บทเรียนจากเวทีประชาคม


เวทีประชาคมให้อะไรมากกว่าที่คิด ได้ทั้ง empower ประชาชน นักศึกษา และครู
     เช้าก่อนจัดเวทีประชาคม   ครูมีบทบาทในการ empower นศ.     ครูทบทวนขั้นตอนการดำเนินงานเพื่อให้มั่นใจว่านศ. จะสามารถดำเนินการได้เองรวมทั้งสามารถแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้   และที่สำคัญ......มีความมั่นใจและกล้าจัดเวทีประชาคมครั้งแรกของชีวิตของเขา         เมื่อไปถึงชุมชน   ครูจะกลายเป็นผู้เข้าร่วมประชุมคนหนึ่งที่คอยให้กำลังใจและคอยช่วยเหลือเท่าที่จำเป็นจริงๆ   บรรยากาศของเวทีประชาคมเป็นไปตามคาด  นศ. สามารถดำเนินเวทีได้อย่างราบรื่นและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้   หลังการจัดเวทีทั้งชาวบ้าน  นศ. และครูต่างมีความสุข         ความสุขของครูคือเมื่อเห็นนศ. เดินออกมาจากชุมชน   ด้วยความภูมิใจที่ทำงานสำเร็จและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ     

            ในช่วงบ่ายเราถอดบทเรียนทันที   นศ. ต่างดูมั่นใจ  ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและกล้าพูดมากขึ้น  อาจเป็นเพราะเป็นการถอดบทเรียนครั้งที่สอง  นศ. เริ่มชินกับวิธีการถอดบทเรียนและอาจประกอบกับประสบการณ์ความสำเร็จที่เพิ่งเกิดขึ้น  ครูเริ่มด้วยการชมการทำงานของนศ. ทั้งกลุ่มที่ร่วมมือกันทำงานเป็นอย่างดี     อย่างที่พบทุกครั้งในการสอนนศ. มาหลายปี   นศ. มีความคิดวิเคราะห์   รู้จักโต้ตอบ  มีความคิดความอ่านที่น่าทึ่งอยู่เสมอ   ทำให้คิดว่านศ. เป็นบุคคลที่มีศักยภาพ  เป็นเพชรที่มีค่า    ครูเป็นผู้ที่มีหน้าที่เจียระไน  หรือส่งเสริมให้นศ. ได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่ออกมา  ให้ได้มากที่สุด  ให้เขาสามารถยืนอยู่แถวหน้าได้อย่างมั่นใจ 

           เวทีประชาคมครั้งนี้  สิ่งที่ได้ไม่เพียงแค่การรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเพื่อหาข้อสรุปในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ   แต่ยังได้ empower  ชุมชน    ได้ empower  นศ.   ได้แสดงตัวอย่างการสอนเรื่องการจัดเวทีประชาคมแก่อาจารย์ใหม่ที่เข้าร่วมสอน  หรืออีกนัยหนึ่ง  เราได้ empower ทั้งประชาชน  นศ.  และครู  ผ่านการจัดเวทีประชาคม   และสุดท้ายครูได้ความสุขและความภูมิใจที่เห็นความสำเร็จและเจริญงอกงามของนศ.

          ท้ายนี้เป็นบันทึกการถอดบทเรียน  ที่นศ. ผลัดกันเป็นคุณลิขิต

ประสบการณ์ การจัดเวทีประชาคม

วันที่ 11  มิถุนายน 2550 ณ บ้านคุณชลิต

                   ชนาภา ฤทธิวรรณ  และ  ฐิติมา วัชรเขื่อนขันธ์     ผู้บันทึก

วัตถุประสงค์ของการจัดเวทีประชาคม·       รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน·       เสนอปัญหาที่พบให้ชุมชนรับทราบ·       แนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการ·       รับรู้ความต้องการที่แท้จริงของคนในชุมชน·       ร่วมกับชุมชนหาแนวทาง / วิธีแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งหาข้อสรุป

สิ่งที่เราได้ทำ·       นัดชุมชนไว้เวลา 10.00 น.·       เมื่อเราไปถึงที่นัดพบ  พบว่า....1)   ชุมชนให้การต้อนรับเป็นอย่างดี มีการเตรียมสถานที่และเครื่องดื่มไว้บริการ 2)   มีการเชิญชวนคนในชุมชนมาเข้าร่วมรับฟัง รวมทั้งเชิญคุณลุงสนิทมาด้วย และคุณลุงก็ได้เตรียมเอกสารเกี่ยวกับเรื่องไข้เลือดออก, ไข้หวัดนก มาแจกคนในชุมชน3)   มีการเตรียมอุปกรณ์ให้ เช่น โทรโข่ง เก้าอี้  น้ำดื่ม เป็นต้น*** 4)  ชุมชนมีการรวบรวมปัญหาหรือความคิดเห็นจากการสอบถามคนในชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ และความสนใจต้องการที่จะแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง  ซึ่งปัญหาหรือความคิดเห็นที่รวบรวมมาได้ มีดังนี้1.    ตรวจสุขภาพร่างกายคนชราและเด็ก2.    มีน้ำขัง น้ำเน่าเสียทำให้เกิดยุงลาย3.    มีสุนัขในซอยที่มีเจ้าของปล่อยออกมาอุจจาระบนทางเดิน ส่งกลิ่นเหม็นและสกปรกเป็นมลภาวะของซอย4.    ถังขยะและท่อน้ำอุดตัน เวลาฝนตกทำให้น้ำท่วมในบ้าน

บรรยากาศโดยทั่วไป·       ตอนแรกคนมากันโดยประมาณ 17 คน ตอนหลังมีมาเพิ่มอีก 3-4 คน รวมเป็น 20-21 คน·       ลักษณะการนั่ง จะจัดเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลม เพื่อให้รู้สึกว่าทุกคนมีความสำคัญเท่าๆ กันและเป็นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน·       ในการนั่ง อาจารย์แนะนำว่าเราควรนั่งปะปนกับคนในชุมชน เพื่อจะได้มีโอกาสสร้างสัมพันธภาพและกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น หรือตอบข้อสงสัยได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน1.    แนะนำตัวเองอย่างเป็นทางการ ว่าเราเป็นใคร  มาจากไหน  และมาทำอะไรวันนี้  เพื่อให้คนในชุมชนรับทราบโดยทั่วกัน2.    ทบทวนว่าตั้งแต่เข้ามาในชุมชนนี้ เราได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว เช่น ได้เดินสำรวจพื้นที่ในชุมชน ว่าบ้านหลังไหนมีคนเจ็บป่วย / ไม่สบาย หรือต้องการการดูแลบ้าง เป็นต้น3.    บอกจุดเด่น หรือศักยภาพของชุมชนนี้4.    จากการสอบถาม / ประเมินคนในชุมชนบอกว่า มีปัญหาอะไรบ้าง โดยเน้นถึงปัญหาที่สำคัญ 3 เรื่องใหญ่ๆ รวมทั้งชี้แจงถึงรายละเอียดของปัญหา / ข้อมูลสนับสนุนที่เราพบ 5.    ให้ชุมชนเสนอปัญหาที่ได้รวบรวมมา แล้วพิจารณาพบว่า ปัญหานั้นตรงกับที่เราได้เตรียมมา แล้วจึงร่วมกันหาข้อแก้ไข โดยทุกคนต่างช่วยกันแสดงความคิดเห็น บางคนก็เสนอที่จะช่วยเหลือเองหรือให้ความคิดเห็นดีๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีแนวคิดไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน6.    ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า ชุมชนต้องการให้มีการตรวจสุขภาพ และมีการฝึกอบรมอาสาสมัครสุขภาพ  โดยมีคนแสดงตนว่าอยากได้รับการฝึกอบรม จำนวน 4 คน ได้แก่ คุณนงนารถ , คุณชูจิต , คุณชลิต และคุณภาณี และกำหนดวัน เวลา สถานที่ ดังนี้ -               20 มิถุนายน 2550 : ฝึกอบรมอาสาสมัครเพื่อสอนการวัดความดันโลหิต เวลา 10.00 น. ณ บ้านคุณอู๊ด-          22 มิถุนายน 2550 : ตรวจสุขภาพให้คนในชุมชน ( วัดความดันโลหิต, ตรวจน้ำตาลในเลือด ) จัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง ไข้เลือดออก รวมทั้งการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง  และที่สำคัญในวันนี้เราจะนำอาสาสมัครที่ฝึกอบรมวัดความดันโลหิตเข้ามามีส่วนร่วมโดยการให้บริการวัดความดันให้คนในชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการประเมินสิ่งที่ได้ฝึกอบรมไปและถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับอาสาสมัครมากขึ้นด้วย ซึ่งอาสาสมัครกลุ่มนี้ดีใจมากและบอกว่าคนในชุมชนจะได้รู้จักพวกเขาเดิมแล้ว คนในชุมชนอยากให้พวกเราจัดกิจกรรมในวันเสาร์ เพราะจะมีคนมาร่วมงานเยอะเนื่องจากเป็นวันหยุด แต่พวกเราก็บอกว่า ยินดีและเต็มใจที่จะมาจัดให้ แต่เนื่องจากพวกเราติดภารกิจ จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมตามวันดังกล่าวได้ ซึ่งเขาก็เห็นใจเรา7.    เนื่องจากชุมชนนี้ไม่มีผู้นำที่ชัดเจน เราจึงเสนอให้คุณเกียงและคุณอู๊ดเป็นผู้นำ ซึ่งคนในชุมชนก็เห็นด้วย และทั้งสองคนก็ยินดีที่จะรับหน้าที่นี้ จากนั้นจึงได้ปรบมือเพื่อแสดงความยินดีที่ชุมชนนี้ได้ผู้นำ8.    ก่อนที่พวกเราจะลากลับ คุณอู๊ดได้ขอถ่ายรูปแผนที่ที่พวกเราทำขึ้น แสดงให้เห็นว่าเขาให้ความสนใจอยากได้ภาพหรือแผนที่ของชุมชน 

 สรุปบรรยากาศวันนี้  นักศึกษาทุกคนลงความเห็นว่าบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราต้องการ และทุกคนมีความพึงพอใจในผลงานมาก

ถ้าจะต้องปรับ มีตรงไหนที่อยากจะปรับปรุง-          chart แสดงหน้าที่รับผิดชอบของพยาบาลชุมชนที่เตรียมไว้ ไม่ได้นำมาเสนอต่อคนในชุมชน  แต่อาจารย์ก็มีความเห็นว่า สิ่งที่เตรียมมาแม้ไม่ได้พูด แต่บรรลุวัตถุประสงค์ก็ถือว่าใช้ได้-          ข้อมูลที่เตรียมไปไม่เพียงพอ เช่น สุนัขจรจัดยังไม่ทราบว่าจะต้องแจ้งที่ไหน แต่อาจารย์ก็ให้ความเห็นว่า เราไม่สามารถรู้ทุกเรื่องได้ แต่เราต้องรู้จักแก้ไขสถานการณ์ เช่น ถามต่อว่า แล้วมีใครในที่นี้พอจะทราบบ้างไหมคะ หรือบอกว่าเดี๋ยวจะไปค้นข้อมูลมาให้ เพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้ที่รอบรู้-          ควรมีสมุดจดรายชื่อผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อกัน-          ควรมีเครื่องวัดความดันมาแสดงให้อาสาสมัครที่จะฝึกดู เพื่อให้อาสาสมัครมีความสนใจอยากที่จะเรียนรู้มากขึ้น-          ควรเตรียมอุปกรณ์ไปให้พร้อม เช่น วันนี้กล้องถ่ายรูปถ่านหมด เป็นต้น และอาจารย์ก็ได้เสนอเทคนิคในการถ่ายรูป ว่าควรถ่ายแบบที่สามารถเล่าเป็นเรื่องราวได้ เช่น เมื่อไปถึง คนในชุมชนได้จัดเตรียมเก้าอี้ไว้ให้ ก็ควรถ่ายรูปเก้าอี้ไว้ และเมื่อเขาเอาเครื่องดื่มมาให้ก็ควรถ่ายรูปเครื่องดื่มไว้   ควรถ่ายภาพที่เป็นธรรมชาติ มีการแสดงกิริยา  ท่าทาง  ไม่ใช่ภาพนิ่งๆ  เฉยๆ  แบบตั้งใจ  และควรคาดการล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไร  เพื่อเตรียมถ่ายภาพได้ทัน เช่น เตรียมถ่ายภาพการปรบมือ   -          พวกเราควรจะประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมาร่วมงานกันมากกว่านี้ และอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นว่า ส่วนใหญ่คนที่มาร่วมฟังวันนี้จะเป็นแกนนำหลักของชุมชน   การประชุมแบบนี้อาจไม่จำเป็นต้องมีคนมามากนัก  เพราะคุณอู๊ดบอกว่าได้ไปถามความคิดเห็นของชาวบ้านมาแล้ว   ดังนั้นชาวบ้านไม่จำเป็นต้องมาเข้าร่วมประชุมหมด

บทเรียน/ประสบการณ์ที่ได้รับในวันนี้-               การเตรียมความพร้อมที่ดี มีการคาดเดาเหตุการณ์ไว้ล่วงหน้า มีการเตรียมคำตอบเพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก-               ได้รับประสบการณ์การทำเวทีประชาคม-               ได้เทคนิควิธีการพูดโน้มน้าวใจคน-               ได้เห็นความร่วมมือของคนในชุมชน-               ได้เห็นความต้องการของคนในชุมชน-               การให้คำมั่นสัญญา เมื่อเรารับปากว่าจะมาก็ต้องมา ถึงแม้ว่าฝนจะตกก็ตาม-               คนในชุมชนบางทีก็เสนอข้อคิดเห็น โดยที่เราไม่ต้องแนะแนวทางเลย-               ชุมชนจะเข้มแข็งได้จะต้องมีผู้นำที่ดี โดยที่วันนี้เราก็ได้เสริมสร้างพลังอำนาจให้กับชุมชน                                

หมายเลขบันทึก: 102816เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พอดี ผมเป็นนักวิจัยอิสระ ทำงานกับ สกว. ,สสส. และสถาบันวิจัยสังคม มช. ทุกเสาร์จะไปะเป็นอาจารย์พิเศษให้กับวิทยาลัยชุมชนที่อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน สอนวิชาการวิจัยพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ครับ และกำลังจะเตรียมสอนเรื่องการนำเทคนิคการจัดประชาคมมาใช้ในงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม มาค้นเจอบล็อกนี้เข้า ก็เลยขออนุญาตนำเอาไปให้นักศึกษาวิเคราะห์นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท