เที่ยวทุ่งหน้าน้ำ (2) : ไม่มีนกเอี้ยง .. มีแต่ควายทุยตัวใหม่คำรามเสียงอยู่กลางทุ่ง


เป็นภูมิปัญญาที่สอนกันกลางห้องเรียนอันโล่งแจ้ง เป็นการเรียนรู้ความเป็นไปของดินฟ้าอากาศที่เกี่ยวโยงอย่างแนบสนิทกับชีวิตของผู้คน

ฤดูนี้เป็นฤดูทำนา ..

ซึ่งหมายถึง "เฮ็ดนา" หรือ "ดำนา" นั่นเอง

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทันที่ที่ฝนแรกของเดือนหกโปรยสายลงสู่ท้องทุ่งที่บ้านเกิด  พี่ชายของผมไม่รีรอที่จะลากเจ้า “ควายทุ่งแห่งยุคสมัยแต่ไร้ซึ่งชีวิต”  ออกท่องทุ่งอย่างคึกคักและรีบเร่ง   และควายทุ่งที่กิน น้ำมัน  แทนหญ้าใบเขียวตัวนี้  ก็สามารถ “ไถ, คราด”  ท้องนาที่เจิ่งน้ำอยู่หลายแปลงให้แล้วเสร็จลงได้ในชั่วไม่กี่วัน  จากนั้นก็โปรยหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงสู่แปลงนา  เพื่อรอวันให้เติบใหญ่เป็นต้นกล้าใช้ ปักดำ  ในโอกาสต่อไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในวันวัยเด็ก   ผมจำได้ถนัดตาว่าในฤดูกาลของการทำนานั้น  แม่ตื่นเช้ากว่าปกติ  เพื่อหุงหาข้าวปลา  จัดเก็บ งานครัว งานบ้าน  ให้แล้วเสร็จ  รีบเร่งหาบคอนสำรับข้าวปลาไปส่งพ่อที่ทุ่งนา  จากนั้นก็กรำงานเป็นเพื่อนพ่ออยู่กลางทุ่งตลอดทั้งวัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p>(แม่ :  ผู้หญิงซึ่งไม่เคยสูญเสียศรัทธาต่อทุ่งนาของตนเอง)   </p><p></p><p>ในทุกห้วงฤดูกาลก่อนการลงนาเพื่อไถหว่านและปักดำ  แม่จะเป็นผู้รับผิดชอบพิธีกรรมอันสำคัญ  และพิธีกรรมนั้น  ผมเองก็ไม่เคยตื่นทันร่วมสังเกตการณ์  หรือแม้แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเลี้ยง ผีตาแฮก  เลยแม้แต่ครั้งเดียว    </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แม่เคยเล่าให้ฟังว่า ผีตาแฮก  (บางท้องที่เรียก ผีตาแฮด)  เป็นผีที่อยู่ประจำท้องไร่ท้องนา  ซึ่งผีตาแฮกนี้   จะทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาข้าวกล้าให้อุดมสมบูรณ์  ดังนั้นก่อนการลงนาในช่วงต้นเดือนหก หรือไม่ก็ไม่เกินเดือนเจ็ด  ชาวนาในชนบทอีสานจึงต้องทำพิธีเลี้ยงผีตาแฮกกันแทบทั้งสิ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">โดยปกติพิธีกรรมการเลี้ยงผีตาแฮกจะทำขึ้นสองครั้ง  นั่นคือ  การเลี้ยงก่อนทำการปักดำและเลี้ยงหลังการเก็บเกี่ยวข้าวในนาแล้วเสร็จลง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมไม่เคยตื่นนอนได้ทันเห็นพิธีกรรมเลี้ยงผีตาแฮกเลยแม้แต่สักครั้ง  ซึ่งพิธีกรรมนี้แม่ต้องทำขึ้นในเช้ามืด  แม่มักเตรียมเครื่องเซ่นไหว้ที่ประกอบด้วยเหล้า 1 ขวด (เหล้าขาว)  ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู บุหรี่  ข้าว 1 กระติ๊บ  น้ำท่า  1  ขวดพร้อมแก้วประมาณ 2  ใบ  และที่ขาดไม่ได้คือไก่ต้มสุกอีก 1  ตัว  แต่ระยะหลังผมไม่ค่อยได้เห็นไก่ต้มสุกเท่าใดนัก  พบเจอก็แต่อาหารคาวทั่ว ๆ  ไป …</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พิธีกรรมเช่นนี้จะทำขึ้น ณ ที่ตั้งศาลเล็ก ๆ  หรือกระท่อมหลังเล็ก ๆ  ที่ปลูกไว้ให้เป็นที่สิงสถิตของผีตาแฮก   ซึ่งส่วนใหญ่มักอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นอยู่บนกองดินที่เรียกกันเป็นภาษาพื้นถิ่นว่า โพน    และพี่ ๆ  ก็มักจะตั้งตารอคอยนำเครื่องเซ่นเหล่านั้นมาบริโภคกันเสียเอง  โดยเฉพาะเหล้าและไก่ต้มนั้น  ถือได้ว่าเป็นที่หมายปองของทุกคน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นั่นคือความทรงจำที่ค่อนข้างพร่าเลือนที่ผมมีต่อท้องทุ่งในหน้าน้ำเช่นนี้, </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><div style="text-align: center"></div></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อย่างไรก็ตาม,  สิ่งที่ผมทำความเข้าใจเสมอมาในฤดูกาลแห่งการไถหว่านก็คือ  ความเปลี่ยนแปลงในทางวัฒนธรรมของการทำนาของผู้คนในชนบทที่เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่างไปตามยุคสมัย    ซึ่งผมเข้าใจว่า  การทำนาไม่ใช่อาชีพ  หากแต่การทำนาคือ วัฒนธรรม  ของคนที่เรียกตนเองว่า ชาวนา  ผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ   เพราะนาฏกรรมเหล่านี้ก่อเกิดและดำรงอยู่มานานหลายชั่วยุคสมัย   มีการสั่งสม ถ่ายทอดและสืบต่ออย่างเป็นระบบ   เป็นภูมิปัญญาที่สอนกันกลางห้องเรียนอันโล่งแจ้ง  เป็นการเรียนรู้ความเป็นไปของดินฟ้าอากาศที่เกี่ยวโยงอย่างแนบสนิทกับชีวิตของผู้คน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p>วันนี้สภาพดินฟ้าผันผวน  ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล  ในน้ำขาดปลา  ในนาแทบร้างข้าว ..  หลายคนปล่อยที่นาให้รกร้าง  บางคนให้เพื่อนบ้านมาเช่าที่นาทำนา  ซ้ำร้ายบางคนก็ขายที่นาให้กับคนอื่นไป  รวมถึงการเสียที่นาให้กับเจ้าของเงินกู้ …</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นี่คือนาฏกรรมที่เกิดขึ้นและดำเนินไปอย่างไม่รู้วันสิ้นสุด     </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ท้องทุ่งวันนี้เต็มไปด้วยความเร่งรีบ   การทำนาผลิกผันวิ่งแข่งกับฤดูกาลอย่างแทบไม่น่าเชื่อ    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพของควายทุ่งอันเป็นเครื่องจักรกลคำรามเสียงก้องดังอยู่เต็มท้องทุ่ง   มันทำงานอย่างไม่รู้เหนื่อย   ศักยภาพของผานไถลากลึกกว่าไถดั้งเดิมของชาวนา   ความแข็งแกร่งของคราดเหล็กสามารถตัดหญ้าเล็กใหญ่ขาดกระจุยออกเป็นเศษเสี่ยง   แม้กระทั่งไส้เดือนก็ยังหวาดผวาที่จะขึ้นมาเล่นโคลนจากรอยไถเหล่านั้น  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p></p><p>ผมมองดูผิวดินที่คราดเหล็กได้กวาดให้ราบเรียบในที่นาบางแปลง     มันช่างเนียนนุ่มและละเอียดกว่าอดีตหลายเท่าตัว  เมล็ดข้าวเปลือกที่ผ่านการแช่น้ำมาร่วมสัปดาห์ทิ้งตัวเกลื่อนอยู่เหนือผิวดินที่เนียนเรียบอย่างสบายตัว   ขณะที่ไก่กาและนกทุ่งทยอยลงจิกกินอย่างไม่ขาดสาย      </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ย้อนกลับไปสู่วันวัยที่ยังเด็กอีกสักครั้ง   ผมจำได้ว่าพ่อ หรือแม้แต่พี่ชายต้องไถคราดกันตั้งแต่เช้าตรู่  ครั้นสายแล้วก็ปล่อยเจ้าควายแสนซื่อไปเล็มหญ้าและพักนอนตามแหล่งน้ำในแปลงนาต่าง ๆ    ครั้นจะไถคราดในยามสายที่แดดกล้าเริ่มแรงแสง   ก็คงเหนื่อยเอาการทั้งคนและเจ้าทุย  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ทว่าการมาแทนที่โดยควายทุ่งตัวใหม่นี้   ห้วงเวลาไม่สำคัญอีกต่อไป  มันไม่สะทกสะท้านต่อความแรงของเปลวแดด  มันไม่หวาดหวั่นต่อแรงฝน  และไม่เคยวิตกกังวลต่อรากไม้ที่ฝังตนซ่อนอยู่ในแปลงนา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมชอบที่จะฟังเสียงและคำพูดที่พ่อใช้สื่อสารกับเจ้าทุยในยามไถหว่าน …  หากจะเรียกเป็นภาษา ควาย  ก็คงไม่ผิดนัก   การบังคับให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา  การกระตุกเชือกให้เจ้าทุยหยุด  หรือแม้แต่เสียงอันดุดังที่พ่อพยายามกระตุ้นให้มันฮึกเหิม  ก็ล้วนแล้วแต่เป็น ศิลปะ  ที่ผมหลงรักและประทับใจอย่างไม่รู้เลือน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แต่บัดนี้   ท้องทุ่งไม่มีเสียงเหล่านี้แล้ว  จะมีก็แต่เสียงของควายทุ่งแห่งยุคสมัยที่คำรามอยู่อย่างไม่รู้เหนื่อย  และมันก็เป็นขวัญใจที่ใครต่อใครต่างก็ชื่นชมและยกย่องให้ทำหน้าที่แทนควายทุ่งตัวเดิมอย่างเต็มรูปแบบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมชอบบรรยากาศที่ตนเองได้ขึ้นไปเกาะอยู่บน คราด  ที่เจ้าทุยกำลังลากไปตามแปลงนา   มันเหมือนกับกำลังขี่รถตะลุยทุ่งอย่างทุลักทุเล  แต่ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน และผมเองก็ชื่นชอบที่จะมองดูลิ่มคราดอันเล็กแหลม  เบียดตัวทิ่มลงสู่ผิวดิน   และลากเลื้อยเป็นทางยาว   ราวกับพู่กันตวัดวาดไปตามผืนผ้าใบของจิตรกร  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>ผมชอบที่จะเดินตามรอยไถและรอยคราดเพื่อทำหน้าที่เก็บเศษหญ้า  ตอไม้  หรือแม้แต่เศษไม้ที่ไม่พึงประสงค์ออกจากแปลงนา   นั่นคือ  พันธกิจที่ช่วยให้ผมได้มีตัวตนและเป็นส่วนหนึ่งของการทำนาในหน้าน้ำ  รวมถึงการตามเก็บเจ้าไส้เดือนใส่ลงในกระป๋องใบเล็ก ๆ  เพื่อนำไปเป็นเหยื่อตกปลา         </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สิ่งเหล่านี้ล้วนกู่เสียงเรียกขานมายังผมอยู่อย่างไม่ว่างเว้น   แต่ผมก็รู้ดีว่ามันไม่อาจพลิกชีวิตเช่นนั้นกลับมาได้ตามเสียงเรียก    ทุกอย่างเป็นไปตามยุคสมัย   ทุ่งนาเองก็เถอะ  มันก็ย่อมมียุคสมัยแห่งการวิวัฒน์ไปเช่นกัน   และการวิวัฒน์นั้นก็เปลี่ยนผันไปตามกระแสธารทางสังคมอย่างไม่อาจบิดพลิ้ว  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>   </p><p></p><p>วันนี้,  การไถคราดเป็นหน้าที่ของควายทุ่งตัวใหม่ที่แข็งแกร่ง กำยำแต่ไร้ชีวิต    ไม่มีภาษาศิลปะของการไถหว่านในแบบภูมิปัญญาชาวบ้านอีกต่อไป  มีแต่ศาสตร์อันเป็นความรู้ที่ต้องศึกษาจากคู่มือของควายทุ่งที่มากด้วยศักยภาพ    </p><p></p><p>วันนี้,ผมกลับไปเยือนทุ่งอีกครั้ง  ...  ท้องนาเริ่มมีการไถคราด    ไก่บ้านหลายตัวและนกทุ่งยังคงย่ำเท้าเล็ก ๆ  ไปตามแปลงนาอย่างคุ้นเคย   โดยไม่วิตกกับเสียงคำรามของควายทุ่งที่ไร้ชีวิต  ขณะที่นกเอี้ยงแทบไม่เห็นโฉบบินลงมาเยือนท้องทุ่งเลยสักตัว      </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หรือเพราะเจ้านกเอี้ยงต่างคิดว่า  ทุ่งวันนี้ไม่มีควายทุยแล้วกระมัง   และบางทีมันอาจจะยังไม่รู้สึกสุนทรีย์และคุ้นชินกับเสียงของควายทุ่งแห่งยุคสมัยนี้ก็เป็นได้  -   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมก็ได้แต่ยิ้ม  และยิ้มอย่างเข้าใจ …</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    

หมายเลขบันทึก: 107802เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2007 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

 สวัสดีค่ะ

P

เจ้านกเอี้ยงต่างคิดว่า  ทุ่งวันนี้ไม่มีควายทุยแล้วกระมัง   และบางทีมันอาจจะยังไม่รู้สึกสุนทรีย์และคุ้นชินกับเสียงของควายทุ่งแห่งยุคสมัยนี้ก็เป็นได้  -  

ใช่ค่ะ บางทีเจ้าเอี้ยงอาจคิดว่า ตอนนี้ ควายจริงๆที่คุ้นเคย อาจไม่มีให้มันเกาะแล้วจริงๆ

  • เห็นแล้วให้รู้สึกภาคภูมิใจครับ
สวัสดีครับ 
P

เจ้านกเอี้ยงต่างคิดว่า  ทุ่งวันนี้ไม่มีควายทุยแล้วกระมัง   และบางทีมันอาจจะยังไม่รู้สึกสุนทรีย์และคุ้นชินกับเสียงของควายทุ่งแห่งยุคสมัยนี้ก็เป็นได้  -  

ใช่ค่ะ บางทีเจ้าเอี้ยงอาจคิดว่า ตอนนี้ ควายจริงๆที่คุ้นเคย อาจไม่มีให้มันเกาะแล้วจริงๆ

.....

เหตุที่ผมตั้งข้อสังเกตเรื่อง "นกเอี้ยง"  เช่นนั้นเพราะว่าผมไม่เคยเห็นฝูงนกเอี้ยง  หรือแม้แต่นกเอี้ยงวนเวียนอยู่ตามทุ่งนาเท่าไหร่นัก   

แต่ที่อื่นอาจจะยังคงมีภาพเหล่านี้อยู่เหมือนเคยก็เป็นได้   กระนั้น,  ภาพของท้องทุ่งก็ดูจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด  โดยเฉพาะสภาพของกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  ซึ่งเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อดำรงไว้ซึ่งการอยู่รอดของวิถีนั้น ๆ เป็นที่ตั้ง

....

ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ
P
  • ทุ่งนาเป็นลมหายใจของคนเราเสมอ
  • เป็นเสมือนโรงเรียนชีวิต
  • เป็นเสมือนซุปเปอร์มาเก็ต
  • และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • ....
  • ขอบคุณครับ
ต่อไปอาจจะมีหุ่นยนต์ควาย ทำงานเงียบๆ ร้องได้ สั่งด้วยเสียงพูดได้ด้วยก็ได้ :-P (แต่ไม่รู้มีประโยชน์หรือเปล่า)

ครูอ้อยจะเปิด G2K วันนี้ให้นักเรียนดู   ชนบทของคุณ..แผ่นดิน ค่ะ

ขอบคุณค่ะ  ดีใจได้สื่อการเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีครับ

นำภาพเก่าๆ มาให้ดูครับ


จาก http://www.thainewsline.com/Portals/0/IMG_0087.jpg

จะเห็นว่าบรรยากาศดีมากครับ มีการคราดนา (ราดนา) แล้วจะมีคน เด็กๆ เดินตามหลังครับ ถือสุ่มบ้าง นาง (ช้อนลูกกุ้ง) ที่จับปลาตัวเล็กๆ ตามถนัดครับ

วันไหนราดนาใคร ก็จะมีคนมายืนล้อมกัน จับกุ้งฝอยข้างๆ ริมคันนา และอื่นๆ สนุกสนานครับ

ไม่แน่ใจว่ายังมีที่ไหนในประเทศไทย ยังใช้และดำเนินแบบแผนนี้อยู่อีกบ้างครับ

ขอบคุณมากครับ

  • ใฝ่ฝันอยู่ครับ ว่าจะหาเงินซื้อที่สักแปลง ไว้ปลูกกระต๊อบสักหลัง ด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง (ฝันครับ ฮา)

.. ชอบค่ะ ชอบอ่าน

ได้บรรยากาศนึกถึงทุ่งนา เมื่อก่อน แถวบ้านยายจะมีเยอะค่ะ ... 

.... ขนำน้อยกลางท้องทุ่งมิยุ่งเหยิง สาวหนุ่มต่างเพลิดเพลิน ร้องรำเคียวเกี่ยวข้าวไป ... เจ้าทุยตัวอวบใหญ่ ลากคันไถเต้นไปเต้นมา

.. เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว กลับกลายเป็น นากุ้ง เหม็ดตามกาลสมัย ค่ะ  ...

 

  • สวัสดีครับ
    P
  • อย่าให้ถึงกับต้องมี "หุ่นยนต์ควาย"  เลยนะครับ
  • ให้ท้องทุ่งได้มีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนและควายที่ตกงานไว้ประดับทุ่งบ้าง
  • ทุกวันนี้  ลำพังรถทำนาชนิด "หยอด"  ก็ทำให้บรรยากาศอันใกล้ชิดระหว่างคนกับคนจืดจางและร้างหายไปจากทุ่งอยู่มากโข
  • วันหนึ่งมีหุ่นยนต์ควายมาอีกตัว  ...  ผมว่ามันแปร่ง ๆ  ยังไงไม่รู้
  • ...
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับ  ครูอ้อย
P
ขอบพระคุณครูอ้อยมากครับที่ช่วยกรุณานำภาพชนบทของผมไปแบ่งปันการรับรู้ต่อนักเรียนในเมืองใหญ่
ช่วงนี้ผมอาจจะลำบากในเรื่องเวลามาก  จึงอาจจะไม่ค่อยได้ไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ... พอ ๆ กับแทบไม่มีเวลาเขียนบันทึกเลยก็มี
...
ระลึกถึงเสมอ ครับ !

สวัสดีครับ  เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net

  • ขอบคุณมากครับที่ส่งภาพเหล่านี้มาให้
  • อยากได้อยู่พอดี   ผมพยายามตระเวนเที่ยวถ่ายภาพเหล่านี้แต่ไม่พบว่าจะยังใช้ควาย (เจ้าทุ่งตัวจริง)  ไถนาและคราดไถเลย
  • ก็ได้แต่สงสัยว่า   ควายที่เตร่อยู่ตามท้องทุ่งทุกวันนี้ถูกเลี้ยงไว้ในกรณีใดบ้าง
  • เพราะภาพรวมคนนิยมบริโภคเนื้อวัวมากกว่าเนื้อควาย
  • ....
  • ขอบคุณครับ -

 

สวัสดีครับ
P
ยังไงเสีย,  ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ความฝันของอาจารย์เป็นจริงในเร็ววัน ...
ไม่เกินแรงฝันอาจารย์ไปได้หรอกนะครับ ... (ถ้าอาจารย์ต้องการจริง ๆ)
ผมเชื่อเช่นนั้น, 
ขอบพระคุณครับ
  • สวัสดีครับ
    P
    poo
  • ขนำน้อยกลางทุ่งนา   ,  ผมจำไม่ผิดน่าจะเป็นชื่อเรื่องสั้น หรือนวนิยาย (น่าจะเป็นนวนิยาย)  ขนาดสั้นที่จำลอง  ฝั่งชลจิตรแต่งขึ้นและได้รับรางวัลมาแล้ว
  • สภาพท้องทุ่งทุกที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและห้วงแห่งกาลเวลา
  • แต่ที่บ้านของผมยังดีที่ยังมีการไถ, หว่านและปลูกข้าวกันอย่างต่อเนื่อง
  • เสมือนว่าทุ่งยังเป็นทุ่ง  เพียงแต่บรรยากาศดูบางเบา  สีสันของท้องทุ่งของวันนี้ก็ดูจะจากจางไปกว่าอดีตอย่างเห็นได้ชัด
  • ...
  • ผมขอบคุณมากนะครับที่แวะมาทักทาย

ไม่ค่อยสวยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท