วันที่ 19/12/48
วันนี้ Internet ที่ทำงานล่มไม่สามรถเข้าไปส่งงานได้ ส่วนรายละเอียดจะรายงานให้ทราบในวันต่อไป
อาคารประชาสัมพันธ์ กองผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ แผนกโสตทัศนูปกรณ์
ช่วงเช้า
วันนี้มาถึงที่ทำงานก็ช่วยกันจัดห้องปฏิบัติการวีดีทัศน์ โดยช่วยกันหลายคน มีพี่หนึ่ง เรา วัลลภา และเพื่อนนักศึกษาฝึกงาน ชื่อ โน อุ้ย พิ้งค์ เราติดไฟกระพริบทั่วทั้งห้องและก็สายรุ้ง ช่วยทำความสะอาดห้อง แต่เราต้องทำการ COPY CD ที่พี่บอลตัดต่อไว้แล้ว เป็นสารคดีเชิงข่าวของช่อง 7 ซึ่งที่ กฟผ. จะเอามาใช้ออกอากาศ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ใช้โปรแกรม NERO ทำทั้งหมด 11 แผ่น และก็มีงานมารอให้เราทำการสำเนาเทปต่อแต่เราขอขึ้นมาทำตอนบ่าย
ช่วงบ่าย
ขึ้นมาทำสำเนาเทปที่พี่หนึ่งมอบหมายให้ โดยเทปที่ทำสำเนาเป็นเทปการพาไปเที่ยวชมที่เขื่อนสิริกิติ์ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นรายการที่ออกอากาศทาง EGAT TV เราทำการสำเนาเทปจากเทป DVCAM เป็น BATACAM (เทปที่นี่ใช้ของ Sony ทั้งเทป DV และเทป BATA) ขั้นตอนในการทำ
-เปิดเครื่อง Sony BATACAM SP และเครื่อง DVCAM DSR-30P
-ก่อนการทำสำเนาเทปทุกครั้งเราต้องทำการปูบาร์ก่อน 30วินาที (การปูบาร์คือการใส่บาร์ที่หัวม้วนก่อนการอัด) ขั้นตอนในการปูบาร์ คือ มาทำงานที่เครื่อง Sony BATACAM SP เลือก Hold เลือก Reset เลือก Set แล้วกดที่ปุ่ม Record และ Play พร้อมกัน อัดให้เกินกว่า 30 วินาทีแล้วก็กดปุ่ม Stop แล้วก็กด Intry In เพื่อมาร์คหัวเทปเอาไว้
-เมื่อปูบาร์เสร็จ ก็มาดูที่ม้วน DVCAM ตั้งหัวม้วนที่เริ่มต้นแล้วกด Pause ไว้ที่เครื่อง DVCAM DSR-30P
-มาทำงานที่เครื่อง Sony BATACAM SP กดที่ปุ่ม Auto Edit แล้วก็มากดปล่อยปุ่ม Pause ที่เครื่อง DVCAM DSR-30P
-รอจนเทปหมดก็กดปุ่ม Stop แล้วก็เอาม้วย DV และม้วนBATA ออกจากเครื่อง
ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
- เราได้เรียนรู้ในการทำสำเนาเทปจากเทป DV เป็นเทป BATA ซึ่งเราได้ฝึกการใช้เครื่อง Sony BATACAM SP ที่ใช้อ่านเทป BATA และเครื่อง DVCAM DSR-30P ที่ใช้อ่านเทป DV
-เรียนรู้ขั้นตอนในการทำการปูบาร์ในหัวม้วนของเทปทุกครั้งที่เราจะทำการสำเนาเทป
-พี่หนึ่งได้สอนว่าในการจะทำอะไรก็ตามกับเทปที่เราได้อัดมาแล้วนั้นเราต้องทำการ Save เทปก่อนทุกครั้ง การSave เทป ก็คือเลื่อนปุ่มที่ข้างเทปให้เห็นสีแดง (ปกติจะเป็นสีขาว) เพื่อป้องกันการเสียหายที่จะเกิดกับเทป
ไม่มีความเห็น