่นมะกรูดลอยนำและใช้กลีบดอกไม้ที่ชอบลอยไว้ก็ได้ค่ะ

วันที่ 11 กรกฎาคม 2550

หัวหน้าโครงการฯ คุณกนกกัญญา  จะไปนำเสนอโครงการฯ

ที่ประชุมวิชาการพัฒนาคุณภาพ  ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

พี่จะรอให้กำลังใจนะคะ

กนกกัญญา สุทธิสาร (แตงโม)

หลังจากได้กำลังใจจากบุคคลอันเป็นที่เคารพรัก    ทำให้เด็กน้อยตาดำๆ  มีแรงบัลดาลใจในการทำงานมากขึ้น  ความพร้อมในการนำเสนอโครงการฯ ที่ประชุมวิชาการพัฒนาคุณภาพ  ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์   ที่คิดว่ายังมีไม่มากพอในตอนแรก   ตอนนี้เพิ่มขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็น

         ขอบคุณพี่แก้วมากนะค๊ะที่ให้โอกาส

สวัสดีค่ะคุณแตงโม

จะคอยให้กำลังใจค่ะ

รูปภาพ  ถูกใจไหมคะ

10 กค 50

น้องๆทีมงานอโรมาเธอราปี ฝึกนำเสนอผลงาน

ทำได้ดี ทำสไลด์สวยงาม

เนื้อหาดีค่ะ

ขอให้โชคดีในการนำเสนอในวันจริงนะคะ 11 กค 50

วันนี้คุณกนกกัญญา มานำเสนอผลงาน

คณะกรรมการฯ เสนอแนะว่าเราน่าจะพัฒนาการวัดผลให้ชัดเจนขึ้น เช่น Vital sign

คิดว่าพวกเราจะต้องพัฒนาแบบประเมินใหม่

คราวหน้าเราคงพัฒนาโครงการฯ ให้ดียิ่งขึ้นค่ะ

อยากทราบว่ามีใช้ในผู้ป่วยกลุ่มอื่นมั้ยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท