คุณธรรมนำความรู้


ปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในขั้นวิกฤต จึงต้องปฏิรูปการปกครองกันใหม่ โดยเฉพาะในด้านคุณธรรมจริยธรรม เรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องหลักในการให้การศึกษาแก่เยาวชน เพราะหากไม่เร่งทำอะไรให้ดีขึ้น อาจถึงขั้นทำให้สังคมล่มสลาย

คุณธรรมนำความรู้ 

ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการมอบนโยบาย"การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ" ว่าปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในขั้นวิกฤต จึงต้องปฏิรูปการปกครองกันใหม่ ดยเฉพาะในด้านคุณธรรมจริยธรรมเป็นเรื่องที่รัฐบาลเห็นว่ายังด้อยอยู่ ดังนั้น รัฐบาลจึงกำหนดเรื่องคุณธรรมเป็นเรื่องหลักในการให้การศึกษาแก่เยาวชน เพราะหากไม่เร่งทำอะไรให้ดีขึ้น อาจถึงขั้นทำให้สังคมล่มสลาย

               "นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลชุดนี้กำหนดไว้ชัดว่าคุณธรรมนำความรู้ แทนความรู้คู่คุณธรรม พร้อมเน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี โดยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้คุณธรรมเป็นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับ 3 สถาบัน คือครอบครัว สถานศึกษา และศาสนา หรือ "บวร" คือบ้าน วัด โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ศธ.ได้กำหนดเป็นโครงการการเสริมสร้างคุณธรรมในระบบการศึกษาไทย ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทในการศึกษาของไทย โดยมอบให้แต่ละหน่วยงาน และสถาบันการศึกษาพิจารณา และทบทวนสิ่งที่ทำอยู่แล้วว่ามีอะไร และมีสิ่งใหม่ที่จะเสริมเติมเต็ม โดยดึงเอาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นเครือข่าย รวมทั้งอาจต้องฟื้นกิจกรรมบางอย่าง เช่น กิจกรรมค่าย การบำเพ็ญประโยชน์ อาสาสมัคร เป็นต้น ในระดับอุดมศึกษา ต้องเป็นที่พึ่งให้กับการศึกษาในระดับอื่นๆ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นตัวอย่างการเสริมสร้างคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์"
อ้างอิงจาก http://www.nidtep.go.th/buddhism/moral.htm

 พบกันทุกวันอังคาร วันอังคารที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
ของท่าน
เลขาธิการ กพฐ. คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

เรื่องคุณธรรมนำความรู้ ได้มีข้อตกลงร่วมกันว่า
       • ควรมีการทำความเข้าใจร่วมกันถึงแนวคิดหลักในการจัดการศึกษาตามหลักการคุณธรรมนำความรู้ มีการกำหนดคุณธรรมที่จะร่วมกันรณรงค์ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ได้เน้นว่าไม่จำเป็นต้องไปกำหนดใหม่เพราะทั้งในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ และมาตรฐานการศึกษาของชาติ ได้มีอยู่แล้ว เช่น

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ : กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์
“๑. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์....”
ดูได้จากจุดหมายของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔
มาตรฐานการศึกษาของชาติ : กำหนดมาตรฐานที่ ๑ คุณลักษณะของคนไทย ที่พึงประสงค์ ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕ “คุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก”
       • ควรมีการกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จเพื่อประเมินความก้าวหน้า
       • แต่ละเขตพื้นที่จะแสวงหาต้นแบบและประสบการณ์ในพื้นที่จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อถอดบทเรียนมาใช้ประโยชน์ในการขยายผล จะยกย่องโรงเรียนที่มีนวตกรรมดีเด่นในเรื่องคุณธรรมนำความรู้ ทั้งนี้ ได้เห็นตัวอย่างที่บางเขตพื้นที่ได้นำเสนอว่ามีโรงเรียนดีๆ
เช่น โรงเรียนบ้านคำเที่ยงของ สพท. อุบลราชธานี เขต ๔ แต่เชื่อว่ายังมีอีกมากมาย
       • จะส่งเสริมให้โรงเรียนได้ปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณธรรมนำความรู้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยอาจนำร่องหลักสูตรที่ สพฐ. ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมาหกษัตริย์
ได้จัดทำขึ้น หรือนำตัวอย่างดีๆ ในเขตพื้นที่มาต่อยอดและขยายผลหรือสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีความพร้อมทดลองปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องนี้ เช่น โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์อาจ
ร่วมกันปรับหลักสูตรเรื่องเศรษฐกิจที่พอเพียง หรือกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยอาจร่วมกันจัดทำหลักสูตรคุณธรรมนำความรู้สำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์เป็นต้น
       • จะส่งเสริมให้โรงเรียนได้พัฒนาสื่อเพื่อประกอบการเรียนการสอนเรื่องคุณธรรมนำความรู้
และส่วนกลางจะพัฒนาสื่อดีๆเพื่อเผยแพร่เช่นกัน ฉะนั้น น่าจะเป็นปีที่มีสื่อดีๆ เผยแพร่อย่างกว้างขวาง
       • จะมีการสนับสนุนกิจกรรมสำหรับผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและ ชุมชน ที่จะรวมกันเป็นเครือข่ายคุณธรรมอย่างกว้างขวาง ทั้งการพัฒนา เช่น ข้อเสนอที่จะมีการเข้าค่ายธรรมะอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือจัดกิจกรรมลูกเสือที่เข้มข้นต่อเนื่องตลอดปี หรือรณรงค์เรื่องการทำความดีอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการจัดดนตรี กีฬา ละคร ที่เน้นเรื่องธรรมะ เป็นต้น

       • จะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โรงเรียนที่ทำกิจกรรมดีๆ เป็นแบบอย่างได้ทางสื่อมวลชน
โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ต่อเนื่องตลอดปี รวมทั้งกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้ทำความดี
         • ในขณะเดียวกัน ต้องหาแนวทางที่จะสร้างภูมิต้านทานและแก้ปัญหาพฤติกรรมนักเรียนด้วยการเสริมความเข้มแข็งให้แก่ระบบดูแลนักเรียนและระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียน

อ้างอิงจาก http://www.obec.go.th/kasama/tue_dec_12.htm

จากคุณธรรมนำความรู้ดังกล่าว
จึงอยากแลกเปลี่ยนรู้กับทุกท่านว่า ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร และมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ และยั่งยืน

หมายเลขบันทึก: 105025เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ

คุณธรรมนำความรู้ เด็กต้องดีก่อนเก่ง เรื่องนี้ เป็นการเพาะ การอบรมมาตั้งแต่เด้ก ภูมิคุ้มกันเขาจึงจะหนาแน่นและฝังรากพอค่ะ

มิฉะนั้น คงลำบาก เพราะสิ่งเย้ายวนมาก และเงินก็เป็นแม่เหล็กตัวล่อที่แรงที่สุดค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์sasinanda
เด็กต้องดีก่อนผมเห็นด้วยครับ
สังคมปัจจุบันสถาบันที่ต้องเข้มแข็ง
ก็คือสถาบันครอบครัวครับที่จะทำให้เด็ก
มีคุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม

เป็นภูมิป้องกันการปฏิบัติตนที่มิชอบเมื่อเติบโต
เงิน.....เป็นปัจจัยที่สำคัญ
.....การปลูกฝัง...
ความคิดให้อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง
ก็จะทำให้เกิดสังคม...แบบพอเพียง...
ไม่เบียดเบียนกัน...ไม่ทุจริต....ไม่รังแกกัน

หากทุกคนในสังคมเราช่วยกันส่งเสริมเด็กๆ
ที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต...ได้เพิ่มคุณธรรม
จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม ก็จะทำให้อนาคต
ของชาติที่จะโตเป็นผู้ใหญ่......สร้างสังคมไทยเรา
ในรุ่นต่อๆๆไป...ผู้ใหญ่ทุกๆคนจึงเป็นแบบของเด็ก
และเยาวชนของชาติอย่างแท้จริง

สวัสดีค่ะน้อง...ประเสริฐ ศรีแสนปาง

  • ครูอ้อยประทับใจกับบันทึกนี้มาทีเดียว  มีข้อความที่โดนใจครูอ้อยหลายข้อความ  และครูอ้อยกำลังปฏิบัติด้วยหลายข้อความ
  • ครูอ้อยเห็นด้วยกับ  ระบบดูแลนักเรียน  ซึ่งบางโรงเรียนมองข้ามเรื่องนี้ไป  บางโรงเรียนก็ปฏิบัติแบบแผ่วเบาค่ะ
  • อ่านแล้วมีกำลังใจในการปฏิบัติงานต่อไป  ครูอ้อยกำลังอ่านผลงานของเพื่อนครูอยู่ค่ะ....รับอาสาเป็นที่ปรึกษาตัวจริง
  • พรุ่งนี้ต้องไปทำสัญญาค่ะ  ครูอ้อยได้อ่านแผนปฏิบัติแล้ว...เวลาผ่านไปเนิ่นนาน  แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหลายข้อเลยค่ะ...แผนหลวมมากๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

         เห็นด้วยค่ะ เด็กคืออนาคตของชาติ ต้องส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม ควบคู่ไปกับการศึกษา

สวัสดีครับ
พี่อ้อยP
คุณ

P
- sirintip - -
ขอบคุณครับที่เป็นประโยชน์
คุณธรรมจะเกิดขึ้นได้ คือ
ทุกคนที่เป็นผู้ใหญ่ต้องร่วมมือกันครับ
สำเร็จหรือไม่ ก็คือสังคมของเราเองในอนาคตครับ
เห็นด้วยครับ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กด้วย

กระจกเงาเรามีไว้ส่องหน้า

ให้รู้ว่าดีเด่นเป็นไฉน

ครูอยากรู้ตนเองเป็นเช่นไร

เชิญดูเด็กที่ได้สั่งสอนมา.....

ม.ล. ปิ่น มาลากุล

พอดีเข้ามาหาข้อมูลเขียนบทความเรื่องคุณธรรมค่ะ ขอบคุณค่ะ ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท