หายไปตั้งนาน.. ออกนิเทศ-ประเมินงาน มาค่ะ


เป็นการประเมินศูนย์สุขภาพชุมชน ในปีงบประมาณ 2550

หนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ทำหน้าที่อีกบทบาทหนึ่งของ QRT นั่นคือการตรวจประเมิน ศูนย์สุขภาพชุมชน ทั้ง 7 แห่ง บรรยากาศโดยทั่วไป ของการประเมิน ก็ค่อนข้างเป็นกันเองนะ (คิดว่างั้น!!!) เป็นการประเมินศูนย์สุขภาพชุมชน ในปีงบประมาณ 2550 ตามแผนงานวางไว้ วันที่ 18 - 21 มิถุนายน 2550 แต่เนื่องจาก มีปัญหา สะดุด เล็กน้อย (ถึง) ปานกลาง ในเรื่องของการประสานและการติดภาระกิจของ QRT ทางโรงพยาบาล ที่มีภาะงาน ค่อนข้างมาก จึงต้องมีการเลื่อนแผนออกไปหนึ่งวัน แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดี ---> เพราะการพูดคุย ตกลงทำความเข้าใจ กันระหว่าง QRT ในทีมจากการประชุมย่อย ในวันที่ 18 มิถุนายน ช่วงบ่าย เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันก่อนออกประเมิน

ทีมที่ออกประเมินในครั้งนี้ ประกอบด้วย ทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะเปอร์ ซึ่งมีคุณสาโรจน์/คุณสมเกียรติ ซึ่งรับผิดชอบประเมิน ในมาตรฐานงานบริหาร และงานบริการ ในส่วนของสุขภาพภาคประชาชน ทางโรงพยาบาลกะเปอร์ มีคุณวนิชา/คุณวิมลศรี/คุณขนิษฐารับผิดชอบประเมินในส่วนงานบริการและเภสัชกร คุณวัฒนาพร งานเวชภัณฑ์ และในปีนี้ เราได้มีการ เชิญผู้ปฏิบัติ ที่มากประสบการณ์จากสถานีอนามัย คุณสิริพรเข้ามาร่วมประเมินในส่วนของงานชุมชน อีกด้วย ท้ายสุดมาตรฐาน ด้านงานวิชาการ ก็เป็นผู้เขียนที่รับผิดชอบในการประเมินมาตรฐานดังกล่าว

เริ่มวันที่ 19 มิถุนายน 2550 ดำเนินการประเมิน สองแห่ง คือ สถานีอนามัย ตะเคียนงาม และ สถานีอนามัย บางหิน

วันที่ 20 มิถุนายน 2550 ประเมินสถานีอนามัยทองหลาง และสถานีอนามัยเชี่ยวเหลียง

วันที่ 21 มิถุนายน 2550  ประเมินสถานีอนามัยบ้านนา สถานีอนามัยบางเบน และสถานีอนามัยม่วงกลวง

การประเมินในครั้งนี้ จะมุ่งเน้น ไปที่การค้นหาจุดแข็งจุดอ่อน ของแต่ละสถานบริการ เพื่อช่วยในการเติมเต็มในการพัฒนาให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจสอบเอกสาร และการประเมินผู้เข้ารับบริการและอสม.ในพื้นที่ ขอเล่าบรรยากาศการประเมินจากรูปภาพมาฝากกัน

ประเมินจากเอกสาร หลักฐาน ตามแบบประเมิน

ประเมินจากการสังเกตในการให้บริการแก่ประชาชน

สุ่มประเมินจาก Family Folder

ประเมินจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่

ทีม QRT สรุป เสนอแนะ เพื่อการพัฒนา

รับฟังปัญหา และความต้องการ จากสถานบริการ

และจาก (ผลการประเมิน) โดย QRT ระดับอำเภอ ในครั้งนี้ มีเรื่องน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่สถานบริการทั้ง 7 แห่ง ดำเนินการพัฒนาตนเอง จนผ่านการประเมินโดยใช้มาตรฐาน PCU หากแต่ผลจากการประเมินสถานบริการจะต้องคัดเลือกสถานบริการที่มีคะแนนสูงเป็นอันดับ 1 ถึง อันดับ 3 เพียง สามแห่งเพื่อส่งเข้ารับการประเมิน โดยทีม QRT (ไขว้)ระดับอำเภอ โดยอันดับอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ในโค้งสุดท้าย !! นั่นหมายถึง ทีมไขว้ จะเป็นผู้ตัดสินว่า สถานบริการใดรับคะแนน มาเป็นอันดับ 1 2 และ 3 และท้ายสุดแล้ว สถานบริการที่ได้ที่หนึ่งระดับอำเภอ จะเป็นตัวแทนที่เข้ารับการประเมินระดับจังหวัดต่อไป

ท้ายที่สุดการพัฒนาคุณภาพ จึงเป็นงานที่ ไม่ใช่แค่ (ควร) ทำ หากแต่ (ต้อง) ทำควบคู่ กับงานประจำ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และประโยชน์สุดท้ายจากการพัฒนาดังกล่าว ก็คงไม่ไปไหนไกล ก็อยู่ในพื้นที่ชุมชน และประชาชนที่รับบริการนั่นเอง 

 

 

สถานีอนามัย ใกล้ใจ ใกล้บ้าน

ให้บริการสุขภาพ ในชุมชน

ดูแลบุคคล ทั้งกาย-ใจ

ห่วงใยประชาชน ทั้งครอบครัว

หมายเลขบันทึก: 105574เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
  • สวัสดีคะ
  • หายไปเป็นอาทิตย์เลยนะ
  • กลับมาพร้อมกับเรื่องราวดีๆ

ดีใจด้วยค่ะ ผ่านทั้งเจ็ด สอ

ไม่ธรรมดาเลย นะคะนี่

 

นับถือ  นับถือ

  • สวัสดีคะ พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล
  • ขอบคุณมากนะที่แวะเข้าให้กำลังใจ
  • อันที่จริง ทาสถานีอนามัยก็มีความมุ่งมั่น ในการพัฒนา
  • และประกอบกับทางผู้บริหาร กำหนดเป็นนโยบาย
  • ส่วน ทีม QRT มีเป็นเพียงฟันเฟืองเล็กๆ ในการพันาเท่านั้นเอง คะ

สวัสดีครับ

  • ในทุกครั้งที่เข้ามาอ่านบันทึกเหล่านี้
  • ผมอดที่จะคิดถึงเรื่องราวของ "หมอกานต์"  ในนวนิยายไม่ได้  ซึ่งเป็นหมอที่ออกไปช่วยเหลือคนในชนบท 
  • สถานีอนามัย  เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นความห่วงใยของรัฐที่มุ่งไปสู่การให้บริการในชุมชน 
  • หลายที่มีทั้งที่อยู่ประจำและไม่มีอยู่ประจำ 
  • ในอดีตก่อนสถานีอนามัยจะมีขึ้นในหมู่บ้าน  ภาระส่วนหนึ่งก็อยู่กับกลุ่ม อสม.  ซึ่งก็ทำหน้าที่อย่างน่าเห็นใจ
  • ...
  • การประเมิน คือ การไปเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนผลพวงแห่งการทำงานของผู้ถูกประเมิน
  • จะยังติดตามความเคลื่อนไหวต่อไปนะครับ
  • ผมแวะมาเป็นกำลังใจกับงานที่ยังทำต้องทำอย่างไม่รู้จบ 
  • การประเมินในครั้งนี้ จะมุ่งเน้น ไปที่การค้นหาจุดแข็งจุดอ่อน ของแต่ละสถานบริการ เพื่อช่วยในการเติมเต็มในการพัฒนาให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การตรวจสอบเอกสาร และการประเมินผู้เข้ารับบริการและอสม.ในพื้นที่

น้องเปิ้ล

 

  • สวัสดีคะ คุณ แผ่นดิน
  • ดีใจจังเลยคะ ที่มีหนึ่งคนที่ให้ความหมายของสถานีอนมัยตามคาวมเข้าใจว่า ...  "สถานีอนามัย  เป็นภาพที่สะท้อนให้เห็นความห่วงใยของรัฐที่มุ่งไปสู่การให้บริการในชุมชน"
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจเพราะงานพัฒนาคุณภาพเป็นงานที่ยังทำต้องทำพัฒนาอย่างไม่รู้จบ 
  • สวัสดีคะ ... คุณ อำนวย สุดสวาสดิ์
  • "ทราบว่าปีที่แล้ว กะเปอร์ประเมินผ่านแค่ 4 สอ. ปีนี้ผ่านทุก สอ. แสดงว่า QRT ต้องมีวิธีการทำงานอะไรดีๆ ที่ยังไม่ได้บอกไว้ ณ  ที่นี้ ยังไงก็ช่วยชี้แนะพวกเราด้วยนะครับ"
  • แหม่!!! อันที่จริง ผลประโยชน์ ส่วนใหญ่คงต้องยกให้กับตัวสถานบริการเองมากกว่า แต่ถ้าให้มองหาจุดแข็งของกะเปอร์ อาจจะเป็นประเด็นของผู้บริหาร ให้การสนับสนุน และอีกส่วนที่เห็นได้ชัดคือ ในมาตรฐานที่3 งานวิชาการ ปีนี้เกณฑ์ การประเมิน อนุโลม ให้สามารถนำผลงานวิชาการของเจ้าหน้าที่ มาประกอบการประเมินได้ จึงมี้อได้เปรียบตรงนี้หล่ะคะ ...
  • ส่วนอื่นๆ ก็คงเป็นการสนับ ในการพัฒนา คน (ในงานที่พัฒนาได้) ให้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนานั่นเอง "ให้กำลังใจคนทำงานนั่นเอง"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท