รวมทีมทำ "การจัดการความรู้"


ค้นหาคนที่มาเป็นทีมงานเพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้ ให้กับองค์กรนั้น เราต้องมองให้ดี ๆ มิฉะนั้น งานเราจะยากมาก

     ช่วงนี้กำลังไฟแรงและตะลุยงาน "การจัดการความรู้" ซึ่งได้รับมอบหมายมาจาก ผอ.สพท. (นายมนตรี วงศ์รักษ์พานิช)  ให้ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

     ฉะนั้น  จึงต้องเลียบ ๆ เคียง ๆ และค้นหาน้อง ๆ พี่ ๆ ที่ค่อนข้าง   "มีใจ" ที่ "ใฝ่รู้  ใฝ่หา  และใฝ่พัฒนา เพื่อส่วนรวม"  โดยเฉพาะมีพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ว่า "คนนี้....ใช่เลย"  โดยสิ่งนี้ดิฉันต้องใช้ความรู้มาผสมในการตัดสินใจ "จีบ" เพื่อมารวมทีมให้มีความสมบูรณ์กันว่า "งานชิ้นนี้ต้องการคนแบบไหน?  ต้องการทำงานอะไรบ้าง?  และต้องการความรู้แบบไหนถึงทำให้งานบรรลุผลได้"

     โดยงานชิ้นนี้เราคงจะต้องทำกันเป็นทางการและไม่เป็นทางการบ้างเป็นครั้งคราว  ที่คิดเช่นนี้เพราะได้มีการปรึกษาหารือกับคนอื่น ๆ มาบ้าง และดูผลจากประสบการณ์ที่ได้ทำมาด้วย

     ดังนั้น  ผลที่เกิดขึ้นคือ ดิฉันวางงาน  นำไปปรึกษาทีม  แล้วนำมาปรับแก้  นำไปหารือผู้บริหาร  ผ่านงานเป็นมติที่ประชุม  แล้วมา "Working Group" ของความเป็นทีมงาน "จัดการความรู้ ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดความรู้ ประจำปี 2550" ที่เริ่มจากการทำความเข้าใจ หรือ "เคลียร์งาน และเคลียร์ความเข้าใจ" ให้เป็นเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน หรือเป็นมุมเดียวกันก่อน  หลังจากนั้น งานของเราก็จะง่ายขึ้น 

     ซึ่งคำตอบที่เกิดขึ้นเป็นเช่นนี้จริง ๆ เพราะในการประชุมทีมงาน ครั้งที่ 1/2550 เราใช้เวลา ประมาณ 3 ชั่วโมง ในการทำความเข้าใจกัน  ส่วนการประชุม ครั้งที่ 2/2550 เราใช้เวลา ประมาณ 30-45 นาที ในการเตรียมงานเพื่อประชุมเจ้าหน้าที่ของ สพท. ในวันที่ 18 มิ.ย. 2550 โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง  ที่เป็นเช่นนี้ก็มาจาก ผลการสังเกตในขณะที่ทำการแลกเปลี่ยนงานที่จะต้องทำในวันนดังกล่าวนั้น "มีงานอะไรบ้าง? และงานนี้ใครจะรับ หรือทำบ้าง? แล้วงานไหนที่ต้องการช่วยเหลือกันบ้าง"  โดยสิ่งนี้ ทีมงานต่างเอ่ยปากรับทำกันเอง ไม่ต้องบังคับทำ  แล้วยังช่วยกันดูอีกว่า "เรายังขาดงานอะไรบ้าง? ที่ตกหล่น"

     บทเรียนของก้าวแรกในการรวมทีมงาน "การจัดการความรู้" ประมาณ 12 คน  และ มีที่ปรึกษาอีก 1 คน รวมเป็น 13 คน ดิฉันก็รู้สึกดีใจแล้วว่า "เพื่อนร่วมทีมมีความสุข" ดังนั้นอีกหน้าที่หนึ่งที่เราทำก็คือ หลังจากเสร็จการคุยกัน ก็จะถามว่า "เป็นงัยบ้าง? รู้สึกเป็นงัย? ถ้ามีอะไรตรงไหนบอกกันได้นะ...จะได้ช่วยกันได้...อย่าเก็บไว้ให้อึดอัดคนเดียว" 

     แล้วมีการให้กำลังใจกันจากผลงานที่ทำ คือ เมื่อเขาทำดีก็ให้ชมเขาบ้าง?  เช่น  น้องพนิดา  ทำหน้าที่จดรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2550 แล้วดิฉันเป็นคนตรวจ  แล้วน้องเขาก็เขียนดี เก็บเนื้อหาได้ครบถ้วน ไม่ต้องแก้ไขอะไรมากนัก  ฉะนั้น ดิฉันก็นำไปบอกประธานว่า...น้องเขาเป็นคนจดรายงาน...เขียนได้ดีทีเดียว  แล้วประธานก็จะชม   ส่วนการประชุม ครั้งที่ 2/2550  คุณสุมาลี  เป็นคนจดรายงานการประชุม  ดิฉันก็ทำหน้าที่ตรวจเหมือนเดิม  เขาก็เขียนได้ดี  ดิฉันก็ต้องชมกับคุณสุมาลี  ซึ่งเขาก็จะยิ้มออกมา  ก็รู้สึกสดชื่นขึ้น

     ก็เป็นเรื่องราวที่ได้เรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟังของทีมงาน KM สพท. แต่หลังจากนี้ไปก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นนะค่ะ.

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 103012เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เยี่ยมมากเลยครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีครับ น้องศิริวรรณ

             เลียบ ๆ เคียง ๆ และค้นหาน้อง ๆ พี่ ๆ ที่ค่อนข้าง   "มีใจ" ที่ "ใฝ่รู้  ใฝ่หา  และใฝ่พัฒนา เพื่อส่วนรวม"  โดยเฉพาะมีพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ว่า "คนนี้....ใช่เลย"  โดยสิ่งนี้ดิฉันต้องใช้ความรู้มาผสมในการตัดสินใจ "จีบ" เพื่อมารวมทีมให้มีความสมบูรณ์กันว่า "งานชิ้นนี้ต้องการคนแบบไหน?  ต้องการทำงานอะไรบ้าง?  และต้องการความรู้แบบไหนถึงทำให้งานบรรลุผลได้"

น้องศิริวรรณ ครับ

            ต่อนะครับ ความข้างต้นขัดข้องทางเทคนิคเล็กน้อย.............อยากจะถามน้องศิริวรรณว่าเราจีบมาร่วมทีมได้เลยหรือครับ ไฟเขียวให้ทำเช่นนั้นได้เลยใช่ไหมครับ...เยี่ยมมากเลย แต่ส่วนใหญ่เท่าที่พี่รู้มาก็จะได้ใครมาไม่รู้ ติดซี ติดระดับตำแหน่ง หน้าตา ในที่สุดก็ไม่ได้คนที่ไม่ใช่เลยที่จะร่วมทีมกันได้

          ขอบคุณครับสำหรับประสบการณ์ดีๆที่มีค่ายิ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท