Best Practice : การจัดการความรู้สู่ประชาชนเมืองนครศรีธรรมราช


           จังหวัดนครศรีธรรมราชขณะนี้ โด่งดังมากในเรื่องจตุคามรามเทพ แต่ก็มิวายที่การจัดการความรู้สู่ประชาชนก็โด่งดังในระดับแนวหน้า วันนี้ผมได้มีโอกาสมาร่วมฟังการนำเสนอการจัดการความรู้สู่ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผอ.วิมล วัฒนา ผอ.กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราชและคณะ ที่อิมแพคเมืองทองธานี ได้ประเด็นดี ๆ สรุปมาเป็นแนวทาง ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปดังนี้

1 ผวจ.มาขับเคลื่อนเอง จัดทีมคุณเอื้อคุณอำนวยคุณกิจ

2 ปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้

2.1 มีคณะผู้นำที่เข้มแข็งอย่างมีคุณภาพและมีการสืบทอด

2.2 มีแผนชุมชนที่มีคุณภาพ

2.2.1 สู่เป้าหมายครัวเรือน

2.2.2 เป้าหมายหมู่บ้าย

2.2.3 เป้าหมายตำบล

2.2.4 แผนอบต.เทศบาล

2.2.5 แผนจังหวัด อบต.

2.3 มีองค์กรการเงินชุมชน

2.4 มีการจัดการความรู้ โดยมีวงเรียนรู้ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ

2.5 มีการจัดการตนเองและจัดการทรัพยากร

3 หลักพัฒนา ๕ ประการ

3.1 ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

3.2 ยึดพื้นที่หรือชุมชนเป็นที่ตั้ง

3.3 ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ

3.4 ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนการพัฒนา

3.5 ใช้วิธีบูรณาการทั้งจังหวัด

4 ขับเคลื่อน ๕ ยุทธศาสตร์

4.1 เศรษฐกิจพอเพียง

4.2 พัฒนาและสร้างโอกาสให้ชุมชน

4.3 ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน

4.4 สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ

4.5 บริการขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน

5 มุุ่่งสู่

5.1 ประชาชนอยู่ดีมีสุข จังหวัดอยู่เย็นเป็นสุข ชุมชนอินทรีย์(เรียนรู้  น่าอยู่ ยั่งยืน) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 แสดงเป็น Mindmap ได้ดังนี้

 

<p> </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 103759เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
แนวทางการจัดการความรู้ของนครศรีธรรมราชนี้เป็นกระบวนการที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริงถ้านำไปปฏิบัติอย่างเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณท่าน ผอ.ดิศกุล ที่นำเรื่องราวดีๆมาบอกกล่าวพวกเรา

การจัดการความรู้ของนครศรีธรรมราชเป็นกระบวนการที่มองเห็นความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การเข้าถึงประชาชน จะทำให้เรามองเห็นว่าเขาต้องการอะไร การพัฒนาและการสร้างโอกาสให้ชุมชนเป็นสิ่งที่ทุกชุมชนต้องการ  หากมีกระบวนการจัดการที่ดีแล้วประโยชน์ย่อมเกิดในทุกพื้นที่

     ความสำคัญของการจัดการความรู้สู่ประชาชนคือ หัวใจของการพัฒนาประเทศ  ยอดเยี่ยมมากครับ....

การจัดการความรู้สู่ประชาชนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

นายเสน่ห์ อุ่นนาวงษ์ ศบอพนมสารคาม
            ความรู้เป็นปัจจัยหนึ่ง ในการนำความรู้มาใช้ได้แบบเป็นระบบและทันถ่วงที ซึ่งจะนำพาองค์กรหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ ครับ
ห้องสมุดประชาชนจ.ฉะเชิงเทรา
การจัดการความรู้สู่ประชาชนให้ประชาชน ถือว่าเป็นกระบวนการที่ดีที่ทำให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากขึ้น ยอดเยี่ยมค่ะ
ประชาชนอยู่ดีมีสุข จังหวัดอยู่เย็นเป็นสุข ชุมชนอินทรีย์(เรียนรู้  น่าอยู่ ยั่งยืน) ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นประโยคที่ดีเยี่ยม....ขอเพิ่มเติมนะคะ  ประชาชนอยู่ดีมีสุขแล้ว  ต้องเก่งด้วยนะคะ  เก่งแต่มีน้ำใจ  เก่งแต่รู้จักความพอเพียง  เท่านี้ความเห็นแก่ตัวของคนในสังคมก็จะหายไป  ปัญหาก็จะหมดสิ้น รอยยิ้มอันบริสุทธิ์กำลังจะเกิดในสังคม ขอสนับสนุนให้การจัดการความรู้นี้บรรลุดังหวังนะคะ...
ความพอเพียงก็ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ทุกด้าน ตั้งแต่ระดับสังคมจนถึงครอบครัวของเรา
การจัดการความรู้ของนครศรีธรรมราชเป็นกระบวนการที่มองเห็นความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะการจัดการความรู้สู่ประชาชนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงซึ่งจะนำพาองค์กรหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ เข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริงถ้านำไปปฏิบัติอย่างเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณท่าน ผอ.ดิศกุล ที่นำเรื่องราวดีๆมาบอกกล่าวพวกเรา

ในทิศทางของการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง  คน กศน. ควรที่จะจัดกระบวนการและถ่ายทอดความรู้สู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นในชุมชนต่อไป

ถ้ามีความสามัคคีกัน และยึดเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก  ก็ไม่มีอะไรเกินความสามารถของทุกๆคนแน่นอน

นางสาววราภรณ์ ทรัพย์ศฤงศิริ
   การจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชน  และสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนได้นั้น เป็นบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการ
นลินทิพย์ สังข์เจริญ ศบอ.แปลงยาว

รับทราบค่ะ

พร้อมปฏิบัติ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท