ฮัจย์...หนึ่งในวิถีแห่งศรัทธา (1)


การทำ “ฮัจย์” เป็นกิจกรรมหนึ่งในห้าประการ ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต

ช่วงปลายปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้มีโอกาสไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก (ไม่นับมาเลเซีย) คือประเทศซาอุดิอารเบีย เป้าหมายคือไปทำฮัจย์ที่นั่น คำว่า ไปเมกกะ” (เมกกะเป็นเมืองหนึ่งของประเทศซาอุดิอารเบีย) เป็นคำที่มุสลิมทุกคนอยากได้ยิน อยากสัมผัส จะตื่นเต้นทุกครั้งเวลาได้รับทราบว่าคนใกล้ชิด หรือคนรู้จัก ไปเมกกะปีที่ผ่านมาผู้เขียนโชคดีที่ได้มีโอกาสเป็นแขกรับเชิญของพระเจ้า เพราะที่นั่น เปรียบเสมือนบ้านของพระองค์ และการไปครั้งนี้ก็ด้วยการอนุมัติของพระองค์เช่นกัน           

การทำ ฮัจย์เป็นกิจกรรมหนึ่งในห้าประการ ที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ซึ่งถือเป็นภาคบังคับ สำหรับผู้ที่มีความสามารถ  ความสามารถในที่นี้หมายถึง มีเงินใช้จ่ายเพียงพอในการไป ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ และมีความปลอดภัยในการเดินทางไปและกลับ  ถ้าหากมีปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสามเรื่องนี้ก็ไม่เป็นที่บังคับ สำหรับการทำฮัจย์แก่บุคคลนั้น การทำฮัจย์จะประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆอีกหลายกิจกรรม ซึ่งจะกล่าวถึงในบันทึกต่อไป           

คำสำคัญ (Tags): #ฮัจย์#เมกกะ
หมายเลขบันทึก: 100976เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

เคยรับชมวีดีโอของคนที่ไปเมกกะ หลายท่านถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความปิติ

ความดีสวยงามเสมอครับ

 

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ได้พูดปาฐกถาธรรมในหัวข้อ  “สู่ศานติสมานฉันท์: ความรักอันไม่แบ่งแยก” ท่านได้พูดถึงปัญหาการก่อการร้ายและความรุนแรงในภาคใต้ ทางออกอย่างสันติวิธีเดียว คือ การฟังอย่างลึกซึ้งและสร้างความเข้าใจระหว่างกันกับเพื่อนชาวมุสลิม

“ชาวพุทธเปรียบดั่งมือขวา ชาวมุสลิมเปรียบดั่งมือซ้าย เราเป็นดั่งพี่น้องกัน หากเราทำให้อีกฝ่ายทุก เราก็ย่อมเป็นทุกข์ด้วย” พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์กล่าว

ท่านกล่าวต่อไปว่า ในอดีตนั้นชาวพุทธและชาวมุสลิมเคยดูแลและอยู่ร่วมกันกับอย่างสันติสุขได้ ปัจจุบันและในอนาคตก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน

“การที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ มิใช่เพราะเราต่างเป็นชาวพุทธเหมือนกัน ฉันเห็นชาวพุทธมากมายมิได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แต่การอยู่ด้วยกันได้อย่างสงบสันตินั้นมีรากฐานจากความเข้าใจและความรัก หากปราศความเข้าใจ ย่อมไม่มีความรักความเมตตาต่อกัน ความรักความเมตตาต่อกัน มีพื้นฐานจาก  การฝึกปฏิบัติ และ ความเข้าใจ”

ยินดีด้วยครับสำหรับบันทึกใหม่ล่าสุด

จะติดตามอ่านอย่างต่อเนื่องครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท