กรณีความขัดแย้งระหว่างนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กับนายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว.มหาดไทย ในเรื่องของ พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน


ขัดแย้งไปกันทำไม ทำไม..ไม่ถามประชาชน

ความปรารถนาดีของ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ น่าสนใจ และ ขอโต้แย้งของ รมว.มหาดไทย  ก็น่าจะนำมาพิจารณา

ปัญหาต่างๆ ...น่าจะสามารถทำความเข้าใจกันได้ และ ขอโต้แย้งต่างๆ และการคิดแบบ Negative ก็น่าจะสามารถอธิบายได้  แต่เมื่ออธิบายกันแล้วยังมีข้อโต้แย้งอีก ก็ต้องดูที่เจตนากันแล้วล่ะ  ทำไมถึงขัดแย้งกัน ( เพียงแค่ ห่วงอำนาจ  หรือ เพียงแค่ต้องการชนะกัน ) ทำไมไม่สามารถแก้ไขได้  .....เรื่องแบบนี้มีให้เห็นกันบ่อยสำหรับรัฐบาลผสม ( รัฐบาลสุรยุทธ์ ก็เสมือนรัฐบาลผสม )  สาเหตุก็คือการไม่ได้มองทิศทางในการพัฒนาประเทศไปในทิศทางเดียวกัน  ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างคิด  คิดกันคนละแนว  ( ....เห็นได้ ว่า รัฐบาลผสม จะเป็นอย่างไร และในอนาคตอาจจะมีลักษณะของการขัดแย้ง อย่างนี้ให้เห็นกันอีก  และเราก็จะเรียกร้องรัฐบาลเข้มแข็งกันอีก )  

ต่อไปเราอาจจะได้รัฐบาล .....

1. มีหัวหน้ารัฐบาลที่ต้องเอาใจบรรดารัฐมนตรีที่มาจากหลายพรรค

2. มีหัวหน้ารัฐบาลที่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจมาก ( จะว่าภาวะผู้นำมีปัญหาก็ไม่เชิง .... )

3. มีความขัดแย้ง จนกระทั่ง ไม่มีการพัฒนากฎหมาย

4. ที่สามารถพึ่งพา รัฐมนตรี หรือ สส สว ได้อีกแล้ว ต่างคนต่างระมัดระวัง  ต่างคนต่างห่วงอำนาจในพื้นที่ของตนเอง

..........................

ทำไม สองท่านจึงไม่ถามประชาชนล่ะ......  และทำไม  ทำไมต้องตีความ.....  ( รู้หรือเปล่าว่านี่คือ ปัญหา ที่เกิดขึ้น ทำไมไม่มีใครคิดว่า การไม่ถามประชาชนคือปัญหา  ทำไมไม่คิดว่าการตีความคือปัญหา   แสดงว่าระบบมีปัญหา  )  

 

หลักของการบริหารประเทศให้ประชาชนมีสุข คือ เอาความต้องการของประชาชนเป็นหลัก   จะคิดอะไร   จะปฎิบัติอะไร  ต้องมีพื้นฐานความต้องการของประชาชน

 

.......ประชาชนต้องการหรือไม่   ทั้งสองท่านไม่มีสิทธิ์ในการตัดสินใจ

 

ท่านอารีย์ ไม่มีสิทธิ์คว่ำข้อเสนอ  และ ท่านไพบูลย์  ไม่มีสิทธิ์ในการนำเสนอเพื่อยัดเยียด    

 

ความขัดแย้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจและแนวปฏิบัติ  คือ ไม่ได้มองประชาชนเป็นหลัก   ( ท่านไพบูลย์อาจจะมีข้อมูล   แต่ท่านอารีย์ มองแต่ตัวระบบที่เกิดจากการคาดการณ์ เท่านั้น   )

 

หากข้อเสนออยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชนแล้ว ท่านอารีย์ก็ไม่มีสิทธิ์แย้ง  ( เราจะไม่อ้างว่าท่านมาจากไหน เพราะไม่ว่า ใครจะมาจากไหน   จากเลือกตั้ง หรือการแต่งตั้ง )  ท่านทั้งสองจะต้องมาดูว่าใครคือผู้มีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสีย และความต้องการที่แท้จริงมีหรือไม่ ( ไม่ต้องเถียงกันครับ...ถ้าหากท่านบริหารโดยมีพื้นฐานความต้องการของประชาชนเป็นที่ตั้ง )

หาแนวทางโดยมีหลักการ คือ ประหยัด  มีความรวดเร็ว  มีคุณภาพ

ประหยัด : ประหยัดงบประมาณ  

ความรวดเร็ว :  สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็วหรือไม่  หรือเป็นเพียงกระบวนการเพิ่มขึ้นมาแล้วตอบสนองช้า

 คุณภาพ :  ผลิตผล และผลลัทธ์ที่ได้ ตรงกับความต้องการของประชาชนหรือไม่

 

ถ้าหากไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์นี้ ต้องกลับไปพิจารณาใหม่ ( ทั้งสองท่าน )

 

เราจะแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างไร?   ง่ายมาก.... ให้กลับไปถามประชาชนโดยรวม  ถามชุมชนโดยรวม  ถามผู้มีผลประโยชน์ส่วนได้ส่วนเสีย  ( เราไม่ได้หมายถึง การสูญเสียอำนาจ น่ะครับ ) 

 

ต่อไปในอนาคตข้างหน้า ประชาชน จะมีโอกาศพึ่งพาจากรัฐบาลได้น้อยลงทุกที  (เพราะเราจะพบกับปัญหาความขัดแย้งของผู้มีอำนาจบ่อยขึ้น  จนกระทั่งประเทศชาติไม่มีความก้าวหน้า   )  นี่คือปัญหา

 

 เราจะทำอย่างไร? ที่จะสนับสนุนให้ประชาชนหรือชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน  นี่เป็นหน้าที่ ของ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องคิด ตัวแบบขึ้นมา และ รมว มหาดไทย จะต้องให้การสนับสนุนทางที่สร้างสรรค์  ในทิศทางเดียวกัน

สุดท้ายต้องถามประชาชนว่า  จะเอาตัวแบบนี้หรือไม่

 

จะมีกระบวนการถามประชาชนอย่างไรนั้น   ท่านผู้มีหน้าที่ไปคิดดู...

..................

จะใช้วิธีการ 

 

ทำประชาวิจารณ์ แล้วปรับแก้ แล้วประกาศใช้ หรือ

 

หรือกำหนดขึ้นมาแล้วทำประชามติ และประกาศใช้

 

สำหรับผมแล้ว ทำประชาวิจารณ์ แล้วปรับแก้ จะเหมาะกว่า เพราะมีทางเลือกให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น  แสดงความต้องการที่แท้จริงออกมา

 

ปล

  • การเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร  ไม่ใช่เป็นตัวชี้วัดว่า เรามีการปกครองแบบประชาธิปไตย ที่สมบูรณ์
  •  เพราะ......ไม่ว่าเราจะได้ผู้บริหารจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง  สิ่งที่สำคัญคือต้องฟังเสียงประชาชน  ต้องรู้ความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
  •  เรามีหลักปฏิบัติที่ส่งเสริม ประชาธิปไตย แบบพึงพาตนเอง แล้วหรือยัง? ( ไม่คาดหวังการพึงพา สส แล้ว ........ ถึงเวลาที่ประชาชนทุกคนจะต้องแสดงสิทธิ์ และเสียงในการตัดสินใจด้วยตนเอง  ไม่ต้องหวังพึงผู้นำ ..... )
  • ท่าน ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ไม่ต้องลาออก ครับ  และ อย่าใช้การลาออกเป็นเครื่องมือการต่อรอง     ท่านไปหาประชาชน ถามประชาชน  ช้าหน่อยก็ไม่น่าจะเป็นอะไร?   เราสามารถได้สิ่งที่ประชาชนต้องการจริงๆ
  • การลาออกไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร  กลับไปเข้าทางฝ่ายศัตรู  ....ศัตรูอาจคิดว่า "ดี...ลาออกไปเสียก็ดี จะไม่ขัดขวาง..."
  • หากใครขวาง ความต้องการของประชาชน   ประชาชนจะเป็นผู้ไล่คน ๆ นั่น ออกไปเอง
  • เราจะต้องไปดูว่าการทำประชาวิจารณ์ และประชามติ สามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้า หรือความขัดแย้งได้หรือไม่    เป็นหนทางที่มีประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดหรือไม่  เป็นหนทางของประชาธิปไตยมากกว่าระบบเชื่อผู้นำใช่หรือไม่   เป็นหนทางที่ลดอำนาจของผู้แสวงหาอำนาจใช่หรือไม่   

 

 

 

 

 

 

 

 



ความเห็น (4)

พรบ.ฉบับนี้จะมีประโยชน์มากถ้าประชาชนให้ความสำคัญที่จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนแต่จะไม่มีประโยชน์ถ้าประชาชนไม่สนใจที่จะร่วมคิดร่วมกันพัฒนาอย่างแท้จริงเพราะเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนอบต.ก็มีหน้าที่ส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำอยู่แล้วร่างพรบ.ฉบับนี้น่าจะเผยและประชาสัมพันให้ประชาชนเข้าในก่อนแล้วทำประชาพิจารณ์น่าจะดีที่สุดรัฐมนตรีไหนไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไรถ้าประชาชนเอาใครๆก็น่าจะไม่โต้แย้ง

อยากให้ร่วมกันนำพาประเทศให้ผ่านพ้นวิกฤตเร็วๆ อย่ามัวแต่ขัดแย้งประชาชนกำลังเดือดร้อน

   จะถามชาวบ้านเสียทีเดียวก็คงจะไม่ได้เพราะต้องถามว่าวันนี้ ชาวบ้านเข้าใจ และสนใจมากแค่ไหน ต่อปัญหาในบ้านเมือง ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมานั้น ชาวบ้านซึ่งเป็นคนจนที่มีจำนวนมากในประเทศ มักจะห่างไกลในเรื่องพวกนี้มาก เนื่องจากเขาต้องทำมาหากิน ชีวิตต้องดิ้นรน ต่สู้กับหนี้สิน ฉะนั้น หากมีนักการเมืองที่ฉลาดหน่อย คิดหานโยบายประชานิยมเข้าหน่อย ก็จะ ชนะใจชาวบ้านได้ไม่ยาก พูดตรงๆ เรื่องความวุ่นวายในบ้านเมือง ถ้าพวกเราๆมองถึงอนาคตของประเทศ ถ้าไม่มีการเปลี้ยนแปลงอนาคตประเทศชาติหมดแน่ แต่ชาวบ้านไม่รู้สึกหรอก นี่คือปัญหา

    ทางแก้ก็คือ ทำอย่างไรชาวบ้านถึงจะมีความรู้ ทำอย่างไรการศึกษาภาคประชาชนถึงจะได้รับความสนใจอย่างจริงจังต่อผู้บริหารบ้านเมืองเสียที ทำอย่างไรชาวบ้านถึงจะเลิกโง่ เสียที ถ้าเขามีความรู้ ก็จะเกิดจิตสำนึก ถึงตอนนั้นไม่ต้องมานั่งเถียงกันหรอก เขาตัดสินใจได้ แต่ในตอนนี้ เข้าใจว่า ชุมชน และคนในชุมชน ยังไม่แข็งแรงพอ ยังไม่พร้อมที่จะรองรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลง พูดง่ายๆว่า อะไรเข้ามาข้าเอาหมด โดยมองตรงประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก แต่ไม่คิดว่าจะเกิดผลเสียต่อส่วนรวมอย่างไร

การศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยได้ และช่วยได้อย่างยั่งยืน มีความรู้เท่าทัน จะทำอะไรก็ต้องคิดก่อนอยู่แล้ว เพราะมีความรู้ที่จะใช้นำความคิด แต่ถ้าไม่รู้ ก็ไม่รูว่าจะคิดไปทำไม ปวดหัวเปล่าๆ นี่แหละครับความคิดของชาวบ้าน ไม่เชื่อลองไปนั่งคุยกับเขาดูบ้างซิครับแล้วท่านจะรู้ว่า ในชนบทจริงแล้วมันไม่เหมือนในเมือง จะได้เอะอะอะไรก็ถามชาวบ้าน ถามประชาชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่รู้อนาคตของตัวเองเสียด้วยซำว่าจะเดินต่อไปอย่างไร   กล้ามั๊ยละครับที่จะลงทุนครั้งยิ่งใหญ่ให้กับอนาคตของประเทศอย่างจริง การศึกษายังไงครับ คงไม่ต้องบอกมั๊ง แต่ละท่านในบ้านเมืองสุดยอดทั้งนั้นนี่ครับ

  

การศึกษายังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย  ครับ  ยังมีหลายวิธีที่จะเพิ่มความรู้แก่ชาวบ้าน    เราจะไปดูถูกชาวบ้านไม่ได้ว่าชาวบ้านโง่     เรื่องบางเรื่องชาวบ้านเขาก็ฉลาด  ฉลาดในการอยู่รอด  นั่นหมายถึงชาวบ้านกลุ่มนั้น มีสติปัญญา  ( สามารถดูจาก ผลผลิต จากภูมิปัญญาจากชาวบ้าน )    จะเห็นว่า ชาวบ้านกลุ่มที่มีสติ  ในการพิจารณาไตร่ตรอง มักจะมีปัญญา ในการเลี้ยงชีพของตนเอง  กลุ่มไหนที่ขาดสติ  ก็จะถูกชักจูงได้ง่าย

 

การศึกษาไม่ใช่สิ่งสุดท้าย ที่พึงได้   หากคิดได้คุณก็จะรู้เองว่า ควรมองหาภูมิปัญญา ดั้งเดิม หรือวิถีชีวิตดั้งเดิม จะดีกว่า และน่าจะสามารถช่วยได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท