In case of emergency


โรงพยาบาล KK เขาดูแลเรื่องความเสี่ยงได้อย่างดีมาก ทุกคนต้องมีเบอร์ของ mask 2 ชนิด ต้องมีทุกคน และต้องใส่และถอดเป็น มีการทดสอบจริงๆ (งานนี้ใครทำผิด ก็ต้องเจอของผมแบบที่ผมโดน) นี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการจัดการเรื่องความเสี่ยงจากการทำงานที่ผมเห็น

วันที่ 5 มิถุนายน 2550

วันนี้เป็นวันอังคาร ซึ่งตามตารางแล้วผมต้องอยู่ห้องตรวจ urodynamic แต่เนื่องจากว่าครูหาญมีคนไข้ผ่าตัดตั้งแต่ 8 โมง สุกี้กับอาร์ลีนจึงต้องเข้าไปช่วยก่อน แต่ราวๆ 8.30 น. ผมก็ถูกตามเข้าไปช่วย สัปดาห์นี้ครูผมต้องรีบเก็บ case เนื่องจากสัปดาห์หน้าจะไม่อยู่ทั้งสัปดาห์ เนื่องจากไปประชุม IUGA (น่าจะเป็น International Urogynaecologic Association)ที่ประเทศเม็กซิโก งานนี้คุณหมอบีและอาจารย์สุวิทย์ที่จุฬาก็ไปด้วย เลยต้องรีบสะสางก่อนไป

                ตอนเที่ยงผมถูกตามให้ไปที่ห้องสังสรรค์ของพนักงานโรงพยาบาล ซึ่งอยู่ที่ชั้นสองฝั่งตึกเด็ก เพื่อไปวัดขนาดของ mask

                ก็งง ว่าทำไมต้องไปวัดขนาด mask จึงได้ทราบคำตอบว่า พนักงานทุกคนที่อยู่ที่นี่ มีความจำเป็นต้องแจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่า ตนเองใช้ mask เบอร์ไหน รุ่นไหน เรียกว่าเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานเลยก็ว่าได้ และจำเป็นต้องมี 2 ขนาดด้วย ผมถามว่าทำไม ก็เผื่อกรณีฉุกเฉิน (in case of ememgency: ICE) เช่นมีผู้ป่วย SARS หลุดเข้ามาไง หรือโรคอะไรก็ได้ที่มันร้ายแรงและติดต่อทางทางเดินหายใจ สรุปว่าต้องไป เบี้ยวไม่ได้เลย

                การวัดขนาดของ mask ทำเป็นเรื่องเป็นราวมาก ผมต้องไปเอา mask มาลองสวมให้กระชับ แล้วไปนั่งให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่เอาหน้ากากเหมือนของนักบินอวกาศ (แต่ใหญ่กว่า) แล้วเธอก็พ่นยาเข้ามาในหน้ากาก แล้วให้ผมหายใจทางปาก 2 ครั้ง จากนั้นนับเลข 1-10 (เกือบนับเป็นภาษาไทยแล้วเชียว) ฉับพลันทันใดก็รู้สึกว่ามีรสขมเข้ามาในปาก ก็รู้ทันทีว่าเราใส่ mask ไม่ดี ไม่ถูกต้อง หรือผิดขนาด คุณพยาบาลก็เลยสอนการใส่ mask ให้ใหม่อย่างถูกวิธี ย้ำว่าต้องใส่อย่างถูกวิธี และกระชับที่สุด การทดสอบครั้งที่สองปรากฏว่าผ่าน จากนั้นก็ต้องงลองแบบที่สอง เป็นอีกยี่ห้อหนึ่ง คราวนี้ผมต้องแสดงการถอด mask ให้เธอดูด้วย ปรากฏว่าก็ยังไม่ถูก เธอจึงสอนใหม่ การถอดต้องห้ามเอามือไปสัมผัสกับผิวด้านนอกของ mask เนื่องจากว่าบริเวณนี้มีการสัมผัสเชื้ออย่างไรล่ะครับ

                เมื่อทดสอบเสร็จก็ทิ้งลงถัง โธ่ถัง ของที่เอามาทดสอบนั้น ยี่ห้อดีราคาแพงทั้งนั้น จำได้ว่าตอนที่โรงพยาบาลม.อ.มีคนไข้ SARS เมื่อปีพ.ศ. 2546 นั้น กว่าจะได้ mask มาทีนึง รอกันตั้งนาน แถมยังไม่สามารถหาแบบที่ผมเห็นมากมายขณะนี้มาให้คนได้ทั้งหมด เนื่องจากว่ามันมีราคาสูงมาก แต่ที่นี่ ทดสอบเสร็จก็ทิ้ง หมอธนพันธ์ไม่ทำอย่างนั้นหรอก เก็บใส่กระเป๋า เอากลับบ้านดีกว่า คงจะหลายร้อยอยู่ ฮา

                ที่เล่ามานี้ จะเห็นได้ว่า โรงพยาบาล KK เขาดูแลเรื่องความเสี่ยงได้อย่างดีมาก ทุกคนต้องมีเบอร์ของ mask 2 ชนิด ต้องมีทุกคน และต้องใส่และถอดเป็น มีการทดสอบจริงๆ (งานนี้ใครทำผิด ก็ต้องเจอของผมแบบที่ผมโดน) นี่เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการจัดการเรื่องความเสี่ยงจากการทำงานที่ผมเห็น ยังมีอีกมากครับ ที่เป็นทั้งของบุคลากรและของผู้ป่วย น่าประทับใจ แล้วจะเล่าในวันอื่นครับ
หมายเลขบันทึก: 101287เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คือ ..

ตอนที่หมอธนพันธ์ เก็บใส่กระเป๋า เอากลับบ้านดีกว่า

นี่ ... ฮา จริงค่ะ  ก็หลายร้อยนะคะ

น่าเสียดาย ... น่าเสียดาย   เอ้อ... ไม่ใช่ น่าจะเป็นประทับใจ... มากกว่า อิอิ

ที่ไมอามี่นี่  ก็ทิ้งค่ะ

ปลอกดำๆ ที่ดูหู ผู้ป่วยก็ทิ้ง เป้นกะตั๊ก

mask  N95 ก็ทิ้ง ตอนอยู่บ้านเราต้องเขียนชื่อไว้ มีกันคนละอันเท่านั้น

ว่าจะเก็บเหมือนกันค่ะ ท่านอาจารย์ มองอยู่

เลยทิ้ง ทั้งที่เสียดาย

 

 สวัสดีครับ  P  P
เห็นแล้วแสนเสียดาย ไม่ต้องอายถ้าจะเก็บ
หน้าแตกก็ไปเย็บ ไม่เห็นเจ็บตรงไหนเลย
เงินทองเขามีมาก ไม่ลำบากจึงเมินเฉย
ของเก่าทิ้งจนเคย ถ้าจะเอ่ยเรามันจน
ที่จริงเงินพอมี ไม่ถึงที่จะขัดสน
แต่เพราะมีบางคน มันมาขนเงินออกไป (ใครหว่า)
จบครับ คิดไม่ออกแล้ว ทะแม่งๆชอบกลครับ อายจัง

อาจารย์คะ อยากเรียนถามว่ามีโอกาสไปทำงานเป็นแพทย์ที่ สิงคโปร์ได้ไหมคะ. ถ้าจบจากมหาวิทยาลัยในไทย

อาจารย์คะ อยากเรียนถามว่ามีโอกาสไปทำงานเป็นแพทย์ที่ สิงคโปร์ได้ไหมคะ. ถ้าจบจากมหาวิทยาลัยในไทย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท