ทฤษฎีสามโลกของมนุษย์ : 11 โลกของมนุษย์กับโลกของสัตว์


โลกของมนุษย์มีครบสามโลกในแต่ละคน  คือ โลกของปัญญา   โลกของอารมณ์  และโลกของกาย  มนุษย์ใช้สามโลกนี้ "เป็นเครื่องมือในการเอาชีวิตรอด โดยหนีความทุกข์ไปสู่ความสุข"  ถ้าโลกของปัญญามีบทบาทมาก  ก็จะควบคุมโลกอื่นๆอีกสองโลกได้  ในทำนองเดียวกัน  ถ้าโลกของอารมณ์มีอำนากมากกว่า มันก็จะควบคุมอีกสองโลกได้ และ  โลกของกายก็ทำนองเดียวกัน  แต่โดยปรกติแล้ว  โลกของปัญญามนุษย์จะมีอำนาจมากที่สุด  จนสามารถกล่าวสรุปได้ว่า  มนุษย์ใช้โลกของปัญญาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชีวิตรอด  หนีทุกข์ไปสู่สุข  และพัฒนาเผ่าพันธุ์ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

สัตว์อื่นๆบางประเภทก็มีสมอง  บางประเภทก็ไม่มีสมอง  ประเภทที่มีสมองก็มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนกับขนาดของร่างกายของพวกมัน  จึงมีปัญญาระดับต่ำ  ต่ำมาก ไปจนถึงไม่มีปัญญาเลย  ดังนั้น  สัตว์ต่างๆนอกจากมนุษย์แล้ว  จะใช้โลกของกายกับโลกของอารมณ์เป็นเครื่องมือในการเอาชีวิตรอด  เช่น ใช้อารมณ์เป็นเครื่องมือขยายเผ่าพันธ์  ยีราฟใช้กาย คือ คอ โดยยืดให้ยาวขึ้นเพื่อกินอาหารในที่สูงๆได้  สัตว์น้ำงอกเท้าออกมาเมื่อมาเป็นสัตว์บก ใบกระบองเพชรกลายเป็นหนามเพื่อกันการระเหยของน้ำจากต้นมันเพื่อเอาชีวิตรอดในทะเลทราย  สัตซ์หลายชิดลงไปแช่น้ำเมื่ออากาศร้อน  ทั้งนี้เพราะว่า  มันไม่มีปัญญาที่จะคิดสร้างเครื่องทำความเย็นเหมือนมนุษย์ได้  ปเนต้น

ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้ว  ก็สามารถกล่าวได้ว่า  โลกทางปัญญาเป็นเครื่องมือเพือเอาชีวิตรอดของมนุษย์โดยเฉพาะโดยแท้

ดังนั้น  ถ้ามนุษย์หันมาใช้ปัญญาเพื่อเป็นเครื่อง "รับใช้" ของโลกทางกาย และหรือโลกทางอารมณ์ เพื่อหาความสุขระยะสั้นเป็นสำคัญแล้วไซร้  มนุษย์ก็หาได้ห่างไกลจากสัตว์ไปเท่าไรไม่  !

หมายเลขบันทึก: 107262เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
     อาจารย์ครับ ผมตามอ่านมาถึงตอนนี้ ผมอยากลองใส่ประเด็น การเอาชีวิตรอดในส่วนที่เป็น "สัญชาติญาณ" ไว้ในโลกของอาจารย์ทั้ง 3 โลกดู แต่ไม่แน่ใจครับ ว่าจะใส่ในโลกไหนดี คือพอลองใส่แล้วอธิบายเหตุผลให้กับตัวเองได้ไม่ชัดเจนครับ เช่นน่าจะเป็นกลไกของโลกทางกาย ที่เราดึงมือหนีทันทีที่รู้สึกร้อน แต่บางทีเราเผลอไปโดนเตารีดที่ไม่ได้เปิดใช้มานานแล้ว เราก็ชักมือหนี ทั้ง ๆ ที่มันไม่ได้ร้อนเลย จึงยังไม่พอใจที่จะใส่ในโลกใด โลกหนึ่ง หรือกลไกเหล่านี้ Mixed กันหลาย ๆ โลกได้ครับ  อยากขอให้อาจารย์ได้แนะนำครับ
     แล้วต่ออีกประเด็นนะครับในเรื่อง "สัญชาติญาณ" เช่นการที่ต้นไม้จะออกผลดกมาก เมื่อรู้ว่าจะเจอภาวะคุกคาม หรือ ใบไมยราย (หนามงับ) จะหดทันทีเมื่อไม่โดนเข้า อันนี้เป็นสัญชาติญาณไหมครับ

สวัสดีครับ คุณชายขอบ

"สัญชาตญาณ" หรือ Instinct เราหมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้เองโดยที่ไม่ต้องเรียนรู้  เช่น แมงมุมทุกตัวชักใยเป็น  นกกระจาบทุกตัวทำรังเป็นและเป็นแบบเดียวกัน เป็นต้น  ในสัตว์อื่นๆมีมาก  แต่ในคน บางคนเชื่อว่ามีบ้าง แต่น้อยมาก  บางคนเชื่อว่าไม่มีในคน  ก็ถกเถียงกัน  และคนที่ไม่เชื่อก็พยายามวิจัย  โดยเทคนิค "การวางเงื่อนไข"  ค้นหาไปเรื่อยๆ ครับ  จนได้หลักฐานจากข้อมูลว่า เราสามาถวางเงื่อนไขให้หัวใจเต้นเร็วเต้นช้าก็ได้ด้วยครับ 

พฤติกรรมที่เกิดจากการไม่ได้เรียนรู้มาก่อนจะเป็นพฤติกรรมประเภทกิริยาสะท้อน หรือ  Reflex  พฤติกรรมประเภทนี้ เกิดจากระบบประสาทรับข่าวสารเข้า (Afferent neuron)  และประสาทส่งออก(Efferent neuron)  ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วย ประสาทตัวเชื่อม (Inter neuron) โดยผ่านไขสันหลัง  ไม่ต้องสั่งการจากสมอง  แต่สมองอาจจะรับรู้ภายหลังที่มันเกิดขึ้นแล้ว การหดมือเมื่อถูกไฟที่คุณชายขอบบกตัวอย่างมา ก็อธิบายได้ดังนี้แหละครับ   พฤติกรรมอื่นๆก็เช่น  การกระพริบตา  หัวเข่ากระตุกเมื่อเอาของแข็งไปเคาะ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลองต่างๆ ทดลองทีไรก็พบว่าเรียนรู้ได้ทุกที  จึงทำให้บางคนลงสรุปแบบอุปนัย (Induction) เอาดื้อๆว่า  พฤติกรรมอื่นๆที่เหลือ ก็ "สามารถเปลี่ยนแปลง" ได้เช่นกัน

จึงมีใช้คำสัญชาตญาณกันน้อยมากในคนครับ

คนที่เชื่ออย่างมากก็คือ Freud ครับ  ดังนั้นถ้าคุยเรื่องสัญขาคญาณกับนักจิตแพทย์ที่เชื่อฟรอยด์มากๆแล้วละก้อ  นั่งฟังเฉยๆก็จะดีกว่าครับ

พฤติกรรม Reflex หรือ พวก Instinct นี้  ผมจัดเข้าอยู่ในโลกของกายครับ  ถึงแม้ว่าผลของมันจะเล็ดลอดผ่านประสาทตัวเชื่อมไปเกิดการรู้สึกสัมผัสและรับรู้ที่สมองในภายหลังบ้างก็ตาม

พฤติกรรมประเภทที่กล่วมาส่วนใหญ่อยู่ในระบบประสาทอัตบาล ครับ 

คุณชายขอบเชี่ยวชาญอยู่แล้วไม่ใช่หรือ เรื่องนี้ ?

     ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ เรียกกว่ากระจ่างใจเลยครับ ผมเชื่อว่าคนมีสัญชาติญาณอยู่ครับ แม้จะเชื่ออย่างลม ๆ แล้ง ๆ ก็ขอเชื่อไว้ก่อน ด้วยเหตุผลว่าบางเรื่องที่บอกว่าเรียนรู้ได้นั้น ผมมองว่าเรียนรู้เพื่อปรับ/เบี่ยงพฤติกรรมให้เป็นไปตามที่สังคม(ส่วนใหญ่)กำหนดและบอกว่าจำเป็นต้องเรียนรู้ครับ ที่ผมเชื่อเช่น คนทุกคนแสวงหาความสุขเพื่อตอบสนองสัญชาติญาณตัวเอง แต่พฤติกรรมอะไรที่เป็นความสุขแล้วไม่แตกแถว ไม่ออกนอกลู่นอกทาง มีคุณธรรม มีจริยธรรม ไม่เป็นโลกวัชชะ พฤติกรรมนั้นควรเรียนรู้และปรับ/เบี่ยงให้เป็นไปตามนั้น
     ที่ขีดเส้นใต้ หมายถึงสังคม (ส่วนใหญ่) กำหนดไว้ ฉะนั้น สัญชาติญาณบางอย่างทีเป็นสิ่งดั้งเดิมจึงค่อยหาย ๆ ไป แต่ไม่หมดเสียทีเดียว วันหนึ่งหากจำเป็นก็จะกลับมาเพื่อความอยู่รอดได้อีก เช่นเมาคลีลูกหมาป่า (ผมว่าไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ ไม่ควรใช้อ้างอิงนะครับ)

     อาจารย์ครับ ผมไม่เชี่ยวชาญอะไรเลยครับในเรื่องระบบประสาทอัตบาล เพียงนึกทึ่งแล้วชอบเท่านั้นครับ ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งนึงนะครับที่กรุณา เด็กชอบถามซน ๆ อย่างผมนี่ครับ

ครับ  คุณชายขอบ

ไม่มีรูป
ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว
อาจารย์หายไปนาน....
เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมป่วยไปประมาณเดือนเศษครับ  พอจะลุกขึ้นนั่งได้บ้าง  ก็มาเปิดดู  ก็เปิดเข้ามาไม่ได้  เพราะระบบมีความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปมาก  ผมกลายเป็นสมาชิกที่ล้าหลังไปแล้วครับ  พยายามอยู่หลายวัน  วันนี้ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น  ผมลองพิมพ์มาสั้นๆ (เพราะวันก่อนพิมพ์เสียยาวจบตอน แต่เครื่องมันไม่ยอมตีพิมพ์ให้ )  เกิดตีพิมพ์ได้ขึ้นมาเฉยๆ 

ผมคิดถึงเพื่อนๆสมาชิกและผู้อ่านทุกท่านครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว 

     อาจารย์หายดีหรือยังครับ ยังไงก็ขอให้รักษาสุขภาพนะครับ
     ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงในทุกมิติครับ

ขอบคุณมากครับ คุณชายขอบ  ขณะนี้ ผมอายุ ๒๗ เอ๊ย - ๗๒ แล้วครับ  คิดอะไรได้  ถ้าดูแล้วน่าจะบันทึกไว้ ก็รีบบันทึกครับ  ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท