นำชม พระธาตุอินทร์แขวน(พม่า) ตอน ๔


ข่าวดีคือ รัฐบาลพม่ากำลังจะเปิดให้เข้าไปในเขตที่มีหิมะ ใกล้พรมแดนธิเบตภายใน 2 ปีข้างหน้า... อาจารย์กวางท่านกล่าวไว้อย่างนั้น

ภาพที่ 1: ลูกหาบพบลูกทัวร์...

ลูกหาบจากบริษัทสัมปทานสวมชุดเสื้อน้ำเงินสดกับโสร่งกำลังหาลูกค้า... ลูกทัวร์ทางขวามือกำลังขอถ่ายภาพลูกหาบที่รับจ้างแบกกระเป๋าเป็นที่ระลึก

คนชาติต่างๆ ตอบสนองต่อการถูกถ่ายภาพ (photogenic effect) ไม่เหมือนกัน... คนอินเดียชอบเป็นแบบ (model) ให้คนอื่นถ่ายภาพ และมักจะขอให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ

คนพม่าไม่ค่อยชอบถูกถ่ายภาพ... หลายๆ คนโกรธ หน้าบึ้งทันทีที่มีคนถ่ายภาพ

ท่านพระอาจารย์อาคมกล่าวว่า เรื่องนี้อาจเป็นผลมาจากสังคมที่ "ไม่ไว้วางใจกัน" คนพม่าเป็นโรคกลัวข้อหา "ยุ่งเกี่ยวการเมือง" ทุกคนจึงพยายามหลบ เลี่ยง หลีก หนีเรื่องการเมืองหัวปักหัวปำ

แต่ถ้ามีงานบุญงานปอย(งานบวช)ละก็... ญาติๆ กันถ่ายภาพได้เต็มที่

หนังสือนำเที่ยวแนะนำว่า ถ้าจะถ่ายภาพคนพม่า ควรขออนุญาตก่อน ทำคล้ายๆ กับว่า

คนพม่านี่จดทะเบียนลิขสิทธิ์ภาพไว้ (patented) เวลาจะถ่ายจึงต้องขออนุญาต เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ หรืออะไรทำนองนั้น

ผู้เขียนสังเกตในปี 2548 ว่า ถ้าเราไปขออนุญาตถ่ายภาพจริงๆ เช่น ชี้ที่กล้อง คำนับแล้วชี้ที่กล้อง ฯลฯ ประมาณครึ่งหนึ่ง (50%) จะเซย์โน (say 'no' = ปฏิเสธ)

ถ้าเราอยากจะถ่ายจริงๆ ให้ถอยไปไกลๆ ใช้ซูม หรือถ่ายภาพด้วยความละเอียดสูง... อย่างนี้ได้ ท่านไม่ว่า

ปี 2550 คนพม่ายอมให้ถ่ายภาพมากขึ้น... อัตราหน้าบึ้งลดลงเป็นประมาณ 20% เข้าใจว่า คงจะพบเห็นนักท่องเที่ยวกันมากขึ้น

มีอีกวิธีหนึ่งที่ดีคือ เตรียมของฝากไปแจก เช่น ปากกา ฯลฯ หรือดีกว่านั้นคือ ถ้าเขาทำงานหาเงิน เช่น เป็นลูกหาบ ฯลฯ ถ่ายแล้วทิปไปเลย เงินไทย เงินพม่า เงินดอลลาร์.... ดีทั้งนั้น

สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งที่อาจทำให้คนพม่าไม่ชอบให้คนถ่ายภาพได้แก่ ธรรมชาติของท่านอาจไม่ชอบให้ใคร "จ้อง" มองนานๆ

เรื่องนี้ผู้เขียนมีประสบการณ์มาแล้ว... คือ ครั้งหนึ่งไปทำความสะอาดบริเวณที่ปักเทียน ด้านหน้าพระเจดีย์ วัดพระแก้วดอนเต้า ลำปาง

นักท่องเที่ยวฝรั่งตั้งท่าถ่ายภาพ โฟกัสเสียนาน เลนซ์กล้องขนาดใหญ่โตมโหฬาร รู้สึกอึดอัด หน้าแดงไปเหมือนกัน

ข่าวดีคือ รัฐบาลพม่ากำลังจะเปิดให้เข้าไปในเขตที่มีหิมะ ใกล้พรมแดนธิเบตภายใน 2 ปีข้างหน้า... อาจารย์กวางท่านกล่าวไว้อย่างนั้น

ปรากฏการณ์นี้ถ้าเทียบจะคล้ายกับว่า นักท่องเที่ยว "ลุย" เข้าไป "ถ่ายภาพ" ในสวนสัตว์เปิด หรืออะไรทำนองนั้นทีเดียว

วิธีที่ดีคือ ถ้าจะถ่ายภาพคนพม่า...

  • โฟกัสให้เร็ว หรือใช้กล้องออโตโฟกัส
  • อย่าเข้าไปใกล้เกิน
  • ถ่ายไกลหน่อย... ใช้ซูมเทเล หรือตั้งความละเอียดภาพให้สูงหน่อย แล้วไปตัดแต่งภาพ เช่น ตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการ (trim) ฯลฯ ทีหลัง
  • อย่าหันด้านหน้ากล้องไปหาใครคนใดคนหนึ่งนานๆ ให้หันกล้องไปทางอื่น ทำเป็นดูหรือถ่ายอะไรอย่างอื่นสักพัก... ถ้าต้องการถ่ายซ้ำ ให้รอสักพัก จะได้ดูไม่เหมือนการไป "จ้อง" ใครผ่านกล้อง
  • ขอโทษถ้าเขาโกรธ... เช่น กล่าว "ซอรี่หนอ (sorry nor)" ฯลฯ คำนี้มาจากภาษาอังกฤษ ฯลฯ แปลว่า ขอโทษ จะคำนับหรือจะไหว้ก็ได้ อย่าลืมว่า เราอยากให้คนพม่ามองคนไทยในแง่ดี บ้านพี่เมืองน้องดีกันไว้ก่อนดีกว่าหมั่นไส้กันครับ...

คนพม่าเอง... ถ้าอยากเป็นชาติมหาอำนาจทางด้านการท่องเที่ยวต่อไป ซึ่งพม่ามีโอกาสสูงมากที่จะเป็นชาติแนวหน้าด้านนี้

เพราะพม่ามีทั้งศิลปะ วัฒนธรรม และสังคมที่มีเอกลักษณ์สูง แถมยังมีภูเขาที่มีหิมะอีกด้วย

ข่าวดีคือ รัฐบาลพม่ากำลังจะเปิดให้เข้าไปในเขตที่มีหิมะ ใกล้พรมแดนธิเบตภายใน 2 ปีข้างหน้า... อาจารย์กวางท่านกล่าวไว้อย่างนั้น

ภาพที่ 2: "หม่องแบก" 

เสน่ห์อย่างหนึ่งของภูกระดึงและทางขึ้นพระธาตุอินทร์แขวนคงจะอยู่ที่ลูกหาบนี่เอง...

ลูกทัวร์ท่านหนึ่งคงจะถูกแซวว่า อายุยังน้อย ทำไมไปเบียดเบียนคนอื่น ตัวใหญ่ตัวหนัก ทำให้คนแบกลำบาก

ลูกทัวร์ท่านนั้นตอบว่า สร้างงานครับ... สร้างงาน

ใจเขาใจเรา... สมมติถ้าผู้เขียนเกิดมาเป็นคนพม่า หรือเป็นลูกหาบ ผู้เขียนคงจะอยากได้สตางค์ไปเลี้ยงครอบครัวมากกว่าตกงานอยู่เฉยๆ แน่นอน

ทว่า... ถ้าเรามีใจใหญ่จริงๆ ปรารถนาจะอนุเคราะห์คนอื่นอย่างแรงกล้าแล้ว จะลองนั่งพอเป็นพิธี หรือนั่งถ่ายรูปไปสัก 5-6 ก้าว เดินขึ้นต่อ จ่ายค่าเสลี่ยง และทิปเพิ่มก็ได้

ใครทำอย่างนี้ขออนุโมทนาครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ทีนี้ถ้าทำไม่ได้... ขอนั่งเสลี่ยงไปจนถึงที่ ทิปเพิ่มอีกหน่อยน่าจะดีเช่นกัน

ภาพที่ 3: แบกครับแบก...

กว่าจะได้ค่าแรง 100 กว่าบาทนี่... แบกขึ้นแบกลงคราวละครึ่งชั่วโมง น้ำหนักคน+เก้าอี้นอน+ไม้ไผ่ หนักหนาสาหัสทีเดียว

ผู้เขียนฝากไกด์บอกลูกหาบ ขอลองแบกมาแล้ว ไปได้ 6-8 ก้าวเอง เหนื่อยมากกว่าที่คิดเยอะเลย...

ลอง(แบก)แล้วไม่ได้ลองเปล่านะครับ ทิปลูกหาบค่าความรู้ 4 ท่านๆละ 1,000 จัต

ภาพที่ 4: แบกอย่างนี้ดีกว่าตกงาน...

แบกแบบนี้ ชันแบบนี้ ขึ้นครึ่งชั่วโมง+ลงครึ่งชั่วโมง ได้ร้อยยี่สิบบาทกับเศษนิดหน่อยเอง...

นี่ถ้าไปเจอคนตัวโตๆ หรือตัวหนักๆ แล้ว สงสัยลูกหาบคงเคล็ด ขัด ยอกไปหลายวันทีเดียว

ภาพที่ 5: ช่วยผมหน่อย...

ลูกหาบเดินตามลูกทัวร์... "เผื่อจะได้ทิป"

ผู้เขียนนุ่งโสร่งขึ้นไป สงสัยจะดูคล้ายพม่า มีลูกหาบท่านหนึ่ง (ไม่ใช่ 4 คนในภาพ) ถามว่า "เป็นพม่าหรือเปล่า (เมี่ยนหม่า... เมี่ยนหม่า?)"

ผู้เขียนรู้พม่านิดหน่อย(น้อยมาก) ตอบไปว่า "โยเดียหลู่เมียว (คนไทย / "โยเดีย" = อยุธยา หมายถึงคนไทย) และกล่าวว่า "เมี่ยนหม่า นาหมะแลบู้" (พม่า + หูไม่กระดิก = ไม่เข้าใจภาษาพม่า)

ลูกหาบท่านนั้นเลยตีหน้างงๆ และพูดไทยว่า "ไม่พูดพม่า" ผู้เขียนพยักหน้าตอบ

ตอนนี้คิดว่า ถ้ามีโอกาสจะลองเรียนภาษาพม่าดูสักหน่อย เผื่อจะได้เป็น "เมียนหม่า(หมายถึงนุ่งโสร่งแล้วดูคล้ายคนพม่า) พูดพม่า" กับเขาบ้าง

ถ้าบริษัทสัมปทานหรือบริษัทไกด์ทำคู่มือพูดภาษาไทยง่ายๆ เช่น ขอบคุณครับ สวัสดีครับ ท่านครับ... ช่วยผมหน่อย(เผื่อจะได้ทิป) ฯลฯ

 

ลูกหาบนิยมกินหมาย ซึ่งอาจทำให้ฟันแดง-ลิ้นแดง-เหงือกแดง-ปากแดง และอาจจะดูน่ากลัวนิดหน่อย แถมยังชอบตีหน้าขรึม

นอกจากนั้นการที่คนพม่าไหว้เฉพาะ "5 ใหญ่" ได้แก่ พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์) ไม่ไหว้คนอื่น

เรื่องนี้อาจทำให้คนไทยรู้สึกว่า คนพม่ามือไม้แข็ง อย่าทิปเสียเลยดีกว่าก็เป็นได้...

ถ้าบริษัทสัมปทานหรือไกด์พม่าช่วยสอนเขาหน่อย ให้พูดไทยบ้าง ยิ้มบ้าง ไหว้บ้าง(ฝืนใจทำก็ยังดี)... ผู้เขียนเชื่อว่า คงจะได้ทิปเพิ่มขึ้นแยะเลย

ภาพที่ 6: โรมแรมไจ้ก์โถ่...

โรงแรมไจ้ก์โถ่เป็นโรงแรมของรัฐบาล อยู่ใกล้พระธาตุอินทร์แขวน ที่นี่มีบริการเสิร์ฟชาร้อน 1 ถ้วยทันทีที่ไปถึง นับว่า เป็นบริการที่น่าประทับใจมาก

คนพม่าชอบเรียนภาษา และอยากมีรายได้กับการท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวในพม่าก้าวไปเร็วมาก

คุณกวางบอกว่า อาหารที่โรงแรมใกล้พระธาตุอินทร์แขวนไม่ค่อยอร่อย... ทนหน่อยนะครับ พอถึงเวลาแล้วอะไรก็อร่อย เพราะหิวมากจากการเดินทาง

ดูเครื่องแบบพนักงานที่นี่... นุ่งกางเกง ลูกทัวร์ก็นุ่งกางเกง เลยมีผู้เขียนเด๋อด๋านุ่งโสร่งแทบจะคนเดียว โชคดีที่ผู้จัดการกับไกด์นุ่งโสร่งเลยรวมเป็น 3 คน

ภาพที่ 7: ประตูทางเข้าพระธาตุอินทร์แขวน... 

ประตูวัดพม่าส่วนใหญ่จะมีรูปตัวสิงห์ (ซินเต้) เฝ้าทางเข้า ท่านซินเต้นี่คนไทยนำมาทำเป็นเครื่องหมายการค้าน้ำดื่ม ทางพม่าก็นำไปทำเป็นเครื่องหมายน้ำดื่มแกลลอนเช่นกัน (เห็นที่วัดแฌมเย่ปี 2548)

วันนี้หมอกลงจัดมาก ดีที่ฝนไม่ตก เลยถ่ายภาพมาฝากพวกเราได้ครับ... กล่าวกันว่า หน้าหนาวสวยกว่านี้มากเลย

ภาพที่ 8: ภายในเขตพระธาตุ...

ไปพม่าหน้าฝนดีอย่างนี้เอง... ไม่พลุกพล่าน ไม่วุ่นวาย ไม่แออัด เงียบ สงบ สะอาดสมเป็นเมืองพุทธชั้นนำของโลก

ความจริงถ้าจะนับศรัทธาในพระเจดีย์ พระธาตุแล้ว... ผู้เขียนเชื่อว่า คนพม่าเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก

ครั้งหนึ่งลูกทัวร์ถามว่า ใส่รองเท้าเข้าไปได้ไหม... "ไม่ได้ครับ ไม่ได้ขนาดตอนเป็นเมืองขึ้นอังกฤษ คนพม่ายังไม่ยอมเลย ตอนนี้ไม่เป็นเมืองขึ้นใคร จะยอมได้อย่างไร" ท่านตอบไปยิ้มไป

จากการสังเกตพุทธบริษัททั่วโลกมา... ผู้เขียนยอมรับว่า คนพม่าเคร่งครัดในเรื่องการแสดงความเคารพพระธาตุ-พระเจดีย์มากที่สุดในโลก... สาธุ สาธุ สาธุ

ภาพที่ 9: สาวพม่าผู้มากด้วยศรัทธา...

ชาวพม่านี่ว่างไม่ได้เลย กล่าวกันว่า ถ้าว่างแล้วจะต้องหาทางไปทำบุญที่พระเจดีย์ พระธาตุ หรือวัดวาอารามเป็นประจำ

ปกติสาวพม่านิยมไว้ผมยาว ข่าวจากสำนักพิมพ์อิระวดี (www.irrawaddy.org) ตีพิมพ์ออนไลน์เดือนมิถุนายน 2550 ว่า

มีการขโมยเส้นผมสาวๆ ไปขายในพม่า โดยแอบตัดตอนขึ้นรถโดยสาร หรือตอนไปจับจ่ายซื้อของ

สาวพม่าที่ไม่มีเงินส่งลูกเรียน ขายผมนำเงินเป็นค่าเทอมลูกก็มี ข่าวว่า คนขายผมอายจนร้องไห้ที่ต้องไว้ผมสั้นเลยทีเดียว

ภาพที่ 10: ภาพอะไรไม่ทราบ...

ภาพอะไรไม่ทราบเหมือนกันครับ

โปรดคลิกที่นี่                                                               

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนต่อไป (ตอนที่ 5)
  • [ Click - Click ]  
  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนที่ 1
  • [ Click - Click ]  
  • ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน / ไจ้ก์ทิโย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย ภาคภาษาไทย
  • [ Click - Click ]

แหล่งที่มา...                                                                  

  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจากมะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > เรื่องพระธาตุอินทร์แขวน / ไจ้ก์ทิโย > วิกิพีเดียภาคภาษาไทย > [ Click - Click ]
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์พงศกร เบ็ญจขันธ์ > มอญ: ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในพม่า > ศูนย์พม่าศึกษา > http://gotoknow.org/blog/mscb/15498 > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจามะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549. 
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์สามารถ ปราบกรี ([email protected]) >  15-18 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณอาจารย์กวาง และคุณฟองนวล ไกด์ไทยใหญ่ > [email protected] > 15-18 มิถุนายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 105237เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท