เล่าเรื่องการอ่าน เพื่อการเรียนรู้ความพอเพียง


3 ห่วง 2 เงื่อนไข

               ดร.ปรียานุช  พิบูย์สราวุธและทีมงานได้ทำโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้สรุปปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2เงื่อนไขไว้ดังนี้        

                        3 ห่วง  2 เงื่อนไข    

       พอประมาณ            มีเหตุผล          มีภูมิคุ้มกันในตัวดี     

      เงื่อนไขความรู้      (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)

    เงื่อนไขคุณธรรม   (ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน  สติปัญญา แบ่งปัน)                   

                                ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม/สิ่งแวดล้อม                                   ก้าวหน้าอย่างสมดุล/มั่นคง/ยั่งยืน 

    หลักการสำคัญ 5 ประการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

            1. ความพอประมาณ  

                     หมายถึงความพอดี ๆ ไม่มากเกินไปไม่น้อยเกินไป ไม่สุดโต่งไม่เติบโตเร็วเกินไป

            2. ความมีเหตุมีผล

                     คือ ทุกอย่างต้องมีที่มาที่ไป สามารถอธิบายได้ มีเหตุมีผลรับกัน

            3. ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี

                         คือ ต้องปกป้องคุ้มครองไม่กระทำสิ่งที่เสี่ยงเกินไป ไม่เสี่ยงในเรื่องที่ไม่ควรเสี่ยง

            4. ความรอบรู้       คือ ต้องมีความรอบคอบ มีการใช้ความรู้วิชาการด้วยความระมัดระวัง ไม่บุ่มบ่าม ดำเนินการอย่างรอบคอบ      

            5. คุณธรรมความดี          หมายถึงความซื่อสัตย์สุจริต ประกอบด้วยความมานะอดทนและพากเพียร คุณธรรมเป็นพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืนของสรรพสิ่ง 

วิธีการให้นักเรียนเข้าใจความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

                1. วิธีที่จะให้นักเรียนเข้าใจปรัชญาเศรษฐิจพอเพียงคือให้เป็นกิจกรรมที่จัดกันโดยรุ่นพี่รุ่นน้อง ม. 1-.6 โดยให้ไปหาข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงจากสื่ออะไรก็ได้มาเล่าสู่กันฟัง 

                2. ให้อ่านหนังสือเรื่องยาวกันคนละ 1 เรื่องให้เวลา 2 เดือนแล้ววิจารย์ตัวละคร 1 ตัวว่าเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร พร้อมทั้งสรุปและวิเคราะห์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

 

                3.ให้บอกว่าสามารถนำมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้อย่างไร

 

                4. จัดกิจกรรมแต่งนิทานตามพุทธศาสนสุภาษิตคนละ 1 เรื่องต่อ 1 พุทธศาสนสุภาษิต และใช้นิทานนำเข้าสู่บทเรียน

 

                5. ครูเป็นต้นแบบพร้อมทั้งแนะนำให้มีความเข้าใจถูกต้องกับเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถนำความรู้นั้นไปประยุกต์ในการดำเนินชีวิตได้ ครูต้องสอนคน  ไม่ใช่สอนหนังสือ

                 6. แบ่งปันและขับเคลื่อนเข้าชุมชน         

    
  การนำความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้           

     1. บุคคลต้องทำงานอย่างมีคุณธรรม อยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต มีความมานะอดทนและพากเพียร และมีความรอบรู้  กระทำการด้วยความรอบคอบ ไม่บุ่มบ่าม               

  2. หักส่วนหนึ่งจากรายได้เป็นเงินออม ในขนาดที่พอเหมาะพอควรไม่ตึงจนชีวิตเครียดขาดความสุข และสุดโต่งจนขาดความสัมพันธ์กับผู้อื่น          

      3. เมื่อนำไปลงทุนก็อยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล ไม่หวือหวาตามผู้อื่นอย่างขาดความรู้ และขาดความรอบคอบ จนถูกผู้อื่นหลอกลวงได้  

      4. มีภูมิคุมกันที่ดี ไม่ลงทุนอย่างเสี่ยงเกินกว่าที่จะสามารถรับความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ และไม่คาดหวังผลตอบแทนที่มากหรือโตเกินความเป็นจริง และมีความสุขกับผลตอบแทนที่ได้รับ           

    5. เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ปรัชญาเกี่ยวกับเกษตรกรรมหากแต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกกิจกรรมของการดำรงชีวิต 

หมายเลขบันทึก: 107617เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 16:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

  • กำลังดำรงชีวิตแบบพอเพียง
  • ชอบวิธีการประยุกต์ใช้ 5ข้อ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท