มหาวิทยาลัยเที่ยงวัน


หนังสือรวบรวมบทความ ซึ่งสะท้อนมุมมองต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมไทย จากการรวบรวมงานเขียนในมติชนสุดสัปดาห์ ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ผู้อธิบายว่า วัฒนธรรมสำคัญกว่าความรู้

แนะนำหนังสือ 

 

มหาวิทยาลัยเที่ยงวัน 

นิธิ เอียวศรีวงศ์

ผู้เขียน 

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน

ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ

มีนาคม 2549   

 

 

คติ มุธุขันธ์ : แนะนำ  

หนังสือรวบรวมบทความ

ในแต่ละห้วงเวลา ของ ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์

ผ่านมุมมอง แนวคิด และทิศทาง

นำเสนอเรื่องราวต่อคนไทย และประเทศไทย   

คำนำ ตูน โดย เรณู ปัญญาดี  

 

วันนี้เราจะไปเที่ยวนิธิแลนด์ สวนสนุกเพื่อภูมิปัญญา นิธิแลนด์เป็นหมู่บ้านเสมือนจริง รวบรวมผลงานและนำเอาแนวคิดของอาจารย์นิธิมาแสดงให้เห็น ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ คือปัญญาชนนักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนี้ ผลงานทั้งที่เป็นงานวิชาการและข้อเขียนรายสัปดาห์ได้ปฏิวัติความเข้าใจทางวัฒนธรรมของเราใหม่ เขาเป็นหนึ่งในผู้นำทางปัญญาหรือ Think Tank ของสังคม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างกว้างขวาง เค้าว่ากันว่าสวนสนุกแห่งนี้ เป็นแหล่งความรู้แบบใหม่ที่เคลื่อนไหวและมีชีวิต เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต กระตุ้นกระบวนการเรียนรู้และบูรณาการ

   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เรามาดูกันซิว่าหมู่บ้านนี้ มีอะไรให้ชมบ้าง? สวนสนุกจะแบ่งพื้นที่หลายร้อยไร่ออกเป็น 16 ดินแดน เช่น ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ ชาติ ปัญญาชน การศึกษา ศาสนา ความเชื่อ ศีลธรรม ภาษา วิธีคิด การเมือง ชุมชน วิถีชีวิต บริโภคนิยม เพศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในนิธิแลนด์มีหมู่บ้านจำลองแสดงชีวิตชุมชน ตามอุดมคติของอาจารย์นิธิ - ความรู้เกี่ยวกับอาจารย์แบ่งออกได้เป็น นิธิ 101 กับ นิธิ 102 นั่นคือ ความรู้สมัยที่ท่านเป็นเพียงนักวิชาการผู้โด่งดัง กับเมื่อท่านกลายเป็นนักเขียน และนักกิจกรรมที่มีบทบาททางการเมืองอย่างจริงจัง - เริ่มต้นด้วยการให้เราลงเรือล่องไปตาม อุโมงค์นิธิ เพื่อแนะนำเราให้รู้จักกับผลงานสำคัญๆ ในอดีตของท่านอาจารย์ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อุโมงค์ซึ่งพาเราไปพบกับ รากเหง้า ทางความคิดของอาจารย์นิธิเป็นโซนสำคัญของสวนสนุกแห่งนี้ เพราะการจะอ่านบทความอาจารย์นิธิให้เข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งนั้น จำเป็นต้องเข้าใจแนวคิดและชุดคำบางชุดของท่านเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น การจะเข้าใจบทความซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ.2548 เรื่อง พุทธกับไสยไปกันหมด ให้ครบถ้วนนั้น ควรรู้ด้วยว่านิธิเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้อย่างละเอียดเมื่อปี พ.ศ. 2534  ในบทความขนาดยาวเรื่อง พุทธกับไสย พยายามแยกแยะพุทธศาสนาในยุคปัจจุบันออกจากยุคโบราณ เพื่อชี้ให้เห็นว่าพุทธในแบบดั้งเดิมของไทยไม่ได้แยกตัวออกจากยุคโบราณ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">พุทธที่ไม่ไสยศาสตร์เป็นแนวคิดที่เพิ่งจะเกิดขึ้น ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยกว่าปีมานี้เอง นี่เป็นการปฏิเสธการมองว่าพุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างอิสระและมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง อีกทั้งเปิดมุมมองใหม่ในการศึกษาความเชื่อต่างๆ อย่างจริงจังและปราศจากอคติ จุดเด่นของงานเขียนของอาจารย์นิธิ คือมองเห็นมิติทางด้านวัฒนธรรมของปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทาสังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง และด้วยความเป็นนักประวัติศาสตร์ที่อ่านหลักฐานและวิเคราะห์อะไรต่อมิอะไรได้อย่างแตกฉาน มีส่วนทำให้การวิเคราะห์ของท่านมีความน่าเชื่อถือ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผลงานด้านประวัติศาสตร์ของท่านซึ่งตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2520 2528 จะแสดงให้เราเห็นถึงความโดดเด่นและลึกซึ้งในการเข้าใจสังคมไทย และความแปลกใหม่ของมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ของท่านได้เป็นอย่างดี ผลงานเหล่านี้ได้แก่ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ปากไก่และใบเรือ: รวมความเรียงว่าด้วยวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ต้นรัตนโกสินทร์และ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพงศาวดารอยุธยา นอกจากนั้น ท่านยังมีผลงาน บทความขนาดยาวในช่วงปี พ.ศ. 2524 2538 ซึ่งถูกรวมพิมพ์เป็นหนังสือ 4 เล่ม ได้แก่ กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย: ว่าด้วยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐ และรูปการจิตสำนึก โขน คาราบาว น้ำเน่า และหนังไทย: ว่าด้วยเพลง ภาษา และนานมหรสพ และ ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และ ฯลฯ: ว่าด้วยประเพณี ความเปลี่ยนแปลงและเรื่องสรรพสาระ ผลงานเหล่านี้จะทำให้เราเข้าใจทัศนะของท่านอย่างเป็นระบบและคมชัดขึ้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จากนั้น เราเข้าไปชมภาพยนตร์ในมินิเธียเตอร์ ซึ่งจะอธิบายแนวทาง ระบบคิด และจุดยืนทางความคิดของอาจารย์อย่างสั้นๆ แนวคิดสำคัญที่สุดของอาจารย์นิธิ คือเรื่องของ วัฒนธรรม ภาพยนตร์จะใช้ตัวละครตัวหนึ่ง มาช่วยอธิบายแนวคิดนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรม เชิญพบกับ วัฒนธรรม ตัวละครเอกของเรา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เริ่มด้วยการยกตัวอย่าง บทความ รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมไทย ที่เขียนในปี พ.ศ. 2534 ในบทความนี้ ท่านตั้งคำถามว่า ทำไมคนไทยจึงยอมให้รัฐธรรมนูญ หรืออีกนัยหนึ่งกฎหมายที่รับรองอำนาจของประชาชน ถูกฉีกอย่างหน้าตาเฉย ?</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วัฒนธรรม กับ อำนาจ คำอธิบายของนิธิก็คือ อำนาจในสังคมไทยไม่ได้มีแบบเดียว แต่มีอยู่สองแบบ คือ อำนาจ กับ อิทธิพล อำนาจเกิดจากกฎหมายและรัฐธรรมนูญ อิทธิพลเกิดจากวัฒนธรรม (มักเรียกกันว่า อำนาจแบบระบบอุปถัมภ์) อิทธิพลเป็นอำนาจแบบ เป็นที่รู้กัน แต่ไม่มีการจารึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">รัฐธรรมนูญที่เรารู้จักกันนั้น จึงเป็นเพียงสิ่งที่รองรับอำนาจแบบแรก มีกำเนิดจากความคิดประชาธิปไตยแบบตะวันตก และการตื่นตัวเรื่องสิทธิเสรีภาพของคนชั้นกลาง ในขณะที่อิทธิมีรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่และฝังลึกมากกว่า</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">คนไทยรู้ดีว่าอำนาจที่มีมากเกินไป มักสร้างความเดือดร้อนให้ตน แต่แทนที่จะหวังพึ่งอำนาจ (เช่น ต่อสู้ด้วยวิถีทางกฎหมาย หรือเรียกร้องสิทธิผ่านอำนาจของรัฐธรรมนูญ) แต่เพียงอย่างเดียว เขากลับชอบใช้วิธีหนีไปพึ่งพิงอิทธิพล</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ดังนั้น ในขณะที่นักวิชาการคนอื่นๆ มองอิทธิพลว่า งมงาย ล้าสมัย หรือน่ารังเกียจ นิธิกลับมองว่ามันเป็นรูปแบบการต่อรองกับอำนาจ และเรียกกลวิธีนี้ว่า ภูมิปัญญา การแบ่งแยกสิ่งที่อยู่ ข้างใน ออกจาก ข้างนอก วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่นิธิสนใจมาก ท่านอยู่ในกลุ่มเดียวกับนักคิดของไทย ที่เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เกิดจากปัจจัยภายในมากกว่าภายนอก อย่างไรก็ตาม แต่เดิมนั้น การศึกษา ปัจจัยภายใน มักมองว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง เส้นแบ่งจึงตายตัวและไม่เปลี่ยนแปลง อาจารย์นิธิต่างกับนักคิดคนอื่นๆ ตรงที่สามารถจัดความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมและลากเส้นแบ่งใน นอกเสียใหม่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อะไรที่คนทั่วไปเคยคิดว่าเก่าแก่ มีมานมนานและอยู่ ข้างใน วัฒนธรรมไทย ท่านสามารถวิเคราะห์ให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว สิ่งนั้นๆ เป็นของแปลกปลอม เพราะมาจากการนำเข้าและมีกำเนิดไม่นานพอที่จะผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของเรา ดังนั้นแม้แต่ความคิดเกี่ยวสถาบันและอำนาจที่สำคัญๆ ของไทย เช่น ชาติ ศาสนา และระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็อาจกลายเป็นของที่มาจาก ข้างนอก วัฒนธรรมไทยได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">   </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นิธิเปิดเผยให้เราเห็นว่า วัฒนธรรม นี่เองที่เป็นตัวครอบงำกำกับพฤติกรรมของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ที่เราประสบพบเห็นในชีวิตประจำวัน ท่านได้ชี้ว่ากลไกการครอบงำนี้อยู่ในระดับจิตใต้สำนึก นั่นคือทำงานโดยที่ตัวเราเองก็ไม่รู้ตัว กล่าวได้ว่า ท่านเป็นผู้ปลูกพลังอันยิ่งใหญ่ของ วัฒนธรรม ให้กลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นมา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วัฒนธรรม ในสายตาของนิธิจึงมีความเคลื่อนไหว ไม่หยุดนิ่ง ไม่ใช่วัตถุสิ่งของหรือแบบแผนประเพณีที่แน่นอนตายตัว แต่เป็นระบบคิดที่มีเหตุผล ความสลับซับซ้อนและระบบศีลธรรมของตนเอง กลวิธีการโยกย้ายใน นอก นี่เอง ทำให้ท่านสามารถ ลากเอาปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่เคยถูกมองว่าอยู่ข้างนอกให้กลับเข้ามาอยู่ข้างใน พูดอีกอย่างหนึ่งท่านได้ฉุดเอาสิ่งที่อยู่ใต้ถุน (เช่น ชุมชน แบบแผนประเพณี หรือพิธีกรรมหลายๆอย่าง) ให้กลับขึ้นมายืนบนเรือนอีกครั้ง นี่เป็นเครื่องแสดงจุดยืนของท่านว่า ต้องการเปิดพื้นที่ให้คนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ชาติพันธุ์ ภาษา หรือวัฒนธรรมใดๆ  ให้มีที่ยืนอย่างมีเกียรติภูมิเสมอกัน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ระบบคิด การศึกษา การเรียนรู้ เมื่อมาถึงเรื่องของระบบการศึกษา แน่นอนว่า นิธิจะต้องมองว่า ระบบการศึกษาที่เรารู้จักกัน เป็นสิ่งที่มาจาก ข้างนอก กล่าวคือถูกนำเข้ามาในรัชกาลที่ 5 ถูกครอบงำโดยความคิดแบบเจ้าขุนมูลนาย และแนวทางการศึกษาแบบตะวันตก ระบบนี้นำเอาโรงเรียนและครูสมัยใหม่เข้ามาแทนที่การศึกษาแบบดั้งเดิม ซึ่งเคยอยู่ในวัดและชุมชน อีกทั้งยังมีเป้าหมายเพื่อผลิตคนไปรับใช้ระบบราชการ และระบบอุตสาหกรรมของอาณานิคมในสมัยนั้น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">วัฒนธรรมกับความรู้ จุดเด่นของอาจารย์นิธิ คือไม่ได้วิเคราะห์เพียงระบบการศึกษา หรือเนื้อหาหลักสูตร ท่านเริ่มการวิเคราะห์จากการตั้งคำถามพื้นฐานที่สุด นั่นคือคำถามที่ว่าความรู้คืออะไร ความรู้นั้น อาจารย์นิธิให้คำจำกัดความว่า คือความสามารถในการเชื่อมโยงหรือหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ไม่ใช่แต่ท่องว่าสิ่งนั้นๆ มีคุณสมบัติอย่างไร หรือแย่กว่านั้นก็คือไม่อาจบอกได้ว่ามันจะเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">จินตนาการสำคัญกว่าความรู้  -  วัฒนธรรมสำคัญกว่าความรู้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">นิธิเสนอว่า ความรู้ไม่ได้ทำงานอย่างอัตโนมัติ ถ้าไม่มีวัฒนธรรมมารองรับ หรือกำหนดแนวทางที่จะนำมันไปใช้ ความรู้ก็ไม่ทำงาน การมีความรู้เฉยๆ ไม่พอที่จะตัดสินหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ เงื่อนไขทางวัฒนธรรมต่างหากที่เป็นตัวตัดสิน ท่ามกลางบรรยากาศการยกย่องความรู้แบบ นำเข้า รวมทั้งการบูชางานวิจัยหรือกระแสการเผยแพร่ความรู้ ท่านฟันธงลงไปเลยว่า ความรู้นั้นถูกบงการโดยวัฒนธรรม</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ซึ่งหมายความว่า ความรู้นั้นอยู่ลอยๆ ในสังคมไม่ได้ จะถูกนำเข้า เอาไปใช้ หรือสร้างขึ้นใหม่ได้ ต้องอยู่ในการกำกับดูแลและขึ้นอยู่กับเงื่อนไขทางวัฒนธรรม ยิ่งไปกว่านั้น อาจารย์นิธิยังเสนอด้วยว่า วัฒนธรรมที่เจริญงอกงามและมีความยั่งยืนนั้น ต้องมีรากฐานด้านโลกทัศน์ ที่เปิดกว้างและเป็นธรรมเป็นสิ่งที่ค้ำจุน ความรู้ที่ท่านเรียกร้องหาจึงเป็นความรู้ที่ถูกกำกับดูแลโดยศีลธรรม หาไม่แล้ว ความรู้ ไม่ว่าจะลึกซึ้งซับซ้อนเพียงใด ก็มีค่าเป็นเพียง เทคนิค หรือ เทคโนโลยี ที่ไร้ประโยชน์ นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดง จุดยืน ทางความคิดของท่าน กล่าวคือ ความรู้นั้นแบ่งออกได้เพียงสองอย่าง คือความรู้ที่มีศีลธรรมกำกับ และ ความรู้ที่ไม่มีศีลธรรมกำกับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ถัดจากซุ้มวิชาการ ต่อไปเราจะได้ไปเที่ยวซุ้มต่างๆ ที่นำเสนอความรู้ แบบ เอดู เทนเมนท์ คือเน้นสนุก มีสาระและทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วม อาจารย์นิธิ เป็นนักเขียนที่ถูกอ้างอิงโดยนักเขียนนักวิชาการจำนวนมาก แต่ท่านแทบจะไม่เคยอ้างอิงใครโดยออกชื่อ ซุ้มนี้จะแสดงสถิติการถูกอ้างอิงและการอ้างอิงผู้อื่น (โดยออกชื่อ) อาจารย์นิธิ เป็นนักเขียนที่ค้นคว้าข้อมูล ภาคสนาม อย่างจริงจัง ซุ้มนี้จะแสดงตัวอย่างแหล่งข้อมูล อุปกรณ์การออกเก็บข้อมูล และที่มาของประเด็นต่างๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในบทความของอาจารย์นิธิ จะมีตัวละครฝ่าย ผู้ร้าย ด้านวัฒนธรรม ซึ่งถูกยกมาล้อเลียนและเสียดสีอยู่เป็นประจำ ชนชั้นกลางเป็นกลุ่มเป้าหมายของอาจารย์นิธิ กล่าวคือ เป็นทั้งผู้บริโภคผลงาน และเป้าหมายการวิพากษ์วิจารณ์ เกมนี้มุ่งโจมตีพฤติกรรมต่างๆ ของชนชั้นกลาง ผู้เล่นจะได้ คะแนนมาก น้อย ตามแต่ว่าพฤติกรรมนั้นจะเลวร้ายเพียงใด</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ที่ไหน อาจารย์นิธิบอกเองว่าอยู่ใน หลักการและเหตุผลในการของงบประมาณของหน่วยงานราชการ…เป็นร้อยเป็นพันใน 20 ปีที่ผ่านมา ความหมายก็คือแนวคิดเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกนำไปใช้กล่าวอ้างเพื่อแสวงหาประโยชน์กันอย่างผิดๆ มากมาย อุปสรรคของภูมิปัญญาท้องถิ่นก็เห็นจะเป็นเรื่องนี้ การแสวงหาจึงต้องหัดแยกแยะ ของแท้ ออกจาก ของเทียม ซุ้มนี้จะให้ผู้ชมเดินทางไปหาภูมิปัญญาชาวบ้านให้พบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ว่ากันว่า วัฒนธรรมชุมชน คือเขาพระสุเมรุหรือศูนย์กลางของระบบจักรวาลของอาจารย์นิธิ เพราะไม่ว่าจะอะไรก็สามารถเชื่อมโยงกับชุมชนได้หมด เกมนี้เป็นการฝึกค้นหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมกับชุมชน ตามแบบอาจารย์นิธิ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เส้นทางการต่อสู้ของชนชั้นกลาง ทัศนคติและความคาดหวังในชนชั้นกลางของอาจารย์นิธิมีมาก น้อย ขึ้น ลงสลับกันไปมา ในผลงานของท่าน ชนชั้นกลางสามารถเป็นตัวละครทั้งที่ดีและตัวร้าย (อีกทั้งยังเป็นผู้บริโภคกลุ่มสำคัญ)  ในซุ้มนี้ ผู้เล่นจะต้องเสี่ยงทายว่าตนจะได้เดินไปกี่ก้าว จะกลายเป็นพระเอกหรือผู้ร้าย? นี่เป็นเกมที่ต้องใช้ลูกเต๋าเป็นอุปกรณ์ประกอบ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p> ก่อนจะออกจากสวนสนุกก็ต้องมีการเข้าร้านเพื่อซื้อของที่ระลึกกันตามระเบียบ เราต้องอำลานิธิแลนด์ไปเสียแล้ว ยังมีอีกหลายดินแดนที่เราเข้าไปดูไม่ทัน เห็นจะต้องเป็นโอกาสหน้า อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงการทัวร์สวนสนุก ที่ให้แต่ภาพกว้างๆ กลับบ้านแล้วอย่าลืมเอาหนังสือของอาจารย์นิธิมาอ่าน อย่างจริงจังนะคะ   </p><p></p><p></p><p>สารบัญ </p><p></p><p>หอคอยที่ไร้คำถาม - วัฒนธรรมคือความรู้   - ภูมิศาสตร์ไทย  - ยักษ์อัจฉริยะ พิพิธภัณฑ์ ครู -โลกาภิวัตน์ = เคเบิลใยแก้ว? การศึกษาทางไกลสู้ใกล้และชิด วัฒนธรรมลูกจ้าง - การคิดเชิงสร้างสรรค์ ป่าเจ็ดชั้น วัฒนธรรมการอ่าน กระดาษ ความรู้รอบตัว มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - เวทีเปิดที่เปรตปิดไม่ได้      - เซ็นเซอร์กับรัฐเชยๆ ครูในการศึกษาทางเลือก สยามแหล่งแล้ง -  สวัสดีครับ ที่นี่เสียงประชาชน - จาก มธ. ถึง มธก. -  ศิลปวัฒนธรรม ระหว่างยักษ์และคน พิพิธภัณฑ์สมุดฉีก - ภูมิปัญญาท้องถิ่น            - ทางเลือกของการจัดการน้ำ - ดร.เก๊ - วันครู             </p><p></p><p>พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>มีนาคม 2549  </p><p> </p><p> </p><p>ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ </p><p>ปีที่พิมพ์             :           มีนาคม 2549 - พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก </p><p>ชื่อหนังสือ          :           มหาวิทยาลัยเที่ยงวัน</p><p>ประเภท             :           ความเรียง - รวบรวมบทความ</p><p>ชื่อผู้เขียน           :           นิธิ เอียวศรีวงศ์</p><p>บรรณาธิการ       :           มุกหอม วงษ์เทศ    </p><p> </p><p> </p><p>เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ</p><p>ISBN 974 323 658 9 </p>

หมายเลขบันทึก: 101314เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากค่ะ คุณkati 
ดิฉันจะไปหาดูที่ร้านหนังสือ  พลาดเล่มนี้ไปได้อย่างไรก็ไม่ทราบ .....    เมื่อได้มาแล้ว  ดิฉันก็ว่าจะเปิดอ่านเรื่อง "ครู"  เป็นเรื่องแรกอะค่ะ  : )

สวัสดีครับท่าน

PKati

ขอตัดเอาข้อความดีๆบางตอนไปนะครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

ขอบคุณมากครับ

  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ยินดีสำหรับการเผยแพร่ข้อความครับ
  • เพียงแต่ ต้องออกตัวว่า เป็นข้อความในการเขียนของ คุณ เรณู ปัญญาดี
  • ซึ่งเขียนกำกับไว้ ในคำนำ' ตูน ของหนังสือเล่มนี้ ครับ
  • ไม่ใช่ ข้อเขียนของผม ในการแนะนำผลงาน ของอาจารย์ นิธิ หรอกครับ
  • แต่ก็สนับสนุนสำหรับการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารที่ดีๆ ครับ
  • ขอขอบคุณ แทนเจ้าของข้อเขียน ข้อความดีๆ ที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และความประทับใจให้กับผู้ได้อ่าน
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ยินดีอย่างยิ่งครับ สำหรับเพิ่มความน่าสนใจในการอ่านหนังสือ เพิ่งติดตามอรรถรสได้เพิ่มเติม
  • ยินดี สำหรับหนอนหนังสือ ที่มีความสุขในการได้อ่านเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับชีวิตครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท