การหาสมดุลชีวิต สมดุลสังคม


เวลาเราทำอะไรบางอย่างแล้วรู้สึกเป็นทุกข์ ชีวิตเราเริ่มเสียสมดุล อาจเพราะ "มากเกินไป" หรือ "น้อยเกินไป"

เวลาเราทำอะไรบางอย่างแล้วรู้สึกเป็นทุกข์  ชีวิตเราเริ่มเสียสมดุล  อาจเพราะ "มากเกินไป"  หรือ "น้อยเกินไป"  

สำนึกที่แตกต่างทำให้สมดุลของแต่ละคนแตกต่างกัน .... "คุณบางทราย" แสดงความเห็นไว้อย่างน่าคิด .....

เมื่อมองดูสังคม   อาจยากที่จะบอกว่า "จุดสมดุล" อยู่ที่ไหน  แต่ปัญหาหลายๆอย่างที่รุมเร้า บอกให้รู้ว่า  เราไม่อยู่ในสมดุล

บางทีการบอกว่า สมดุลอยู่ที่จุดไหนเป็นเรื่องยาก   แค่รู้ว่า ตนเป็นทุกข์  สังคมอยู่ในทุกข์   การหาทางลดทุกข์  ก็น่าเป็นทางหนึ่งที่จะปรับสู่สมดุล

ตัวอย่างเช่น   ยากที่เราจะตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า  ระดับที่เหมาะสมของคาร์บอนในบรรยากาศโลกเป็นเท่าไร (เพราะปัจจัยทางวิทยาศาสตร์และปัจจัยทางเศรษฐกิจ)  รู้แต่ว่า ภาวะโลกร้อนแสดงว่า เราก้าวมาเกินจุดสมดุลมากแล้ว   เป้าหมายของการสร้างสมดุล  จึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายระดับที่เหมาะสมของคาร์บอน  แต่  Kyoto Protocal ตั้งเป้าหมายว่า โลกจะลดคาร์บอนลงไปกี่เปอร์เซนต์จากปัจจุบัน

สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำมาก  ภาคเกษตรเล็กลงเหลือเพียง ร้อยละ  8 ของจีดีพี   เราไม่รู้ว่า  จุดสมดุลของภาคเกษตรกับภาคเศรษฐกิจอื่นจะอยู่ที่ไหน (โดยเฉพาะเมื่อคนในภาคเกษตรมีรายได้นอกภาคเกษตรในสัดส่วนสูง)   แต่เราจะตั้งเป้าหมายจีดีพีภาคเกษตรไม่ให้ต่ำกว่าร้อยละ 10  อย่างน้อยเพื่อไม่ให้คนที่อยู่ในภาคเกษตรต้องยากลำบากอย่างที่เป็นอยู่

เขยิบออกมานิดจากเส้นของความทุกข์  ย่อมเป็นการปรับไปสู่สมดุลที่ดีขึ้นกว่าเดิม   แม้ยากจะบอกว่า หลักชัยจริงๆมันอยู่ที่ไหน

ทุกข์น้อยลง สุขมากขึ้น สมดุลก็คงดีขึ้น...  คล้ายๆกับที่อาจารย์ทิพวัลย์เคยบอกไว้

 

(ทางเศรษฐศาสตร์ มีหลักการว่า  ถ้าทำอะไรแล้วต้นทุนสังคมเพิ่มขึ้นมากกว่าประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น แสดงว่า เราอยู่เลยจุดสมดุลแล้ว จำเป็นต้องถอยกลับ   อย่างเช่น  ถ้าถางป่า 1 ไร่ เพื่อทำรีสอร์ท  แล้วทำให้สังคมมีต้นทุนสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำรีสอร์ท  แสดงว่า เราใช้ทรัพยากรเกินจุดสมดุลแล้ว)

และเมื่อกลับมาที่สมดุลชีวิต ... พี่ทิวาพรบอกว่าให้แหงนมองดูฟ้า บางครั้งก็ช่วยให้จิตใจเรานิ่งสงบได้   .... แม้ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังดี

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 102283เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์ ปัทมาวดี ที่เคารพ

ผมเองเมื่อวานนี้ ดูหนังเรื่อง บาเบล ครับ เกี่ยวกับอาชญากรรม อุบัติเหตุ และปัญหาสังคม รู้สึกว่า มันเป็นเหมือนภาพจำลองของความเปลี่ยนแปลงในทางต่ำของสังคมโลกครับ

ภาพใน บาเบล เหมือนกับ สังคมที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ฮะ ผมคิดว่า ผมเองก็มีส่วนรับผิดชอบกับการที่สังคมเสื่อมลง ทุกคนก็เช่นกัน

เราต้องปรับตัวเอง เพื่อให้สมดุล ดังเดิม ทุกคนเลยครับ

ขอบคุณครับ

ได้ความรู้มากมายเลยครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงง

อิ๊อิ๊!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท