เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี
เด็กหญิง ประเสริฐ (أُخْتٌ صَغِيْرَةٌ ) รัศมีแห่งดวงตา เจ้าหญิงป่วน ณ ปัตตานี

โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน


مَوْلايَ صَلـِّي وَسَلِّمْ دَائِمًا أَبَدًا

مَوْلايَ

โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน

مَوْلايَ صَلـِّي وَسَلِّمْ دَائِمًا أَبَدًا

โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน ขอความสันติสุขอันนิรันดร

عَلَى حَبِيبِكَ خَيْرِ الخَلْقِ كُلِّهِمِ

จงมีเเด่ผู้ซึ่งพระองค์ทรงรักและเป็นที่สุดของการสร้างสรรค์ทั้งหลายของพระองค์

مُحَمَّدٌ سَيِّدُ الكَوْنَيْنِ وَالثَّقَلَيْن

มุฮัมหมัดผู้ซึ่งเป็นผู้นำในบรรดาสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย وَالفَرِيْقَيْنِ مِنْ عُرْبٍ وَمِنْ عَجَمِ

และสองเผ่าพันธ์จากอาหรับและอาญัม(ไม่ใช่อาหรับ)أُوذِيتَ فِى اللهِ لَمْ تُهْزَمْ وَلَمْ تَهِنِ

ความเจ็บปวดของท่านเพื่ออัลลอฮฺ มิได้ทำให้ท่านพ่ายแพ้ล้มลง และมิย่อท้อ

حَتَّى غَدَتْ أُمَّةَ الإِسْلامِ فِي النُّجُمِ

ตราบจนประชาชาติอิสลามที่มีอีมานมั่นคงอุบัติขึ้นค้ายดวงดาวเจิดจรัส

حَبِيبَ الله رَسُولَ الله إِمَامًا مُرْسَلِين

ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺ ศาสนทูตของอัลลอฮฺ ผู้นำบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย

يا حَبِيبَ الله رَسُولَ الله إِمَامًا مُرْسَلِين

โอ้ ผู้เป็นที่รักของอัลลอฮฺ  ศาสนทูตของอัลลอฮฺ ผู้นำบรรดาศาสนทูตทั้งหลาย

سَرَيْتَ مِنْ حَرَمٍ لَيْلا إِلى حَرَمٍ

ท่านเดินทางจากฮะรอมหนึ่ง(มัสยิดอัลฮะรอม)สู่อีกฮะรอมหนึ่ง(อัลกุดส์)ในยามค่ำคืน

كَمَا سَرَى البَدْرُ فِي دَاجٍ مِنَ الظُّلَمٍ

เหมือนกับการโคจรของดวงจันทร์ในคืนที่มืดมิดไร้ซึ่งเเสงสว่าง

وَبِتَّ تَرْقَى إِلَى أَن نِلْتَ مَنْزِلَةَ

ท่านได้ขึ้นสู่เบื้องบนจนถึงตำแหน่ง

مِنْ قَابِ قَوْسَيْنِ لَمْ تُدْرَكْ وَلَمْ تُرَمِ

ตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺซึ่งไม่มีเอื้อมถึงและสัมผัสได้ ------------------------------------------------------- مَوْلايَ    มาจากคำว่าวาลาอ์หรือวาลีที่เเปลว่าคนจัดการดูเเล(อภิบาล)หรือว่าคนที่รัก เเล้วตามด้วยยาอ์มูตากัลลีม -ของฉัน صَلـِّيซอลา คือการ ดุอาห์ ขอพร دَائِمًا أَبَدًا      ตลอดไป นิรันดร حَبِيبِكَ     มาจากคำว่า  حَبِيبِ แปลว่า ที่รัก ถ้าหากจะเรียกคนที่เรารักก็จะเรียกว่า حَبِيبِي  จะแปลว่าที่รักของฉัน เพราะเติมตัวยาอ์แสดงความเป็นเจ้าของ หรือ حَبِيبِنَا ที่รักของเรา สำหรับ حَبِيبِكَ  ที่รักของพระองค์ เพราะเป็นอนาซีดที่เสมือนกับว่ากำลังพูดกับอัลลอฮฺอยู่ الكَوْنَيْنِ          ไปเปิดพจนานุกรมกอมูสอัลมัรบาวี เจอ    الكَوْنَ จะแปลว่าอาลัมยังอาดา (โลกที่มี)  الكَوْنَيْنِ จึงน่าจะแปลว่าโลกทั้งสอง  الثَّقَلَيْن          ไปเปิดพจนานุกรมกอมูสอัลมัรบาวี(พจนานุกรมอาหรับ-มลายู)ไม่เจอ แต่เจอคำว่า الثَّقَلان จะซึ่งจะอยู่ในสถานะมุษันนาเช่นเดียวกับ  الثَّقَلَيْن  ที่เป็นสองแปลว่า มนุษย์และญิน  وَالفَرِيْقَيْن      มาจากคำว่าฟารอกอ แปลว่าแยก ในที่นี้เติมตัวยาอ์กับนูนเข้าไป จึงมีความหมายว่าสองที่แยกออกไป คือ สองจำพวก สองเผ่าพันธ์นั่นเอง  عَجَمِ อะญัม คือคนที่ไม่ใช่ อาหรับ أُوذِيتَเจ็บปวดوَلَمْ تُهْزَمْไม่พ่ายแพ้ وَلَمْ تَهِنِไม่ย่อท้อ غَدَتْ      ฆอดัต หรือ ฆอดา เเปลว่าตอนเช้าหรือสดไหม่   البَدْرُ ดวงจันทร์  อาจจะเคยได้ยินอนาซีด ตอลาอัลบัดรูอาลัยนา คนร้องได้เปรียบเทียบการมาของท่านนบีที่มาดีนะฮฺเหมือนกับการขึ้น(ตอลาอาแปลว่าขึ้น)ของดวงจันทร์ที่จะนำความสว่างไสวให้แก่นครมาดีนะฮฺ  النُّجُمِ     แปลว่าดวงดาว บางคน อาจมีชื่อว่า นัจมี ก็จะแปลว่า ดวงดาวของฉัน(นำความสุขมาให้ฉันอะไรประมาณนั้น)سَرَى          แปลว่า เดิน الظُّلَمٍ          ความมืดมิดتُدْرَكْ          คงจะคุ้นในอัลกุรอานพอสมควร กับคำถาม วามาอัดรอกาتُرَمِ

          ร่วงหล่น
หมายเลขบันทึก: 103567เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2007 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท