การดูงานเอดส์ในเด็กที่ไมอามี่ : โดนอาจารย์ตำหนิ


จะเป็นความผิดใหญ่ ของโรงพยาบาล ที่ไม่รักษาความลับผู้ป่วย

วันศุกร์นี้ 8 มิย 50  หมอรวิวรรณ ไปเช้ามาก ถึงที่ทำงานก่อน 8 โมง มีคนในที่ทำงานไม่กี่คน

ห้องตรวจ  ในเก้าอี้ บริเวณที่นั่งรอตรวจ ยังไม่มีคนไข้เลย

 

ไปหาคุณป้าคิมมี่ใจดี ที่เป็นผู้จัดการ คอยดูแล ต้อนรับทักทายผู้ป่วย รับใบนัดบริเวณ เคาวนเตอร์ที่หน้าห้องตรวจผู้ป่วย(เหมือนป้าไล ป้าเลาที่ OPD รพเชียงราย)

ในรูปป้าคิมมี่ ช่วยอุ้มเด็ก เตรียมเจาะเลือด

คุณป้าเตรียมแฟ้มผู้ป่วยใส่ล้อไว้แล้ว วันนี้จะมีคนไข้ที่นัดไว้ ประมาณ 15 คน

ดิฉันเลยขออนุญาติ เอาแฟ้มผู้ป่วยมาทบทวนก่อนคุณหมอทุกท่านและผู้ป่วยจะมา

เพื่อความรวดเร็วและสะดวกกับการเพิ่มข้อมูลภายหลัง  ดิฉันเอาสติ๊กเกอร์ ที่มีชื่อผู้ป่วย และ เลขทะเบียน   มาติดไว้ในสมุดโน๊ตของตัวเอง  (ซึ่งปกติทั้งหมอ ทั้งพยาบาลจะ ดึงสติกเกอร์นี้ มาติดติดเอกสารของผู้ป่วย เพื่อความรวดเร็วไม่ต้องเขียน อีกทั้งจะได้ชื่อนามสกุล ที่สะกดถูกต้อง  และได้เลขประจำตัวผู้ป่วยที่ไม่ผิดพลาดจากการเขียน)

 ตอนหยิบสติกเกอร์มาใช้ คิดเองว่าเวลาดูผู้ป่วยพร้อมอาจารย์ จะได้ ตามทัน ได้เข้าใจการวางแผนการรักษา ไม่ต้องไปแย่งใช้แฟ้มขณะตรวจ จะบันทึกเพิ่มเติมข้อมูลสำคัญ และไปรื้อทีหลังถ้าไม่เข้าใจ

เก็บข้อมูลรายชื่อ จากการทบทวนผู้ป่วยจนได้ครบ รวม 2 หน้า เรียงเป็นระเบียบอยู่ในสมุดบันทึก พร้อมแล้ว

คุณหมอแต่ละท่านมา ดิฉัน ก็ หาโอกาสที่นั่งกับแพทย์ผู้ตรวจผู้ป่วยให้มากที่สุด ครอบคลุมที่สุด และบันทึกเพิ่มเติม

ตอนไปนั่งกับ อาจารย์เกวน อาจารย์เห็นสมุด บันทึกเข้า ท่านทำท่าไม่สบายใจมาก พูดเสียงเรียบว่า แบบนี้ ทำไม่ได้ ถึงขั้นอันตรายเลย

ถ้าข้อมูลนี้ ออกไปนอกโรงพยาบาล มีชื่อเด็กหลุดออกไป ถือว่าเป็นความผิดใหญ่ ของโรงพยาบาล ที่ไม่รักษาความลับผู้ป่วย

สมุดเล่มนี้ ไม่ให้ เอากลับบ้าน ถือไปมา ต้องเอาเก็บไว้ที่นี่

อาจารย์ พูดแค่นี้ค่ะ แต่รวิวรรณ ก็ เข้าใจมาก รู้สึกผิด และเสียใจด้วย

นึกย้อน ถ้าผู้มาดูงานที่เชียงราย เอาชื่อ คนไข้ในคลินิก เอาข้อมูลไป เราคงไม่ยอมเด็ดขาด 

ผิดไปแล้ว ไม่เถียงสักคำ 

 รีบแก้ไขทันทีเลย ลอก สติกเกอร์ ชื่อเด็กทุกอันออก 

 เอาสมุดให้อาจารย์ ดูด้วย รายงานอาจารย์ให้ทราบทันที พร้อมบอกว่าขอโทษค่ะ

อาจารย์ มอง และพูดว่า

 That is great !

 But I still feel nervous about it, so please don't take this note book home.

ตอนนี้ เลย  ฉีกเอาส่วนสำคัญของสมุดบันทึก แยกส่วนที่ใช้ในการดำรงชีวิตออกมา และทิ้งสมุดโน๊ตไว้ในลิ้นชักที่โต๊ะในoffice

 สิทธิผู้ป่วย  การรักษาความลับของข้อมูลผู้ป่วยที่อเมริกานี่ชัดเจนค่ะ

 เวชระเบียน รวมทั้งบันทึกทุกชนิดในแฟ้ม จะอยู่ในที่ปลอดภัย      ใครเอาไป ต้องเขียนใบยืม ห้ามออกจาก Officeยกเว้นเอามาบริการที่ OPDซึ่งอยู่ชั้นเดียวกัน บริการเสร็จ คุณป้าคิมมี่  จะหอบเวชระเบียนกลับไปเก็บ  ใครจะเอาไปทำงานที่บ้านต่อไม่ได้ และตอนเลิกงาน ต้องเก็บทุกฉบับไว้ในห้อง ที่ล็อกปิด

 ต้องใช้ ป้ายชื่อเจ้าหน้าที่ ที่ห้อยคอของบางคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นตัว สอดช่องกุญแจเพือเปิดประตู

มานึกได้ ถึงตอนที่ดิฉันไปดูงานที่ แคลิฟอร์เนีย  สามปีก่อน กับอาจารย์หมอสุชาติ จาก ชลบุรี  อาจารย์หมอภพ จากขอนแก่น  และน้องแดงจาก PHPTเชียงใหม่ 

แพทย์ และพยาบาลที่นั่น เขาไม่ให้เราได้มีโอกาสแตะต้องหรือ แม้แต่อ่าน ทบทวนเวชระเบียนเลย ด้วยซ้ำไป

 

หมายเลขบันทึก: 102145เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

โลกตะวันตก   ให้ความสำคัญต่อสิทธิของตนเองมากและให้ความเคารพต่อสิทธิของผู้อื่นอย่างน่าสนใจ   ซึ่งผมเองก็เข้าใจในทำนองนั้น 

ดูอย่างดาราฝรั่ง - สังคมให้ความสำคัญต่อเนื้องาน หรือผลงานมากกว่าเรื่องส่วนตัว  ซึ่งในสังคมไทยกลับสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง

...

นี่คือ  มุมเล็ก ๆ ที่ผมตีความและสะท้อนมาจากความนึกคิดของถ้อยคำเหล่านี้  ข้อมูลนี้ ออกไปนอกโรงพยาบาล มีชื่อเด็กหลุดออกไป ถือว่าเป็นความผิดใหญ่ ของโรงพยาบาล ที่ไม่รักษาความลับผู้ป่วย

เห็นด้วยกับอ.แผ่นดินค่ะ

เคยไปเยี่ยมโรงพยาบาลบางแห่ง (ม่ใช่เชียงรายนะคะ)  และได้รายงานของโรงพยาบาลมา บางครั้งมีชื่อนามสกุลผู้ป่วยมาให้เสร็จสรรพ ที่จริงจุดประสงค์คือเล่าความก้าวหน้าของงาน แต่คงลืมไป เรื่องการรักษาความลับผู้ป่วย (ไม่ต้องใส่ชื่อมาก็ได้ใจความครบถ้วนแล้ว)

แม้แต่ชื่อคนไข้ที่มาขอตรวจเลือด เอชไอวี ในคลินิกบางแห่งยังเคยเจอบนถุงกล้วยแขกด้วยตัวเองมาแล้ว ตอนนั้นเข้ามาทำงานเอดส์ใหม่ ช็อคพอควร และก็มาจากที่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการดูแลผู้ป่วยเอดส์ด้วย

น่าจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานเรื่องการรักษาความลับในบ้านเราบ้างนะคะ ไม่ใช่มีแค่เขียนไว้เฉย ๆ ในคัมภีร์ แต่ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน (หรือว่ามีอยู่แต่ไม่ปฏิบัติ) เคยพยายามหาเอกสารอ้างอิงเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อรักษาความลับผู้ป่วย โดยเฉพาะเรื่องแบบฟอร์มเด็บข้อมูลของคยไข้ต่าง ๆ ปรากฏว่ายังไม่เคยหาได้เลยค่ะ

 

 

 

 

 ขอบคุณ คุณ แผ่นดิน และคุณ บิ๋นห์ค่ะ

สิทธิ ผู้ป่วยเป็นสิ่งที่จะละเมิดกันง่ายที่สุด

ตัวอย่างที่เกิด ไม่ได้ตั้งใจจะละเมิด

แต่ไม่ระวัง ซึ่งเกิดง่ายมากนะคะ

ขณะทำ คิดว่าสมุดนี้ ก็ ไม่ให้ใครดู หรือไม่ทำเรี่ยราด ไม่เอาชื่อผู้ป่วย ไปทำเสียหาย

คุณหมอ พยาบาลที่ ทำงานอยู่ยังช่วยหยิบสติกเกอร์ให้เราเอามาติดเลย เพราะอยากช่วยให้ได้เรียนรู้

แต่พอคิดในแง่กลับกัน ถ้าเราเป็นเจ้าของไข้ มีแขกมาดูงาน แล้วจึงจะ อ๋อ

พอมีหัวหน้าภาควิชาทักจึงคิดออกค่ะ

ต้องอาศัย ประสบการณ์ และความมีสติ นึกถึงด้วย

 

เครื่องมือมีที่ช่วยให้ความสะดวกในการละเมิดสิทธิมีมากมาย เครื่องถ่ายเอกสารมีทุกจุด ของโรงพยาบาล เครื่องมืออีเล็คทรอนิก หาได้ทั่วไป ทำให้ การละเมิดสิทธิ เกิดโดยไม่ตั้งใจได้

บางทีก็ยาก เพราะ เราใช้เวชระเบียน และผู้ป่วยในการเรียนรู้ เช่น

นักศึกษาแพทย์ เอากล้องถ่ายรูป ผู้ป่วย ถ่ายใบ คำสั่งการรักษา ผล แลป

ขึ้น ฉายบนจอ เพื่อ การเรียน โดยนำเสนอ วิพากษ์  แต่มี เพื่อนๆ ขอ กอปปี้ file ไป เพราะทำการนำเสนอดีมาก

นี่ก็ เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ในโรงพยาบาลที่มีการเรียนการสอน

กระดาษ recycle ที่มีชื่อคนไข้ มีอยู่ทั่วไป เจอห่อกล้วยแขกอยู่ อาจารย์ ผู้เยี่ยมสำรวจ HA บางท่านก็พบเหมือนคุณ บิ๋นห์

กำลังว่า ต้องให้ความสะดวก เช่น อาจต้องมีเครื่องทำลายเอกสารไว้ให้พร้อมใช้และต้องช่วยกัน ย้ำเตือน ช่วยระวัง  ช่วยกันเตือน ต่อๆไปค่ะ

 

 

 

 

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้ว เห็นใจคุณหมอ ถ้าเป็นตัวเองคงเข้าใจเหมือนกันว่าเราเผลอไปหน่อย  แต่ไม่ได้ตั้งใจ

ที่บ้านเราก้เช่นกัน อยากให้รักษาสิทธิผูป่วยแบบนี้เหมือนกันค่ะ

แต่ส่วนใหญ่ ดิฉันว่า ของเราก็ไม่เลวนะคะ ไม่เห็นเคยได้ยินใครเอาเรื่องผู้ป่วยมาคุยกันนะคะ

เราก็ใช้ได้ค่ะเรื่องนี้ แต่ก็ดีที่จะเคร่งครัดอีกหน่อย

ขอบคุณ อาจารย์ 

P

อายนะคะ ตอนจะมาเล่า มาบอกใคร เรื่องนี้

เพราะตัวเอง รู้ซึ้งเรื่องสิทธิผู้ป่วย และเป็นผู้ทักท้วง คนอื่น เวลาเจอเหตุการณ์ ที่ ละเมิดสิทธิผู้ป่วยนี้ด้วย

ขอบคุณมาก ๆค่ะ ที่มาให้กำลังใจ

และ เห็นด้วยมากเลยค่ะที่อาจารย์ ว่า

 ที่บ้านเราก้เช่นกัน อยากให้รักษาสิทธิผู้ป่วยแบบนี้เหมือนกันค่ะ

เราก็ใช้ได้ค่ะเรื่องนี้ แต่ก็ดีที่จะเคร่งครัดอีกหน่อย

ขอออกความเห็นต่ออีกนิดค่ะ

บิ๋นห์ว่าบ้านเรายังโชคดีที่บุคลากรส่วนใหญ่เคารพสิทธิคนไข้ด้วยจรรยาบรรณอยู่แล้ว ไม่มีใครจงใจละเมิด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะไม่ทันคิด ไม่ได้ระวัง คิดไม่ถึงว่าเรื่องแค่นี้จะเป็นการละมิด

ดังนั้นการมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนน่าจะช่วยไม่ให้เกิดเหตุโดยไม่ตั้งใจขึ้นได้ เช่น

1. การถ่ายเอกสาร เวชระเบียนผู้ป่วยให้ลบ หรือปิดบังชื่อ - นามสกุล HN ของผู้ป่วย

2. การเผยแพร่ - นำเสนอในเพาเวอร์ พอยท์ ให้ตรวจสอบว่ามีส่วนใดที่จะเป็นการเปิดเผยผู้ป่วยหรือไม่ เช่น มีภาพที่เห็นใบหน้า ชื่อ นามสกุล ฯลฯ

3. ห้องเก็บเอกสารผป. เข้าได้เฉพาะ .....

ฯลฯ ที่รวบรวมจากประสบการณ์ที่อาจารย์ว่ามา และดป็นส่วนที่พวกเรามักมองข้ามกันไป

ขอนอกเรื่องไปอีกหน่อยนะคะ

ไม่ทราบว่าท่านอื่น ๆ รู้สึกอย่างไร เวลาเห็นข่าวรูปบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อแล้วต้องเสียชีวิต บาดเจ็บ โดยเฉพาะกรณีที่ยิ่งไม่ธรรมดา (เช่นถูกฆ่า ข่มขืน ถูกยิง ฯลฯ) ก็จะยิ่งได้ลงหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะหัวสีทั้งหลาย ถึงแม้ว่าผู้ตกเป็นเหยื่อเสียชีวิตไปแล้ว แต่ก็ต้องมีบุคคลในครอบครัวที่ยังอยู่ แต่ต้องมาเห็นภาพของผู้ที่รัก ที่ตกเป็นเหยื่อและนอกจากจะเสียชีวิตโดยไม่ควรแล้ว ยังต้องเหมือนถูกประจานสภาพหลังเสียชีวิตอีกด้วย เพื่อการขายหนังสือของพวกที่เรียกตัวเองว่าสื่อ อันนี้ไม่ทราบว่ามาตรฐานจรรยาบรรณของสื่อตรงนี้เป็นอย่างไร แล้วควรทำอย่างไร

 

คุณ บิ๋นห์ ที่รัก

 ขอบคุณที่มาเพิ่มเติมความสมบูรณ์ เรื่องสิทธิผู้ป่วย โดยเฉพาะ เรื่องการวางแนวทางปฏิบัติ ที่ชัดเจนจะช่วยไม่ให้เกิดเหตุโดยไม่ตั้งใจขึ้นได้

ซึ่งเป็นส่วนที่พวกเรามักมองข้ามกันไป

ต่อความเห็น ที่เวลาเห็นข่าวรูปบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อแล้วต้องเสียชีวิต บาดเจ็บ ลงหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์

คิดเหมือนกัน เลยค่ะ ยังอยากยุให้ญาติพี่น้องฟ้องสื่อ เรื่องไม่เคารพสิทธิผู้อื่น ให้เป็นประเด็นตัวอย่าง ดังๆให้คนทั้งหลายทราบกัน ถ้าจะดี 

 

ขณะที่เรารอสื่อมวลชน หรือผู้มีอำนาจในแผ่นดินควบคุมกันเอง เราจะช่วยกันอย่างไรดี ตรงนี้ ต้องหาคนช่วยคิดเยอะๆ

เวลาทำงานกับเครือข่าย และผู้ป่วยเอดส์ จะมีตัวอย่างเยอะเลยนะคะ

เคยเจอน้องๆสื่อมวลชน หลายคนที่ระมัดระวังเรื่องนี้ดี แต่ก็ มีหลายครั้งหลายคนที่ไม่ฟัง ไม่ยอม และบอกว่า ไม่เป็นไรหรอก เดี๋ยวนี้ ใครๆเขาก็ เปิดเผยกันทั้งนั้น  

เท่าที่เห็น โรงพยาบาลแต่ละที่ก็มี นโยบาย การกั้นส่วนห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า ห้ามถ่ายรูปในโรงพยาบาล ฯลฯแล้ว

แต่รู้สึกยังไม่พอเพียงเลย

น้ำผึ้ง แอคเซสเชียงราย

สวัสดีค่ะ

รู้สึกดีใจมากค่ะ ที่มีการพูดเรื่องสิทธิผู้ป่วย ในมุมของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางฝั่งผู้รับบริการและผู้ติดเชื้อต่อสู้กันมานานมาก แต่ก็มักถูกละเมิดสิทธิ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจค่ะ แม้กระทั่งเว็บไซด์ของบางองค์กรที่ทำเรื่องเด็ก ก็มีการนำรูปเด็กติดเชื้อมาเปิดเผย ซึ่งถ้าเป็นในอเมริกาเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่แน่ๆ แต่ที่บ้านเรา กลับถูกละเลยเป็นส่วนใหญ่ และเด็กเองก็ไม่สามารถลุกขึ้นมาเรียกร้องได้ว่า เขาไม่ต้องการเพราะเด็กบางคนต้องอาศัยสถานสงเคราะห์หรือองค์กรต่างๆ เหล่านั้นอยู่ค่ะ

เป็นสิ่งที่น่ายกย่อยมากเลยนะคะ โดยเฉพาะสิ่งที่ อ.รวิวรรณ นำมาเล่าให้ฟังค่ะ หากอาจารย์หลายๆ ท่านช่วยกันชูประเด็นนี้ ให้คนที่ทำงานกับผู้ป่วย/เด็กได้เห็นความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองสิทธิและความเป็นส่วนตัวของเด็ก ผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยอื่นๆค่ะ

แอบเข้ามาอ่าน ทำให้ได้ความรู้ถึงสิทธิเสรีภาพที่โลกตะวันตก

เห็นความสำคัญของคนของเขา แล้วก็นึกเห็นใจโลก

ของเราทำไม  ประเทศไทยไม่ให้ความรู้กับคนในชาติอย่างทั่วถึงเพื่อให้

เขารู้จักรักษาสิทธิและเสรีภาพ ของตนเองบ้างค่ะ

ขอบคุณ ทั้งสองท่านคุณน้ำผึ้งแห่ง แอกเซสเชียงราย และอาจารย์  ที่มาช่วยเพิ่มความเห็น สิทธิผู้ป่วย ที่เราต้องช่วยกัน ทั้ง ผู้ให้ และผู้รับบริการ และหน่วยงานต่างๆ

อย่างที่ทุกท่านว่านะคะ เป็นเรื่องจำเป็น ต้องช่วย กัน ทั้งปกป้องสิทธิ รักษาสิทธิ และความลับ และการเข้าถึงข้อมูล ของผู้ป่วย

 

โรงพยาบาลทั้งหลายตั้งใจทำ เรื่องนี้ เมื่อเรียนรู้ระบบคุณภาพ HA

เราเริ่มแล้ว และไปได้ดีมากด้วย

แต่ต้องช่วยกันให้มันครอบคลุม และอยู่ในใจ ในจิตวิญญาน ของทุกคนของสังคมเรา ไม่ใช่แต่ในกระดาษค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท