ถอดบทเรียนดาระบิก


ดาระบิก นวัตกรรมการออกกำลังกาย สนใจติดต่อขอไปเผยแพร่ได้คะ

ถอดบทเรียน

โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ดาระ สานสายใยสู่ชุมชน

ตำบลควนโดน  อ.ควนโดน  จังหวัดสตูล

กระบวนการพัฒนานวตกรรม

จากการทำงานสุขภาพในอำเภอควนโดนจะพบว่าผู้หญิงหลังแต่งงานแล้วในพื้นที่มักอ้วน  น้ำหนักเกิน  โดยโอกาสการออกกำลังกายรูปแบบที่มีอยู่ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มสตรีมุสลิม  ในขณะเดียวกันศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ดาระ ซึ่งเคยเป็นที่นิยมแพร่หลายในจังหวัดสตูลเมื่อ 3-4 ชั่วอายุคนกำลังจะสูญหายไปปัจจุบันเหลือเพียงคณะเดียวของ ป๊ะทอง  มาลินี ซึ่งปัจจุบันอายุ 87 ปี ครูสมศรี  ชอบกิจ ครูจากโรงเรียนควนโดนวิทยาได้ทำหน้าที่เป็นครูผู้ถ่ายทอดโดยเปิดเป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนควนโดนวิทยา เปิดสอนในคาบชุมนุมอนุรักษ์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง  และดึงโรงเรียนใกล้เคียง 13 โรงเข้าร่วมเปิดหลักสูตร และเปิดกลุ่มแม่บ้าน อสม. หมู่บ้านละ 2 คน                                    

         ทีมงานพยายามต่อยอดงานของอาจารย์สมศรีโดยดัดแปลงท่าดาระเป็นท่าออกกำลังกายและใช้ดนตรีดาละเดิมมาเล่นเป็นเพลงประกอบจังหวะโดยได้รับทุนนวตกรรมจากสวรส.ใต้ขณะนี้ คุณธิดา เหมือนพะวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ สอ.ควนโดน กำลังปรับท่าตามหลักของวิทยาศาสตร์การกีฬาโดยได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์ธวัชชัย  พรหมรัตน์ ผอ.ศูนย์กีฬาและนันทนาการ ภาคสี่บ้านพรุ สงขลา และจนท.ศูนย์กีฬาและนันทนาการ จ.สตูล 

เป้าหมายของการดูแลสุขภาพชุมชนจากนวัตกรรม

1.สร้างทางเลือกใหม่ในการออกกำลังกายแก่สตรีมุสลิมให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น  ไม่ขัดต่อหลักศาสนา                                                                                                                                                                                                         2.เป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านดาระ  ผ่านกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ                                                                        3.ป้องกันโรคที่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ( วิถีชีวิตแบบนั่งๆนอนๆ)                                                                   4.ให้เยาวชนและคนในชุมชนปรับเปลี่ยนแนวคิดต่อการร้องรำทำเพลงและการออกกำลังกาย                                                                                                                                                                                                                5.ประชาชนในชุมชนมีภาวะสุขภาพดีขึ้น                      

รูปธรรมการพัฒนาการดูแลสุขภาพชุมชน                                                                                                                                        ขั้นเตรียมการ     ค้นหาองค์กรที่เข้าร่วม        เจ้าหน้าเเจ้หน้าที่สาธารณสุข  ต.ควนโดน   อาจารย์สมศรี  ชอบกิจ อาจารย์โรงเรียนควนโดนวิทยา      ป๊ะทอง  มาลินี ปราชญ์ผู้แสดงศิลปะพื้นบ้าน"ดาระ "                                                                   ขั้นดำเนินการองค์กรที่เข้าร่วม      กระบวนการที่เข้าร่วม บทบาทในการเข้าร่วมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดูแลเรื่องการประยุกต์ท่าดาระที่มีอยู่มาเรียงลำดับความเหมาะสมก่อนหลัง ส่งให้ศูนย์กีฬาและนันทนาการภาคสี่ บ้านพรุ สงขลา   ตรวจสอบประสิทธิภาพ   และศูนย์กีฬาและนันทนาการ ปรับให้มีผลต่อการออกกำลังกล้ามเนื้อครบทุกส่วน   และ เป็นทีมดำเนินการสอนร่วมกับอาจารย์สมศรี   และปราชญ์( ป๊ะทอง)     ส่วนอาจารย์สมศรี   และปราชญ์( ป๊ะทอง) พร้อมทีมงานทำดนตรีให้ได้ความ ยาวเพลงและจังหวะตามต้องการ  บันทึกเนื้อร้องตามที่ป๊ะทอง และ อาจารย์สมศรี   ยังจำได้และได้บันทึกไว้    ทำการฝึกเยาวชนแกนนำเพื่ออัดบันทึก เสียงร้องและดนตรีเพื่อใช้ประกอบท่าดาระบิก   เป็นแบบสำหรับเผยแพร่       (ช่วงดำเนินการ/  26 พ.ค. 50  - 14 มิ.ย. 50 )                                                                                
  เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของการพัฒนานวัตกรรม/สุขภาพชุมชน                                                                                                1.ความมุ่งมั่นของผู้ดำเนินโครงการ                                                                                                                                                         2.การเผยแพร่ต่อเนื่อง                                                                                                                                                                                 3.การยอมรับจากประชาชนในท้องถิ่น                                                                                                                                                   4.ท่าออกกำลังกายต้องทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์มาก

ปัจจุบันนวัตกรรมการออกกำลังกายดาระบิกได้พัฒนาสำเร็จสามารถนำไปใช้ในพื้นที่ได้หากท่านใดสนใจจะนำไปเผยแพร่ในชุมชนของท่านติดต่อขอสำเนาได้โดยตรงที่ศูนย์สุขภาพชุมชนควนโดน  อ.ควนโดน  จ.สตูล

หมายเลขบันทึก: 103080เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท