พ่อแม่สูบ(บุหรี่) ลูกสำลัก(พิษภัย)


โรงพยาบาลและสถานที่สาธารณะ เช่น สนามบิน สถานีขนส่ง ฯลฯ ที่จัดห้องสูบบุหรี่น่าจะทำดนตรีประกอบ... เป็นเสียงเพลงบรรเลงเบาๆ มีเสียงไอ สำลัก และเสียงหอบหืดคลอเป็นช่วงๆ เพื่อส่งเสริมการเลิกบุหรี่

<p>พวกเราคงจะได้ยินได้ฟังพิษภัยของบุหรี่ต่อคนสูบมามากแล้ว นักวิจัยจากสหราชอาณาจักร(หมู่เกาะอังกฤษ)พบหลักฐานในทารกว่า ลูกๆ ก็สำลักพิษภัยได้เหมือนกัน</p>

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การสูบบุหรี่ของพ่อแม่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงตายจากโรคตายเฉียบพลันในทารก (sudden infant death syndrome / SIDS) หรือ "ทารกไหลตาย"

อาจารย์ดอกเตอร์ไมค์ ไวลู และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยไลแคสเทอร์ สหราชอาณาจักรทำการศึกษาสารโคนิทีน (conitine) ซึ่งเป็น 1 ในสารหลายพันชนิดที่มีอยู่ในควันบุหรี่ สารนี้เป็นผลพลอยได้ (byproduct) จากการได้รับนิโคทีน (nicotine) เข้าไป

กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกอายุ 12 สัปดาห์ 104 คน ทารกเหล่านี้มีพ่อแม่สูบบุหรี่ 71 คน ไม่มีพ่อแม่สูบบุหรี่ 33 คน

ผลการศึกษาพบว่า ทารกที่มีพ่อแม่สูบบุหรี่อย่างน้อย 1 คนจะมีสารโคนิทีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น 5.58 เท่าเมื่อเทียบกับทารกที่ไม่มีพ่อแม่สูบบุหรี่เลย นอกจากนั้นพบว่า ทารกที่นอนห้องเดียวกับพ่อแม่มีสารพิษชนิดนี้เพิ่มขึ้น

พวกเราที่สูบบุหรี่จึงควรปรึกษาคลินิกเลิกบุหรี่ เพื่องด-ลด-ละ-เลิกบุหรี่... ถ้าเลิกไม่ได้จริงๆ การลดปริมาณบุหรี่ลงให้ได้อย่างน้อย 50% ก็ช่วยลดพิษภัยลงได้

การสูบบุหรี่ในที่โล่ง เช่น เปิดประตู-หน้าต่าง เปิดพัดลมดูดอากาศ ฯลฯ มีส่วนช่วยให้พิษภัยของบุหรี่ตกถึงญาติสนิทมิตรสหาย และคนรอบข้างน้อยลง

โรงพยาบาลและสถานที่สาธารณะ เช่น สนามบิน สถานีขนส่ง ฯลฯ ที่จัดห้องสูบบุหรี่น่าจะทำดนตรีประกอบ... เป็นเสียงเพลงบรรเลงเบาๆ มีเสียงไอ สำลัก และเสียงหอบหืดคลอเป็นช่วงๆ เพื่อส่งเสริมการเลิกบุหรี่

ถึงตรงนี้... ขอแสดงความยินดีกับพวกเราที่ไม่สูบบุหรี่ทุกท่าน ขอให้พวกเรามีสุขภาพปอดดีไปนานๆ ครับ

ขอแนะนำ...                                                                  

ข่าวประกาศ...                                                               

  • ผู้เขียนขอปิดส่วนความคิดเห็น และงดตอบปัญหา เพื่อปรับปรุงคำหลัก (key words) บันทึกย้อนหลังไปพลางก่อน

    แหล่งที่มา:                                      

  • Many thanks to > Anne Harding > Babies ‘smoke’ when parents do, study confirms > [ Click ] > http://today.reuters.com/news/articlenews.aspx?type=healthNews&storyid=2007-06-19T160745Z_01_COL957916_RTRUKOC_0_US-BABIES-SMOKE.xml&src=nl_ushealth1400 > June 19, 2007. // Archives of Disease in Childhood: Fetal and Neonatal Edition, online June 19, 2007.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก บ้านสุขภาพ มีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT ศูนย์มะเร็งลำปาง
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 20 มิถุนายน 2550.

</font></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 104945เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท