ศิลปะ (1) ทัศนศิลป์ "เรียนรู้หลักการพื้นฐาน"


บรรพบุรุษของไทยเรา เป็นผู้ที่ใช้ภูมิปัญญาสร้างชาติ

 

ศิลปะ (1) ทัศนศิลป์

  เรียนรู้หลักการพื้นฐาน 

          ในตอนที่ 1 นี้ ผมขอเล่าเรื่องของหลักการทางศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ ก่อนนะครับ เพื่อที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูศิลปะที่เรียนมาทางวาดภาพ ปั้น แกะสลัก หล่อ และงานออกแบบ จนถึงงานก่อสร้าง แต่ในการสอนวิชาพื้นฐานจะเรียกรวมว่า ศิลปะ (ไม่มีแยกย่อย)    

          ศิลปะ (Art) ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย และชื่นชมในความงาม มนุษย์มีการรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม เป็นเผ่าพันธุ์ แล้วค่อย ๆ ขยายเผ่าพันธุ์ออกไปเป็นชาติ บ้านเมือง ที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ที่แสดงถึงความเจริญงอกงามก็ด้วยการอาศัยผลงานศิลปะเป็นสิ่งรองรับ หรือ มาประกอบการยกระดับความเจริญ ดังนั้น ศิลปะจึงมีความเชื่อมโยงกันกับวัฒนธรรมอย่างมีเหตุมีผล 

               แขนงงานทางศิลปะ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ

         ด้านทัศนศิลป์ (Visual art) หมายถึงศิลปะที่มองเห็น หรือ ศิลปะที่สัมผัสได้ จับต้องได้และรับรู้ชื่นชมได้ด้วยการเห็น  ได้แก่ จิตรกรรม (Painting) ประติมากรรม (Sculpture) และสถาปัตยกรรม (Architecture)

         ด้านโสตศิลป์ (Audio art) หมายถึงศิลปะที่สัมผัสได้ ด้วยการรับฟัง ผ่านประสาทหู ได้แก่ ดนตรี (Music) และนาฏศิลป์ (Drama) หลักการของทัศนศิลป์

     1. ทัศนะธาตุ (Visual element) เป็นปัจจัยสำคัญในการมองเห็น หรือสิ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่เห็นได้เบื้องต้นในงานทัศนศิลป์ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ที่ว่าง พื้นผิว ขนาด  จังหวะ น้ำหนักอ่อนแก่ หรือแสงและเงา  สี และน้ำหนักสี

         1.1 จุด (Point, Dot) เมื่อนำเอามาเรียงต่อกันเป็นแนวยาวจะได้เส้น  

            1.2 เส้น (Line) คือ จุดที่เชื่อมต่อกันเป็นทางยาว มีหลายลักษณะ ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน 

            1.3 รูปร่าง (Shape) เกิดจากการนำเอาเส้นมาลากให้บรรจบกัน เป็น 2 มิติ คือ กว้างกับยาว

            1.4 รูปทรง (Form) รูปร่างที่มีความลึก หรือความหนา เป็น 3 มิติ คือ กว้าง ยาว และหนา

            1.5 ที่ว่าง หรือช่องว่าง (Space) เป็นการจัดช่องไฟให้เหมาะสมกับส่วนที่เป็นรูปกับพื้น 

            1.6 ขนาด (Size) คือความเล็ก กลาง ใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุใกล้เคียง เหมาะสมกัน

            1.7 พื้นผิว (Texture) หมายถึงผิวนอกสุดของวัตถุที่เราสามารถสัมผัสได้ เลื่อม ขรุขระ  มัน 

            1.8 จังหวะ (Rhythm) หมายถึงการซ้ำ ๆ ของหน่วยหรือรูปที่เหมือน ๆ อาจจะซ้อนกัน ทับกัน 

            1.9 น้ำหนักอ่อน แก่ (Tone) เป็นลักษณะของน้ำหนักสีต่าง ๆ ที่มีความอ่อน แก่ ดูเป็น 3 มิติ 

         1.10 แสงและเงา (Light & Shade) เป็นความมืดจนถึงสว่างที่ปรากฏบนพื้นผิววัตถุ 

         1.11 สี (Color) คือความเข้มของแสงที่สะท้อนจากวัตถุมาเข้าตาเรา มีทังสีเข้ม จาง และตัดกัน 

         1.12 น้ำหนักสี (Value of color) เป็นการจัดลำดับความเข้มจางของสีโดยจัดเป็นขั้น ๆ

 

       2. หลักการของสี ทฤษฎีสี (Theory of color) สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ดู สีส่งเสริมให้ผู้ดูเกิดความคิด ความรู้สึกและอารมณ์  หลักการของสีกำหนดสีหลักเอาไว้ เรียกว่า แม่สี 

          2.1  สีขั้นที่ 1 (primary of color) หรือแม่สี ได้แก่ สีแดง  สีเหลือง และสีน้ำเงิน (บางทฤษฎี มี 5 สี หรืออาจมีถึง 7 สี)  

          2.2 สีขั้นที่ 2 (Secondary of color) เป็นสีที่เกิดจากการผสมระหว่างสีขั้นที่ 1 ทีละคู่ในอัตราส่วนเท่ากัน ได้สีใหม่ 3 สี คือ สีเขียว สีส้ม และ สีม่วง 

          2.3 สีขั้นที่ 3 (Thirdary of color) เป็นสีที่ได้จากการผสมระหว่างสีขั้นที่ 1 กับ 2 ในอัตรา ส่วนเท่ากัน ได้สีใหม่ จำนวน  6 สี  คือ สีเหลืองเขียว สีเขียวน้ำเงิน  สีม่วงแดง สีม่วงน้ำเงิน สีส้มแดง  และ สีเหลืองส้ม 

 วงจรสี (Color Cycle) หรือวงล้อสี 

         เป็นการนำเอาสีธรรมชาติมาจัดเรียงกันเป็นวงกลม โดยให้สีเหลืองเป็นสีเริ่มต้น วนไปทางขวา จากเหลือง  เขียวเหลือง  เขียว  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  ม่วงแดง  แดง  ส้มแดง  ส้ม  ส้มเหลือง  ส่วนตรงกลางวงจรสี ให้ผสมแม่สีทั้ง  3 สีเข้าด้วยกันจัดวางไว้ เป็นสีกลาง (น้ำตาล)  

ระบบของสี สีที่เรานำเอามาใช้ในงานศิลปะ  แบ่งออกเป็น  3 กลุ่ม คือ       

        1. สีแท้ (Hue) เป็นสีที่มีความเข้ม เป็นคุณสมบัติแท้ ๆ โดยตัวของมันเอง ไม่ต้องผสมด้วยสีขาวหรือดำ หรือสีอื่น ๆ เลย ได้แก่ สีส้ม สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีม่วง เป็นต้น

        2. สีอ่อน (Tint) หรือสีจาง เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เพื่อลดความเข้มของสี ให้มีน้ำหนักอ่อนลง มองดูนุ่มนวล  ได้แก่ สีเทาอ่อน สีฟ้าอ่อน  สีชมพู  สีเขียวอ่อน

        3. สีแก่ (Shade) หรือสีเข้ม เกิดจากการผสมด้วยสีดำ หรือสีที่เข้มกว่า เพื่อเพิ่มน้ำหนักของสีให้แก่ขึ้น มองดูเข้มแข็ง  ได้แก่ สีเทาเข้ม  สีแดงเข้ม  สีเขียวเข้ม  เป็นต้น 

วรรณะของสี (Tone

        สีแบ่งออกเป็น  2 วรรณะ คือ สีวรรณะเย็น  และ สีวรรณะอุ่น (สีร้อน)        

        สีวรรณะเย็น  ได้แก่ สีที่ดูสบายตา  ได้แก่ สีเขียว สีน้ำเงิน สีเขียวเหลือง       

        สีวรรณะอุ่น หรือ ร้อน ได้แก่ สีที่ดูตื่นเต้น ร้อนแรง ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีม่วง

        สีกลมกลืนกัน (Harmony color) คือ สีที่นำเอามาเรียงต่อกันแล้วมีน้ำหนักใกล้เคียงกัน

        สีตรงข้าม (Contrast color)  คือ สีที่นำเอามาเรียงต่อกันแล้วมีน้ำหนักอ่อนแก่มากกว่ากัน

        สีเอกรงค์ (Monochrome) คือการใช้สีเพียงสีเดียว แต่ใช้สีนั้นหลาย ๆ น้ำหนัก

        สกุลของสี (Family of color) คือสีที่มีส่วนผสมด้วยสีเดียวกันกับสีหลัก เช่น สีสกุลแดง        ได้แก่ สีแดง สีส้มแดง สีส้ม และสีส้มเหลือง 

หลักการจัดภาพเบื้องต้น หรือ องค์ประกอบศิลปะ

        เป็นการนำเอาทัศนะธาตุที่สำคัญ ได้แก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา มาจัดวางได้อย่างลงตัว มีความเหมาะสมสวยงาม กลมกลืน โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ได้แก่

        1. เอกภาพ (Unity) เป็นการสิ่งของที่มีเพียงหนึ่งเดียว หรือมีสิ่งของหลายอย่างแต่จัดให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว รวมเป็นกลุ่มเดียวกัน จัดให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน

        2. ความสมดุล (Balance) คือ การจัดลักษณะของภาพข้างซ้ายและข้างขวาให้มีความเมาะสมกัน อาศัยความรู้สึกในการดูมากว่าที่จะนำสิ่งของไปชั่งน้ำหนักว่าเท่ากัน 

        3. จุดเด่น หรือจุดสนใจ (Dominance or Interesting Point) เป็นการจัดความชัดเจน ความสว่าง  ความสดใส  ความเข้มให้ปรากฏมากกว่าส่วนอื่น ชนิดของการจัดภาพ       

        ภาพที่เราจัดเพื่อการนำเสนอความงาม และประโยชน์ในการใช้สอย  ภาพโฆษณา  การ์ด  ปฏิทิน  ฯลฯ มีรูปแบบในการจัดหลายแบบ ที่นิยมกันมาก  ได้แก่ 

         1. การจัดภาพแบบสามเหลี่ยม(Triangular)เป็นการจัดให้สิ่งของบรรจุอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม

         2. การจัดภาพแบบวงกลม(Circular)เป็นการจัดให้สิ่งของในภาพม้วนเป็นวงกลมดูอ่อนหวาน

         3. การจัดภาพแบบรัศมี (Radiation) เป็นการจัดให้มีการแยกออกจากจุดศูนย์กลาง กระจาย

         4. การจัดภาพแบบเส้นตั้ง (Opposition) เป็นการจัดภาพแบบ     สิ่งสูง ๆ เช่น  ตึก ต้นไม้ ที่มั่นคง

         5. การจัดภาพแบบเส้นแนวนอน(Transition) เป็นการจัดภาพแสดงพื้นผิวเรียบ ทะเล ท้องนา 

         6. การจัดภาพแบบเส้นนำสายตา (Convergence) เป็นการจัดแบบมีเส้นนำไปสู่จุดสนใจ

       7. กาจัดภาพแบบซ้ำ ๆ กัน (Radiation) เป็นการจัดภาพแบบลายผ้า เหมือนๆ ทั้งผืน 

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative)

         ความคิด คือ การนึกก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน แต่ในบางคนสามารถที่จะคิดไปทำไปด้วยกันเลย เรียกว่าวาดสด ๆ กันเลย ถ้าเป็นเพลงแหล่ ก็เรียกว่าแหล่สดกันเลยครับ ในทางศิลปะมองกัน 2 ด้าน คือความคิดทางความงาม และความคิดในทางประโยชน์ใช้สอย หลักในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ 

       รูปแบบในงานศิลปะที่มนุษย์นิยมถ่ายทอดออกมา  มี  4 รูปแบบ คือ

        1. รูปแบบตามธรรมชาติ ได้แก่ ท้องนา ทะเล ภูเขา ต้นไม้ ลำธาร คน สัตว์ ดอกไม้ ฯลฯ

        2. รูปแบบศาสนา ความเชื่อ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ วัด โบสถ์ สถานที่สำคัญทางศาสนา

        3. รูปแบบทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี เช่น ลอยกระทง บวชพระ ทอดกฐิน

        4. รูปแบบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าของยุคปัจจุบันที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย

        ผลงานศิลปะ ภาพวาด ประติมากรรมพระพุทธรูปขนาดใหญ่ วัดวาอาราม โบสถ์ วิหาร และสิ่งต่าง ๆ มากมายที่ปรากฏอยู่ในท้องถิ่น แสดงถึงความเจริญงอกงามที่เกี่ยวโยงกับชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอด  ผลงานศิลปะช่วยสะท้อนให้เห็นลักษณะของความเจริญงอกงาม (วัฒนธรรม) ได้อย่างเด่นชัดเฉพาะท้องถิ่น เช่น ภาพวาดทางภาคเหนือ จะไม่เหมือนกับทางภาคกลาง เจดีย์ในแถบทางภาคอีสาน จะไม่เหมือนกับในแถบภาคใต้ 

        จากอิทธิพลของความเชื่อทำให้เกิดเป็นผลงานศิลปะอยู่ตามวัดมากมาย เป็นที่ เคารพ ศักการะ ของผู้คนในชุมชนนั้น ๆ ตลอดมา ประเทศไทยเรามีประวัติศาสตร์ทางศิลปะและวัฒนธรรมมายาวนานนับพันปี

         สมัยเชียงแสน พ.ศ. 1300-2089  มีการสร้างพระพุทธรูปแบบเชียงแสนพระสิงห์มีลักษณะ พระวรกายล่ำเตี้ย มีการสร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยแบบบ้านทรงไทยเหนือ

        สมัยสุโขทัย พ.ศ. 1800-1918 เป็นยุคที่มีการจดบันทึกร่องรอยทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ มีการสร้างสถูป เจดีย์แบบลังกา เจดีย์แบบทรงระฆัง และภพภาพวาดตามวัด ได้แก่วัดเจดีย์ 7 แถว  วัดศรีชุม มีการสร้างพระพุทธรูปที่งดงามเรียกว่าพระปางลีลา ยุคศิลปะเจริญสูงสุด

        สมัยอยุธยา พ.ศ. 1893-2310 เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ยาวนานถึง 417 ปี นับว่าเป็นยุคทองของศิลปะ วัฒนธรรม  พบภพวาดแบบสีเอกรงค์   มีการสร้างพระพุทธรูปแบบทรงเครื่องประดับ  บ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นแบบทรงไทยแท้ และปรางค์ เจดีย์ ฐานย่อมุม 12  เป็นสถานที่สำคัญมากมาย

         สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 ถึง ปัจจุบัน

         รัชกาลที่ 1-2 เป็นแบบสมัยอยุธยา มีการสร้างวัด ตั้งชื่อตามแบบสมัยอยุธยา       

        รัชกาลที่ 3  ติดต่อและนำเอาศิลปกรรมของจีนเข้ามามีบทบาทและรุนแรงมาก       

        รัชกาลที่ 4-5 ศิลปกรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้ามา มีการประยุกต์ตามแบบประเทศยุโรป

        รัชกาลที่ 6 มีการปรับปรุงศิลปะดั้งเดิมของไทยกันใหม่ งานจิตรกรรมใช้สีแบบธรรมชาติ และมีการสร้างวัดเอาไว้ประกอบพิธีทางศาสนามากขึ้น จนถึงยุคปัจจุบัน เรามีศิลปะ วัฒนธรรมให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาของชาติอย่างน่าชื่นชม ถึงแม้ว่าผลงานศิลปะบางอย่างจะถูกทำลายไปบ้าง แต่ก็ได้รับการบูรณะให้มีสภาพใกล้เคียงกับของเดิม เพื่อเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษารูแบบต่อไปจึงนับได้ว่าบรรพบุรุษของไทยเรา เป็นผู้ที่ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติสร้าง แผ่นดินให้คงอยู่ได้ด้วยสมองและสองมือ ดังปรากฏในโบราณสถานหลายๆ แห่งทั่วประเทศไทย

        

         ผลงานที่นักเรียนคิดสร้างสรรค์หรือปฏิบัติ (ตามความสนใจ ตามความสามารถ) ได้แก่

         1.     งานวาดภาพด้วยดินสอ งานวาดภาพระบายสี

         2.     งานออกแบบสร้างภาพปะติดด้วยกระดาษสี สติ๊กเกอร์ เศษวัสดุ

         3.     งานแสดงความคิดในลีลาท่าทาง ด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ

         4.     งานผลิตภัณฑ์ จากวัสดุท้องถิ่น กะลา เปลือกไม้ ผักตบชวา 

         5.     งานประดิษฐ์เครื่องประดับจากหินสี เปลือกหอย เศษวัสดุ 

        

         ในตอนต่อไป ผมจะได้นำเอาสาระสำคัญของโสตศิลป์ (ดนตรี และนาฏศิลป์) มาเล่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน ครับ

(ชำเลือง  มณีวงษ์ / สรุป,รวบรวม 2550)

 

หมายเลขบันทึก: 102619เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ดี มากครั บ แต่ ผมอยากได้ เรื องการวาดภาพคนเหมื อนครั บ กรุ ณานำเสนอด้ วยครั บ

รายละเอียดน้อยไปหน่อยต้องการมากกว่านี้ครับ

สวัสดีค่ะอ.ชำเลือง

มาอ่านแล้ว ได้ความรู้ตั้งแต่ประวัติเกี่ยวกับ "ศิลปะ" ในสมัยสุโขทัยและความรู้ที่เกี่ยวข้องเพิ่มอีกมากเลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

(^__^)

ขอบคุนนะคะ

อาจารย์

ที่ทำให้หนู

มีการบ้านส่งครู

คุณครูสายพันธุ์ใหม่

ขอบคุณอาจารย์มากที่ทำให้หนูมีความรู้ไปใช้ในการฝึกสอนครั้งแรก

ตอบความเห็นที่ 1 คุณ PUT

เรื่องการเขียนภาพคนเหมือน ผมไม่มีสอนนักเรียนในช่วงนี้ แต่ถ้ามีโอกาส ผมจะนำเอาความรู้เมื่อตอนสอบ วาดเขียนเอก (ว.อ.) เมื่อปี พ.ศ. 2517 มาเล่าในบล็อกนี้ ครับ

ตอบความเห็นที่ 2

ผมนำเอาความรู้และหลักการกว้าง ๆ ทางศิลปะมานำเสนอเพื่อเป็นการทบทวนความทรงจำและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูศิลปะ ครับ แต่ในบล็อกนี้ก็จะมีเรื่องราวในด้านทัศนศิลป์อีกหลายบทความ ขอบคุณมากครับ ที่แสดงความเห็น

ตอบความเห็นที่ 3 คนไม่มีราก

ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่เข้ามาเยี่ยม พอดีผมมีภารกิจด้านงานแสดงด้วย ไม่ได้ตอบกลับและแวะไปเยี่ยมเสียนาน ในส่วนของประวัติศิลปะไทย ผมจะนำเอามาสอดแทรกไว้เรื่อย ๆ ต่อไปครับ

ตอบความเห็นที่ 4 คนมีการบ้าน

โล่งใจไปที ที่ได้ส่งการบ้าน ยินดีครับ มีสิ่งใดขาดตกบกพร่องแจ้งให้ผมทราบด้วย จะได้เพิ่มเติม แก้ไขให้ถูกต้อง

ตอบความเห็นที่ 5 ครูสายพันธ์ใหม่

ยินดีกับคุณครูคนใหม่ด้วยนะครับ ที่ได้เข้ารับราชการเป็นครู ขอให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อ ๆ ไป

สวัสดีอ.ชำเลือง

เห็นภาพสวยมาก

อ.ชำเลืองวาดเองป่าวค่ะ

พอได้มาอ่าน

ความรู้เต็มหัว

แต่เรื่องศิลปะ

สวัสดี ศศิกานต์

  • วาดเอง ครับ เป็นภาพเก่าที่วาดไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว
  • อย่าลืมบันทึกในบางส่วนที่สำคัญของศิลปะเอาไว้บ้างนะ
  • ศิลปินสร้างผลงานศิลปะ ศิลปะจรรโลงใจ

อยากได้ของภาคใต้

อยากได้ทัศนะศิลป์ของภาคอีสานอ่ะคะ

ยินดีที่ได้เจอครูศิลปะค่ะน้องครูสุพรรณ..อยู่สุพรรณครูศิลปะเก่งๆเยอะดีค่ะ..ยินดีแลกเปลี่ยนมากๆค่ะ...ที่เว็บส่วนตััวก็ขอเชิญได้นะคะ..

http://www.watchari.com/board/index.php

ตอบความเห็นที่ 13 กฤษติยา

  • อยากได้ทัศนศิลป์ท้องถิ่นภาคใต้
  • ลองค้นหาในระบบเครือข่ายนี้ มีผู้เขียนเอาไว้หลายท่าน ครับ

ตอบความเห็นที่ 14 คุณแพร

  • เนื่องจากเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ในแต่ละท้องที่อาจแตกต่างกันบ้าง
  • อยากให้ลองค้นหาทางตรงไปที่ทัศนศิลป์ภาคอีสานได้เลย ในเว็บไซต์นี้ มีผู้เขียนเอาไว้แล้วครับ
  • ที่ผมนำมาเสนอเป็นภาพรวมกว้าง ๆ พอที่จะแนะนำขอบข่ายทั่วไปก่อน

ตอบความเห็นที่ 15 คุณอ้อยเล็ก

  • ยินดี เช่นกันครับที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณอ้อยเล็ก
  • ผลงานผ้าบาติด มัดย้อม เขียนสีของนักเรียนสวยงาม ครับ
  • ผมถนัดงานเขียนสีลวดลาย โดยเฉพาะงานเขียนสด ๆ ครับ
  • หากมีเวลาแวะไปเยี่ยมผมได้ที่เว็บ youtube.com ชมคลิบวีดีโอ เรื่องเพลงพื้นบ้าน เพลงอีแซว เพลงฉ่อย และ ทำขวัญนาค ฯลฯ

ทัศนศิลป์ในภาคใต้มีอะไรบ้างคะ?

P..ยินดีค่ะ..อยู่สุพรรณคงรู้จักครูสอนสุพรรณแห่งโอเคเนชั่นนะคะ...และคงรู้จักอ.ทวีศักดิ์แห่งวิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณ คนนั้นเพื่อนกันค่ะ..

30จีจี้จังโกะ ตอบแทนครูชำเลืองหน่อยนึง ทัศนศิลป์ภาคใต้ที่เด่นชัด ก็คือ เรือกอแระ ยังไงล่ะจ๊ะ..ลวดลายที่เขียนบนเรือกอแระนั้นสุดยอดเลยจ้า..

ตอบความเห็นที่ 20 อ้อยเล็ก

  • อ้อยเล็กมีเพื่อนอยู่สุพรรณฯด้วยนะ ดีจัง สำหรับอาจารย์ที่วิทายาลัยนาฏศิลป์ก็คุ้นเคยกันหลายท่าน ครับ
  • ขอบคุณที่เข้ามาตอบแทนครูชำเลืองได้ทันเวลา ตรงประเด็นเลยครับ เพราะเป็นเจ้าของพื้นที่โดยตรง
  • ลวดลายที่เขียนบนเรือกอแระก็สวยงามมากจริง ๆ (เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นโดยแท้)

สวัสดี จีจี้จังโกะ ความเห็นที่ 19

  • ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ (ทัศนศิลป์ศิลปภาคใต้)
  • ขอบคุณมากมาย ที่ตอบกระทู้มาให้ด้วย โชคดีปีใหม่และตลอดไปยาวนาน นะครับ
  • แถบทางภาคใต้มีอะไรดี ๆ ส่งข่าวขึ้นมาอีกนะครับ จีจีจังโกะ
รัตติกาญจน์ พรมทอง

 

สอนได้ดีมากๆค่ะ

ธรรมภากไต้

ดีมาก

1อาจารย์เข้าสาขาอะไรหรอคะ

2จบไปแล้วมีงานทำทุกคนหรือเปล่า

3อาจารย์คิดว่ามหาวิทยาลัยไหนที่ดีที่สุด ในการเรียนทางด้านศิลปะ

4มีสาขาอะไรบ้างคะ และแต่ละสาขาเป็นยังไงคะ

ช่วยตอบหนูหน่อยนะคะ^^ตอนนี้หนูศึกษาอยู่ ม.4 และก็อยากจะรีบวางแผนเอาไว้ก่อนเนิ่นๆพอจบ ม.6 ไปจะได้เตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยทันที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท