นำชม พระธาตุอินทร์แขวน(พม่า) ตอน ๕


การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมภายในแถบนี้จริงๆ แล้ว "มอญเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมหลัก" ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาพที่ 1: เสาหงส์ประจำพระธาตุอินทร์แขวน

อาจารย์กวางกล่าวไว้คมมาก... ท่านบอกว่า อินโดจีนหรือกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลจากภายนอกคือ จากอินเดียและจีนก็จริง

ทว่า... การสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมภายในแถบนี้จริงๆ แล้ว "มอญเป็นผู้สร้างวัฒนธรรมหลัก" ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลักฐานในประวัติศาสตร์คือ พม่าตีมอญแตก อพยพมอญไปพุกามประมาณ 1 ใน 3 ของทั้งหมด นำพระและช่างฝีมือไปด้วย

ช่างชาวมอญได้ทำเสาหงส์ไว้ที่วัดทุกวัดที่ช่างชาวมอญสร้างขึ้น และเสาหงส์นี้ก็ได้ถูกดูดซับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมพม่า

เมืองไทยเราก็มีวัดที่มีเสาหงส์อยู่หลายแห่ง(ถ้ายังไม่ถูกทำลาย) ตัวอย่างเช่น วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า(ลำปาง) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง(ลำปาง) ฯลฯ

ถ้ามีเสาหงส์... คงจะบอกได้ว่า วัดนี้ช่างมอญ หรือช่างพม่าที่เป็นซึมซับ และรับวัฒนธรรมของมอญไปเป็นคนสร้าง

เมืองไทยเราก็ได้รับขนบธรรมเนียม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมจากพระและช่างชาวมอญเป็นอันมาก เพราะคนมอญอย่างน้อย 1 ใน 3 อพยพเข้ามาอยู่ในไทย แถมยังอพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย

เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่านานถึง 100 ปีเศษ ทำให้ล้านนาได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมอญ(ผ่านพม่าอีกต่อหนึ่ง)

นอกจากนั้นการที่มอญ-เขมรมีโครงสร้างภาษาดั้งเดิมเป็นกลุ่มเดียวกัน โอกาสที่ศิลปะของเขมรแต่เดิมจะมาจากช่างมอญจะสูงมาก ต่างกันตรงที่ว่า เขมรไปรับศาสนาพราหมณ์(ฮินดู) และรับอิทธิพลจากอินเดียมากในเวลาต่อมา

คนที่เป็นลูกเป็นหลานมอญ... ถ้าคิดถึงความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรมของมอญแล้ว ขอให้ภูมิใจได้เลยครับ

ภูมิใจแล้วอย่าลืมช่วยกันอนุรักษ์แบบแผน ประเพณี เรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมของมอญ เช่น ทำพิพิธภัณฑ์ ทำการบันทึกหลักฐานต่างๆ ไว้ ฯลฯ ให้เป็นสมบัติของโลกต่อไปด้วย...

ภาพที่ 2: พระธาตุอินทร์แขวนยามเย็น

เย็นนี้หมอกปกคลุมไปทั่วลานพระธาตุ... ชวนให้นึกถึงความพยายามของบรรพบุรุษชาวมอญที่อุตส่าห์ดั้นด้นมาสร้างพระเจดีย์แห่งนี้บนเขาสูง

บัดนี้ความปรารถนาของคนไทยใส่โสร่ง(ผู้เขียน)ที่จะกราบสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้ครบ 5 แห่งได้บรรลุถึงจุดหมายนั้นแล้ว...

  • โปรดคลิกที่นี่ ถ้าต้องการชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่ 
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 3: พระธาตุอินทร์แขวน

ต่อไปจะนำภาพพระธาตุอินทร์แขวนมาให้ชมจากเย็นจรดค่ำ จากค่ำจรดคืนมาฝากไปโดยลำดับครับ...

ภาพพระธาตุอินทร์แขวนยามเย็น

  • โปรดคลิกที่นี่ ถ้าต้องการชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 4: พระธาตุอินทร์แขวน...

พระธาตุอินทร์แขวนยามค่ำ

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 5: พระธาตุอินทร์แขวน...

ภาพพระธาตุอินทร์แขวนยามค่ำ

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 6: พระธาตุอินทร์แขวน...

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 7: พระธาตุอินทร์แขวน

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่
  • [ Click - Click ]

ภาพที่ 8: พระธาตุอินทร์แขวน...

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่อชมหรือดาวน์โหลดภาพใหญ่ 
  • [ Click - Click ]

โปรดคลิกที่นี่                                                               

  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนที่ 1
  • [ Click - Click ]
  • โปรดคลิกที่นี่ เพื่ออ่านตอนต่อไป (ยังไม่เสร็จ)
  • ตำนานพระธาตุอินทร์แขวน / ไจ้ก์ทิโย จากสารานุกรมวิกิพีเดีย ภาคภาษาไทย
  • [ Click - Click ]

แหล่งที่มา...                                                                  

  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจากมะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > เรื่องพระธาตุอินทร์แขวน / ไจ้ก์ทิโย > วิกิพีเดียภาคภาษาไทย > [ Click - Click ]
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์พงศกร เบ็ญจขันธ์ > มอญ: ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในพม่า > ศูนย์พม่าศึกษา > http://gotoknow.org/blog/mscb/15498 > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจามะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549. 
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์สามารถ ปราบกรี ([email protected]) >  15-18 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณอาจารย์กวาง และคุณฟองนวล ไกด์ไทยใหญ่ > [email protected] > 15-18 มิถุนายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 106278เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณ... คุณวิภา

  • ขอขอบคุณครับ
  • เรียนเชิญไปกราบพระธาตุอินทร์แขวนให้ถึงที่ (ถ้ามีโอกาส) สักครั้ง...

ขอบอกว่าผมได้มีโอกาสเดินทางไปสักการะแล้ว ภูมิใจ สวยงามเป็นอย่างมาก และก็มีอะไรที่ประทับใจในพม่าอีกหลายอย่าง ที่อยากเดินทาง ถ้ามีโอกาสอยากจะเดินทางไปอีกสักครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท