ความแตกต่างระหว่างการจัดการทรัพยากรกับการใช้ทรัพยากร


การใช้ทรัพยากร คือ การ "Utilize" หรือนำมาใช้ประโยชน์แล้วเกิดอรรถประโยชน์หรือความพอใจ หรือรายได้ กำไร เพิ่มขึ้น แต่การจัดการเน้นไปในเรื่องของการแก้ปัญหา "What, How, For Whom" หรือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั่นเอง

ช่วงนี้ผมต้องเร่งเขียนบทความชิ้นหนึ่ง ร่วมกับอ.ปัทมาวดี เรื่อง "โครงสร้างเชิงอำนาจในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม" ซึ่งเป็นหัวข้อที่ตอนแรกเห็นแล้วก็รู้สึกสับสนพอควร

พอเริ่มจรดปากกาก็รู้เห็นกับตัวเองว่า ความชัดเจนระหว่างสองคำนี้ที่ตัวเองรู้ยังน้อยนัก เลยคิดไปคิดมาและได้ข้อสรุปมาบ้างดังนี้ครับ

การใช้ทรัพยากร คือ การ "Utilize" หรือนำมาใช้ประโยชน์แล้วเกิดอรรถประโยชน์หรือความพอใจ หรือรายได้ กำไร เพิ่มขึ้น แต่การจัดการเน้นไปในเรื่องของการแก้ปัญหา "What, How, For Whom" หรือปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั่นเอง

ฉะนั้น "การจัดการ" ทรัพยากร จะเน้นไปที่เรื่องเกี่ยวกับว่า  ทรัพยากรธรรมชาติ อะไรจะถูกใชทำอะไร จะถูกจัดสรรอย่างไร ไปให้ใคร   ...

หมายเลขบันทึก: 103660เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จะมองว่าการใช้ทรัพยากร เป็น demand side และการจัดการทรัพยากรเป็น supply side น่าจะดีนะคะ

ด้านการใช้  ก็จะมีอรรถประโยชน์ของผู้ใช้  และมีการแข่งขัน (แย่งชิง) ระหว่างผู้ใช้ต่างกลุ่ม  (เช่น ผู้ใช้เพื่อการเกษตร กับ นอกภาคเกษตร)  หรือ ระหว่างผู้ใช้ต่างพื้นที่ในกลุ่มเดียวกัน (เช่น ระหว่างชาวประมงในหมู่ 5 กับ ชาวประมงในหมู่ 6 ที่มาใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำเดียวกัน)  หรือแม้แต่ระหว่างปัจเจกในพื้นที่เดียวกัน (จะมีเฉพาะกรณีสินค้าสาธารณะเท่านั้น ที่ไม่มีการแย่ง หรือ nonrivalness in consumption)

ด้านการจัดการก็จะมีอีกหลายกลุ่มเช่นกัน   อันที่จริง  กลุ่มที่เข้ามาจัดการ (เกิดต้นทุน) มักเพราะคาดหวังผลประโยชน์จากการใช้    แต่บางครั้ง ผู้ใช้ประโยชน์ "โดยตรง"  กับผู้เข้ามาจัดการอาจเป็นคนละกลุ่ม ดังเช่น กรณีที่รัฐอ้างเหตุผลเข้ามาดูแล public goods (เช่น ประโยชน์เชิงระบบนิเวศของทรัพยากร) เป็นต้น

การให้สิทธิในการจัดการเป็นเรื่องของการ design โดยสังคม (ซึ่งมักจะเป็นผู้มีอำนาจในสังคมนั้น) "โครงสร้างอำนาจ" คงเข้ามาเกี่ยวข้องตรงนี้

โครงสร้างอำนาจในการจัดการทรัพยากร คงเป็นการดูด้าน supply side

เพิ่มเติมท้ายข้อความก่อนว่า  "เป็นการดูด้าน supply side  ที่ตัดความเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ด้าน demand side ไม่ได้แน่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท