เศรษฐกิจพอเพียง(Sufficiency Economy) คุณเข้าใจอย่างไร?


เห็นนักวิชาการ หรือคนที่มีตำแหน่งทางวิชาการหลายคนออกมาเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกันมากใน gotoknow ไม่รู้ว่า รู้จริง หรือว่าลอกเขามา หรือว่าตามกระแสว่าฉันก็รู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หรือกำลังหลงทาง เพราะถ้ารู้แล้วไม่ปฏิบัติก็ไม่มีความหมาย ว่าคนอื่นเขาแล้วตัวเองรู้ดีนักหนาเหรอ เปล่าครับผมเองให้อธิบายก็อธิบายไม่ค่อยถูก แต่ผมพยายามปฏิบัติตามอยู่ และจากการที่ผมได้เข้าอบรมหลายครั้ง และได้ยินจากปาก อ. วิวัฒน์ ศัลยกำธร ก็พอจะซึมซับเข้ามาบ้าง จึงเอาแผนผังเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มาเผยแพร่ เผื่อนักวิชาการที่หลงทางจะได้หันกลับมาถูกทางบ้าง

 

 ตอนที่ยังไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงก็มีเศรษฐกิจอยู่ 2 อย่าง

  • ทางซ้ายมือเป็นเศรษฐกิจหลังเขา ฉันอยู่ของฉัน ไม่ยุ่งกับใคร วัดผลกันที่ความสุขมวลรวม(GDH)
  • ทางขวามือธุรกิจค้าขาย หรือธุรกิจตาโตวัดผลกันที่ ผลิตภัณฑ์มวลรวม(GDP)

ความสุข วัดได้จริงเหรอ มีศาสนาไหนพูดถึงความสุขบ้าง ผลิตภัณฑ์มวลรวม มันแค่ตัวเลขหลอกลวงหรือเปล่า ทั้งสองอย่างนี้ทำให้เราอยู่ดีกินดี มีสังคมที่ดีหรือเปล่า

เศรษฐกิจพอเพียง อยู่ตรงกลางระหว่างหลังเขากับตาโต เป็นเศรษฐกิจที่ มีสามลักษณะ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน  สองเงื่อนไข คือ มีความรู้ และคุณธรรม รายละเอียดหาอ่านกันเอาเองนะครับ เป็นสิ่งที่จะทำให้ตัวเรา และประเทศรอดพ้นจากวิกฤตต่างๆได้

ส่วนตัวผมเองไม่อยากทำเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นเรื่องยาก ผมคิดอยู่เสมอว่าทำอะไรพยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุด ก็เป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ลองนึกดูนะครับว่าตั้งแต่ตื่นขึ้นมามีอะไรที่เราพึ่งพาต่างประเทศบ้าง

จากคำถามของ อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร "ทุกวันนี้คุณกินข้าวไทยหรือเปล่า"  ลองคิดดูนะครับแล้วค่อยมาเฉลยกัน

สุดท้ายด้วยพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

 ถ้า​สามารถ​ที่​จะ​เปลี่ยนไป​ ​ทำ​ให้​กลับ​เป็น
"​เศรษฐกิจแบบพอเพียง"
​ไม่​ต้อง​ทั้ง​หมด​ ​แม้​แค่ครึ่งก็​ไม่​ต้อง​ ​อาจ​จะ​สักเศษหนึ่ง​ส่วน​สี่
​ก็​จะ​สามารถ​อยู่​ได้​ ​การแก้​ไขอาจ​ต้อง​ใช้​เวลา​ ​ไม่​ใช่​ง่ายๆ
​โดย​มากคนก็​ใจร้อน​เพราะ​เดือดร้อน
​แต่ว่า​ถ้า​ทำ​ตั้งแต่​เดี๋ยวนี้​ ​ก็​สามารถ​ที่​จะ​แก้​ไข​ได้

พระราชทาน​ ​เมื่อวันที่​ ๔ ​ธันวาคม​ ๒๕๔๐ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 103078เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับโส

เห็นแผนภาพแล้ว ก็เข้าใจได้ง่ายครับ ขอบคุณมากๆ เลยครับ มองอะไรชัดเจน อยู่ที่ว่าใครจะยกแผนภาพนี้ไปวางและปรับใช้กับสาขาไหน ก็วางได้ทั้งนั้น เพียงแค่ปรับใช้ให้เข้ากับองค์กรและตัวเองเป็นสำคัญ

แต่ละคนต้องค้นหาเอาเองว่าทางสายกลางตัวเองอยู่ตรงไหน ของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องเทียบกับใคร เพียงแต่ให้รู้ว่าตัวเองอยู่บนทางสายกลางแล้ว

สำหรับคำถามน่าสนใจมากครับ "ทุกวันนี้คุณกินข้าวไทยหรือเปล่า"

ตอบ...ผมกินข้าวไทยอยู่ครับ กิโลกรัมละห้าสิบบาท
ซื้อในเยอรมันจากเมื่อก่อนกิโลละร้อยกว่าบาทถึงสองร้อยบาท ส่วนต่อไปในอนาคต หวังว่ายังมีที่นาให้ทำนากันอยู่นะครับ ก่อนจะสายเกินไป ผมไม่อยากจะเห็นชาวนาต้องทำนาโดยเป็นลูกจ้างของบริษัททำนานะครับ คือผืนนาของตัวเองโดยซื้อ โดยตัวเองเปลี่ยนจากผู้บริหารที่นากลายเป็นลูกจ้างทำนา

ผมเชื่อว่าวันหนึ่งหาก ข้าวสารในเมืองไทย กิโลกรัมละ ห้าร้อยบาท จะมีคนกลับมาทำนามากขึ้นครับ ไม่ว่าจะรวยค้ำฟ้าหรือค้ำกาแลกซี่ แต่ท้ายสุดก็ต้องกินข้าวอยู่ดีนั่นหล่ะ......

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

     ลูกหลานไทยกำลังขายนาให้นายทุน

     จะไม่มีผืนดินปลูกข้าวอยู่แล้ว

      เราคงต้องกินข้าวต่างประเทศแน่

          เขามองว่าทำนา ยากลำบาก ซื้อกินง่ายกว่า

ทำนาปี ได้หนี้กับซัง ทำนาปรังได้ซังกับหนี้

ทำนาแบบไหนดีครับ

ทำนาอินทรีย์ ไม่มีหนี้มีซังด้วย

สารเคมีเริ่มเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่ปี 2505
จนถึงปัจจุบัน เข้ามาทำลายเกษตรกรไทยโดยนักวิชาการ  ทีส่งเสริมให้ใช้กันจนมีหนี้สินล้นตัว

สารเคมีผลิตโดยต่างประเทศ แล้วมาขายบ้านเรา
พอเราทำการเกษตรใช้สารเคมี ส่งไปขายบ้านมัน  แล้วทำไมมันไม่รับซื้อ  มันกำลังวางแผนทำลายประเทศเราหรือเปล่า  นักวิชาการที่รับเงินบริษัทสารเคมีทั้งหลายแหล่สำนึกได้แล้ว

เราทุกคนต้องช่วยๆกันค่ะ  เศรษกิจพอเพียงจะช่วยให้ประชาชนและประเทศชาติอยู่รอดแน่นอน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท